พระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พุทธศักราช ๒๔๘๕

พระราชบัญญัติ

การชลประทานหลวง

พุทธสักราช ๒๔๘๕

                   

ไนพระปรมาภิไธยสมเด็ดพระเจ้าหยู่หัวอานันทมหิดล

คณะผู้สำเหร็ดราชการแทนพระองค์

(ตามประกาสประธานสภาผู้แทนราสดร

ลงวันที่ ๔ สิงหาคม พุทธสักราช ๒๔๘๐

และวันที่ ๑๖ ธันวาคม พุทธสักราช ๒๔๘๔)

อาทิตย์ทิพอาภา

ปรีดี พนมยงค์

ตราไว้ นะ วันที่ ๑ กันยายน พุทธสักราช ๒๔๘๕

เปนปีที่ ๙ ไนรัชกาลปัจจุบัน

โดยที่สภาผู้แทนราสดรลงมติว่า สมควนส่งเสริมและควบคุมการชลประทานหลวงไห้ดำเนินไปด้วยดี

จึงมีพระบรมราชโองการไห้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราสดร ดังต่อไปนี้

ข้อความเบื้องต้น

                  

มาตรา ๑  พระราชบัญญัตินี้ไห้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พุทธสักราช ๒๔๘๕”

มาตรา ๒[๑]  ไห้ไช้พระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันประกาสไนราชกิจจานุเบกสาเปนต้นไป

มาตรา ๓  ห้ามมิไห้นำบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติรักสาคลอง ร.ศ. ๑๒๑ มาไช้สำหรับทางน้ำชลประทานตามความไนพระราชบัญญัตินี้

ไห้ยกเลิกบันดากดหมาย กด และข้อบังคับอื่น ๆ ไนส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วไนพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๔  ไนพระราชบัญญัตินี้

                    “การชลประทาน” หมายความว่า กิจการที่รัถบาลจัดทำเพื่อส่งน้ำจากทางน้ำหรือแหล่งน้ำไปไช้ไนการเพาะปลูก และหมายความถึงการป้องกันการเสียหายแก่การเพาะปลูกอันเกี่ยวกับน้ำกับทั้งรวมถึงการคมนาคมทางน้ำซึ่งหยู่ไนเขตชลประทานนั้นด้วย

“ทางน้ำชลประทาน” หมายความว่า ทางน้ำที่รัถมนตรีได้ประกาสตามความไนมาตรา ๕ ว่าเปนทางน้ำชลประทาน

“เขตชลประทาน” หมายความว่า เขตที่ดินที่ทำการเพาะปลูกซึ่งจะได้รับประโยชน์จากการชลประทาน

“เขตงาน” หมายความว่า เขตที่ดินที่ไช้ไนการส้างและการบำรุงรักสาการชลประทานตามที่เจ้าพนักงานได้สแดงแนวเขตไว้

“ประตูน้ำ” หมายความว่า สิ่งที่ส้างขึ้นไนทางน้ำเพื่อไห้เรือแพผ่านทางน้ำที่มีระดับต่างกันได้

“ทำนบ” หมายความว่า สิ่งที่ส้างขึ้นไนทางน้ำเพื่อกั้นไม่ไห้น้ำไหลผ่านหรือข้ามไป

“ฝาย” หมายความว่า สิ่งที่ส้างขึ้นเพื่อทดน้ำไนทางน้ำซึ่งจะส่งเข้าสู่เขตชลประทาน โดยไห้น้ำที่เหลือจากความต้องการท้นขึ้นแล้วไหลข้ามไปได้

“เขื่อนระบาย” หมายความว่า สิ่งที่ส้างขึ้นเพื่อทดหรือกักน้ำไนทางน้ำอันเปนที่มาแห่งน้ำซึ่งจะส่งเข้าสู่เขตชลประทาน โดยมีช่องปิดเปิดได้

“ประตูระบาย” หมายความว่า สิ่งที่ส้างขึ้นไนทางน้ำเพื่อทด กัก กั้น หรือระบายน้ำนะที่อื่นอันมิไช่ที่มาแห่งน้ำซึ่งจะส่งเข้าสู่เขตชลประทานโดยมีช่องปิดเปิดได้

“ท่อเชื่อม” หมายความว่า สิ่งที่ส้างขึ้นเพื่อไห้น้ำไหลลอดหรือข้ามสิ่งกีดขวาง

“สพานทางน้ำ” หมายความว่า สิ่งที่ส้างขึ้นเพื่อไห้น้ำไหลข้ามทางน้ำหรือที่ต่ำ

“ปูม” หมายความว่า สิ่งที่ส้างขึ้นเพื่อบังคับน้ำไห้ไหลผ่านจากทางน้ำไนระดับหนึ่งตกไปสู่ทางน้ำอีกระดับหนึ่ง

“คันคลอง” หมายความว่า มูนดินที่ถมขึ้นเปนคันยาวไปตามแนวคลอง

“ชานคลอง” หมายความว่า พื้นที่ระหว่างขอบตลิ่งกับเชิงคันคลอง

“พนัง” หมายความว่า สิ่งที่ส้างขึ้นเปนคันยาวไปตามพื้นดิน เพื่อป้องกันอุทกภัย

                  “เจ้าพนักงาน” หมายความว่า เจ้าหน้าที่ของกรมชลประทาน ซึ่งมีหน้าที่ปติบัติงานเกี่ยวกับการชลประทาน และหมายความรวมถึงบุคคลซึ่งอธิบดีได้แต่งตั้งตามความไนพระราชบัญญัตินี้ด้วย

“นายช่างชลประทาน” หมายความว่า เจ้าพนักงานผู้เปนหัวหน้าควบคุมการก่อส้างหรือการบำรุงรักสาการชลประทาน

“อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมชลประทาน

“รัถมนตรี” หมายความว่า รัถมนตรีผู้รักสาการตามพระราชบัญญัตินี้

หมวด ๑

บททั่วไป

                  

มาตรา ๕  เพื่อประโยชน์แห่งพระราชบัญญัตินี้ ทางน้ำชลประทานแบ่งออกเปน ๔ ประเภท คือ

ประเภท ๑ ทางน้ำที่ไช้ไนการส่ง ระบาย กัก หรือกั้นน้ำเพื่อการชลประทาน

ประเภท ๒ ทางน้ำที่ไช้ไนการคมนาคมแต่มีการชลประทานร่วมหยู่ด้วย ฉเพาะพายไนเขตที่ได้รับประโยชน์จากการชลประทาน

ประเภท ๓ ทางน้ำที่สงวนไว้ไช้ไนการชลประทาน

ประเภท ๔ ทางน้ำอันเปนอุปกรน์แก่การชลประทาน

ไห้รัถมนตรีประกาสไนราชกิจจานุเบกสาว่าทางน้ำไดเปนทางน้ำชลประทาน และเปนประเภทได

                  มาตรา ๖  นายช่างชลประทานมีอำนาดไช้พื้นที่ดินที่ปราศจากสิ่งปลูกส้างซึ่งหยู่ไนเขตการชลประทานได้เปนครั้งคราวตามระยะเวลาที่จำเปนแก่การชลประทาน โดยแจ้งเปนหนังสือไห้เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินนั้นซาบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน แต่ถ้ามีการเสียหายเกิดขึ้นต้องชดไช้ค่าสินไหมทดแทน

                  มาตรา ๗  ไนกรนีฉุกเฉินเพื่อป้องกันอันตรายอันอาดเกิดแก่การชลประทาน นายช่างชลประทานมีอำนาดที่จะไช้ที่ดินหรือสิ่งของของบุคคลไดๆไนที่ไกล้เคียงหรือไนบริเวนที่อาดเกิดอันตรายได้เท่าที่จำเปน แต่ถ้ามีการเสียหายเกิดขึ้นต้องชดไช้ค่าสินไหมทดแทน

                มาตรา ๘  รัถมนตรีมีอำนาดไห้เรียกเก็บค่าชลประทานจากเจ้าของที่ดินที่ได้รับประโยชน์จากการชลประทานไนเขตชลประทานได้ไนอัตราไม่เกินไร่ละห้าสิบสตางค์ต่อปี โดยออกกดกะซวงกำหนดเขตที่ที่จะเรียกเก็บอัตราค่าชลประทานและการยกเว้น

ผู้ที่ต้องเสียค่าชลประทานมีหน้าที่ต้องนำค่าชลประทานไปชำระนะที่ว่าการอำเพอท้องที่ พายไนเวลาที่เจ้าพนักงานจะได้กำหนดโดยประกาสไห้ซาบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวัน

                 มาตรา ๙  เพื่อไห้ได้รับประโยชน์จากการชลประทาน ถ้าไม่สามารถจะทำได้โดยวิธีอื่น ไห้เจ้าของที่ดินที่หยู่ห่างทางน้ำหรือแหล่งน้ำไดมีสิทธิทำทางน้ำผ่านที่ดินของผู้อื่นได้ ไนเมื่อนายช่างชลประทาน ข้าหลวงประจำจังหวัด หรือนายอำเพอได้อนุญาตและกำหนดไห้โดยกว้างรวมทั้งที่ทิ้งดินด้วยไม่เกินสิบเมตร แต่ต้องไช้ค่าสินไหมทดแทนไห้แก่เจ้าของและผู้ครอบครองที่ดินที่ทางน้ำนั้นผ่าน

ไนการที่จะไห้อนุญาตและกำหนดทางน้ำนั้น ไห้คำนึงถึงประโยชน์ของเจ้าของและผู้ครอบครองที่ดินที่ทางน้ำผ่าน และไห้กำหนดไห้ทำตรงที่ที่จะเสียหายแก่เจ้าของและผู้ครอบครองที่ดินนั้นน้อยที่สุด

หมวด ๒

การก่อส้าง

                  

                  มาตรา ๑๐  เจ้าพนักงานมีอำนาดที่จะเข้าไปไนที่ดินของบุคคลได ๆ เพื่อทำงานสำหรวดตรวดสอบอันเกี่ยวกับการชลประทานได้ ไนเมื่อได้แจ้งเปนหนังสือไห้ซาบล่วงหน้าตามสมควน แต่ถ้ามีการเสียหายเกิดขึ้น ต้องชดไช้ค่าสินไหมทดแทน

                  มาตรา ๑๑  ไนการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อขุดหรือขยายทางน้ำชลประทานประเภท ๒ ถ้าที่ดินของผู้ไดที่ถูกขุดหรือขยายทางน้ำนั้น ถูกเวนคืนไม่เกินหนึ่งไนสิบของที่ดินทั้งหมดและที่ดินส่วนที่เหลือหยู่มีเนื้อที่ไม่ต่ำกว่า ๕ ไร่ ก็ไม่จำต้องไห้เงินค่าทำขวันแก่เจ้าของที่ดินผู้นั้น แต่ถ้าเกินกว่าหนึ่งไนสิบ ก็ไห้คิดเงินค่าทำขวันไห้ฉเพาะส่วนที่เกินกว่าหนึ่งไนสิบ

ไนกรนีที่ที่ดินที่เหลือหยู่มีเนื้อที่ต่ำกว่า ๕ ไร่ ถ้าเจ้าของที่ดินประสงค์จะเวนคืนไห้ทั้งหมด ก็ไห้กรมชลประทานรับไว้โดยคิดเงินค่าทำขวันไห้

                  มาตรา ๑๒  เจ้าพนักงานมีอำนาดที่จะเข้าครอบครองและไช้ที่ดินที่ได้เวนคืนตามกดหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อทำประโยชน์ไนการชลประทานได้แม้จะยังมิได้ชำระเงินค่าทำขวัน แต่เจ้าพนักงานต้องแจ้งไห้เจ้าของและผู้ครอบครองที่ดินซาบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวัน

ไนกรนีที่ไม่สามารถส่งแจ้งความไห้ถึงเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินนั้นได้ ไห้แจ้งโดยวิธีปิดแจ้งความไว้นะที่ดินนั้น และเมื่อครบกำหนดสี่สิบห้าวันนับแต่วันปิดแจ้งความแล้ว ไห้เจ้าพนักงานเข้าครอบครองและไช้ที่ดินนั้นได้

หมวด ๓

การบำรุงรักสา

                  

มาตรา ๑๓  อธิบดีมีอำนาดแต่งตั้งบุคคลที่มิไช่เจ้าหน้าที่ของกรมชลประทานไห้เปนเจ้าพนักงานมีอำนาดหน้าที่ฉเพาะดูแลรักสาเขตทางน้ำชลประทานและสิ่งก่อส้างได้ โดยประกาสไนราชกิจจานุเบกสา

มาตรา ๑๔  รัถมนตรีมีอำนาดออกกดกะซวงเพื่อดำเนินการดังต่อไปนี้

ก. กำหนดการไช้เรือแพไนทางน้ำชลประทานประเภท ๑ และประเภท ๒

ข. กำหนดอัตราค่าบำรุงทางน้ำชลประทาน ซึ่งจะเรียกเก็บจากบันดาผู้ไช้เรือแพผ่านประตูน้ำไนทางน้ำนั้น แต่ต้องไม่เกินอัตราไนบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้

ค. กำหนดเครื่องมือและวิธีที่จะไช้ไนการจับสัตวน้ำตลอดจนกำหนดเขตหวงห้ามจับสัตวน้ำไนทางน้ำชลประทาน เพื่อป้องกันการเสียหายแก่การชลประทาน

                   มาตรา ๑๕  พายไนบังคับแห่งมาตรา ๑๑ เพื่อประโยชน์แห่งการชลประทาน อธิบดีมีอำนาดปิด กั้น หรือเปิดน้ำ ขุด ซ่อม หรือดัดแปลงแก้ไขทางน้ำชลประทานทั้งหมด หรือแต่บางส่วนตามระยะเวลาที่จำเปน หรือจะจัดไห้มีสิ่งก่อส้างขึ้นไนทางน้ำนั้นก็ได้ และมีอำนาดวางระเบียบปติบัติเพื่อความปลอดภัยหรือเพื่อประโยชน์ของการชลประทานโดยประกาสการปิดหรือเปิดและระเบียบนี้ไนหนังสือพิมพ์รายวันและปิดไว้นะที่ชุมนุมชนไนท้องถิ่นตามแต่จะเห็นสมควนล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน

ไนกรนีฉุกเฉิน อธิบดีมีอำนาดดำเนินการตามความไนวัคก่อนไปก่อนประกาสได้

มาตรา ๑๖  อธิบดีมีอำนาดที่จะห้าม จำกัด หรือกำหนดเงื่อนไขไนการไช้เรือ แพ การไช้น้ำ การระบายน้ำ หรือการอื่น ไนทางน้ำชลประทานประเภท ๔ โดยประกาสไนหนังสือพิมพ์รายวันและปิดไว้นะที่ชุมนุมชนไนท้องถิ่นตามแต่จะเห็นสมควน

มาตรา ๑๗  กำนัน ผู้ไหย่บ้าน หรือเทสมนตรีไนท้องที่ซึ่งหยู่ไนเขตชลประทานมีหน้าที่ดูแลรักสาคันคลองและทางน้ำชลประทานอันหยู่ไนเขตท้องที่หรือเขตเทสบาลนั้น

                 มาตรา ๑๘  อธิบดีมีอำนาดยกเว้นการเก็บค่าชลประทานแก่กำนัน ผู้ไหย่บ้าน และเทสมนตรี ตามที่บัญญัติไว้ไนมาตราก่อน หรือผู้ที่กำนัน ผู้ไหย่บ้าน หรือเทสมนตรีจะได้ระบุนามไห้เปนผู้ได้รับการยกเว้นแทนทั้งหมด หรือแต่บางส่วนไนอัตรา ดังต่อไปนี้

ก. กำนัน และเทสมนตรีคนละห้าสิบไร่

ข. ผู้ไหย่บ้าน คนละยี่สิบห้าไร่

                  มาตรา ๑๙  ไนการขุดซ่อมทางน้ำชลประทาน ถ้าไม่มีที่เททิ้งมูนดิน ก็ไห้มีอำนาดเททิ้งมูนดินไนที่ดินที่ไกล้เคียงได้ตามความจำเปน แต่ทั้งนี้ถ้าทำไห้เสียหายแก่พืชผลหรือสิ่งปลูกส้างซึ่งมีหยู่ไนขณะนั้นแล้ว ต้องไช้ค่าสินไหมทดแทน

มาตรา ๒๐  เมื่อเจ้าพนักงานได้ส่งน้ำ ระบายน้ำ หรือสูบน้ำเข้าไปไนที่ดินแห่งไดเพื่อประโยชน์ไนการเพาะปลูก ห้ามมิไห้ผู้ไดปิดกั้นน้ำไว้ด้วยวิธีได ๆ จนเปนเหตุไม่ไห้น้ำไหลไปสู่ที่ดินไกล้เคียงหรือปลายทาง

                 ถ้าเห็นสมควน เจ้าพนักงานหรือนายอำเพอหรือผู้ทำการแทนนายอำเพอมีอำนาดที่จะสั่งเปนหนังสือไห้เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินหรือผู้ทำการเพาะปลูก ไห้เปิดสิ่งที่ปิดกั้นน้ำไว้ตามที่จะกำหนดไห้หรือจัดการเปิดเสียเองก็ได้ ไนการนี้เจ้าพนักงานหรือนายอำเพอหรือผู้ทำการแทนนายอำเพอมีอำนาดเข้าไปไนที่ดินแห่งหนึ่งแห่งได เพื่อตรวดและจัดการดังกล่าวแล้ว

                  มาตรา ๒๑  เมื่อเจ้าพนักงานได้ส่งน้ำหรือสูบน้ำเข้าไปไนที่ดินแห่งไดเพื่อประโยชน์ไนการเพาะปลูก เจ้าพนักงานหรือนายอำเพอหรือผู้ทำการแทนนายอำเพอมีอำนาดสั่งไห้เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินหรือผู้ทำการเพาะปลูกบนพื้นที่ดินพายไนบริเวนที่จะได้รับน้ำนั้นกะทำหย่างหนึ่งหย่างไดพายไนระยะเวลาที่จะได้กำหนดไห้ เพื่อกักน้ำนั้นไว้ไม่ไห้ไหลไปเสียเปล่าจนเปนเหตุไห้ที่ดินข้างเคียงไม่ได้รับน้ำตามที่ควน

                มาตรา ๒๒  เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินรายไดไม่ปติบัติตามความที่บัญญัติไนมาตรา ๒๐ วัค ๑ หรือไม่ปติบัติตามคำสั่งตามความไนมาตรา ๒๐ วัค ๒ หรือมาตรา ๒๑ นอกจากจะถูกลงโทสตามที่บัญญัติไว้ไนพระราชบัญญัตินี้แล้ว เจ้าพนักงานมีอำนาดที่จะจัดหาแรงงานเข้าทำแทน และคิดค่าจ้างแรงงานตามอัตราไนท้องถิ่นจากเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินนั้นได้แล้วแต่กรนี

มาตรา ๒๓  ห้ามมิไห้ผู้ไดเพาะปลูกหรือปลูกส้างสิ่งหนึ่งสิ่งไดไนทางน้ำชลประทาน หรือรุกล้ำทางน้ำชลประทาน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเปนหนังสือจากนายช่างชลประทาน

มาตรา ๒๔  ถ้ามีต้นไม้ไนที่ดินของผู้ไดรุกล้ำทางน้ำชลประทานหรือทำไห้เสียหายแก่ทางน้ำชลประทาน ไห้เจ้าพนักงานมีอำนาดสั่งไห้เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินนั้นตัดหรือนำต้นไม้นั้นไปไห้พ้นเสียได้

มาตรา ๒๕  ห้ามมิไห้ผู้ไดกะทำหย่างหนึ่งหย่างไดอันเปนการกีดขวางแก่ทางน้ำชลประทาน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเปนหนังสือจากเจ้าพนักงานเปนการชั่วคราว

มาตรา ๒๖  ห้ามมิไห้ผู้ไดกะทำหย่างหนึ่งหย่างไดอันเปนเหตุไห้น้ำไนทางน้ำชลประทานรั่วไหล เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเปนหนังสือจากเจ้าพนักงาน

                 มาตรา ๒๗  ห้ามมิไห้ผู้ไดนำหรือปล่อยสัตวพาหนะลงไปไนทางน้ำชลประทานประเภท ๑ และประเภท ๒ หรือเหยียบย่ำคันคลอง ชานคลอง หรือบริเวนสิ่งก่อส้างอันเกี่ยวกับการชลประทาน เว้นแต่ไนที่ที่ได้กำหนดอนุญาตไว้หรือได้รับอนุญาตเปนหนังสือจากเจ้าพนักงาน

มาตรา ๒๘  ห้ามมิไห้ผู้ไดทิ้งมูนฝอย ซากสัตว ซากพืช เถ้าถ่านหรือสิ่งปติกูลลงไนทางน้ำชลประทาน หรือทำไห้น้ำเปนอันตรายแก่การเพาะปลูก หรือการบริโภค

มาตรา ๒๙  ห้ามมิไห้ผู้ไดทำไห้ประตูน้ำ ฝาย เขื่อนระบาย ประตูระบาย ท่อน้ำ ท่อเชื่อม สพานทางน้ำ ปูม เสา หรือสายโทรสัพท์ ที่ไช้ไนการชลประทานเสียหายจนอาดเกิดอันตรายหรือขัดข้องแก่การไช้สิ่งที่กล่าวนั้น

มาตรา ๓๐  ห้ามมิไห้ผู้ไดกะทำการหย่างหนึ่งหย่างไดอันจะทำไห้เสียหายแก่คันคลอง ชานคลอง ทำนบ พนัง หรือหมุดระดับหลักถานที่ไช้ไนการชลประทาน

มาตรา ๓๑  ห้ามมิไห้ผู้ไดกะทำการหย่างหนึ่งหย่างไดอันจะเปนการกีดขวางแก่แนวทางที่ได้สำหรวดไว้ หรือเขตงาน หรือทำไห้แนวทางที่ได้สำหรวดไว้ หรือหมุดหมายสแดงเขตงานคลาดเคลื่อนหรือสูญหาย

มาตรา ๓๒  ห้ามมิไห้ผู้ได นอกจากเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ ปิดหรือเปิดประตูน้ำ เขื่อนระบาย ประตูระบาย ท่อน้ำ ท่อเชื่อม สพานทางน้ำ หรือปูม

มาตรา ๓๓  ห้ามมิไห้ผู้ได นอกจากนายช่างชลประทานหรือผู้ที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดี ทำการแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือรื้อถอนบันดาสิ่งก่อส้างอันเกี่ยวกับการชลประทาน

มาตรา ๓๔  ห้ามมิไห้ผู้ไดขุด ลอก ทางน้ำชลประทานอันจะทำไห้เสียหายแก่การชลประทานหรือปิดกั้นทางน้ำชลประทาน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากอธิบดี

มาตรา ๓๕  เจ้าพนักงานมีอำนาดสั่งห้ามมิไห้ผู้ไดชักหรือไช้น้ำไนทางน้ำชลประทานไนเมื่อเห็นว่าจะเปนเหตุที่จะก่อไห้เกิดการเสียหายแก่ผู้อื่น

หมวด ๔

บทกำหนดโทส

                  

มาตรา ๓๖  ผู้ไดฝ่าฝืนมาตรา ๒๐ วัค ๑ มาตรา ๒๕ หรือมาตรา ๒๘ หรือไม่ปติบัติตามคำสั่งตามมาตรา ๒๔ มีความผิดต้องระวางโทสจำคุกไม่เกินสิบวัน หรือปรับไม่เกินห้าสิบบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๓๗  ผู้ไดฝ่าฝืนมาตรา ๒๓ มาตรา ๒๖ มาตรา ๓๐ หรือมาตรา ๓๑ มีความผิดต้องระวางโทสจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

                    มาตรา ๓๘  ผู้ไดฝ่าฝืนกดกะซวงซึ่งออกตามมาตรา ๑๔ หรือฝ่าฝืนข้อห้าม ข้อจำกัด หรือเงื่อนไขซึ่งอธิบดีกำหนดตามความไนมาตรา ๑๖ หรือไม่ปติบัติตามคำสั่งซึ่งได้สั่งตามมาตรา ๒๐ วัค ๒ มาตรา ๒๑ หรือมาตรา ๓๕ มีความผิดต้องระวางโทสจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๓๙  ผู้ไดฝ่าฝืนมาตรา ๒๗ มีความผิดต้องระวางโทสปรับเรียงตามตัวสัตว ตัวละไม่เกินสิบบาท

มาตรา ๔๐  ผู้ไดฝ่าฝืนมาตรา ๒๙ มีความผิดต้องระวางโทสจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท

มาตรา ๔๑  ผู้ไดฝ่าฝืนมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ หรือมาตรา ๓๔ มีความผิดต้องระวางโทสจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

หมวด ๕

การรักสาพระราชบัญญัติ

                  

มาตรา ๔๒  ไห้รัถมนตรีว่าการกะซวงกเสตราธิการรักสาการตามพระราชบัญญัตินี้ และไห้มีอำนาดออกกดกะซวงเพื่อปติบัติการไห้เปนไปตามพระราชบัญญัตินี้

กดกะซวงนั้น เมื่อได้ประกาสไนราชกิจจานุเบกสาแล้วไห้ไช้บังคับได้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

จอมพล ป.  พิบูลสงคราม

นายกรัถมนตรี

บัญชีอัตราค่าบำรุงทางน้ำชลประทานตามความไนมาตรา ๑๔

เลขที่

รายการ อัตราค่าบำรุงทางน้ำชลประทาน ครั้งละ
บาท สตางค์

๑.

๒.

๓.

เรือยนต์หรือเรือกลไฟ

ก.       ขนาดกว้างไม่เกิน ๑ เมตร คิดอัตราตามความยาวของเรือเมตรละ

ข.       ขนาดกว้างเกินกว่า ๑ เมตร แต่ไม่เกิน ๒ เมตร คิดอัตราตามความยาวของเรือเมตรละ

ค.       ขนาดกว้างเกินกว่า ๒ เมตร ขึ้นไป คิดอัตราตามความยาวของเรือเมตรละ

เสสของเมตรถ้าเกินกว่าครึ่งไห้นับเปน ๑ เมตร ถ้าไม่เกินให้ปัดทิ้ง

เรือชนิดอื่น ๆ นอกจากเรือยนต์หรือเรือกลไฟ

ก.       ขนาดกว้างไม่เกิน ๑ เมตร ลำละ

ข.       ขนาดกว้างเกินกว่า ๑ เมตร แต่ไม่เกิน ๑.๕๐ เมตร ลำละ

ค.       ขนาดกว้างเกินกว่า ๑.๕๐ เมตร แต่ไม่เกิน ๒ เมตร ลำละ

ง.        ขนาดกว้างเกินกว่า ๒ เมตร แต่ไม่เกิน ๒.๕๐ เมตร ลำละ

จ.       ขนาดกว้างเกินกว่า ๒.๕๐ เมตร แต่ไม่เกิน ๓ เมตร ลำละ

ฉ.       ขนาดกว้างเกินกว่า ๓ เมตร แต่ไม่เกิน ๓.๕๐ เมตร ลำละ

ช.       ขนาดกว้างเกินกว่า ๓.๕๐ เมตร แต่ไม่เกิน ๔ เมตร ลำละ

ซ.       ขนาดกว้างเกินกว่า ๔ เมตร แต่ไม่เกิน ๕ เมตร ลำละ

ฌ.     ขนาดกว้างเกินกว่า ๕ เมตร แต่ไม่เกิน ๖ เมตร ลำละ

แพต่าง ๆ ตารางเมตรละ

เสสของตารางเมตร ถ้าเกินกว่าครึ่งไห้นับเป็น ๑ ตารางเมตร ถ้าไม่เกินไห้ปัดทิ้ง

๓๐

๔๐

๕๐

๑๐

๒๕

๕๐

๗๐

๐๕

พรพิมล/แก้ไข

๑๒ กันยายน ๒๕๔๔

A+B (C)

พัชรินทร์/แก้ไข

๗ มกราคม ๒๕๔๘

วศิน/แก้ไข

๑๘ มีนาคม ๒๕๕๒

จุฑามาศ/ปรับปรุง

๑๑ มกราคม ๒๕๕๖

[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๙/ตอนที่ ๖๒/หน้า ๑๖๗๖/๒๒ กันยายน ๒๔๘๕