การรุกตัวของน้ำเค็ม

 

อิทธิพลของน้ำขึ้นน้ำลงที่ปากแม่น้ำเป็นตัวแปรที่สำคัญประการหนึ่งที่มีผลต่อการรุกล้ำของน้ำเค็ม ถ้าการขึ้นลงของระดับน้ำทะเลที่ปากแม่น้ำมีความรุนแรงมาก ปริมาณน้ำเค็มก็จะถูกดันเข้าไปในแม่น้ำได้มาก การรุกล้ำของน้ำเค็มจะมีมาก และในทางกลับกันถ้าการขึ้นลงของระดับน้ำทะเลที่ปากแม่น้ำมีความรุนแรงน้อย การรุกล้ำของน้ำเค็มจะมีน้อย ซึ่งจากผลการศึกษาของบริษัทที่ปรึกษาเมื่อปี พ.ศ.2537 ช่วงเดือนเมษายน พบว่าระดับการขึ้นลงของระดับน้ำทะเลส่งผลไปถึงบริเวณอำเภอชะอวดที่อยู่ห่างจากแม่น้ำปากพนังประมาณ 100 กิโลเมตร

นอกจากนี้ปัจจัยทางธรรมชาติและปัจจัยที่มนุษย์ก่อขึ้นเองอีกหลายประการมีผลต่อการรุกล้ำของน้ำเค็ม ปัจจัยทางธรรมชาติ เช่น ลักษณะทางกายภาพของลำน้ำ ความลึกตื้นของลำน้ำ ส่วนปัจจัยที่มนุษย์ก่อขึ้น เช่น การนำน้ำจืดจากต้นน้ำไปใช้เพื่อการเกษตรมากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูแล้ง ทำให้น้ำจืดที่ใช้ผลักดันน้ำเค็มมีน้อยลงและการระบายน้ำเค็มลงสู่ลำน้ำเนื่องจากมีการเพาะเลี้ยงกุ้งตามแนวชายฝั่งแม่น้ำปากพนังมาก การเปลี่ยนถ่ายน้ำในนากุ้งลงสู่คลองต่างๆ ที่ต่อเชื่อมกับแม่น้ำปากพนังจะเป็นผลให้น้ำเค็มจากนากุ้งไหลลงสู่แม่น้ำปากพนัง

 

ที่มา: http://wupakphanang.com/index.php?option=com_content&view=article&id=78&Itemid=81

 


พระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้อง

  1. พระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พ.ศ.2485
    เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่บทบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะในพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พุทธศักราช ๒๔๘๕ บางอย่างไม่เหมาะสมและซ้ำซ้อนกับบทบัญญัติในกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ได้ปรับปรุงใหม่แล้ว สมควรยกเลิกบทบัญญัติดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

  2. พระราชบัญญัติการประปานครหลวง พ.ศ. 2510
    เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติการประปานครหลวง พ.ศ. ๒๕๑๐ ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน บทบัญญัติต่าง ๆ ไม่เหมาะสมกับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการปรับปรุง และขยายกิจการที่เกี่ยวเนื่องกับหรือเป็นประโยชน์แก่การประปา เพื่อให้การประปานครหลวงสามารถบริการประชาชนได้อย่างกว้างขวางและดำเนินการเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่ประชาชนได้มากยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

  3. พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550
    เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากการปฏิรูประบบราชการตามพระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้จัดตั้งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขึ้นเป็นส่วนราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทย มีภารกิจหลักในการดำเนินการป้องกัน บรรเทา ฟื้นฟูสาธารณภัยและอุบัติภัย ซึ่งมีผลทำให้งานด้านสาธารณภัยและงานด้านอุบัติภัย ที่เดิมดำเนินการโดยกองป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี มารวมอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานเดียวกัน นอกจากนี้กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและระงับอัคคีภัย เป็นกฎหมายที่มีสาระสำคัญและรายละเอียดเกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในด้านของอัคคีภัย รวมทั้ง หน่วยงานที่จะต้องปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายดังกล่าวก็เป็นหน่วยงานเดียวกัน เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและแนวทางเดียวกัน ตลอดจนเพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพในการอำนวยการและบริหารจัดการเกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จึงเห็นสมควรนำกฎหมายว่าด้วยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน และกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและระงับอัคคีภัย มาบัญญัติไว้รวมกัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้