กฎกระทรวงเศรษฐการ ว่าด้วยการนำร่อง ออกตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำสยาม แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2477 (ฉบับที่ 2)

กฎกระทรวงเศรษฐการ

ว่าด้วยการนำร่อง ออกตามความในมาตรา ๔

แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำสยาม

แก้ไขเพิ่มเติม

พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒)[๑]

                  

 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการออกกฎกระทรวงว่าด้วยการนำร่องไว้ดังต่อไปนี้

 

หมวด ๑

การออกใบอนุญาตเป็นผู้นำร่อง

                       

ข้อ ๑[๒]  ผู้นำร่องทั่วไปภายในน่านน้ำไทย แบ่งออกเป็น ๔ ชั้น และมีหน้าที่ทำการนำร่องเรือต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

(๑) ผู้นำร่องชั้นอาวุโส ทำการนำร่องเรือได้ทุกขนาด

(๒) ผู้นำร่องชั้น ๑ ทำการนำร่องเรือที่มีขนาดความยาวตลอดลำไม่เกิน ๕๖๕ ฟุต (๑๗๒.๒๖ เมตร)

(๓) ผู้นำร่องชั้น ๒ แบ่งออกเป็น

ชั้น ๒ ก.  ทำการนำร่องเรือที่มีขนาดความยาวตลอดลำไม่เกิน ๕๐๐ ฟุต (๑๕๒.๔๔ เมตร)

ชั้น ๒ ข.  ทำการนำร่องเรือที่มีขนาดความยาวตลอดลำไม่เกิน ๔๕๐ ฟุต (๑๓๗.๒๐ เมตร)

ชั้น ๒ ค.  ทำการนำร่องเรือที่มีขนาดความยาวตลอดลำไม่เกิน ๔๐๐ ฟุต (๑๒๑.๙๒ เมตร)

ในกรณีจำเป็นที่ไม่มีผู้นำร่องที่เหมาะสมกับหน้าที่ตาม (๑) (๒) หรือ (๓) ที่จะทำการนำร่องเรือลำหนึ่งลำใดเป็นพิเศษ เจ้าท่าอาจสั่งให้ผู้นำร่องที่อยู่ในชั้นต่ำกว่าเกณฑ์ข้างต้นทำการนำร่องเรือลำนั้นได้

 

ข้อ ๒[๓]  ผู้สมัครเป็นผู้นำร่องชั้น ๒ ค. ต้องมีคุณสมบัติดังนี้

(๑) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นสูงสุดจากโรงเรียนนายเรือ  กองทัพเรือไทย  หรือ  กองทัพเรือต่างประเทศ  หรือเป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นสูงสุดตามหลักสูตรฝ่ายเดินเรือ  จากสถาบันการเดินเรือของรัฐบาลไทยหรือรัฐบาลต่างประเทศ และ

(ก) ถ้าเป็นนายทหารสัญญาบัตร  ต้องมียศไม่ต่ำกว่าเรือเอก  เรืออากาศเอก  หรือร้อยเอก

(ข) ถ้าเป็นนายตำรวจสัญญาบัตร  ต้องมียศไม่ต่ำกว่าร้อยตำรวจเอก หรือ

(ค) ถ้าเป็นหรือเคยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ  ต้องดำรงหรือเคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ ๖

ในกรณีที่เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นสูงสุดจากโรงเรียนนายเรือ กองทัพเรือไทยหรือกองทัพเรือต่างประเทศ  จะต้องดำรงหรือเคยดำรงตำแหน่งผู้บังคับการเรือหรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี  หรือปฏิบัติหน้าที่นายเรือ (MASTER) มาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี  และได้รับประกาศนียบัตรชั้น ๑ (นายเรือ) จากกรมเจ้าท่าหรือที่กรมเจ้าท่ารับรอง

ในกรณีที่เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นสูงสุดตามหลักสูตรฝ่ายเดินเรือจากสถาบันการเดินเรือของรัฐบาลไทยหรือรัฐบาลต่างประเทศ จะต้องเป็นหรือเคยเป็นนายเรือ (MASTER) ของเรือกลเดินในเขตเอเซียตะวันออกเฉียงใต้หรือของเรือกลเดินต่างประเทศที่มีขนาดความยาวตลอดลำไม่น้อยกว่า ๔๕๐ ฟุต (๑๓๗.๒๐ เมตร) มาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปีและได้รับประกาศนียบัตรชั้น ๑ (นายเรือ) จากกรมเจ้าท่าหรือที่กรมเจ้าท่ารับรอง

(๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบปีบริบูรณ์  แต่ไม่เกินสี่สิบห้าปีบริบูรณ์ในวันรับสมัครและ

(๓) มีคุณสมบัติทั่วไปครบถ้วนที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญได้ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน

 

ข้อ ๒ ทวิ[๔]  ให้กรมเจ้าท่าประกาศรับสมัครบุคคลเพื่อเข้ารับการฝึกการนำร่องและสอบไล่เป็นผู้นำร่องชั้น ๒ ค. จากผู้มีคุณสมบัติตามข้อ ๒ เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน

เมื่อกรมเจ้าท่าได้ประกาศรับสมัครบุคคลเพื่อเข้ารับการฝึกการนำร่องดังกล่าวแล้ว ถ้ามีผู้ยื่นใบสมัครเกินจำนวนที่ต้องการ  ให้กรมเจ้าท่าดำเนินการสอบคัดเลือกตามวิธีการที่กรมเจ้าท่าเห็นสมควรเพื่อให้ได้จำนวนผู้สมัครเพียงเท่าที่กรมเจ้าท่าต้องการก่อนที่กรมเจ้าท่าจะจัดให้ผู้สมัครเข้ารับการฝึกการนำร่อง

 

ข้อ ๓[๕]  การยื่นใบสมัครขอรับใบอนุญาตเป็นผู้นำร่องชั้น ๒ ค. และผู้นำร่องพิเศษ ให้ผู้สมัครยื่นใบสมัครตามแบบที่กรมเจ้าท่ากำหนด พร้อมด้วยเอกสารดังต่อไปนี้ต่ออธิบดีกรมเจ้าท่า คือ

(๑) ใบรับรองแพทย์ที่ออกให้โดยผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันชั้น ๑ สาขาเวชกรรม ซึ่งแสดงว่าผู้สมัครเป็นผู้มีร่างกายสมบูรณ์และมีสายตาดี

(๒) ประกาศนียบัตรหรือใบรับรองแสดงความรู้หรือประกาศนียบัตรนายเรือของเรือเดินต่างประเทศ และ

(๓) ใบรับรองความประพฤติซึ่งแสดงว่าผู้สมัครเป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อยและไม่เป็นผู้ติดยาเสพติดให้โทษ

 

ข้อ ๔[๖]  เมื่อได้รับใบสมัครตามข้อ ๓ ไว้แล้ว เฉพาะกรณีผู้สมัครขอรับใบอนุญาตเป็นผู้นำร่องชั้น ๒ ค. ให้กรมเจ้าท่าจัดให้เข้ารับการฝึกการนำร่องต่อไป

 

ข้อ ๕[๗]  ให้หัวหน้าผู้นำร่องซึ่งอธิบดีกรมเจ้าท่ามอบหมายเป็นเจ้าหน้าที่ฝึกและควบคุมดูแลการฝึกการนำร่อง

การฝึกการนำร่องให้มีระยะเวลาไม่น้อยกว่าหกเดือนแต่ไม่เกินหนึ่งปี เว้นแต่ในกรณีที่อธิบดีกรมเจ้าท่าเห็นสมควรตามคำแนะนำของหัวหน้าผู้นำร่อง จะกำหนดระยะเวลาการฝึกให้น้อยหรือมากกว่าระยะเวลาดังกล่าวก็ได้

เมื่อผู้ฝึกการนำร่องได้ทำการฝึกการนำร่องครบกำหนดระยะเวลาตามวรรคสองแล้ว ให้หัวหน้าผู้นำร่องรายงานผลการฝึก ความประพฤติ พร้อมทั้งเสนอความเห็นเกี่ยวกับผู้ฝึกการนำร่องเป็นรายบุคคล เสนอตามลำดับชั้นถึงอธิบดีกรมเจ้าท่าเพื่อพิจารณารับเข้าสอบไล่เป็นผู้นำร่องต่อไป

 

ข้อ ๖[๘]  ในการสอบไล่เป็นผู้นำร่องชั้น ๒ ค. ให้อธิบดีกรมเจ้าท่าตั้งคณะกรรมการสอบไล่ขึ้นคณะหนึ่ง มีจำนวนสามคนประกอบด้วย

(๑) หัวหน้าผู้นำร่อง

(๒) ผู้อำนวยการกองตรวจการขนส่งทางน้ำ

(๓) นายเรือของเรือต่างประเทศ

ข้อ ๗[๙]  หลักสูตรการสอบไล่เป็นผู้นำร่องชั้น ๒ ค. ให้เป็นไปดังนี้

(๑) ความรู้เกี่ยวกับวิชาการเรือทั่วไป ซึ่งได้แก่การบังคับเรือที่มีขนาดความยาวตลอดลำไม่เกิน ๔๐๐ ฟุต (๑๒๑.๙๒ เมตร) ได้ทุกสภาพและเหตุการณ์ ความสามารถในการนำร่องเรือที่มีขนาดความยาวดังกล่าวข้างต้นเข้าและออกระหว่างเขตที่กำหนดไว้ รวมทั้งการจอดเรือและการนำเรือออกจากที่จอด

(๒) ความรู้เกี่ยวกับเส้นทางในการเดินเรือและร่องน้ำ ซึ่งได้แก่ระยะทาง ตำบลทองที่ทุ่นไฟ ที่ตื้น ที่หัวโค้ง เขตท่าและที่จอดเรือ รวมทั้งเขื่อนเทียบเรือและสะพานเทียบเรือ

(๓) ความรู้เกี่ยวกับกระแสน้ำขึ้นและกระแสน้ำลงตลอดฤดูต่าง ๆ และระดับความลึกตามช่วงตอนของแม่น้ำและร่องน้ำ

(๔) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการป้องกันเรือโดนกัน กฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย และระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับหน้าที่ของผู้นำร่อง

(๕) วิธีใช้และการใช้ประมวลสัญญาณสากล

 

ข้อ ๘[๑๐]  วิธีการสอบไล่เป็นผู้นำร่องชั้น ๒ ค. ให้เป็นไปดังนี้

(๑) ภาคปฏิบัติการ ให้ทำการสอบเกี่ยวกับการบังคับเรือในเขตที่คณะกรรมการสอบไล่กำหนด โดยมอบให้ผู้นำร่องประจำเรือลำหนึ่งลำใดเป็นผู้ทำการสอบและเป็นผู้ให้คะแนนภาคปฏิบัติการ

(๒) ภาควิชาการ ให้ทำการสอบปากเปล่าต่อหัวหน้าคณะกรรมการสอบไล่

(๓) ผู้สมัครสอบที่จะถือว่าเป็นผู้สอบไล่ได้ต้องสอบไล่ภาคปฏิบัติการได้คะแนนรวมไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๗๐ และภาควิชาการได้คะแนนรวมไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๖๐

 

ข้อ ๙[๑๑]  เมื่อทำการสอบไล่เสร็จแล้ว ให้คณะกรรมการสอบไล่รายงานผลการสอบไล่เสนอต่ออธิบดีกรมเจ้าท่าเพื่อพิจารณาประกาศผลผู้สมัครสอบที่สอบไล่ได้ และออกใบอนุญาตเป็นผู้นำร่องให้ต่อไปสำหรับผู้สมัครสอบที่สอบไล่ตก คณะกรรมการสอบไล่จะได้ให้ทำการฝึกการนำร่องต่อไปอีกสองเดือน แล้วจึงให้สอบไล่เพื่อแก้ตัวเป็นครั้งที่สอง ถ้าผู้สมัครสอบสอบไล่ตก จะไม่มีสิทธิทำการฝึกนำร่อง และสอบไล่เป็นผู้นำร่องอีก แต่ถ้าผู้สมัครสอบไล่ได้ให้ดำเนินการตามวรรคหนึ่งต่อไป

ข้อ ๑๐[๑๒]  การเลื่อนชั้นของผู้นำร่อง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

(๑) ผู้ที่จะเลื่อนชั้นเป็นผู้นำร่องชั้น ๒ ข. ได้ต้องได้รับใบอนุญาตเป็นผู้นำร่องชั้น ๒ ค. และได้ทำการนำร่องมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าหนึ่งปี นับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้นำร่องครั้งแรก และได้ทำการนำร่องเรือที่มีความยาวตลอดลำตั้งแต่ ๓๕๐ ฟุตขึ้นไป ภายในเขตท่าที่กำหนดให้ทำการนำร่อง ขาเข้าไม่น้อยกว่าสิบเที่ยว ขาออกไม่น้อยกว่าสิบเที่ยว

(๒) ผู้ที่จะเลื่อนชั้นเป็นผู้นำร่องชั้น ๒ ก. ได้ต้องได้รับใบอนุญาตเป็นผู้นำร่องชั้น ๒ ข. มาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และได้ทำการนำร่องเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าสองปี นับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้นำร่องครั้งแรก และได้ทำการนำร่องเรือที่มีความยาวตลอดลำตั้งแต่ ๔๐๐ ฟุตขึ้นไป ภายในเขตท่าที่กำหนดให้ทำการนำร่อง ขาเข้าไม่น้อยกว่าสิบเที่ยว ขาออกไม่น้อยกว่าสิบเที่ยว

(๓) ผู้ที่จะเลื่อนชั้นเป็นผู้นำร่องชั้น ๑ ได้ ต้องได้รับใบอนุญาตเป็นผู้นำร่องชั้น ๒ ก. มาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี และได้ทำการนำร่องเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าสี่ปี นับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้นำร่องครั้งแรก และได้ทำการนำร่องเรือที่มีความยาวตลอดลำตั้งแต่ ๔๕๐ ฟุตขึ้นไป ภายในเขตท่าที่กำหนดให้ทำการนำร่อง ขาเข้าไม่น้อยกว่าสิบเที่ยว ขาออกไม่น้อยกว่าสิบเที่ยว

(๔) ผู้ที่จะเลื่อนชั้นเป็นผู้นำร่องชั้นอาวุโสได้ต้องได้รับใบอนุญาตเป็นผู้นำร่องชั้น ๑ มาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี และได้ทำการนำร่องเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าหกปี นับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้นำร่องครั้งแรก และได้ทำการนำร่องเรือที่มีความยาวตลอดลำตั้งแต่ ๕๐๐ ฟุตขึ้นไป ภายในเขตท่าที่กำหนดให้ทำการนำร่อง ขาเข้าไม่น้อยกว่าสิบเที่ยว ขาออกไม่น้อยกว่าสิบเที่ยว

ผู้นำร่องที่มีความประสงค์จะขอเลื่อนชั้น ให้ยื่นคำขอต่อหัวหน้าผู้นำร่องแล้วให้หัวหน้าผู้นำร่องขอความเห็นจากผู้นำร่องชั้นที่สูงกว่าทั้งหมด ซึ่งทำการนำร่องในเขตท่าหรือน่านน้ำเดียวกัน ถ้าความเห็นส่วนมากเห็นว่าผู้นั้นมีคุณสมบัติเหมาะสมให้หัวหน้าผู้นำร่อง เสนอความเห็นต่ออธิบดีกรมเจ้าท่าเพื่อพิจารณาชี้ขาดและออกใบอนุญาตที่ขอเลื่อนชั้นให้

 

ข้อ ๑๑[๑๓]  ผู้นำร่องชั้นอาวุโสซึ่งได้ทำการนำร่องมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าสิบปีนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้นำร่องชั้น ๒ ค. ให้อธิบดีกรมเจ้าท่าพิจารณาเสนอรายนามต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเพื่อประกาศรับรองเป็นผู้เชี่ยวชาญการนำร่อง

 

ข้อ ๑๒[๑๔]  สำหรับผู้นำร่องซึ่งได้รับอนุญาตเป็นผู้นำร่องก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ให้หัวหน้าผู้นำร่องเสนอรายชื่อผู้นำร่องดังกล่าวต่ออธิบดีกรมเจ้าท่าเพื่อออกใบอนุญาตเป็นผู้นำร่องตามกฎกระทรวงนี้ให้ใหม่

 

ข้อ ๑๓[๑๕]  ผู้สมัครสอบเป็นผู้นำร่องพิเศษนั้น จะต้องเคยเป็นนายเรือหรือผู้บังคับการเรือของเรือเดินทะเลที่ชักธงสยาม และเดินติดต่อกับท่าเรือที่บังคับการนำร่องนั้นมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๒ ปี และต้องเป็นนายเรือที่ชักธงสยามลำที่จะสมัครสอบไล่นั้น โดยเคยนำเรือเข้าออกหรือใช้ผู้นำร่องแล้วไม่น้อยกว่า ๑๐ เที่ยว การสอบไล่ให้อนุโลมสอบตามชั้นและตามขนาดเรือที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น

ถ้าบุคคลใดสอบไล่ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้นำร่องพิเศษฉะเพาะเรือลำใดลำหนึ่งแล้วภายหลังจะขอย้ายไปเป็นผู้นำร่องพิเศษเรือลำอื่นที่ชักธงสยามโดยได้รับตำแหน่งเป็นนายเรือลำที่ขอย้ายใหม่ ทั้งได้เคยนำเรือลำนั้นเข้าออกหรือใช้ผู้นำร่องในน่านน้ำนั้นแล้วระหว่าง ๔ ถึง ๑๐เที่ยว ก็ให้อธิบดีกรมเจ้าท่าพิจารณาผ่อนผันเปลี่ยนใบอนุญาตให้ใหม่ตามขนาดเรือโดยมิต้องสอบไล่ แต่บุคคลผู้นั้นต้องเสียค่าธรรมเนียมตามอัตราในข้อ ๑๖ แห่งกฎนี้ และในกรณีเช่นนี้อธิบดีกรมเจ้าท่ามีสิทธิที่จะให้แพทย์ตรวจร่างกาย สายตา เสียก่อนก็ได้ หรือจะออกใบอนุญาตให้โดยไม่ต้องให้แพทย์ตรวจก็ได้

 

ข้อ ๑๔  ใบอนุญาตผู้นำร่อง ปรากฏตามแบบต่อท้ายกฎนี้

 

ข้อ ๑๕  ผู้ใดมีประกาศนียบัตรและใบอนุญาตสำหรับทำการนำร่องภายในน่านน้ำสยามมาแล้วก่อนประกาศใช้กฎนี้ และสมัครจะทำการนำร่องต่อไป ให้รายงานเสนอต่ออธิบดีกรมเจ้าท่า ผ่านทางหัวหน้ากองตรวจท่า ถ้าอธิบดีกรมเจ้าท่าพิจารณาเห็นเป็นการสมควรให้แพทย์ตรวจร่างกาย สายตา เสียก่อนก็ได้ หรือจะออกใบอนุญาตให้ใหม่ตามคุณวุฒิของผู้นั้น โดยไม่ต้องให้แพทย์ตรวจก็ได้ และไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามข้อ ๑๖ แห่งกฎนี้

 

 หมวด ๒

ค่าธรรมเนียมสอบไล่ผู้นำร่อง

                       

ข้อ ๑๖[๑๖]  ข้อ ๑๖  ผู้สมัครเข้าสอบไล่เป็นผู้นำร่อง ต้องเสียค่าธรรมเนียมพร้อมกับใบยื่นสมัครตามอัตราดังต่อไปนี้

สำหรับนำร่องชั้น ๒                                               ๕๐  บาท

สำหรับนำร่องชั้น ๑ หรือนำร่องพิเศษ                           ๖๐  บาท

เมื่อได้ค่าธรรมเนียมแล้ว ถึงแม้ตนจะหมดสิทธิหรือไม่ได้ทำการสอบไล่ด้วยเหตุใด ๆ ก็ตาม จะไม่คืนค่าธรรมเนียมให้

 

ข้อ ๑๗  เมื่อผู้สมัครได้ทราบกำหนดวันสอบไล่แน่นอนแล้ว ต้องนำเงินคนละ ๒๐ บาทมามอบให้หัวหน้ากองตรวจท่า ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ในการนั้นไว้เสียก่อนวันสอบไล่ เพื่อจ่ายเป็นรางวัลแก่กรรมการ ซึ่งอยู่นอกราชการ

 

ข้อ ๑๘  ผู้สมัครสอบเป็นผู้นำร่องของรัฐบาลหรือเทศบาล ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมสอบไล่และเงินรางวัลสำหรับกรรมการตามข้อ ๑๖ และ ๑๗ แต่ให้เจ้าท่าเป็นผู้จ่าย

 

 หมวด ๓

มรรยาทและหน้าที่ของผู้นำร่อง

                       

ข้อ ๑๙  ผู้นำร่องทุกคนจะต้องอยู่ในบังคับบัญชาและเชื่อฟังคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายของหัวหน้าผู้นำร่องและผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น ทั้งจะต้องประพฤติตนให้เป็นระเบียบเรียบร้อยเสมอ

 

ข้อ ๒๐[๑๗]  อธิบดีกรมเจ้าท่ามีสิทธิที่จะขออนุญาตให้ผู้นำร่องลาพักหรือลาป่วยได้ แต่ถ้าอธิบดีกรมเจ้าท่าไม่อยู่ ก็ให้ผู้อำนวยการกองนำร่องอนุญาตให้ลาได้เฉพาะกรณีดังต่อไปนี้

(๑) ป่วยในเมื่อมีใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบัน ชั้น ๑

(๒) กิจธุระส่วนตัวอันจำเป็นในเมื่อหัวหน้าผู้นำร่องรับรองว่าจะไม่เสียการงานในรอบเวรของผู้นั้น

 

ข้อ ๒๑  ผู้นำร่องคนใดได้รับอนุญาตให้ลาป่วยแล้ว จะกลับมาทำงานอีกไม่ได้จนกว่าจะมีใบรับรองของแพทย์แผนปัจจุบันชั้น ๑ มาแสดงว่าร่างกายสมบูรณ์พอที่จะปฏิบัติการงานได้ต่อไป

 

ข้อ ๒๒  ผู้นำร่องที่กลับจากการลาจะต้องรายงานแสดงตนต่อหัวหน้าผู้นำร่องและเจ้าท่า

 

ข้อ ๒๓  ผู้นำร่องคนใดได้หยุดงานในหน้าที่ติดต่อกันมีกำหนดตั้งแต่ ๖ เดือนขึ้นไป จะกลับเข้าทำงานนำร่องอีกทันทีได้หรือไม่นั้น แล้วแต่พฤติการณ์เกี่ยวกับการนำร่องซึ่งอธิบดีกรมเจ้าท่าจะเป็นผู้สั่งโดยพิจารณาตามคำแนะนำของหัวหน้าผู้นำร่อง

 

ข้อ ๒๔  ผู้นำร่องทุกคนจะออกไปพ้นเขตต์ท่าที่บังคับการนำร่องในหน้าที่ของตนตามลำพังไม่ได้ นอกจากจะได้รับอนุญาตจากหัวหน้าผู้นำร่อง และจะต้องรายงานวันที่ออกไปจากเขตต์ท่านั้นให้เจ้าท่าทราบไว้ด้วย

 

ข้อ ๒๕  ห้ามมิให้ผู้นำร่องประพฤติตนดังต่อไปนี้

(๑) นอนหลับในเวลานำร่อง

(๒) เมาสุราในเวลานำร่อง

(๓) ปฏิเสธที่จะนำเรือตามคำสั่งโดยไม่มีเหตุชี้แจงอันสมควร

(๔) ขัดคำสั่งหรือขาดคารวะต่อผู้บังคับบัญชา

(๕) รับสินน้ำใจโดยตรงหรือโดยปริยาย

(๖) จงใจรายงานเท็จในเรื่องพฤติการณ์เกี่ยวกับการนำร่อง เช่น เรือติดตื้นเรือโดนกัน ฯลฯ

(๗) กระทำหรือสมรู้ในการฉ้อโกงใด ๆ หรือละเมิดกฎหมายอันเกี่ยวกับการท่า การศุลกากร หรือสรรพสามิตต์

(๘) จงใจฝ่าฝืนข้อบังคับหรือคำสั่งที่เกี่ยวกับหน้าที่และมรรยาทของผู้นำร่อง

 

ข้อ ๒๖[๑๘]  ในกรณีที่อธิบดีกรมเจ้าท่าสั่งเพิกถอน ยึด หรือลดชั้นใบอนุญาตนำร่องใดตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒) ผู้นำร่องนั้นจะต้องรีบส่งใบอนุญาตคืนให้ผู้อำนวยการกองตรวจการขนส่งทางน้ำ

 

ข้อ ๒๗  ผู้นำร่องทุกคนจะต้องใฝ่ใจให้ทราบระเบียบและข้อบังคับที่เกี่ยวด้วยหน้าที่ของตนอยู่เสมอ

 

ข้อ ๒๘  ผู้นำร่องทุกคนต้องร่วมมือกันและเข้าประจำเวรให้สม่ำเสมอกันเสมอในกิจการนำร่อง

ผู้นำร่องจะต้องปฏิบัติหน้าที่ในการนำร่องตามบัญชีเวรซึ่งหัวหน้าผู้นำร่องได้กำหนดไว้ และจะสับเปลี่ยนเวรกันตามลำพังไม่ได้ เว้นไว้แต่จะได้รับอนุญาตจากหัวหน้าผู้นำร่องและบัญชีรายนามตามรอบเวรนั้นได้แก้แล้ว

ถ้ามีเหตุที่จะต้องใช้ผู้นำร่องไปทำการนำร่องเรือใดเป็นพิเศษ ให้หัวหน้าผู้นำร่องพิจารณาคัดเลือกผู้นำร่องไปทำการนอกเวรของผู้นั้นได้ โดยความเห็นชอบของกรมเจ้าท่าหรือเจ้าท่า

ข้อ ๒๙  ผู้นำร่องทุกคนจะต้องรีบเดินทางไปคอยรับเรือตามระเบียบ และรอบเวรของตน หรือตามคำสั่งซึ่งหัวหน้าผู้นำร่องจัดไว้ ถ้าป่วยไม่สามารถจะไปทำการตามหน้าที่ได้ต้องรายงานด่วนเสนอให้หัวหน้าผู้นำร่องทราบทันที

 

ข้อ ๓๐  เรือผู้นำร่องทุกลำเมื่อเวลาคอยทำการนำร่องต้องชักธงอักษร H (เอช)ตามประมวลสัญญาณสากลขึ้นไว้เป็นสำคัญ

 

ข้อ ๓๑  ผู้นำร่องทุกคน เมื่อขึ้นบนเรือลำใดเพื่อทำการนำร่อง ต้องขอทราบจากนายเรือก่อน ว่ามีวัตถุระเบิดหรือสิ่งที่น่ากลัวอันตรายอย่างใด ๆ ในเรือลำนั้นหรือไม่ ถ้าหากมีก็ให้แจ้งแก่นายเรือว่าควรจะปฏิบัติอย่างไร

 

ข้อ ๓๒[๑๙]  ในกรณีที่ผู้นำร่องที่จะทำการนำร่องเรือลำใดเห็นว่า เครื่องจักรหรือเครื่องประกอบเรือต่าง ๆ มีสภาพไม่เรียบร้อยพอที่จะป้องกันมิให้เกิดภยันตรายได้แล้ว จะงดการนำร่องเรือลำนั้นไว้จนกว่านายเรือจะจัดการให้เรียบร้อยเสียก่อนก็ได้ แต่ถ้านายเรือขืนจะให้ทำการนำร่องเรือในขณะนั้นให้ได้ ก็ให้รายงานต่อเจ้าท่า ซึ่งจะเป็นผู้วินิจฉัยและสั่งการโดยเด็ดขาด

 

ข้อ ๓๓  ผู้นำร่องทุกคน เมื่อขึ้นบนเรือลำใดเพื่อทำการนำร่อง ต้องขอทราบจากนายเรือลำนั้นเสียก่อนว่า มีไข้ทรพิษ อหิวาตกโรค หรือโรคติดต่อ อันตรายอย่างอื่นในเรือ หรือได้มีโรคที่น่าสงสัยว่าเป็นโรคติดต่ออันตรายเช่นนั้นในเรือเมื่อเวลามาตามทางนั้นหรือไม่ ถ้าหากมีหรือได้มีโรคติดต่ออันตราย หรือโรคที่น่าสงสัยเช่นนั้น ให้ผู้นำร่องแจ้งให้นายเรือแสดงสัญญาณสำหรับบอกว่ามีโรคติดต่ออันตรายขึ้นไว้ แล้วนำเรือไปทอดสมออยู่ที่สถานีป้องกันโรคติดต่ออันตราย และอยู่ที่นั่นจนกว่าเจ้าพนักงานแพทย์จะอนุญาตปล่อยให้ไปได้

ถ้าเรือได้ผ่านสถานีป้องกันโรคติดต่ออันตรายเข้ามาแล้ว และเกิดโรคติดต่ออันตรายขึ้นภายหลัง ต้องแจ้งให้นายเรือแสดงสัญญาณสำหรับบอกว่ามีโรคติดต่ออันตรายขึ้นไว้แล้วนำเรือไปทอดสมอและคอยอยู่ ณ ด่านป้องกันโรคติดต่ออันตรายจนกว่าเจ้าพนักงานแพทย์จะอนุญาตปล่อยให้ไปได้

ในระหว่างเวลาที่เจ้าพนักงานแพทย์ยังไม่ได้ขึ้นไปตรวจบนเรือ ห้ามมิให้มีการไปมาติดต่อกันในระหว่างเรือที่ต้องกักด่านเช่นนั้นกับฝั่งเป็นอันขาด

 

ข้อ ๓๔  เมื่อเรือใดต้องถูกกักด่านป้องกันโรคติดต่ออันตราย ถ้าเจ้าพนักงานแพทย์เห็นว่าจำเป็นต้องกักผู้นำร่องเรือลำนั้นไว้ในเรือ เพราะเหตุที่ได้ขึ้นไปอยู่บนเรือที่มีโรคติดต่ออันตรายเช่นนั้น ผู้นำร่องนั้นต้องปฏิบัติตามความเห็นของแพทย์ จนกว่าจะได้รับอนุญาตให้ไปได้

ข้อ ๓๕  เมื่อเวลาออกกระทำการนำร่อง ผู้นำร่องต้องมีใบอนุญาตไว้กับตัวพร้อมทั้งกฎข้อบังคับสำหรับการนำร่องและพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำสยาม ฯถ้านายเรือหรือผู้ควบคุมเรือลำใดที่ตนขึ้นไปบนเรือแล้วนั้นขอดูต้องให้ดูตามประสงค์

 

ข้อ ๓๖  ผู้นำร่องทุกคนเมื่อกำลังทำการนำร่อง ในเวลากลางวันจะต้องชักธงประจำตัวขึ้นไว้ ณ ที่ซึ่งแลเห็นได้โดยชัดเจน ธงนี้ใช้อักษร H (เอช) ตามประมวลสัญญาณสากลแต่มีหมายเลขประจำตัวเป็นเลขอาระบิคสีดำขนาดสูงเพียง ๓/๔ ของธง ขนาดกว้างพองามอยู่กลางธงนั้น

 

ข้อ ๓๗[๒๐]  ผู้นำร่องที่ทำการนำร่องจะต้องแนะนำนายเรือให้ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย กฎหมายว่าด้วยการป้องกันเรือโดนกัน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด

คำว่า  “ทำการนำร่อง” ให้หมายความว่า เข้าทำหน้าที่ช่วยเหลือหรือทำหน้าที่แทนนายเรือเฉพาะในเรื่องการเดินเรือ และการบังคับเรือให้เคลื่อนเดินไปอย่างปลอดภัยในเขตท่าหรือน่านน้ำซึ่งบังคับให้เป็นเขตที่ต้องเดินเรือโดยมีผู้นำร่อง โดยนายเรือรับรู้และเห็นชอบด้วยกับคำบอก คำแนะนำ หรือคำสั่งการของผู้นำร่อง

 

ข้อ ๓๘  เมื่อผู้นำร่องเห็นหรือทราบว่าเรือลำใดจะทำการละเมิดพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำสยาม ฯ ว่าด้วยการทิ้งอับเฉาลงในแม่น้ำเขตต์ท่า หรือ ในทำเลทอดสมอจอดเรือ ผู้นำร่องนั้นต้องตักเตือนนายเรืออย่าให้ทำเช่นนั้น ถ้านายเรือไม่เชื่อฟังให้รายงานด่วนต่อเจ้าท่าในโอกาสแรก

 

ข้อ ๓๙  ผู้นำร่องจะต้องคอยระวังมิให้เรือใดทำการหยั่งน้ำภายในเขตต์ท่าเรือหรือน่านน้ำที่บังคับการนำร่อง เว้นไว้แต่จะได้รับอนุญาตจากผู้นำร่อง

ถ้าเป็นน่านน้ำนอกเขตต์ที่บังคับการนำร่อง ให้ผู้นำร่องพยายามให้ได้มีการหยั่งน้ำ ณ ที่และเวลาตามต้องการ

 

ข้อ ๔๐  ผู้นำร่องที่กำลังทำการนำร่องเรือใดอยู่ จะต้องไม่ยอมให้เรืออื่นที่ไม่มีผู้นำร่องอยู่บนเรือนั้นมาจูงเรือของตน เว้นไว้แต่เรือนั้นจะมาพ่วงข้างเรือหรือเป็นเรือซึ่งฝ่ายการนำร่องจัดไว้สำหรับจูงโดยฉะเพาะ หรือนายเรือลำนั้นได้รับใบอนุญาตนำร่องพิเศษ จึงจะยอมให้ทำได้

 

ข้อ ๔๑  ผู้นำร่องของเรือจูง เมื่อกำลังทำการนำร่องเรือจูงลำใดอยู่จะต้องฟังบังคับบัญชาผู้นำร่องของเรือที่ถูกจูงนั้น ในเรื่องทั้งหมดที่เกี่ยวกับพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำสยาม ฯ และพระราชบัญญัติอื่น ๆ ตลอดจนกฎข้อบังคับที่เกี่ยวกับการนำเรือ

 

ข้อ ๔๒  ถ้าผู้นำร่องคนใดพบหรือมีเหตุสมควรจะสงสัยว่า ทุ่นที่ทอดเป็นเครื่องหมายทุ่นหนึ่งทุ่นใดเคลื่อนจากที่ ๆ เคยทอดอยู่ตามปกติ หรือหลุดจากที่นั้นลอยอยู่ หรือเป็นอันตรายลง หรือหายไปจากที่ก็ดี หรือสังเกตเห็นโคมไฟ เครื่องหมายสำหรับการเดินเรือแห่งใดผิดปกติ หรือบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี เมื่อกลับมายังที่ทำการในคราวนั้น ผู้นำร่องคนนั้นต้องมีหนังสือแจ้งความนั้น ๆ ให้เจ้าท่าทราบภายในสิบสองชั่วโมงนับแต่เวลาที่กลับมาถึงแล้ว

 

ข้อ ๔๓  ถ้าผู้นำร่องคนใดสังเกตเห็นว่ามีสิ่งกีดขวางหรือมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในร่องน้ำใด ๆ ก็ดี หรือสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ปรากฏหรือน่าสงสัยว่าได้มีขึ้นแก่ที่หมายบนบกแห่งใด ๆ ซึ่งเป็นที่เคยสังเกตสำหรับการเดินเรือก็ดี ผู้นำร่องนั้นต้องรายงานเป็นหนังสือให้เจ้าท่าทราบโดยมิชักช้า

 

ข้อ ๔๔[๒๑]  ผู้นำร่องที่ทำการนำร่องเรือเข้าหรือออกในเขตท่าเรือใด จะต้องนำร่องเรือไปเข้าหรือออกจากที่ทอดสมอ ผูกทุ่น หรือเทียบท่าตามคำสั่งของผู้อำนวยการกองนำร่องหรือหัวหน้าผู้นำร่อง แล้วแต่กรณี

 

ข้อ ๔๕[๒๒]  ผู้นำร่องจะทำการนำร่องเรือซึ่งจะออกไปพ้นเขตน่านน้ำไทยจากท่าหรือตำบลใดได้ต่อเมื่อเรือนั้นได้มีใบอนุญาตเรือออกจากท่าแล้ว และจะเลื่อนที่จอดเรือภายในเขตซึ่งบังคับให้เป็นเขตที่ต้องเดินเรือโดยมีผู้นำร่องได้ ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่หรือตามระเบียบการนำร่อง

 

ข้อ ๔๖[๒๓]  ผู้นำร่องที่ทำการนำร่องเรือลำใดเข้าหรือออกไปส่ง ณ ที่ใด ๆ ก็ตามต้องอยู่ต่อไปในเรือจนกว่าเรือลำนั้นได้ทอดสมอ ผูกทุ่น หรือเทียบท่าเรียบร้อยแล้วหรือจนกว่าจะนำร่องเรือไปพ้นเขต ซึ่งบังคับให้เป็นเขตที่ต้องเดินเรือโดยมีผู้นำร่องแล้วจึงจะไปจากเรือลำนั้นได้ เว้นไว้แต่มีเหตุอันสมควรหรือได้ทำความตกลงกับนายเรือไว้โดยมีหลักฐานเป็นหนังสือ

 

ข้อ ๔๗[๒๔]  ผู้นำร่องทุกคนที่ทำการนำร่องเรือลำใด ต้องใช้ความระมัดระวัง และพยายามให้มากที่สุดที่จะหลีกเลี่ยง หรือป้องกันมิให้เกิดอันตราย หรือเสียหายแก่เรือลำนั้นหรือเรือลำอื่น หรือแก่ทรัพย์สิ่งของอย่างใด ๆ โดยเข้าปฏิบัติหน้าที่แทน สั่งการแทน หรือแนะนำนายเรือให้กระทำหรือหลีกเลี่ยงการกระทำใด ๆ เพื่อป้องกันความเสียหายดังกล่าว แต่นายเรือยังคงมีอำนาจที่จะระงับคำสั่งการของผู้นำร่อง หรือไม่ปฏิบัติตามคำบอกหรือคำแนะนำของผู้นำร่องก็ได้ ถ้าหากเห็นว่าไม่ปลอดภัยหรือจะทำให้เกิดอันตรายหรือเกิดความเสียหายดังกล่าวนั้นขึ้นได้ถ้ามีเหตุอันตรายเกิดในระหว่างที่ทำการนำร่อง ผู้นำร่องนั้นต้องรายงานเป็นหนังสือแจ้งเหตุไปยังเจ้าท่าตามข้อ ๔๘ และข้อ ๔๙ โดยอนุโลม

 

ข้อ ๔๘  เรือลำใดสมอขาด ถ้ามีผู้นำร่องไปกับเรือต้องรีบรายงานเหตุการณ์นั้นต่อเจ้าท่า ในรายงานนั้นจะต้องให้นายเรือลำนั้นลงนามร่วมมาด้วย แสดงรายการดังต่อไปนี้เพื่อให้ความสะดวกแก่การค้นหาสมอที่หายนั้น

(๑) ที่เกิดเหตุ

(๒) ทิศเล็งของที่หมายประจำที่ต่าง ๆ ซึ่งแลเห็นได้

(๓) ลักษณะของกระแสน้ำและความลึกของน้ำขณะเกิดเหตุ

(๔) น้ำหนักของสมอและรายการอื่น ๆ ที่ควรบอก

 

ข้อ ๔๙[๒๕]  เรือลำใดเดินเรือโดยมีผู้นำร่อง และเรือลำนั้นเกยที่ตื้น โดนเรือหรือทุ่น หรือประสบอันตรายอย่างใด ๆ ก็ดีผู้นำร่องนั้นต้องรายงานด่วนเสนอต่อเจ้าท่า ดังรายการต่อไปนี้

(๑) ที่เกิดเหตุ

(๒) ทิศเล็งของที่หมายประจำที่ต่าง ๆ ซึ่งแลเห็นได้

(๓) อัตรากินน้ำลึกของเรือขณะนั้น

(๔) ลักษณะของกระแสน้ำและท้องทะเล

(๕) ทิศและกำลังของลม

(๖) ความเร็วของเรือขณะเกิดเหตุ

(๗) เวลาที่เกิดเหตุ

(๘) พฤติการณ์ซึ่งเกิดเหตุนั้น

(๙) ความเสียหายเท่าที่ตรวจได้ในเวลานั้น

(๑๐) เวลาที่เรือนั้นเกยที่ตื้นนานเท่าใด

(๑๑) เรือหลุดออกจากที่ตื้นได้ด้วยวิธีใด

(๑๒) รายการอื่น ๆ ที่ควรบอก

(๑๓) แสดงแผนที่สังเขป ถ้าสามารถจะทำได้

ผู้นำร่องจะขอให้นายเรือลำนั้นลงนามร่วมในรายงานหรือ แยกทำรายงานต่างหากเพื่อประกอบรายงานของตนก็ได้ กฎกระทรวงข้อนี้ให้ใช้บังคับตลอดถึงผู้นำร่องเรือจูงในกรณีที่เรือที่ถูกจูงไม่มีผู้นำร่องด้วย

 

ข้อ ๕๐[๒๖]  ถ้าผู้นำร่องคนใดไม่พอใจในมรรยาทของนายเรือลำใด ก็ให้ทำรายงานเสนอจนถึงผู้อำนวยการกองตรวจการขนส่งทางน้ำหรือเจ้าท่า

 

ข้อ ๕๑[๒๗]  เมื่อเสร็จสิ้นการนำร่องเรือ หรือเลื่อนที่จอดเรือครั้งหนึ่งครั้งใดแล้วผู้นำร่องต้องให้นายเรือกรอกข้อความ และลงนามในใบสำคัญตามแบบ น.๑ ท้ายกฎกระทรวงนี้ เพื่อรับรองว่าผู้นำร่องได้ทำการนำร่องเรือไปโดยเรียบร้อย แล้วเสนอต่อหัวหน้าผู้นำร่องในโอกาสแรกที่ผู้นำร่องกลับถึงที่ทำการนำร่องเพื่อพิจารณาหรือสั่งการตามที่เห็นสมควร

หมวด ๔

เขตต์ท่าเรือหรือน่านน้ำซึ่งบังคับให้เป็นเขตที่ต้องเดินเรือ

โดยมีผู้นำร่อง ขนาดและชนิดของเรือที่ยกเว้นไม่ต้อง

บังคับใช้ผู้นำร่อง การเพิ่มหรือลดหย่อนค่าจ้างนำร่อง

                       

 

ข้อ ๕๒[๒๘]  เขตท่าหรือน่านน้ำ ซึ่งบังคับให้เป็นเขตที่ต้องเดินเรือโดยมีผู้นำร่องนั้นให้กำหนดเขตไว้ ดังต่อไปนี้

(๑) ตั้งแต่เขตน้ำลึกประมาณ ๘ เมตร นอกสันดอน ซึ่งปรากฏในแผนที่สันดอน ปากน้ำเจ้าพระยาใกล้กับสถานีนำร่อง ผ่านเขตท่าเรือกรุงเทพ ฯ ตลอดจนสุดเขตด้านเหนือของท่าเรือกรุงเทพ ฯ

(๒) เขตท่าหรือน่านน้ำอื่น ๆ นอกจากที่กล่าวไว้ใน (๑) ตามแต่จะได้ออกกฎกระทรวงเพิ่มเติมต่อไป

 

ข้อ ๕๓[๒๙]  เรือดังต่อไปนี้ ไม่ต้องใช้ผู้นำร่องภายในเขตที่กำหนดในข้อ ๕๒

(๑) เรือของรัฐบาลไทย

(๒) เรือของรัฐบาลต่างประเทศ

(๓) เรือที่มีขนาดความยาวตลอดลำต่ำกว่า ๑๖๕ ฟุต (๕๐.๒๙ เมตร)เรือตามวรรคหนึ่งนี้จะใช้ผู้นำร่องก็ได้ แต่ต้องเสียค่าจ้างนำร่องตามอัตราที่กำหนดไว้ในพิกัดค่าจ้างนำร่อง รัฐมนตรีจะลดหย่อนค่าจ้างนำร่องให้เฉพาะรายก็ได้

 

ข้อ ๕๔[๓๐]  นายเรือของเรือที่ชักธงไทยซึ่งมีขนาดความยาวตลอดลำไม่เกิน ๔๐๐ ฟุต (๑๒๑.๙๒ เมตร) สำหรับเขตท่าเรือกรุงเทพ ฯ หรือมีขนาดความยาวตลอดลำไม่เกินที่กำหนดในกฎกระทรวง สำหรับเขตท่าหรือน่านน้ำอื่นซึ่งบังคับให้เป็นเขตที่ต้องเดินเรือโดยมีผู้นำร่อง ถ้านายเรือนั้นมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๓ จะขอรับใบอนุญาตเป็นผู้นำร่องพิเศษเพื่อทำการนำร่องภายในเขตท่าเรือน่านน้ำนั้น ๆ ก็ได้

 

ข้อ ๕๔ ทวิ[๓๑]  เรือที่เป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐวิสาหกิจหรือองค์การของรัฐ ซึ่งรัฐวิสาหกิจหรือองค์การของรัฐนั้นเป็นผู้ประกอบกิจการเดินเรือเอง ให้เสียค่าจ้างนำร่องสำหรับทุกกรณีเพียงกึ่งอัตราของพิกัดค่าจ้างนำร่องตามหมวด ๙

 

ข้อ ๕๕[๓๒]  ในเขตท่าหรือน่านน้ำซึ่งบังคับให้เป็นเขตที่ต้องเดินเรือโดยมีผู้นำร่องถ้าเรือใดฝ่าฝืนไม่ใช้ผู้นำร่อง เรือลำนั้นต้องเสียค่าจ้างนำร่องเป็นเงินสองเท่าของอัตราแห่งพิกัดที่กำหนดไว้ เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการที่ไม่ใช้ผู้นำร่องนั้นเกิดขึ้นเพราะข้อหนึ่งข้อใดในกรณีต่อไปนี้ จึงให้เสียค่าจ้างนำร่องตามพิกัด คือ

(๑) ได้รับแจ้งจากผู้นำร่องให้แล่นตามเรือลำหนึ่งลำใดซึ่งมีผู้นำร่องอยู่แล้ว

(๒) ไม่มีผู้นำร่อง

ในกรณีแรกเป็นหน้าที่ของผู้นำร่องต้องรายงานตามลำดับชั้นจนถึงเจ้าท่า ส่วนกรณีหลังเป็นหน้าที่ของนายเรือต้องชี้แจงเหตุผลให้เจ้าท่าทราบโดยด่วน ถ้าเจ้าท่าไม่พอใจในเหตุผลนั้น จะไม่ยอมผ่อนผันลดให้และคงเก็บสองเท่าก็ได้

 

ข้อ ๕๖[๓๓]  (ยกเลิก)

 

หมวด ๕

แบบบัญชีและรายงานซึ่งเกี่ยวกับกิจการนำร่อง

                       

ข้อ ๕๗  เพื่อให้กิจการนำร่องภายในน่านน้ำสยาม ซึ่งอยู่ในความควบคุมของรัฐบาลดำเนินไปโดยสมรรถภาพและแบบอย่างอันเดียวกัน ให้ใช้เอกสารในการนำร่องดังต่อไปนี้

(๑) บันทึกการงาน

(๒) บัญชีรายได้รายจ่าย

(๓) รายงาน

ข้อ ๕๘  บันทึกการงานซึ่งต้องมีไว้สำหรับที่ทำการนำร่องทุกแห่งนั้น ให้แยกทำเล่มสมุดไว้อย่างละ ๑ เล่ม ดังต่อไปนี้

(๑) สมุดรายนามผู้นำร่องและผู้ฝึกการนำร่อง ให้แยกรายนามไว้ให้ชัดเจนในสมุดเดียวกัน โดยมีรายการ เลขที่ นาม (ถ้ามีบรรดาศักดิ์ให้ลงนามเดิมกำกับไว้ด้วย) วันเกิดวันที่ประจำการนำร่องแห่งนั้น หมายเหตุ และถ้ามีเพิ่มจำนวนหรือลดจำนวนลงเพราะเหตุใดเมื่อใด ต้องลงหมายเหตุตามความจริงไว้ให้ชัดเจน

(๒) สมุดนำร่องเรือประจำวัน ให้มีรายการแสดงวันเดือนปี ชื่อเรือ ธงชาติ

จำนวนตันริยิสเตอร์ เจ้าของหรือผู้แทน นามผู้นำร่อง หมายเหตุ

(๓) สมุดนำร่องเรือประจำเดือนและประจำปี ซึ่งรวบรวมรายการจากสมุดนำร่อง

เรือประจำวัน เพื่อทำเป็นสถิติเก็บรักษาไว้ บัญชีประจำเดือนนั้นให้แสดงรายการแยกตามสัญชาติ

ดังต่อไปนี้

เลขที่ รายการ (ชื่อเรือ) จำนวนตันริยิสเตอร์ เจ้าของหรือผู้แทน หมายเหตุ แล้วรวมยอดประจำเดือนไว้ให้ชัดเจนตามแบบ น.๒ ต่อท้ายกฎนี้

เมื่อสิ้นปีหนึ่ง ๆ ให้รวบรวมทำสถิติประจำปีแสดงรายการ สัญชาติ จำนวนเรือจำนวนตันริยิสเตอร์ แล้วรวมยอดประจำปีต่อท้ายสถิติประจำเดือนที่สิ้นปีนั้นไว้ในสมุดเล่มเดียวกัน

 

ข้อ ๕๙  บัญชีรายได้รายจ่ายซึ่งต้องมีไว้สำหรับที่ทำการนำร่องทุกแห่งนั้น ให้แยก

ทำเป็นเล่มสมุดไว้อย่างละ ๑ เล่ม ดังต่อไปนี้

(๑) สมุดบัญชีรายได้ประจำวันการนำร่อง ให้แสดงรายการวันเดือนปี รายการ(ชื่อเรือ) จำนวนตันริยิสเตอร์ เจ้าของหรือผู้แทน ประเภทเงินรายได้ แบ่งออกเป็นรายได้ตามพิกัดรายได้เรือมีผู้นำร่องพิเศษ รายได้นอกเวลา แล้วรวมเงินและทำงบเดือนนั้นไว้ตามแบบ น.๓ ต่อท้ายกฎนี้

(๒) สมุดบัญชีรายจ่ายประจำวันการนำร่อง ให้แสดงรายการวันเดือนปี รายการ(จ่าย)ประเภทเงินรายจ่ายแบ่งออกเป็นเงินเดือนหรือเงินปันผล น้ำมันเชื้อเพลิง เบ็ดเตล็ด แล้วรวมเงินและทำงบเดือนไว้ตามแบบ น.๔ ต่อท้ายกฎนี้

(๓) สมุดรายได้รายจ่ายประจำปี ให้มีรายการแสดงยอดเงินรายได้ รายจ่ายเป็นเดือน ๆ ไปจนครบปี แล้วรวมยอดเงินงบปีหักแล้วคงเหลือเท่าใด จัดแบ่งไว้เป็นเงินสำรองและเงินปันผลอีกเท่าใด ทั้งนี้ต้องแสดงรายการให้เห็นโดยชัดเจน

 

ข้อ ๖๐  รายงานซึ่งต้องมีไว้สำหรับที่ทำการนำร่องทุกแห่ง ต้องเสนอถึงกรมเจ้าท่าเพื่อรวบรวมทำเป็นสถิตินั้น ให้ทำเป็นหนังสือนำส่งเอกสาร ดังต่อไปนี้

(๑) รายนามผู้นำร่องและผู้ฝึกการนำร่อง ซึ่งคัดจากสมุดในข้อ ๕๘ (๑) บัญชีนี้ต้องส่งถึงกรมเจ้าท่าในวารแรกตั้งที่ทำการนำร่อง และส่งเพิ่มเติมเป็นครั้งคราวในเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรายนาม

(๒) สถิตินำร่องเรือประจำเดือน  ซึ่งคัดจากสมุดในข้อ ๕๘ (๓) ตามแบบ น.๒สถิตินี้ต้องส่งถึงกรมเจ้าท่าภายในวันที่ ๑๕ ของเดือนถัดไป ถ้าที่ทำการนำร่องแห่งใดไม่สามารถจะปฏิบัติได้ตามกำหนดนี้ ให้ชี้แจงขอทำความตกลงต่อกรมเจ้าท่าเป็นพิเศษ ถ้ากรมเจ้าท่ายินยอมตกลงเป็นอย่างอื่นก็อนุญาตให้ทำได้ และถ้าเป็นเดือนสิ้นปี ให้ส่งสถิติประจำปีตามความในวรรคท้ายแห่งข้อ ๕๘ (๓) มาพร้อมกับสถิตินำร่องเรือประจำเดือนนั้นด้วย

(๓) งบรายได้รายจ่ายประจำเดือน ซึ่งคัดจากสมุดรายได้รายจ่ายในข้อ ๕๙ มีรายการแสดงตามแบบ น.๕ ต่อท้ายกฎนี้ กำหนดการส่งถึงกรมเจ้าท่าให้ปฏิบัติตามความในข้อ๖๐ (๒) โดยอนุโลม

(๔) งบรายได้รายจ่ายประจำปี ซึ่งคัดจากสมุดในข้อ ๕๙ (๓) กำหนดการส่งถึงกรมเจ้าท่าให้ปฏิบัติตามความในข้อ ๖๐ (๒) โดยอนุโลม

 

หมวด ๖

การจัดตั้งคณะกรรมการพิจารณาการลงทัณฑ์แก่ผู้นำร่อง

                       

 

ข้อ ๖๑  ให้มีคณะกรรมการพิจารณาการลงทัณฑ์แก่ผู้นำร่องขึ้นคณะหนึ่งดั่งต่อไปนี้

(๑) นายทหารเรือประจำการ ๑

(๒) หัวหน้ากองตรวจท่า ๑

(๓) หัวหน้าผู้นำร่องหรือผู้นำร่องอาวุโส ๑

(๔) นายเรือของเรือต่างประเทศ ๑

องค์ประชุมสำหรับคณะกรรมการนี้กอปร์ด้วยกรรมการสามนายข้าราชการประจำการในคณะกรรมการซึ่งกล่าวแล้วนั้น ถ้าผู้ใดเป็นผู้มีอาวุโสให้ได้รับตำแหน่งเป็นประธานกรรมการ

ในกรณีที่มีการกล่าวหาว่าผู้นำร่องใดบกพร่องในทางวิชาชีพ ให้คณะกรรมการนี้มีหน้าที่พิจารณาและเสนอความเห็นว่าผู้นำร่องนั้นควรได้รับทัณฑ์ตามมาตรา ๔ (๙) แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒) หรือไม่ และในสถานใด พร้อมด้วยสำนวนการพิจารณาต่ออธิบดี ซึ่งจะเป็นผู้วินิจฉัยสั่งการโดยเด็ดขาด

 

ข้อ ๖๒  บุคคลใดนอกจากเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลหรือเทศบาลจะยื่นคำร้องขอให้ตั้งกรรมการดังกล่าวแล้ว จักต้องนำเงิน ๑๐๐ บาทมามอบให้หัวหน้ากองตรวจท่ายึดไว้เป็นประกันพร้อมกับคำร้องนั้น

ในกรณีที่ผู้นำร่องซึ่งถูกกล่าวหาไม่ถูกลงทัณฑ์ ให้ริบเงินประกันนั้นเสียแต่ถ้าผู้นำร่องซึ่งถูกกล่าวหามีความผิดถูกลงทัณฑ์ ก็ให้คืนเงินประกันแก่ผู้กล่าวหา

 

หมวด ๗

เขตต์ท่าหรือน่านน้ำที่บังคับการนำร่อง

โดยใช้เจ้าหน้าที่ของรัฐบาล และข้อบังคับต่าง ๆ

                       

 

ข้อ ๖๓  ตั้งแต่วันที่ ๒๘ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๗๘ เป็นต้นไป บรรดาเรือกลไฟและเรือเดินทะเลที่เคลื่อนเดินหรือเข้าออกในเขตท่าหรือน่านน้ำตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๕๒ (๑) นั้น ต้องใช้ผู้นำร่องของรัฐบาลโดยเฉพาะ เว้นไว้แต่จะได้รับสิทธิยกเว้นไม่ต้องบังคับใช้ผู้นำร่องหรืออนุญาตให้ใช้ผู้นำร่องพิเศษตามบทบังคับในหมวด ๔ แห่งกฎนี้

 

ข้อ ๖๔[๓๔]  เรือที่จะเข้ามารับผู้นำร่อง จะต้องมารับ ณ จุดรับผู้นำร่องซึ่งจะต้องห่างจากสถานีนำร่องไม่น้อยกว่าระยะ ๖๐๐ เมตร ในการนี้จะต้องลดความเร็วหรือหยุดเครื่อง หรือถ้าจำเป็นก็ต้องทอดสมอเพื่อให้ความสะดวกแก่ผู้นำร่องขึ้นเรือตนเท่าที่จะสามารถทำได้

 

ข้อ ๖๕  ภายในเขตท่าหรือน่านน้ำที่บังคับการนำร่องทุกแห่ง ห้ามมิให้เรือใด ๆใช้ดิ่งหยั่งน้ำหรือใช้เครื่องมือสำหรับหยั่งน้ำ เว้นไว้แต่ได้รับอนุญาตจากผู้นำร่อง ซึ่งกำลังควบคุมเรือนั้น หรือได้รับอนุญาตจากรัฐบาลสยาม หรือเป็นเรือแห่งราชนาวีสยาม

 

ข้อ ๖๖  บรรดาสัญญาณทุกชนิดซึ่งมิได้บังคับไว้ในกฎนี้โดยเฉพาะแล้ว ถ้าจำเป็นต้องใช้ ก็ให้ผู้ควบคุมเรือใช้ตามประมวลสัญญาณสากล

 

ข้อ ๖๗[๓๕]  เรือทุกลำที่เข้าออกระหว่างเขตท่าหรือน่านน้ำใด ๆ ซึ่งบังคับให้เป็นเขตที่ต้องเดินเรือโดยมีผู้นำร่อง จะต้องอนุญาตให้ผู้นำร่องโดยสารจากที่แห่งหนึ่งไปถึงที่อีกแห่งหนึ่งโดยไม่คิดค่าโดยสาร และให้เรือที่ต้องใช้ผู้นำร่อง ให้ที่พักและอาหารตลอดเวลาที่อยู่ในเรือนั้นตามควรแก่ฐานะของผู้นำร่องนั้นโดยไม่คิดมูลค่า

 

ข้อ ๖๘[๓๖]  การเดินทางไปหรือกลับระหว่างที่พักหรือที่ทำการของผู้นำร่องกับเรือที่ใช้ผู้นำร่องในเขตท่าใด ๆ ให้เป็นหน้าที่ของเจ้าของเรือ หรือตัวแทนของเจ้าของเรือที่ใช้ผู้นำร่องนั้นเป็นผู้จัดหายานพาหนะที่มีความปลอดภัยและเหมาะสมแก่ฐานะของผู้นำร่อง

 

ข้อ ๖๙[๓๗]  เรือทุกลำซึ่งบังคับให้ต้องเดินเรือโดยมีผู้นำร่องและกำลังเดินอยู่ภายในเขตท่าหรือน่านน้ำ ซึ่งบังคับให้เป็นเขตที่ต้องเดินเรือโดยมีผู้นำร่อง จะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำอันชอบของผู้นำร่อง เพื่อให้การนำร่องดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยและถูกต้อง

 

ข้อ ๗๐  บรรดาข้อความหรือบทบังคับแห่งกฎนี้ ถ้าเกิดเป็นปัญหาโต้แย้งหรือไม่ชัดเจนอย่างใด ให้เจ้าท่าแห่งน่านน้ำนั้นเป็นผู้พิจารณาตีความในปัญหานั้น ๆ ถ้าผู้ใดไม่พอใจต่อคำชี้แจงหรือข้อความที่เจ้าท่าสั่งในกรณีเช่นนี้ ให้ผู้นั้นมีสิทธิที่จะอุทธรณ์ไปยังอธิบดีกรมเจ้าท่าภายในหนึ่งเดือน นับแต่วันที่ได้ทราบคำสั่ง คำชี้ขาดของอธิบดีกรมเจ้าท่านั้นเป็นที่สุด แต่ในระหว่างที่อธิบดียังมิได้ชี้ขาด คำสั่งของเจ้าท่ามีผลบังคับได้

 

หมวด ๘

จำนวนผู้นำร่องและผู้ฝึกการนำร่อง

                       

ข้อ ๗๑[๓๘]  ภายในเขตที่กำหนดในข้อ ๕๒ (๑) จะมีผู้นำร่องที่จะอนุญาตให้ทำการนำร่องได้ไม่เกินห้าสิบห้าคน และมีผู้ฝึกการนำร่องของรัฐบาลได้ไม่เกินสิบคน ทั้งนี้ไม่รวมผู้นำร่องพิเศษ

 

ข้อ ๗๒[๓๙]  ถ้าอธิบดีกรมเจ้าท่าเห็นว่าควรเพิ่มหรือลดจำนวนผู้นำร่อง หรือผู้ฝึกการนำร่องแตกต่างไปจากจำนวนที่กำหนดไว้ในข้อ ๗๑ เป็นครั้งคราวด้วยเหตุใด ๆ ก็ตาม ก็อนุญาตให้ทำได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

 

หมวด ๙

ขนาดเรือและพิกัดค่าจ้างนำร่อง

                       

ข้อ ๗๓[๔๐]  เจ้าของ หรือนายเรือ หรือตัวแทนเจ้าของเรือต้องเสียค่าจ้างนำร่อง ค่าป่วยการหรือค่าเวลารอคอยเมื่อใช้ผู้นำร่องของรัฐบาล ทั้งนี้ ตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้

 

ข้อ ๗๓ ทวิ[๔๑]   จากสถานีนำร่องนอกสันดอนปากน้ำเจ้าพระยาถึงด้านใต้ของเขตท่าเรือกรุงเทพ ฯ  เขตที่ ๓  ต้องเสียค่าจ้างนำร่องรวมทั้งขาเข้าและขาออก  แม้ว่าจะใช้ผู้นำร่องเพียงขาเดียว   ตามขนาดของเรือและอัตราดังต่อไปนี้

(๑) เรือที่มีขนาดความยาวตลอดลำไม่เกิน ๑๖๕ ฟุต (๕๐.๒๙ เมตร) คิดค่าจ้างนำร่อง ๒,๐๐๐ บาท  ถ้าเกิน ๑๖๕ ฟุต (๕๐.๒๙ เมตร)  ส่วนที่เกินฟุตละ ๑๒ บาท  เศษของ ๑ ฟุต ให้คิดเป็น ๑ ฟุต

(๒) เรือที่กินน้ำลึกเกิน ๑๐ ฟุต (๓.๐๕ เมตร) คิดค่าจ้างนำร่องเพิ่มจาก (๑) สำหรับส่วนที่เกินในอัตราร้อยละ ๑๐ ของอัตราค่าจ้างนำร่องที่คิดได้จาก (๑) ต่อ ๑ ฟุต เศษของ ๑ ฟุต ให้คิดเป็น ๑ ฟุตส่วนกินน้ำลึกของเรือให้ถือเอาส่วนของเรือที่กินน้ำลึกมากที่สุด ในขาเข้าขณะที่เรือเข้าจอดที่ทอดจอดเรือเรียบร้อยแล้ว และในขาออกขณะที่เรือเข้าจอดที่ทอดจอดเรือก่อนออกเดินทาง

(๓) เรือที่เข้าหรือออกเพียงขาเดียว ให้เสียค่าจ้างนำร่องกึ่งอัตรา

 

ข้อ ๗๔[๔๒]  การเลื่อนที่จอดเรือภายในเขตที่กำหนดไว้ในข้อ ๕๒ (๑)  ต้องเสียค่าจ้างนำร่องดังต่อไปนี้

(๑) ถ้าเลื่อนที่จอดเรือภายในเขตหนึ่งเขตใดของเขตท่าเรือกรุงเทพ ฯ ต้องเสียค่าจ้างนำร่องในอัตราร้อยละ ๓๐ ของอัตราค่าจ้างนำร่องที่กำหนดไว้ในข้อ ๗๓ ทวิ

(๒) ถ้าเลื่อนที่จอดเรือข้ามเขตภายในเขตท่าเรือกรุงเทพ ฯ ต้องเสียค่าจ้างนำร่องเพิ่มจาก (๑) อีกในอัตราร้อยละ ๑๐ ของอัตราค่าจ้างนำร่องที่กำหนดไว้ในข้อ ๗๓ ทวิ ต่อหนึ่งเขต

(๓) ถ้าเลื่อนที่จอดเรือผ่านสะพานข้ามแม่น้ำที่ต้องเปิดเพื่อให้เรือลำนั้นผ่าน  ต้องเสียค่าจ้างนำร่องเพิ่มอีกครั้งละ ๒,๐๐๐ บาท

(๔) ถ้าเลื่อนที่จอดเรือจากที่หนึ่งที่ใดในร่องน้ำสันดอนปากน้ำเจ้าพระยาต้องเสียค่าจ้างนำร่องในอัตราร้อยละ ๓๐ ของอัตราค่าจ้างนำร่องที่กำหนดไว้ในข้อ ๗๓ ทวิ

 

ข้อ ๗๕[๔๓]  การนำเรือหรือออกเขตท่าหรือน่านน้ำอื่นซึ่งมิใช่เขตที่กำหนดไว้ในข้อ

๕๒ (๑) และมิได้มีการกำหนดอัตราค่าจ้างนำร่องไว้โดยเฉพาะสำหรับเขตท่า หรือน่านน้ำนั้น ๆ

ถ้าเรือใดใช้ผู้นำร่องทำการนำร่องนำเรือเข้าหรือออก ต้องเสียค่าจ้างนำร่องตามที่กำหนดไว้ในข้อ

๗๓ ทวิ  สำหรับระยะทางขาเข้าหรือออก ที่ไม่เกิน ๓ ไมล์  สำหรับระยะทางที่เกิน ๓ ไมล์  ต้องเสียค่าจ้างนำร่องเพิ่มขึ้นอีกไมล์ละ ๕๐๐ บาท เศษของไมล์ ให้คิดเป็น ๑ไมล์

 

ข้อ ๗๖[๔๔]  เรือที่มีขนาดความยาวตลอดลำเกินที่กำหนดไว้ในประกาศกรมเจ้าท่าสำหรับท่าเทียบเรือหรือที่จอดเรือใด ถ้าใช้ผู้นำร่องทำการนำร่องเข้าจอดเทียบท่านั้นหรือเข้าทอดจอดเรือ ณ ที่นั้นเป็นกรณีพิเศษตามที่เจ้าท่าอนุญาต ต้องเสียค่าจ้างนำร่องเพิ่มขึ้นอีกสำหรับความยาวที่เกินกำหนดในอัตรา ฟุตละ ๕๐๐ บาท  เศษของ ๑ ฟุต  ให้คิดเป็น ๑ ฟุต

 

ข้อ ๗๗[๔๕]  การเลื่อนที่จอดเรือในเขตท่าหรือน่านน้ำอื่น ซึ่งมิใช่เขตที่กำหนดไว้ในข้อ ๕๒ (๑) และมิได้มีการกำหนดอัตราค่าจ้างนำร่องไว้โดยเฉพาะสำหรับเขตท่าหรือน่านน้ำนั้น ๆ ถ้าเรือใดใช้ผู้นำร่องทำการนำร่องเลื่อนที่จอดเรือ ต้องเสียค่าจ้างนำร่องภายในระยะทาง ๓ ไมล์แรกในอัตราร้อยละ ๓๐ ของอัตราค่าจ้างนำร่องที่กำหนดไว้ในข้อ ๗๓ ทวิ และไมล์ต่อไปไมล์ละ ๕๐๐ บาท  เศษของ ๑ ไมล์  ให้คิดเป็น ๑ ไมล์

 

ข้อ ๗๘[๔๖]  เรือใดใช้ผู้นำร่องทำการนำร่องนำเรือเข้าหรือออกหรือเลื่อนที่จอดเรือนอกเวลาราชการหรือในวันหยุดราชการ ต้องเสียค่าจ้างนำร่องล่วงเวลาเพิ่มขึ้นอีกเท่าหนึ่งของจำนวนค่าจ้างนำร่องที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงนี้  ทั้งนี้  ให้ถือขณะเมื่อสมอพ้นน้ำ หรือเชือกทุกเส้นหลุดจากฝั่งหรือที่ผูกเรือเป็นเกณฑ์

 

ข้อ ๗๙[๔๗]  พิกัดค่าจ้างนำร่องตามข้อ ๗๓ ถึงข้อ ๗๘ นั้น ใช้สำหรับเรือที่สามารถจะเคลื่อนเดินโดยใช้เครื่องจักรของเรือนั้นได้เอง แต่ถ้าเรือนั้นเป็นเรือที่จะต้องใช้เรืออื่นจูงหน้าหรือจูงข้างหรือดันให้เรือนั้นเคลื่อนเดินอันเป็นความประสงค์ของนายเรือหรือผู้ควบคุมเรือแล้ว ต้องเสียค่าจ้างนำร่องตามขนาดความยาวตลอดลำของเรือนั้น และของเรืออื่นที่ใช้เป็นเรือจูงหรือเรือดัน โดยคิดรวมความยาวของเรือนั้นเข้ากับความยาวของเรือทุกลำที่ใช้ในการจูงหรือดัน ส่วนกินน้ำลึกของเรือที่ใช้ในการคิดค่าจ้างนำร่องให้ถือเอาส่วนของเรือที่กินน้ำลึกที่มากที่สุดของบรรดาเรือดังกล่าว

เรือที่จะใช้จูงหรือดันนั้น จะต้องมีกำลังขับเคลื่อนที่เพียงพอและมีคุณสมบัติสมบูรณ์ตามที่กำหนดในข้อ ๓๒ ในการนี้ ให้นายเรือหรือผู้ควบคุมเรือตกลงกับผู้นำร่อง และทำหนังสือไว้เป็นหลักฐานทุกรายไป

ข้อ ๘๐[๔๘]  ในกรณีที่เรือได้แจ้งขอใช้ผู้นำร่องให้ไปทำการนำร่องนำเรือออกหรือเลื่อนที่จอดเรือเวลาใด ต่อมาได้แจ้งขอเปลี่ยนเวลาให้ช้ากว่ากำหนดเดิมเกินสิบสองชั่วโมง หรือแจ้งงดการนำเรือออกหรือเลื่อนที่จอดเรือดังกล่าวโดยที่ผู้นำร่องยังมิได้เดินทางไปถึงเรือ และการเปลี่ยนเวลาหรือการงดการนำเรือออกหรือเลื่อนที่จอดเรือมิได้เกิดจากอากาศวิปริต ต้องเสียค่าจ้างนำร่องเพิ่มจากข้อ ๗๓ ทวิ  หรือข้อ ๗๔ อีก ๑,๐๐๐ บาท

ในกรณีที่ผู้นำร่องได้ออกเดินทางจากสำนักงานหรือที่พักอาศัยแล้ว และไปถึงเรือไม่ช้ากว่ากำหนดเวลาที่แจ้งการนำเรือออกหรือเลื่อนที่จอดเรือ หากเรือเปลี่ยนเวลาการนำเรือออกหรือเลื่อนที่จอดเรือให้เสียค่าเวลารอคอย ค่าป่วยการ และค่าจ้างนำร่องแล้วแต่กรณี ในอัตราดังต่อไปนี้

(๑) ถ้าเปลี่ยนเวลาการนำเรือออกหรือเลื่อนที่จอดเรือช้ากว่ากำหนดเดิมไปอีกเกินสองชั่วโมงแต่ไม่เกินสี่ชั่วโมงและทางเรือประสงค์จะให้ผู้นำร่องคอยอยู่บนเรือ ต้องเสียค่าเวลารอคอยให้แก่ผู้นำร่องเป็นเงิน ๘๐๐ บาท ถ้าทางเรือไม่ประสงค์จะให้ผู้นำร่องคอยอยู่บนเรือ ต้องเสียค่าป่วยการให้แก่ผู้นำร่องเป็นเงิน ๕๐๐ บาท  เว้นแต่เหตุที่ต้องเปลี่ยนเวลานั้นเป็นเพราะต้องคอยคราวน้ำ อากาศวิปริต หรือคนประจำเรือหนีซึ่งพ้นความสามารถของนายเรือตามปกติ

(๒) ถ้าเปลี่ยนเวลาการนำเรือออกหรือเลื่อนที่จอดเรือช้ากว่ากำหนดเดิมไปอีกเกินสี่ชั่วโมงแต่ไม่เกินสิบสองชั่วโมง ผู้นำร่องมีสิทธิที่จะเดินทางกลับหรือจะคอยอยู่บนเรือก็ได้ ถ้าผู้นำร่องเดินทางกลับ ต้องเสียค่าป่วยการให้แก่ผู้นำร่องเป็นเงิน ๕๐๐ บาท ถ้าผู้นำร่องคอยอยู่บนเรือ ต้องเสียค่าเวลารอคอยให้แก่ผู้นำร่องเป็นเงิน ๘๐๐ บาท  เว้นแต่เหตุที่ต้องเปลี่ยนเวลานั้นเป็นเพราะต้องคอยคราวน้ำ อากาศวิปริต หรือคนประจำเรือหนีซึ่งพ้นความสามารถของนายเรือตามปกติ

(๓) ถ้าเปลี่ยนเวลาการนำเรือออกหรือเลื่อนที่จอดเรือช้ากว่ากำหนดเดิมไปอีกเกินสิบสองชั่วโมง หรืองดการนำเรือออกหรือเลื่อนที่จอดเรือ และการเปลี่ยนเวลาหรือการงดการนำเรือออกหรือเลื่อนที่จอดเรือมิได้เกิดจากอากาศวิปริต และผู้นำร่องเดินทางกลับ ต้องเสียค่าป่วยการให้แก่ผู้นำร่องเป็นเงิน ๕๐๐ บาท  และต้องเสียค่าจ้างนำร่องเพิ่มจากข้อ ๗๓ ทวิ  หรือข้อ ๗๔  อีก ๒,๐๐๐ บาท  ไม่ว่าจะใช้ผู้นำร่องของรัฐบาลหรือผู้นำร่องพิเศษ

 

หมวด ๑๐[๔๙]

วิธีการเก็บและแบ่งเงินผลประโยชน์

ที่ได้มาเนื่องในการนำร่อง

                  

ข้อ ๘๑[๕๐]  ผู้มีหน้าที่เก็บเงินค่าจ้างนำร่องของรัฐบาลจะต้องเป็นเจ้าพนักงานตั้งแต่ตำแหน่งประจำแผนกขึ้นไป ซึ่งทางราชการมอบหมายเป็นหนังสือให้เป็นผู้เก็บเงินประจำหรือชั่วคราว

 

ข้อ ๘๒[๕๑]  การเก็บเงินค่าจ้างนำร่องสำหรับเรือลำหนึ่งลำใดนั้น ให้แยกใบสำคัญออกเป็นประเภท คือ ค่าจ้างนำร่องตามพิกัดประเภทหนึ่ง และค่าจ้างนำร่องนอกเวลาตามข้อ ๗๘อีกประเภทหนึ่ง แล้วรวมยอดเงินตามประเภทลงในแบบ น.๑ มอบให้ผู้เก็บเงินคอยรับเงินจากบุคคลผู้รับผิดในการชำระเงินค่าจ้างนำร่องตามมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒)

ทั้งนี้ต้องชำระเงินค่าจ้างนำร่องให้เสร็จก่อนที่เรือลำนั้นจะออกไปพ้นเขตท่าหรือน่านน้ำที่บังคับการนำร่อง

 

ข้อ ๘๓[๕๒]  ผู้มีหน้าที่เก็บเงินจะต้องออกใบรับเงินของทางราชการให้ไว้แก่บุคคลที่ชำระเงินค่าจ้างนำร่องนั้นเป็นหลักฐานใบรับเงินนั้นโดยปกติต้องมีลายมือชื่อหัวหน้าผู้นำร่องหรือผู้ซึ่งได้รับมอบให้เป็นผู้แทน พร้อมทั้งลงลายมือชื่อเจ้าพนักงานผู้เก็บเงินนั้นไว้ด้วย

 

ข้อ ๘๔[๕๓]  ภายใต้บังคับข้อ ๘๕ เมื่อผู้มีหน้าที่เก็บเงินได้รับค่าจ้างนำร่องไม่ว่าประเภทใด ให้รีบนำส่งเป็นรายได้ของรัฐ

 

ข้อ ๘๕[๕๔]  เงินค่าจ้างนำร่องล่วงเวลาตามข้อ ๗๘  ที่เก็บได้ทั้งหมดในเขตท่าเรือกรุงเทพ ฯ ในเดือนใด ให้หักนำส่งเป็นรายได้ของรัฐเป็นจำนวนหนึ่งในสี่ส่วนที่เหลือสามในสี่ให้แบ่งจ่ายให้แก่ผู้นำร่องที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ในเขตท่าเรือกรุงเทพ ฯ ในเดือนนั้นผู้นำร่องแต่ละคนจะได้รับส่วนแบ่งจากเงินค่าจ้างนำร่องล่วงเวลาตามวรรคหนึ่งหรือไม่  หรือจะได้รับเป็นจำนวนเท่าใด ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกรมเจ้าท่ากำหนด

 

ข้อ ๘๖[๕๕]  (ยกเลิก)

 

ข้อ ๘๗  ในเบื้องต้นนี้ ถ้าเงินสำรองสำหรับชดใช้ค่าเสียหายในการนำร่องซึ่งสะสมไว้ยังไม่ครบจำนวนสองหมื่นบาท จะได้ทำความตกลงกับกระทรวงการคลังเป็นพิเศษตามทางการ เพื่อขอตั้งเงินสำรองให้ครบตามจำนวนนี้ขึ้นไว้ โดยแบ่งจากเงินรายได้ในการนำร่องประจำเดือนไม่เกิน ๑๐ % ทุกเดือน ไปจนกว่าจะครบจำนวนที่กำหนดไว้

 

ข้อ ๘๘  เมื่อได้ตั้งเงินสำรองสำหรับชดใช้ค่าเสียหายขึ้นจากรายได้ในการนำร่องประจำเดือนตามความในข้อ ๘๗ นั้น ครบสองหมื่นบาทแล้วต่อมาถ้าได้รับเงินส่วนแบ่งจากการนำร่องประเภทนอกเวลาเพื่อสมทบทุนสำรองตามข้อ ๘๕ นั้นอีกเท่าใด ให้เบิกหักผลักใช้และถอนเงินทุนสำรองขึ้นเสีย คงเหลือจำนวนเงินสำรองสองหมื่นบาทไว้เท่าเดิม การเบิกหักผลักใช้เงินรายนี้จะมีกำหนดโอนบัญชีกันเมื่อใด แล้วแต่จะได้ทำความตกลงไว้กับกระทรวงการคลัง

ความในข้อนี้ มิให้ใช้บังคับถึงเงินสำรองประเภทนอกเวลาซึ่งสะสมไว้ได้ตามความในข้อ ๘๕ และ ๘๖

 

กฎให้ไว้ ณ วันที่ ๒๖ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๗๘

พระยาศรยุทธเสนี

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ

กฎกระทรวงเศรษฐการว่าด้วยการนำร่อง (ฉบับที่ ๒) ออกตามความในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำสยาม แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒)[๕๖]

 

กฎกระทรวงคมนาคมออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒) (ฉบับที่ ๔)[๕๗]

 

กฎกระทรวง ฉบับที่ ๒๖ (พ.ศ. ๒๕๑๕) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒)[๕๘]

 

หมายเหตุ :-  เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากบทบัญญัติเกี่ยวกับค่าจ้างนำร่องไม่เหมาะสมกับกาลสมัย สมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน  จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงฉบับนี้

 

กฎกระทรวง ฉบับที่ ๒๘ (พ.ศ. ๒๕๑๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒)[๕๙]

 

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องด้วยกฎกระทรวงเศรษฐการ ว่าด้วยการนำร่อง ออกตามความในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒) ลงวันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ในส่วนที่เกี่ยวกับการกำหนดคุณสมบัติผู้นำร่องและผู้ฝึกการนำร่อง กำหนดชั้นความรู้ผู้นำร่อง วิธีการที่จะสอบความรู้และออกใบอนุญาตแก่ผู้ที่จะขอรับใบอนุญาตเป็นผู้นำร่อง ซึ่งได้ประกาศใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๘ ไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน สมควรแก้ไขเพิ่มเติมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น  จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงฉบับนี้

 

กฎกระทรวง ฉบับที่ ๓๑ (พ.ศ. ๒๕๑๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒)[๖๐]

 

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากเงินค่าจ้างนำร่องที่ทางราชการแบ่งให้แก่ผู้นำร่องตามกฎกระทรวงที่ใช้บังคับอยู่ไม่เหมาะสมกับกาลสมัย สมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงในส่วนที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน  จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

 

กฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๖ (พ.ศ. ๒๕๓๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒)[๖๑]

 

หมายเหตุ :-  เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎกระทรวงเศรษฐการ ว่าด้วยการนำร่อง ออกตามความในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒) ในส่วนที่เกี่ยวกับการเลื่อนชั้นของผู้นำร่องและจำนวนของผู้นำร่องยังไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน กล่าวคือ ในปัจจุบันมีเรือเข้าออกในเขตท่าหรือน่านน้ำมากขึ้นกว่าเดิมทุกปี ทำให้ผู้นำร่องแต่ละนายได้รับประสบการณ์ในการนำร่องเรือเพิ่มขึ้นเร็วกว่าเดิม สมควรลดระยะเวลาการนำร่องเรือเพื่อการเลื่อนชั้นของผู้นำร่องลงจากเดิม และขณะนี้ได้มีการสร้างและขยายท่าเรือเพิ่มขึ้น ทำให้จำนวนผู้นำร่องที่กำหนดไว้แต่เดิมไม่เพียงพอต่อปริมาณงานที่เพิ่มขึ้น สมควรเพิ่มจำนวนผู้นำร่องให้เหมาะสมกับงานที่เพิ่มขึ้น และโดยที่ข้อกำหนดต่าง ๆ เกี่ยวกับมารยาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้นำร่องใช้มาเป็นเวลานานโดยยังไม่เคยมีการปรับปรุงแก้ไข ประกอบกับได้มีการปรับปรุงส่วนราชการในกรมเจ้าท่าใหม่แล้ว สมควรแก้ไขเพิ่มเติมส่วนต่าง ๆ เหล่านั้นให้รัดกุมและเหมาะสมยิ่งขึ้นเสียในคราวเดียวกัน จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

 

กฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๐ (พ.ศ. ๒๕๓๖) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒)[๖๒]

 

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎกระทรวงเศรษฐการ ว่าด้วยการนำร่อง ออกตามความในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๗ (พ.ศ. ๒๕๓๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่าน้ำไทย  แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒) ได้กำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครเป็นผู้นำร่องไว้ไม่เหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน สมควรปรับปรุงการกำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครดังกล่าวเสียใหม่ เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษาชั้นสูงสุดตามหลักสูตรฝ่ายเดินเรือจากสถาบันการเดินเรือ ของรัฐบาลไทยหรือรัฐบาลต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในด้านการเดินเรือมีสิทธิสมัครเป็นผู้นำร่องชั้น ๒ ค. ได้เท่าเทียมกับผู้สำเร็จการศึกษาชั้นสูงสุดจากโรงเรียนนายเรือ กองทัพเรือไทยหรือกองทัพเรือต่างประเทศ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

 

กฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๑ (พ.ศ. ๒๕๓๖) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช  ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒)[๖๓]

 

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากพิกัดค่าจ้างนำร่องที่ใช้อยู่ปัจจุบันนี้ได้ใช้มาเป็นเวลานานแล้ว ทำให้ไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน และสมควรแก้ไขเพิ่มเติมวิธีการเก็บและแบ่งเงินผลประโยชน์ที่ได้มาเนื่องในการนำร่องให้เหมาะสมเพื่อประโยชน์ของรัฐและเป็นธรรมกับผู้นำร่อง นอกจากนี้ สมควรกำหนดให้นายเรือของเรือที่ชักธงไทยที่จะนำเรือเข้าไปในเขตท่าหรือน่านน้ำตามที่กำหนดซึ่งบังคับให้เป็นเขตที่ต้องเดินเรือโดยมีผู้นำร่องสามารถขอรับใบอนุญาตเป็นผู้นำร่องพิเศษเพื่อทำการนำร่องภายในเขตท่าหรือน่านน้ำนั้นๆ ได้ อันจะเป็นการสนับสนุนกิจการพาณิชย์นาวีของประเทศให้ขยายตัวมากขึ้น จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

จำนงค์/จัดทำ/ปรับปรุง

๑๓ กันยายน ๒๕๕๐

  • [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๒/-/หน้า ๑๓๙๘/๒๗ ตุลาคม ๒๔๗๘
  • [๒] ข้อ ๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒๘ (พ.ศ. ๒๕๑๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒)
  • [๓] ข้อ ๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๐ (พ.ศ. ๒๕๓๖) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒)
  • [๔] ข้อ ๒ ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๐ (พ.ศ. ๒๕๓๖) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒)
  • [๕] ข้อ ๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒๘ (พ.ศ. ๒๕๑๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒)
  • [๖] ข้อ ๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒๘ (พ.ศ. ๒๕๑๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒)
  • [๗] ข้อ ๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒๘ (พ.ศ. ๒๕๑๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒)
  • [๘] ข้อ ๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๖ (พ.ศ. ๒๕๓๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒)
  • [๙] ข้อ ๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒๘ (พ.ศ. ๒๕๑๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒)
  • [๑๐] ข้อ ๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒๘ (พ.ศ. ๒๕๑๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒)
  • [๑๑] ข้อ ๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒๘ (พ.ศ. ๒๕๑๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒)
  • [๑๒] ข้อ ๑๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๖ (พ.ศ. ๒๕๓๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒)
  • [๑๓] ข้อ ๑๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๖ (พ.ศ. ๒๕๓๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒)
  • [๑๔] ข้อ ๑๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒๘ (พ.ศ. ๒๕๑๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒)
  • [๑๕] ข้อ ๑๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงเศรษฐการว่าด้วยการนำร่อง (ฉบับที่ ๒) ออกตามความในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำสยาม แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒)
  • [๑๖] ข้อ ๑๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๔๙๐) ว่าด้วยการนำร่องออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒)
  • [๑๗] ข้อ ๒๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๖ (พ.ศ. ๒๕๓๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒)
  • [๑๘] ข้อ ๒๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๖ (พ.ศ. ๒๕๓๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒)
  • [๑๙] ข้อ ๓๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๖ (พ.ศ. ๒๕๓๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒)
  • [๒๐] ข้อ ๓๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๖ (พ.ศ. ๒๕๓๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒)
  • [๒๑] ข้อ ๔๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๖ (พ.ศ. ๒๕๓๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒)
  • [๒๒] ข้อ ๔๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๖ (พ.ศ. ๒๕๓๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒)
  • [๒๓] ข้อ ๔๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๖ (พ.ศ. ๒๕๓๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒)
  • [๒๔] ข้อ ๔๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๖ (พ.ศ. ๒๕๓๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒)
  • [๒๕] ข้อ ๔๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๖ (พ.ศ. ๒๕๓๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒)
  • [๒๖] ข้อ ๕๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๖ (พ.ศ. ๒๕๓๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒)
  • [๒๗] ข้อ ๕๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๖ (พ.ศ. ๒๕๓๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒)
  • [๒๘] ข้อ ๕๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๖ (พ.ศ. ๒๕๓๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒)
  • [๒๙] ข้อ ๕๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒๖ (พ.ศ. ๒๕๑๕) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒)
  • [๓๐] ข้อ ๕๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๑ (พ.ศ. ๒๕๓๖) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช  ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒)
  • [๓๑] ข้อ ๕๔ ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒๖ (พ.ศ. ๒๕๑๕) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒)
  • [๓๒] ข้อ ๕๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๖ (พ.ศ. ๒๕๓๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒)
  • [๓๓] ข้อ ๕๖ ยกเลิกโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๑ (พ.ศ. ๒๕๓๖) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช  ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒)
  • [๓๔] ข้อ ๖๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๖ (พ.ศ. ๒๕๓๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒)
  • [๓๕] ข้อ ๖๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๖ (พ.ศ. ๒๕๓๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒)
  • [๓๖] ข้อ ๖๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๖ (พ.ศ. ๒๕๓๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒)
  • [๓๗] ข้อ ๖๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๖ (พ.ศ. ๒๕๓๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒)
  • [๓๘] ข้อ ๗๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๖ (พ.ศ. ๒๕๓๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒)
  • [๓๙] ข้อ ๗๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๖ (พ.ศ. ๒๕๓๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒)
  • [๔๐] ข้อ ๗๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๑  (พ.ศ. ๒๕๓๖) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒)
  • [๔๑] ข้อ ๗๓ ทวิ เพิ่มโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๑  (พ.ศ. ๒๕๓๖) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒)
  • [๔๒] ข้อ ๗๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๑  (พ.ศ. ๒๕๓๖) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒)
  • [๔๓] ข้อ ๗๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๑  (พ.ศ. ๒๕๓๖) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒)
  • [๔๔] ข้อ ๗๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๑  (พ.ศ. ๒๕๓๖) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒)
  • [๔๕] ข้อ ๗๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๑  (พ.ศ. ๒๕๓๖) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒)
  • [๔๖] ข้อ ๗๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๑  (พ.ศ. ๒๕๓๖) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒)
  • [๔๗] ข้อ ๗๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒๖ (พ.ศ. ๒๕๑๕) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒)
  • [๔๘] ข้อ ๘๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๑  (พ.ศ. ๒๕๓๖) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒)
  • [๔๙] หมวด ๑๐ วิธีการเก็บและแบ่งเงินผลประโยชน์ที่ได้มาเนื่องในการนำร่อง ข้อ ๘๑-ข้อ ๘๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงคมนาคมออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒) (ฉบับที่ ๔)
  • [๕๐] ข้อ ๘๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงคมนาคมออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒) (ฉบับที่ ๔)
  • [๕๑] ข้อ ๘๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงคมนาคมออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒) (ฉบับที่ ๔)
  • [๕๒] ข้อ ๘๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงคมนาคมออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒) (ฉบับที่ ๔)
  • [๕๓] ข้อ ๘๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓๑ (พ.ศ. ๒๕๑๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒)
  • [๕๔] ข้อ ๘๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๑  (พ.ศ. ๒๕๓๖) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒)
  • [๕๕] ข้อ ๘๖ ยกเลิกโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓๑ (พ.ศ. ๒๕๑๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒)
  • [๕๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๓/-/หน้า ๓๙๓/๔ ตุลาคม ๒๔๗๙
  • [๕๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๙/ตอนที่ ๑/๑๕๓/๑ มกราคม ๒๔๘๕
  • [๕๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๙/ตอนที่ ๑๙๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๓๑๐/๑๓ ธันวาคม ๑๕๑๕
  • [๕๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๑/ตอนที่ ๑๔/หน้า ๗๙/๒๙ มกราคม ๒๕๑๗
  • [๖๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๒/ตอนที่ ๑๙๑/หน้า ๒๖๖/๑๖ กันยายน ๒๕๑๘
  • [๖๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๘/ตอนที่ ๖๐/ฉบับพิเศษหน้า ๕/๑ เมษายน ๒๕๓๔
  • [๖๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๐/ตอนที่ ๑๓๓/ฉบับพิเศษหน้า ๑๘/๑๐ กันยายน ๒๕๓๖
  • [๖๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๐/ตอนที่ ๑๓๓/ฉบับพิเศษหน้า ๒๑/๑๐ กันยายน ๒๕๓๖