พระราชกฤษฎีกากำหนดของป่าหวงห้าม พ.ศ. 2497

ตราพระบรมราชโองการ

พระราชกฤษฎีกา

กำหนดของป่าหวงห้าม

พ.ศ. 2497

----------

                             ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.

ให้ไว้ ณ วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2497

เป็นปีที่ 9 ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศ

ว่า

โดยที่เป็นการสมควรกำหนดของป่าบางอย่างให้เป็นของป่าหวงห้ามในท้องที่บางจังหวัดเสียใหม่

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 95 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475

แก้ไขเพิ่มเติม  พุทธศักราช 2495 และมาตรา 28  แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484  จึง

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดั่งต่อไปนี้

มาตรา 1  พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า `พระราชกฤษฎีกากำหนดของป่าหวงห้าม พ.ศ. 2497'

มาตรา 2  พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวัน  นับแต่วันประกาศใน

ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา 3  ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกากำหนดของป่าหวงห้าม  พุทธศักราช 2485  และพระราช

กฤษฎีกากำหนดของป่าหวงห้าม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2494

มาตรา 4  ให้ของป่าบางอย่าง  ในท้องที่บางจังหวัด ตามที่ระบุไว้ในบัญชีต่อท้ายพระราชกฤษฎีกา

นี้  เป็นของป่าหวงห้ามตามความในพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484

มาตรา 5  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

จอมพล ป. พิบูลสงคราม

นายกรัฐมนตรี

 

หมายเหตุ:-  เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้  คือ  เนื่องจากของป่าบางชนิดมีคุณภาพ

ดี  บางชนิดมีราคาสูง  และบางชนิดก็หายาก  ซึ่งมีบุคคลนิยมเก็บหานำออกมาเพื่อการค้าหรือประกอบ

การอุตสาหกรรมเป็นปริมาณมาก  และการเก็บหาของป่าดั่งกล่าวนี้ได้กระทำไปโดยมุ่งหวังที่จะได้ของป่า

เป็นปริมาณมากแต่ถ่ายเดียว หาได้คำนึงถึงความเสียหายแก่พืชพันธุ์แห่งของป่าแต่อย่างใดไม่ เช่น ใช้วิธี

การเก็บหาของป่าซึ่งขัดต่อหลักวิชาการ  ทั้งนี้  เพื่อความสดวกหรือมุ่งหวังที่จะได้ของป่านั้นเป็นปริมาณ

มากจนเกินกำลังแห่งการยังผล อันเป็นไปตามธรรมชาติแห่งป่าไม้  เป็นเหตุให้ต้นไม้อันเป็นแหล่งกำเนิด

ของป่านั้นเป็นอันตรายหรือเสื่อมสลายสูญสิ้นพันธุ์ไป  จึงเป็นการจำเป็นและสมควรที่จะกำหนดของป่าหวง

ห้ามในท้องที่จังหวัดต่าง ๆ เสียใหม่ เพื่อประโยชน์ในการควบคุมบำรุงรักษาพืชพันธุ์แห่งของป่าสืบไป