พระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2520

ตราพระบรมราชโองการ

พระราชกฤษฎีกา

กำหนดไม้หวงห้าม (ฉบับที่ 5)

พ.ศ. 2520

-----------

                              ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.

                    ให้ไว้ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2520

เป็นปีที่ 32 ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรกำหนดไม้ไผ่บางชนิดในท้องที่อำเภอทองผาภูมิ   อำเภอศรีสวัสดิ์   และ

อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ให้เป็นไม้หวงห้าม

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 20 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา 7 แห่ง

พระราชบัญญัติป่าไม้   พุทธศักราช 2484 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.

2518 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้

มาตรา 1   พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า `พระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม (ฉบับที่ 5) พ.ศ.

2520'

มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

เป็นต้นไป

มาตรา 3   ให้ไม้ไผ่ชนิดต่อไปนี้ ในท้องที่อำเภอทองผาภูมิ อำเภอศรีสวัสดิ์ และอำเภอไทรโยค

จังหวัดกาญจนบุรีภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ตามพระ

ราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484

(1) ไผ่โจดและไผ่เพ็ก ( Arundinaria spp. )

(2) ไผ่ป่าหรือไผ่หนาม ไผ่สีสุก ไผ่บงหนาม ไผ่เลี้ยง ไผ่ลำมะลอก ไผ่บงเล็ก ไผ่หอม

ไผ่บง ไผ่เหลือง หรือไผ่บงดำ ไผ่ซางคำและไผ่ลำมะโล ( Bambusa spp. )

(3) ไผ่ข้าวหลามและไผ่เฮียะ ( Cephalos - tachyum spp. )

(4)   ไผ่ตง     ไผ่บงใหญ่   ไผ่เป๊าะ   ไผ่หก   ไผ่เซิมหรือไผ่ซายวาล   ไผ่ลำมะลอก

ไผ่ซางดอย ไผ่ซางหม่นและไผ่ซาง ( Dendro - calamus spp. )

(5) ไผ่คลาน ( Dinochloa sp. )

(6) ไผ่ไร่   ไผ่มันหรือไผ่เปาะ ไผ่ตากวาง ไผ่ผากมัน ไผ่แนะ ไผ่ไร่ลอและไผ่คายดำ

( Gigantochloa spp. )

(7) ไผ่หางช้างหรือไผ่ไส้ตัน ( Melocalamus sp. )

(8) ไผ่เกรียบ ( Melocanna sp. )

(9) ไผ่หลอดและไผ่โปหรือไผ่เมี่ยงไฟ ( Schizostachyum spp. )

(10) ไผ่บงเลี้ยง ( Teinostachyum sp. )

(11) ไผ่รวกและไผ่รวกดำ ( Thyrsostachys spp. )

มาตรา   4   ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

ธานินทร์ กรัยวิเชียร

นายกรัฐมนตรี

หมายเหตุ:-   เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากไม้ไผ่เป็นวัตถุดิบที่สำคัญ

สำหรับอุตสาหกรรมผลิตเยื่อกระดาษ     ควรกำหนดให้ไม้ดังกล่าวเป็นไม้หวงห้ามในบางท้องที่ เพื่อการ

อนุญาตหรือให้สัมปทานสำหรับอุตสาหกรรมประเภทนี้     อันจะเป็นการส่งเสริมการลงทุนเพื่อการอุตสาหกรรม

ผลิตเยื่อกระดาษให้กว้างขวางยิ่งขึ้น   จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ขึ้น