กฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518

กฎกระทรวง

ออกตามความในพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

พ.ศ. 2518

------

     อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 29 วรรคสอง แห่ง

พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 รัฐมนตรีว่าการ

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออก

กฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

บทบัญญัติมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

พ.ศ. 2518 มิให้ใช้บังคับแก่ที่ดินดังต่อไปนี้

(1) ที่ดินที่เป็นเขตปลอดภัยในราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยเขต

ปลอดภัยในราชการทหาร

(2) ที่ดินที่กำหนดตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการกำหนดเขตที่ดินที่จะ

ทำการสำรวจเพื่อการวางและจัดทำผังเมืองรวมหรือผังเมืองเฉพาะ หรือ

ที่ดินที่อยู่ในเขตของผังเมืองรวมหรือผังเมืองเฉพาะ ตามกฎหมายว่าด้วยการ

ผังเมือง

(3) ที่ดินในบริเวณที่จัดให้เป็นที่อยู่อาศัยหรือบริเวณชุมชนตามที่คณะกรรมการ

ปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมกำหนดด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการผังเมือง

ตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง

(4) ที่ดินที่ใช้ในกิจการอุตสาหกรรมที่ได้ดำเนินกิจการอยู่ก่อนการกำหนด

เขตปฏิรูปที่ดิน  ทั้งนี้ เท่าที่จำเป็นตามขนาดและประเภทของกิจการอุตสาหกรรม

ตามที่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมกำหนด

*[1]

`(5) ที่ดินที่ใช้ในกิจการตามความมุ่งหมายของสภากาชาดไทย

(6) ที่ดินที่ใช้ในกิจการโรงพยาบาล สถานพยาบาล โรงเรียนหรือสถาบัน

อุดมศึกษา  ทั้งนี้ เท่าที่จำเป็นตามขนาดและประเภทของกิจการตามที่คณะกรรมการ

ปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมกำหนด

(7) ที่ดินที่ใช้ในกิจการของผู้ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมาย

ว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน  ทั้งนี้ ตามจำนวนที่คณะกรรมการส่งเสริมการ

ลงทุนพิจารณาเห็นสมควร

(8) ที่ดินที่ใช้ในกิจการขององค์การหรือทบวงการระหว่างประเทศที่มี

กฎหมายคุ้มครองการดำเนินงานในประเทศไทยหรือรัฐบาลไทยได้ให้ความ

เห็นชอบแล้ว'

 

ให้ไว้ ณ วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2519

พลตรี ป. อดิเรกสาร

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

-------------------------------------------------------

หมายเหตุ :-  เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจาก

คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเห็นว่าในเขตปฏิรูปที่ดินมีที่ดินบางประเภท

ไม่อาจนำมาดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้ สมควรระบุประเภทของ

ที่ดินให้ได้รับการยกเว้นตามนัยของมาตรา 29 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติ

การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518  จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

 

*[2]

กฎกระทรวง

ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2528)

ออกตามความในพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

พ.ศ. 2518

------

 

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อ

เกษตรกรรม พ.ศ. 2518 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดิน

เพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2519 และมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติ

การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร

และสหกรณ์ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1  ในกฎกระทรวงนี้

`สำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดแห่งท้องที่' หมายความว่า  สำนักงานการ

ปฏิรูปที่ดินจังหวัดแห่งท้องที่ซึ่งที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนตั้งอยู่

หรือสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดซึ่งได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการตาม

มาตรา 11 วรรคสอง

`ผู้มีสิทธิอุทธรณ์' หมายความว่า เจ้าของที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่

ถูกเวนคืนเพื่อการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือผู้มีสิทธิได้รับค่าทดแทนอัน

เนื่องมาจากการเวนคืนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว

ข้อ 2  การอุทธรณ์จำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการกำหนดตาม

มาตรา 40 ให้ทำตามแบบ ส.ป.ก.4-02 ท้ายกฎกระทรวงนี้ และให้แนบ

สำเนาหรือภายถ่ายเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้มาด้วย คือ

(1) ในกรณีที่ผู้มีสิทธิอุทธรณ์เป็นบุคคลธรรมดา

(ก) บัตรประจำตัวประชาชนหรือทะเบียนบ้านของผู้มีสิทธิอุทธรณ์

ถ้าเป็นการอุทธรณ์แทนให้ผู้อุทธรณ์แทนแนบใบมอบฉันทะหรือหลักฐานแสดงอำนาจ

หน้าที่ของตน พร้อมทั้งบัตรประจำตัวประชาชนหรือทะเบียนบ้านของผู้อุทธรณ์แทน

มาด้วย

(ข) หนังสือแจ้งจำนวนเงินค่าตอบแทนของพนักงานเจ้าหน้าที่

(ค) หนังสือแสดงสิทธิในที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืน

(ง) เอกสารที่แสดงว่าเป็นผู้มีสิทธิที่จะได้รับเงินค่าทดแทน

(2) ในกรณีที่ผู้มีสิทธิอุทธรณ์เป็นนิติบุคคล

(ก) หนังสือรับรองการจดทะเบียนหรือหลักฐานการเป็นนิติบุคคล

(ข) หลักฐานที่แสดงว่าบุคคลใดเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทน

นิติบุคคล

(ค) เอกสารตามที่ระบุไว้ใน (1) (ข) (ค) และ (ง)

ข้อ 3  การยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ตามมาตรา 40 ถ้าที่ดินหรือ

อสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นต่อ ส.ป.ก. หรือ

จะส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึง ส.ป.ก. ก็ได้ ถ้าตั้งอยู่ในเขตจังหวัดอื่น

นอกจากกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นต่อสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดแห่งท้องที่ หรือ

จะส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงสำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดแห่งท้องที่ก็ได้ ในกรณี

ที่ส่งคำอุทธรณ์ทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ให้ถือวันที่ปรากฏในหลักฐานทางไปรษณีย์

เป็นวันยื่นอุทธรณ์

เมื่อได้รับคำอุทธรณ์แล้ว ให้ ส.ป.ก. หรือสำนักงานการปฏิรูปที่ดิน

จังหวัดแห่งท้องที่ออกใบอุทธรณ์ให้แก่ผู้มีสิทธิอุทธรณ์หรือผู้อุทธรณ์แทน แล้วแต่

กรณี ไว้เป็นหลักฐาน คำอุทธรณ์ที่ยื่นต่อ ส.ป.ก. หรือสำนักงานการปฏิรูปที่ดิน

จังหวัดแห่งท้องที่โดยตรง ให้ออกใบรับอุทธรณ์ในวันยื่นอุทธรณ์ ถ้าได้รับคำอุทธรณ์

ทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ให้ส่งใบรับอุทธรณ์ภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์

และให้ ส.ป.ก. หรือสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดแห่งท้องที่เสนอคำอุทธรณ์ต่อ

คณะกรรมการอุทธรณ์โดยเร็ว

ข้อ 4  ภายในกำหนดเวลาการยื่นอุทธรณ์ ผู้มีสิทธิอุทธรณ์หรืออุทธรณ์แทน

แล้วแต่กรณี อาจขอแก้ไขเพิ่มเติมคำอุทธรณ์ได้ โดยทำเป็นหนังสือชี้แจงเหตุผลที่

ขอแก้ไขเพิ่มเติมคำอุทธรณ์ ยื่นต่อ ส.ป.ก. หรือสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัด

แห่งท้องที่ แล้วแต่กรณี และให้ ส.ป.ก. หรือสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดแห่ง

ท้องที่เสนอคำอุทธรณ์ที่ขอแก้ไขเพิ่มเติมต่อคณะกรรมการอุทธรณ์โดยเร็ว

ข้อ 5  ภายในกำหนดเวลาการยื่นอุทธรณ์ ผู้มีสิทธิอุทธรณ์หรือผู้อุทธรณ์แทน

แล้วแต่กรณี อาจขอยื่นเอกสารหลักฐานประกอบคำอุทธรณ์เพิ่มเติมต่อ ส.ป.ก.

หรือสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดแห่งท้องที่ แล้วแต่กรณีได้ โดยทำเป็นหนังสือ

ชี้แจงเหตุผลที่มิได้ยื่นเอกสารหลักฐานนั้นพร้อมกับคำอุทธรณ์ และให้ ส.ป.ก.

หรือสำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดแห่งท้องที่เสนอเอกสารหลักฐานประกอบคำอุทธรณ์

เพิ่มเติมต่อคณะกรรมการอุทธรณ์โดยเร็ว

ในกรณีที่พ้นกำหนดเวลาการยื่นอุทธรณ์แล้ว ถ้าผู้มีสิทธิอุทธรณ์หรือผู้อุทธรณ์

แทน แล้วแต่กรณี มีเหตุผลแสดงว่าตนไม่อาจยื่นเอกสารหลักฐานประกอบคำอุทธรณ์

เพิ่มเติมภายในกำหนดเวลาการยื่นอุทธรณ์ได้ จะขอยื่นเอกสารหลักฐานนั้น

ต่อ ส.ป.ก. หรือสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดแห่งท้องที่เพื่อเสนอต่อไปยัง

คณะกรรมการอุทธรณ์โดยเร็ว หรือจะขอยื่นต่อคณะกรรมการอุทธรณ์โดยตรงก็ได้

ทั้งนี้ ไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนมีการวินิจฉัยคำอุทธรณ์ ถ้าคณะกรรมการอุทธรณ์เห็นว่า

ผู้ขอยื่นเอกสารหลักฐานดังกล่าวมีเหตุผลอันสมควรและเอกสารหลักฐานนั้นจำเป็น

เพื่อให้การวินิจฉัยเป็นไปโดยเที่ยงธรรม ให้คณะกรรมการอุทธรณ์รับเอกสาร

หลักฐานนั้นไว้พิจารณา

ข้อ 6  ในการวินิจฉัยคำอุทธรณ์เรื่องใด ห้ามมิให้กรรมการอุทธรณ์ผู้มีส่วน

ได้เสียในอุทธรณ์เรื่องนั้นเข้าร่วมประชุม เว้นแต่เป็นการเข้าชี้แจงตามข้อ 8

ข้อ 7  ก่อนที่คณะกรรมการอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยคำอุทธรณ์ ผู้มีสิทธิอุทธรณ์

หรือผู้อุทธรณ์แทน แล้วแต่กรณี อาจขอมาชี้แจงหรือนำบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องมาชี้แจง

ต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ได้ แต่ต้องมาชี้แจงหรือนำบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องมาชี้แจง

ภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการอุทธรณ์กำหนด

ข้อ 8  คณะกรรมการอุทธรณ์หรือคณะอนุกรรมการซึ่งคณะกรรมการอุทธรณ์

แต่งตั้งจะแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้มีสิทธิอุทธรณ์หรือผู้อุทธรณ์แทน แล้วแต่กรณี มา

ชี้แจงหรือนำบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องมาชี้แจง หรือส่งเอกสารหลักฐานอย่างอื่นที่จำเป็น

มาเพิ่มเติมเพื่อประโยชน์ในการวินิจฉัยก็ได้ โดยให้เวลาล่วงหน้าไม่น้อยกว่า

เจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง

ข้อ 9  ถ้าผู้มีสิทธิอุทธรณ์หรือผู้อุทธรณ์แทน แล้วแต่กรณี ไม่มาชี้แจงหรือนำ

บุคคลซึ่งเกี่ยวข้องมาแจ้ง หรือไม่ส่งเอกสารหลักฐานอย่างอื่นที่จำเป็นมาเพิ่มเติม

ตามข้อ 8 โดยมิได้แจ้งต่อคณะกรรมการอุทธรณ์หรือคณะอนุกรรมการซึ่งคณะกรรมการ

อุทธรณ์แต่งตั้ง แล้วแต่กรณี ถึงเหตุผลแห่งการนั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ต้องมา

ชี้แจงหรือวันที่ต้องส่งเอกสารหลักฐานดังกล่าวหรือแจ้งเหตุผลแห่งการนั้นแล้ว

และคณะกรรมการอุทธรณ์หรือคณะอนุกรรมการดังกล่าวพิจารณาเห็นว่าไม่มีเหตุผล

อันสมควร ผู้มีสิทธิอุทธรณ์หรือผู้อุทธรณ์แทน แล้วแต่กรณี ย่อมไม่มีสิทธิที่จะ

โต้แย้งหรืออ้างอิงเอกสารหลักฐานนั้น

ข้อ 10  ผู้มuสิทธิอุทธรณ์หรือผู้อุทธรณ์แทนอาจขอถอนอุทธรณ์ต่อ ส.ป.ก.

สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดแห่งท้องที่ หรือคณะกรรมการอุทธรณ์ได้ แล้วแต่กรณี

ข้อ 11  คำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ให้ทำเป็นหนังสือระบุเหตุผล

แห่งการวินิจฉัย และลงลายมือชื่อกรรมการอุทธรณ์อย่างน้อยสามคน

ข้อ 12  เมื่อคณะกรรมการอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยแล้ว ให้แจ้งคำวินิจฉัยเป็น

หนังสือไปยังผู้มีสิทธิอุทธรณ์หรือผู้อุทธรณ์แทน แล้วแต่กรณี ภายในเจ็ดวันนับแต่

วันที่ได้มีคำวินิจฉัย

 

ให้ไว้ ณ วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ.2528

ณรงค์ วงศ์วรรณ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

 

 

หมายเหตุ

  1. การกรอกข้อความในคำอุทธรณ์ ให้กรอกข้อความที่ต้องการให้ครบถ้วน

ด้วย  ตัวพิมพ์หรือตัวบรรจง ทำเครื่องหมาย X ในช่องสี่เหลี่ยมที่ต้องการและ

ขีดข้อความที่ไม่ต้องการออก

ช่องกรอกข้อความส่วนใดไม่พอที่จะกรอกข้อความได้จนหมดให้ใช้กระดาษอื่น

พิมพ์หรือเขียนต่อแนบติดมากับคำอุทธรณ์ โดยถือเป็นส่วนหนึ่งแห่งคำอุทธรณ์

  1. เอกสารประกอบคำอุทธรณ์ สำเนาหรือภาพถ่ายเอกสารหลักฐาน

ดังต่อไปนี้ ต้องแนบมาพร้อมกับคำอุทธรณ์ด้วย คือ

(1) ในกรณีที่ผู้มีสิทธิอุทธรณ์เป็นบุคคลธรรมดา

(ก) บัตรประจำตัวประชาชนหรือทะเบียนบ้านของผู้มีสิทธิอุทธรณ์

ถ้าเป็นการอุทธรณ์แทนให้ผู้อุทธรณ์แทนแนบใบมอบฉันทะหรือหลักฐานแสดงอำนาจ

หน้าที่ของตน พร้อมทั้งบัตรประชาชนหรือทะเบียนบ้านของผู้อุทธรณ์แทนมาด้วย

(ข) หนังสือแจ้งจำนวนเงินค่าทดแทนของพนักงานเจ้าหน้าที่

(ค) หนังสือแสดงสิทธิในที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืน

(ง) เอกสารที่แสดงว่าเป็นผู้มีสิทธิที่จะได้รับเงินค่าทดแทน

(2) ในกรณีที่ผู้มีสิทธิอุทธรณ์เป็นนิติบุคคล

(ก) หนังสือรับรองการจดทะเบียนหรือหลักฐานการเป็นนิติบุคคล

(ข) หลักฐานที่แสดงว่าบุคคลใดเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทน

นิติบุคคล

(ค) เอกสารตามที่ระบุไว้ใน (1) (ข) (ค) และ (ง)

นอกจากสำเนาหรือภาพถ่ายเอกสารหลักฐานตามที่ระบุไว้ใน (1) หรือ

(2) แล้ว จะแนบเอกสารหลักฐานเพื่อประโยชน์แก่การวินิจฉัยคำอุทธรณ์มาด้วย

ก็ได้

  1. กำหนดเวลาของการยื่นอุทธรณ์ การยื่นอุทธรณ์จะต้องกระทำภายใน

สามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจำนวนเงินค่าทดแทนของพนักงานเจ้าหน้าที่

  1. วิธีการยื่นอุทธรณ์ การยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ว่าที่ดินหรือ

อสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นต่อสำนักงานการ

ปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) หรือจะส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน

ถึง ส.ป.ก. ก็ได้ ถ้าอยู่ในในเขตจังหวัดอื่นนอกเขตจากกรุงเทพมหานคร ให้

ยื่นต่อสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดแห่งท้องที่ หรือจะส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน

ถึงสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดแห่งท้องที่ก็ได้

-------------------------------------------------------

หมายเหตุ :-  เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจาก

มาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518

บัญญัติว่าหลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นอุทธรณ์และวิธีพิจารณาในการวินิจฉัย

คำอุทธรณ์ของเจ้าของที่ดินหรือผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนเกี่ยวกับจำนวนเงิน

ค่าทดแทนที่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมกำหนดในการเวนคืนที่ดิน

หรืออสังหาริมทรัพย์เพื่อการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามมาตรา 40 ให้

กำหนดโดยกฎกระทรวง  จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

 

เชิงอรรถ

-------------------

*[1] แก้ไขโดย กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2526) ออกตามความ

ในพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518

*[2] แก้ไขโดย กฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2528) ออกตามความ

ในพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518