ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม

ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เรื่อง กำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดทำรายงาน

การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ

และแนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม

                  

                   โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมการกำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจหรือเอกชนที่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์วิธีการและระเบียบปฏิบัติตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภท และขนาดของโครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ลงวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๒

                  อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๖ มาตรา ๔๗ มาตรา ๔๘ มาตรา ๔๙ และมาตรา ๕๑ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ (แก้ไขโดยมาตรา ๑๑๔ แห่งพระราชกฤษฎีกาแก้ไขบทบัญญัติให้สอดคล้องกับการโอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ จึงประกาศไว้ดังต่อไปนี้

                    ข้อ ๑  ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ลงวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๒

ข้อ ๒  ในประกาศนี้

                  “อาคารประกอบธุรกิจค้าปลีกหรือค้าส่ง” หมายความว่า อาคารตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารที่ใช้ในการประกอบกิจการค้าปลีกหรือกิจการค้าส่งซึ่งสินค้าอุปโภคบริโภคที่ใช้ส่วนบุคคลหรือใช้ในครัวเรือนในชีวิตประจำวันเป็นส่วนใหญ่

“ธุรกิจค้าปลีกหรือค้าส่ง” หมายความว่า กิจการค้าปลีกหรือกิจการค้าส่งซึ่งสินค้าอุปโภคบริโภคที่ใช้ส่วนบุคคลหรือใช้ในครัวเรือน ในชีวิตประจำวันเป็นส่วนใหญ่”

“ค้าปลีก” หมายความว่า การประกอบธุรกิจโดยการขายสินค้าในจำนวนน้อยให้แก่ผู้บริโภค

“ค้าส่ง” หมายความว่า การประกอบธุรกิจโดยการขายสินค้าในจำนวนมากให้แก่ผู้ซื้อเพื่อนำไปขายให้แก่ผู้บริโภคหรือนำไปให้บริการต่อ

“ลุ่มน้ำหลัก” หมายถึง ลุ่มน้ำหลัก ๒๕ ลุ่มน้ำตามเอกสารท้ายประกาศ ๑

“ประตูระบายน้ำในแม่น้ำสายหลัก” หมายถึง อาคารที่สร้างขึ้นในทางน้ำเพื่อทด กัก กั้น หรือระบายน้ำ โดยมีช่องปิดเปิดได้ในแม่น้ำสายหลัก รายละเอียดตามเอกสารท้ายประกาศ ๒

“อุตสาหกรรมเหล็ก หรือเหล็กกล้า”[๑] หมายความว่า

กลุ่ม ๑ เหล็กขั้นต้นหรือเหล็กขั้นกลาง โดยเป็นโครงการหรือกิจการที่มีการถลุง หลอม หล่อ

กลุ่ม ๒ เหล็กขั้นปลาย ได้แก่ โครงการหรือกิจการที่มี

๒.๑ การรีดเหล็ก (Rolling) ทั้งการรีดร้อนและรีดเย็น ยกเว้นการรีดขึ้นรูปเย็น (cold roll forming) และการรีดปรับสภาพผิว (skin-pass หรือ temper rolling)

๒.๒ การทุบขึ้นรูปร้อน (Hot Forging)

๒.๓ การเคลือบผิว ของอุตสาหกรรมเหล็ก หรือเหล็กกล้า (ทั้งกรรมวิธีจุ่มด้วยโลหะหลอมเหลว กรรมวิธีทางไฟฟ้า กรรมวิธีทางเคมี กรรมวิธีทางไฟฟ้าเคมี)

๒.๔ การหล่อเหล็กรูปพรรณ (Ferrous metal foundries)

                   ข้อ ๓  ประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ ให้เป็นไปตามเอกสารท้ายประกาศ ๓ เว้นแต่ประเภทและขนาดโครงการหรือกิจการ ลำดับที่ ๑.๕ และ ๒๖.๒ ตามเอกสารท้ายประกาศ ๓ ให้จัดทำเป็นรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น

                    ข้อ ๔  กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ แนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น ให้เป็นไปตามเอกสารท้ายประกาศ ๔

                   การจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นดังกล่าว ต้องจัดทำโดยบุคคลซึ่งได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ชำนาญการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม

                  ข้อ ๕  ให้นำความในข้อ ๓ มาใช้บังคับสำหรับการขยายขนาดของโครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นโดยอนุโลม

                   ข้อ ๖  โครงการหรือกิจการตามประกาศในข้อ ๑ ที่ได้ยื่นเสนอรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติและแนวทางในการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามประกาศตามข้อ ๑ ต่อไปจนกว่าคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมจะมีความเห็นอย่างใดอย่างหนึ่ง

                 ข้อ ๗  โครงการหรือกิจการตามที่กำหนดไว้ในเอกสารท้ายประกาศ ๓ ซึ่งเป็นโครงการหรือกิจการของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน ซึ่งต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม สำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ อยู่แล้ว ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับการกำหนดประเภท ขนาด และวิธีปฏิบัติ สำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพให้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามประกาศดังกล่าวแต่เพียงอย่างเดียว

ข้อ ๘[๒]  ประกาศนี้ให้ใช้บังคับนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕

ปรีชา  เร่งสมบูรณ์สุข

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เอกสารท้ายประกาศ ๑

ลุ่มน้ำหลัก ๒๕ ลุ่มน้ำของประเทศไทย

๑. ลุ่มน้ำสาละวิน

๒. ลุ่มน้ำโขง

๓. ลุ่มน้ำกก

๔. ลุ่มน้ำชี

๕. ลุ่มน้ำมูล

๖. ลุ่มน้ำปิง

๗. ลุ่มน้ำวัง

๘. ลุ่มน้ำยม

๙. ลุ่มน้ำน่าน

๑๐. ลุ่มน้ำเจ้าพระยา

๑๑. ลุ่มน้ำสะแกกรัง

๑๒. ลุ่มน้ำป่าสัก

๑๓. ลุ่มน้ำท่าจีน

๑๔. ลุ่มน้ำแม่กลอง

๑๕. ลุ่มน้ำปราจีนบุรี

๑๖. ลุ่มน้ำบางปะกง

๑๗. ลุ่มน้ำโตนเลสาบ

๑๘. ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก

๑๙. ลุ่มน้ำเพชรบุรี

๒๐. ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันตก

๒๑. ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก

๒๒. ลุ่มน้ำตาปี

๒๓. ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา

๒๔. ลุ่มน้ำปัตตานี

๒๕. ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก

เอกสารท้ายประกาศ ๒

แม่น้ำสายหลัก ๒๓ สายของประเทศไทย

๑. แม่น้ำยวม

๒. แม่น้ำสงคราม

๓. แม่น้ำกก

๔. แม่น้ำชี

๕. แม่น้ำมูล

๖. แม่น้ำปิง

๗. แม่น้ำวัง

๘. แม่น้ำยม

๙. แม่น้ำน่าน

๑๐. แม่น้ำเจ้าพระยา

๑๑. แม่น้ำสะแกกรัง

๑๒. แม่น้ำป่าสัก

๑๓. แม่น้ำท่าจีน

๑๔. แม่น้ำแม่กลอง

๑๕. แม่น้ำปราจีนบุรี

๑๖. แม่น้ำบางปะกง

๑๗. แม่น้ำจันทบุรี

๑๘. แม่น้ำเพชรบุรี

๑๙. แม่น้ำปราณบุรี

๒๐. แม่น้ำสายบุรี

๒๑. แม่น้ำตาปี

๒๒. แม่น้ำปัตตานี

๒๓. แม่น้ำตรัง

เอกสารท้ายประกาศ ๓

                  ๑. กรณีโครงการหรือกิจการของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือโครงการร่วมกับเอกชน ซึ่งต้องเสนอขอรับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ให้เสนอรายงานในขั้นก่อนขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรี

                   ๒. กรณีโครงการหรือกิจการของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ซึ่งไม่ต้องเสนอขอรับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี หรือกรณีโครงการหรือกิจการซึ่งจะต้องได้รับอนุญาตจากทางราชการตามกฎหมายให้เสนอรายงานตามตารางท้ายนี้

๓. กรณีโครงการหรือกิจการซึ่งจะต้องได้รับอนุญาตจากทางราชการตามกฎหมายให้เสนอรายงานตามตารางท้ายนี้

ลำดับ

ประเภทโครงการหรือกิจการ

ขนาด

หลักเกณฑ์ วิธีการ

ระเบียบปฏิบัติ

การทำเหมืองแร่ตามกฎหมายว่าด้วยแร่

๑.๑ โครงการเหมืองแร่ดังต่อไปนี้

๑.๑.๑ เหมืองแร่ถ่านหิน

๑.๑.๒ เหมืองแร่โพแทช

๑.๑.๓ เหมืองแร่เกลือหิน

๑.๑.๔ เหมืองแร่หินปูนเพื่ออุตสาหกรรมปูนซิเมนต์

๑.๑.๕ เหมืองแร่โลหะทุกชนิด

๑.๒ โครงการเหมืองแร่ใต้ดิน

๑.๓ โครงการเหมืองแร่ทุกชนิดที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ดังต่อไปนี้

๑.๓.๑ พื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำชั้น ๑

ตามมติคณะรัฐมนตรี

๑.๓.๒ ป่าอนุรักษ์เพิ่มเติมตามมติ

คณะรัฐมนตรี

๑.๓.๓ พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญ

ระหว่างประเทศ

๑.๓.๔ พื้นที่ที่อยู่ใกล้โบราณสถาน

แหล่งโบราณคดี แหล่งประวัติศาสตร์หรือ

อุทยานประวัติศาสตร์ตามกฎหมายว่าด้วย

โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และ

พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ แหล่งมรดกโลกที่ขึ้นบัญชีแหล่งมรดกโลกตามอนุสัญญาระหว่างประเทศ ในระยะทาง ๒ กิโลเมตร

๑.๔ โครงการเหมืองแร่ที่มีการใช้วัตถุระเบิด

ทุกขนาด

ทุกขนาด

ทุกขนาด

ทุกขนาด

ทุกขนาด

ทุกขนาด

ทุกขนาด

ทุกขนาด

ทุกขนาด

ทุกขนาด

ทุกขนาด

ให้เสนอในขั้นขอประทานบัตร

ให้เสนอในขั้นขอประทานบัตร

ให้เสนอในขั้นขอประทานบัตร

ให้เสนอในขั้นขอประทานบัตร

ให้เสนอในขั้นขอประทานบัตร

ให้เสนอในขั้นขอประทานบัตร

ให้เสนอในขั้นขอประทานบัตร

ให้เสนอในขั้นขอประทานบัตร

ให้เสนอในขั้นขอประทานบัตร

ให้เสนอในขั้นขอประทานบัตร

ให้เสนอในขั้นขอประทานบัตร

ลำดับ

ประเภทโครงการหรือกิจการ

ขนาด

หลักเกณฑ์ วิธีการ

ระเบียบปฏิบัติ

๑.๕[๓] โครงการเหมืองแร่อื่น ๆ นอกเหนือจากที่กำหนดไว้แล้วในข้อ ๑.๑ ถึง ๑.๔ และไม่หมายความถึงโครงการเหมืองแร่ ดังต่อไปนี้

๑) โครงการเหมืองแร่ทรายแก้วหรือทรายซิลิกา

๒) โครงการเหมืองแร่ดินอุตสาหกรรมชนิดดินซีเมนต์

๓) โครงการเหมืองแร่ดินเหนียวสี

๔) โครงการเหมืองแร่ดินมาร์ล

๕) โครงการเหมืองแร่บอลเคลย์

๖) โครงการเหมืองแร่ดินทนไฟ

๗) โครงการเหมืองแร่ดินเบา

ทุกขนาด

ให้เสนอในขั้นขอประทานบัตร

การพัฒนาปิโตรเลียม

๒.๑ การสำรวจปิโตรเลียม โดยวิธีการเจาะสำรวจ

๒.๒ การผลิตปิโตรเลียม

ทุกขนาด

ทุกขนาด

ให้เสนอในขั้นตอนการขอรับ

ความเห็นชอบจากหน่วยงาน

ผู้รับผิดชอบหรือหน่วยงานผู้

อนุญาตตามกฎหมายว่าด้วย

ปิโตรเลียม

ให้เสนอในขั้นตอนการขอรับ

ความเห็นชอบจากหน่วยงาน

ผู้รับผิดชอบหรือหน่วยงานผู้

อนุญาตตามกฎหมายว่าด้วย

ปิโตรเลียม

๓[๔]

โครงการระบบขนส่งปิโตรเลียมและ

น้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อ ยกเว้น

๓.๑ โครงการระบบขนส่งก๊าซธรรมชาติ

ทางท่อบนบกที่มีความดันใช้งาน

สูงสุดน้อยกว่าหรือเท่ากับยี่สิบบาร์

และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของ

ท่อน้อยกว่าหรือเท่ากับสิบหกนิ้ว

ในทุกพื้นที่ แต่ไม่รวมถึงพื้นที่ที่มีมติ

คณะรัฐมนตรีหรือกฎหมายกำหนดไว้

เป็นอย่างอื่น

๓.๒ โครงการระบบขนส่งก๊าซธรรมชาติ

ทางท่อบนบกที่มีความดันใช้งาน

สูงสุดมากกว่ายี่สิบบาร์ขึ้นไป และมี

ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อ

มากกว่าสิบหกนิ้วขึ้นไปที่อยู่ในเขต

นิคมอุตสาหกรรมตามกฎหมาย

ว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรม

ทุกขนาด

ให้เสนอในขั้นขอใบอนุญาต

หรือขั้นขอรับความเห็นชอบ

จากหน่วยงานผู้รับผิดชอบ

นิคมอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรม หรือ โครงการที่มีลักษณะเช่นเดียวกับนิคมอุตสาหกรรมหรือโครงการจัดสรรที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม

ทุกขนาด

ให้เสนอในขั้นขออนุมัติหรือขออนุญาตโครงการ

อุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่มีกระบวนการผลิตทางเคมี

ที่มีกำลังการผลิตตั้งแต่

๑๐๐ ตันต่อวัน ขึ้นไป

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการ หรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ แล้วแต่กรณี

อุตสาหกรรมกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม

ทุกขนาด

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการ หรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ แล้วแต่กรณี

อุตสาหกรรมแยกหรือแปรสภาพก๊าซธรรมชาติ

ทุกขนาด

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการ หรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ แล้วแต่กรณี

ลำดับ

ประเภทโครงการหรือกิจการ

ขนาด

หลักเกณฑ์ วิธีการ

ระเบียบปฏิบัติ

อุตสาหกรรมคลอ – แอลคาไลน์ (Chlor –

alkaline industry) ที่ใช้โซเดียมคลอไรด์

(NaCl) เป็นวัตถุดิบในการผลิต โซเดียม

คาร์บอเนต (Na2CO3) โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) กรดไฮโดรคลอริก (HCl) คลอรีน (Cl2) โซเดียมไฮโพคลอไรด์ (NaOCl) และปูนคลอรีน (Bleaching Powder)

ที่มีกำลังผลิตสาร

ดังกล่าว แต่ละชนิด

หรือรวมกัน ตั้งแต่ ๑๐๐

ตันต่อวัน ขึ้นไป

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการ หรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ แล้วแต่กรณี

อุตสาหกรรมผลิตปูนซิเมนต์

ทุกขนาด

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการ หรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ แล้วแต่กรณี

๑๐

อุตสาหกรรมผลิตเยื่อกระดาษ

ที่มีกำลังผลิตตั้งแต่

๕๐ ตันต่อวัน ขึ้นไป

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการ หรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ แล้วแต่กรณี

๑๑

อุตสาหกรรมที่ผลิตสารออกฤทธิ์หรือสารที่ใช้ป้องกันหรือกำจัดศัตรูพืชหรือสัตว์โดยใช้กระบวนการทางเคมี

ทุกขนาด

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการ หรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ แล้วแต่กรณี

๑๒

อุตสาหกรรมผลิตปุ๋ยเคมีโดยกระบวนการทางเคมี

ทุกขนาด

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการ หรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ แล้วแต่กรณี

๑๓

อุตสาหกรรมประกอบกิจการเกี่ยวกับน้ำตาล ดังต่อไปนี้

๑๓.๑ การทำน้ำตาลทรายดิบ น้ำตาล

ทรายขาว น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์

๑๓.๒ การทำกลูโคส เดกซ์โทรส ฟรักโทส หรือผลิตภัณฑ์อื่นที่คล้ายคลึงกัน

ทุกขนาด

ที่มีกำลังผลิตตั้งแต่ ๒๐

ตันต่อวัน ขึ้นไป

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการ หรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ แล้วแต่กรณี

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการ หรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ แล้วแต่กรณี

ลำดับ

ประเภทโครงการหรือกิจการ

ขนาด

หลักเกณฑ์ วิธีการ

ระเบียบปฏิบัติ

๑๔

อุตสาหกรรมเหล็ก หรือเหล็กกล้า

ที่มีกำลังการผลิต

แต่ละโครงการ/กิจการ

หรือทุกโครงการ/กิจการ

รวมกัน ตั้งแต่ ๑๐๐ ตัน

ต่อวันขึ้นไป[๕]

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการ หรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ แล้วแต่กรณี

๑๕

อุตสาหกรรมถลุงหรือแต่งแร่ หรือหลอมโลหะซึ่งมิใช่อุตสาหกรรมเหล็กหรือเหล็กกล้า

ที่มีกำลังผลิตตั้งแต่ ๕๐

ตันต่อวัน ขึ้นไป

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการ หรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ แล้วแต่กรณี

๑๖

อุตสาหกรรมผลิตสุรา แอลกอฮอล์ รวมทั้งผลิตเบียร์และไวน์

๑๖.๑ อุตสาหกรรมผลิตสุรา แอลกอฮอล์

๑๖.๒ อุตสาหกรรมผลิตไวน์

๑๖.๓ อุตสาหกรรมผลิตเบียร์

ที่มีกำลังผลิตตั้งแต่

๔๐,๐๐๐ ลิตรต่อเดือน

(คิดเทียบที่ ๒๘ ดีกรี)

ที่มีกำลังการผลิตตั้งแต่

๖๐๐,๐๐๐ ลิตรต่อเดือน

ที่มีกำลังการผลิตตั้งแต่

๖๐๐,๐๐๐ ลิตรต่อเดือน

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการ หรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ แล้วแต่กรณี

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการ หรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ แล้วแต่กรณี

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการ หรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ แล้วแต่กรณี

๑๗

โรงงานปรับคุณภาพของเสียรวมเฉพาะสิ่ง

ปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน

ทุกขนาด

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการ หรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ แล้วแต่กรณี

๑๘

โรงไฟฟ้าพลังความร้อน

ที่มีกำลังผลิตกระแสไฟฟ้า

ตั้งแต่ ๑๐ เมกะวัตต์

ขึ้นไป

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการ หรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ แล้วแต่กรณี

๑๙

ระบบทางพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการทางพิเศษ หรือโครงการที่มีลักษณะเช่นเดียวกับทางพิเศษ

ทุกขนาด

ให้เสนอในขั้นขออนุมัติหรือขออนุญาตโครงการ

ลำดับ

ประเภทโครงการหรือกิจการ

ขนาด

หลักเกณฑ์ วิธีการ

ระเบียบปฏิบัติ

๒๐

ทางหลวงหรือถนน ซึ่งมีความหมายตาม

กฎหมายว่าด้วยทางหลวง ที่ตัดผ่านพื้นที่

ดังต่อไปนี้

๒๐.๑ พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและเขตห้ามล่าสัตว์ป่าตามกฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า

๒๐.๒ พื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ

๒๐.๓ พื้นที่เขตลุ่มน้ำชั้น ๒ ตามที่

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแล้ว

๒๐.๔ พื้นที่เขตป่าชายเลนที่เป็นป่าสงวน

แห่งชาติ

๒๐.๕ พื้นที่ชายฝั่งทะเลในระยะ ๕๐ เมตร ห่างจากระดับน้ำทะเลขึ้นสูงสุดตามปกติทางธรรมชาติ

๒๐.๖ พื้นที่ที่อยู่ในหรือใกล้พื้นที่ชุ่มน้ำที่มี

ความสำคัญระหว่างประเทศ หรือแหล่งมรดกโลกที่ขึ้นบัญชีแหล่งมรดกโลกตามอนุสัญญาระหว่างประเทศในระยะทาง ๒ กิโลเมตร

๒๐.๗ พื้นที่ที่ตั้งอยู่ใกล้โบราณสถาน แหล่งโบราณคดี แหล่งประวัติศาสตร์ หรืออุทยานประวัติศาสตร์ตามกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ในระยะทาง ๒ กิโลเมตร

ทุกขนาด

ทุกขนาด

ทุกขนาด

ทุกขนาด

ทุกขนาด

ทุกขนาด

ทุกขนาด

ให้เสนอในขั้นขออนุมัติหรือขอ

อนุญาตโครงการ

ให้เสนอในขั้นขออนุมัติหรือขอ

อนุญาตโครงการ

ให้เสนอในขั้นขออนุมัติหรือขอ

อนุญาตโครงการ

ให้เสนอในขั้นขออนุมัติหรือขอ

อนุญาตโครงการ

ให้เสนอในขั้นขออนุมัติหรือขอ

อนุญาตโครงการ

ให้เสนอในขั้นขออนุมัติหรือขอ

อนุญาตโครงการ

ให้เสนอในขั้นขออนุมัติหรือขอ

อนุญาตโครงการ

๒๑

ระบบขนส่งมวลชนที่ใช้ราง

ทุกขนาด

ให้เสนอในขั้นขออนุมัติหรือขอ

อนุญาตโครงการ

๒๒

ท่าเทียบเรือ

รับเรือขนาดตั้งแต่ ๕๐๐

ตันกรอส หรือความยาว

หน้าท่า ตั้งแต่ ๑๐๐ เมตร

หรือมีพื้นที่ท่าเทียบเรือ

รวม ตั้งแต่ ๑,๐๐๐ ตาราง

เมตร ขึ้นไป

ให้เสนอในขั้นขออนุมัติหรือขอ

อนุญาตโครงการ

ลำดับ

ประเภทโครงการหรือกิจการ

ขนาด

หลักเกณฑ์ วิธีการ

ระเบียบปฏิบัติ

๒๓

ท่าเทียบเรือสำราญกีฬา

ที่รองรับเรือได้ตั้งแต่ ๕๐ลำ หรือ ๑,๐๐๐ ตาราง

เมตร ขึ้นไป

ให้เสนอในขั้นขออนุมัติหรือขออนุญาตโครงการ

๒๔

การถมที่ดินในทะเล

ทุกขนาด

ให้เสนอในขั้นขออนุมัติหรือขอ

อนุญาตโครงการ

๒๕[๖]

การก่อสร้างหรือขยายสิ่งก่อสร้าง

บริเวณหรือในทะเล

๒๕.๑ รอดักทราย เขื่อนกันทราย

และคลื่น รอบังคับกระแสน้ำ

๒๕.๒ แนวเขื่อนกันคลื่นนอกฝั่งทะเล

ทุกขนาด

ทุกขนาด

ให้เสนอในขั้นขออนุมัติ หรือ

ขออนุญาตโครงการ

ให้เสนอในขั้นขออนุมัติ หรือ

ขออนุญาตโครงการ

๒๖

โครงการระบบขนส่งทางอากาศ

๒๖.๑ ก่อสร้างหรือขยายสนามบินหรือที่ขึ้นลงชั่วคราว เพื่อการพาณิชย์

๒๖.๒ สนามบินน้ำ

ที่มีขนาดความยาวของ

ทางวิ่งตั้งแต่ ๑,๑๐๐ เมตร

ทุกขนาด

ให้เสนอในขั้นขออนุมัติหรือขอ

อนุญาตโครงการ

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตจัดตั้ง

หรือขออนุญาตขึ้น-ลงอากาศยาน

๒๗

อาคาร ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารซึ่งมีลักษณะที่ตั้งหรือการใช้ประโยชน์ในอาคารอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้

๒๗.๑ อาคารที่ตั้งริมแม่น้ำ ฝั่งทะเล ทะเลสาบหรือชายหาด หรือที่อยู่ใกล้หรือในอุทยานแห่งชาติ หรืออุทยานประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นบริเวณที่อาจจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม

๒๗.๒ อาคารที่ใช้ในการประกอบธุรกิจค้าปลีกหรือค้าส่ง

ความสูงตั้งแต่ ๒๓.๐๐

เมตร ขึ้นไป หรือมีพื้นที่

รวมกันทุกชั้นหรือชั้นหนึ่ง

ชั้นใดในหลังเดียวกัน

ตั้งแต่ ๑๐,๐๐๐ ตาราง

เมตร ขึ้นไป

ความสูงตั้งแต่ ๒๓.๐๐

เมตร ขึ้นไป หรือมีพื้นที่

รวมกันทุกชั้นหรือชั้นหนึ่ง

ชั้นใดในหลังเดียวกัน

ตั้งแต่ ๑๐,๐๐๐ ตาราง

เมตร ขึ้นไป

หรือหากใช้วิธีการแจ้งต่อ

เจ้าพนักงานท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร โดยไม่ยื่นขอรับใบอนุญาตให้เสนอรายงานใน

ขั้นการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างหรือหากใช้วิธีการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร โดยไม่ยื่นขอรับใบอนุญาตให้เสนอรายงานในขั้นการแจ้งต่อ

เจ้าพนักงานท้องถิ่น

ลำดับ

ประเภทโครงการหรือกิจการ

ขนาด

หลักเกณฑ์ วิธีการ

ระเบียบปฏิบัติ

๒๗.๓ อาคารที่ใช้เป็นสำนักงานหรือที่ทำการของเอกชน

ความสูงตั้งแต่ ๒๓.๐๐

เมตรขึ้นไป หรือมีพื้นที่

รวมกันทุกชั้น หรือชั้นหนึ่ง

ชั้นใดในหลังเดียวกัน

ตั้งแต่ ๑๐,๐๐๐ ตาราง

เมตร ขึ้นไป

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างหรือหากใช้วิธีการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร โดยไม่ยื่นขอรับใบอนุญาตให้เสนอรายงานในขั้นการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น

๒๘

การจัดสรรที่ดินเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยหรือเพื่อประกอบการพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน

จำนวนที่ดินแปลงย่อย

ตั้งแต่ ๕๐๐ แปลง หรือ

เนื้อที่เกินกว่า ๑๐๐ ไร่

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตจัดสรรที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน

๒๙

โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล

๒๙.๑ กรณีตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำ ฝั่งทะเล ทะเลสาบหรือชายหาด ในระยะ ๕๐ เมตร

๒๙.๒ กรณีโครงการที่ไม่อยู่ในข้อ ๒๙.๑

ที่มีเตียงสำหรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนตั้งแต่ ๓๐ เตียง

ขึ้นไป

ที่มีเตียงสำหรับผู้ป่วยไว้

ค้างคืนตั้งแต่ ๖๐ เตียง ขึ้น

ไป

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างหรือหากใช้วิธีการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร โดยไม่ยื่นขอรับใบอนุญาตให้เสนอรายงานในขั้นการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างหรือหากใช้วิธีการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร โดยไม่ยื่นขอรับใบอนุญาตให้เสนอรายงานในขั้นการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น

๓๐

โรงแรมหรือสถานที่พักตากอากาศตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม

ที่มีจำนวนห้องพักตั้งแต่

๘๐ ห้อง ขึ้นไป หรือมี

พื้นที่ใช้สอยตั้งแต่ ๔,๐๐๐

ตารางเมตร ขึ้นไป

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างหรือหากใช้วิธีการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร โดยไม่ยื่นขอรับใบอนุญาตให้เสนอรายงานในขั้นการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น

ลำดับ

ประเภทโครงการหรือกิจการ

ขนาด

หลักเกณฑ์ วิธีการ

ระเบียบปฏิบัติ

๓๑

อาคารอยู่อาศัยรวมตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร

ที่มีจำนวนห้องพักตั้งแต่

๘๐ ห้อง ขึ้นไป หรือมี

พื้นที่ใช้สอย ตั้งแต่

๔,๐๐๐ ตารางเมตรขึ้นไป

ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างหรือหากใช้วิธีการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร โดยไม่ยื่นขอรับใบอนุญาตให้เสนอรายงานในขั้นการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น

๓๒

การชลประทาน

ที่มีพื้นที่การชลประทาน

ตั้งแต่ ๘๐,๐๐๐ ไร่ ขึ้นไป

ให้เสนอในขั้นขออนุมัติหรือขอ

อนุญาตโครงการ

๓๓

โครงการทุกประเภทที่อยู่ในพื้นที่ที่

คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบกำหนดให้เป็นพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำชั้น ๑

ทุกขนาด

ให้เสนอในขั้นขออนุมัติหรือขอ

อนุญาตโครงการ

๓๔

การผันน้ำข้ามลุ่มน้ำ ดังต่อไปนี้

๓๔.๑ การผันน้ำข้ามลุ่มน้ำหลัก ยกเว้นกรณีภัยพิบัติ หรือมีผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ ที่เป็นการดำเนินการชั่วคราว

๓๔.๒ การผันน้ำระหว่างประเทศ ยกเว้นกรณีภัยพิบัติ หรือมีผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ ที่เป็นการดำเนินการชั่วคราว

ทุกขนาด

ทุกขนาด

ให้เสนอในขั้นขออนุมัติหรือขอ

อนุญาตโครงการ

ให้เสนอในขั้นขออนุมัติหรือขอ

อนุญาตโครงการ

๓๕

ประตูระบายน้ำในแม่น้ำสายหลัก

ทุกขนาด

ให้เสนอในขั้นขออนุมัติ

หรือขออนุญาตโครงการ

๓๖[๗]

อุตสาหกรรมผลิตถ่านโค้ก

ทุกขนาด

ให้เสนอในขั้นขออนุมัติ

หรือขออนุญาตโครงการ

เอกสารท้ายประกาศ ๔

 

ก. แนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย

๑. สาระสำคัญ

๑.๑ รายงานฉบับย่อ ต้องประกอบด้วยสาระสำคัญดังนี้

๑.๑.๑ ประเภทและขนาดโครงการ พร้อมกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง

                 ๑.๑.๒ ที่ตั้งโครงการโดยมีภาพและแผนที่ที่ตั้งโครงการ รวมทั้งแผนที่แสดงองค์ประกอบทางสิ่งแวดล้อมในบริเวณที่อาจได้รับผลกระทบจากโครงการตามมาตรการส่วน ๑ : ๕๐,๐๐๐ หรือมาตราส่วนที่เหมาะสม

๑.๑.๓ ทางเลือกที่ตั้งโครงการและวิธีการดำเนินการโครงการพร้อมเหตุผลและข้อพิจารณาในการตัดสินใจเลือกแนวทางที่เสนอ

๑.๑.๔ รายงานการแสดงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ พร้อมด้วยมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบดังกล่าว และมาตรการติดตามตรวจสอบตามแบบ สผ.๑

๑.๒ รายงานหลัก ต้องประกอบด้วยสาระสำคัญดังนี้

๑.๒.๑ บทนำ : กล่าวถึงที่มา วัตถุประสงค์ของโครงการ เหตุผลความจำเป็นในการดำเนินโครงการ วัตถุประสงค์การจัดทำรายงาน ขอบเขตการศึกษา และวิธีการศึกษา

                  ๑.๒.๒ ที่ตั้งโครงการ : โดยมีภาพและแผนที่ตั้งโครงการ รวมทั้งแผนที่แสดงองค์ประกอบทางสิ่งแวดล้อม ในบริเวณที่อาจได้รับผลกระทบจากโครงการมาตราส่วน ๑ : ๕๐,๐๐๐ หรือมาตราส่วนที่เหมาะสม

                  ๑.๒.๓ รายละเอียดโครงการ : ให้มีรายละเอียดที่สามารถแสดงภาพรวมได้ชัดเจน ได้แก่ ประเภท ขนาดที่ตั้งโครงการ วิธีการดำเนินการโครงการหรือกิจกรรมประกอบของโครงการ เป็นต้น ตลอดจนแผนผังการใช้ที่ดินของโครงการโดยแสดงทิศและมาตราส่วนที่เหมาะสม

                ๑.๒.๔ สภาพแวดล้อมในปัจจุบัน : ให้แสดงรายละเอียดพร้อมภาพถ่ายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้านกายภาพ ชีวภาพ โดยจำแนกเป็นชนิดที่ฟื้นฟูได้และฟื้นฟูไม่ได้ รายละเอียดคุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ และคุณค่าคุณภาพชีวิต ตลอดจนสภาพปัญหาปัจจุบันบริเวณพื้นที่โครงการพร้อมแสดงแผนที่สภาพแวดล้อมบริเวณโครงการ การใช้ประโยชน์ที่ดินโดยรอบโครงการตลอดจนบริเวณที่อาจได้รับผลกระทบจากการดำเนินโครงการทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

๑.๒.๕ การประเมินทางเลือกในการดำเนินการ และการประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากโครงการ

                  (๑) ทางเลือกในการดำเนินโครงการ : ในรายงานฯ จะต้องเสนอทางเลือกซึ่งอาจเป็นทั้งทางเลือกที่ตั้งโครงการหรือวิธีการดำเนินโครงการ โดยทางเลือกที่เสนอทุกทางเลือกจะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีเหตุผลว่าบรรลุเป้าหมายและความจำเป็นในการมีโครงการหรือไม่มีโครงการอย่างไร มีมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบในทุกทางเลือก และจะต้องระบุทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดที่จะดำเนินโครงการ พร้อมแสดงเหตุผลและความจำเป็นประกอบ

                 (๒) การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม : ให้ประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากโครงการ ทั้งที่เป็นผลกระทบโดยตรง และผลกระทบทางอ้อมต่อทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและคุณค่าต่าง ๆ ตาม ๑.๒.๔ พร้อมทั้งแยกประเภททรัพยากรเป็นชนิดที่สามารถฟื้นฟูได้และฟื้นฟูไม่ได้ รวมทั้งให้ประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในทุกทางเลือกของโครงการเปรียบเทียบกัน

                 ๑.๒.๖ มาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและการชดเชย : ให้อธิบายรายละเอียดในการป้องกันและแก้ไขผลกระทบที่เกิดขึ้นตาม ๑.๒.๕ และในกรณีที่ความเสียหายไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ให้เสนอแผนการชดเชยความเสียหายดังกล่าวด้วย

                 ๑.๒.๗ มาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม : ให้เสนอมาตรการและแผนการดำเนินการในการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ทางวิชาการและการปฏิบัติการ ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของการติดตามและประเมินผลภายหลังการดำเนินโครงการด้วย

๑.๒.๘ ตารางสรุปผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่สำคัญพร้อมด้วยมาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบดังกล่าว

                 ทั้งนี้ จะต้องดำเนินการตามแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนและการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมทางสังคม และแนวทางการประเมินผลกระทบทางสุขภาพในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม

๒. เอกสารหลักฐานที่ต้องนำเสนอ

๒.๑ รายงานหลัก จำนวนไม่น้อยกว่า ๑๕ ฉบับ

๒.๒ รายงานย่อ จำนวนไม่น้อยกว่า ๑๕ ฉบับ

๒.๓ ปกหน้าและปกในของรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามแบบ สผ. ๒

๒.๔ หนังสือรับรองการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามแบบ สผ. ๓

๒.๕ สำเนาใบอนุญาตเป็นผู้มีสิทธิทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม

๒.๖ บัญชีรายชื่อผู้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามแบบ สผ. ๕

๒.๗ แบบแสดงรายละเอียดการเสนอรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามแบบ สผ. ๖

ข. แนวทางการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น ประกอบด้วย

๑. สาระสำคัญ

๑.๑ บทนำ : กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของโครงการ เหตุผลความจำเป็นในการดำเนินการโครงการ วัตถุประสงค์การจัดทำรายงานฯ ขอบเขตการศึกษา และวิธีการศึกษา

๑.๒ ที่ตั้งโครงการ : โดยมีภาพและแผนที่ตั้งโครงการ รวมทั้งแผนที่แสดงองค์ประกอบทางสิ่งแวดล้อมในบริเวณที่อาจได้รับผลกระทบจากโครงการ ในมาตราส่วนที่เหมาะสม

๑.๓ ทางเลือกที่ตั้งโครงการ และวิธีการดำเนินโครงการ : พร้อมเหตุผลและข้อพิจารณาในการตัดสินใจเลือกแนวทางที่เสนอ

                  ๑.๔ รายละเอียดโครงการ : ให้มีรายละเอียดที่สามารถแสดงภาพรวมได้ชัดเจน ได้แก่ ประเภท ขนาด ที่ตั้ง ทางเลือกที่ตั้งโครงการ และวิธีการดำเนินการโครงการ พร้อมเหตุผลและข้อพิจารณาในการตัดสินใจเลือกแนวทางที่เสนอ รายละเอียดกระบวนการ หรือกิจกรรมประกอบของโครงการ แผนผังการใช้ที่ดินของโครงการโดยแสดงทิศ และมาตราส่วนที่เหมาะสม

                 ๑.๕ สภาพแวดล้อมในปัจจุบัน : ให้แสดงรายละเอียดพร้อมภาพถ่าย ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้านกายภาพ ชีวภาพ โดยจำแนกเป็นชนิดที่ฟื้นฟูได้และฟื้นฟูไม่ได้ รายละเอียดคุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ และคุณค่าคุณภาพชีวิต ตลอดจนสภาพปัญหาปัจจุบันบริเวณพื้นที่โครงการพร้อมแสดงแผนที่สภาพแวดล้อมบริเวณโครงการการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยรอบโครงการ ตลอดจนบริเวณที่อาจได้รับผลกระทบจากการดำเนินโครงการทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

                 ๑.๖ ผลกระทบหลักที่อาจเกิดขึ้นจากโครงการ : ให้ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นโดยให้ความสำคัญในการประเมินผลที่มีนัยสำคัญ ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากโครงการที่เป็นผลกระทบโดยตรง และผลกระทบทางอ้อมต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและคุณค่าต่าง ๆ ตาม ๑.๕

                 ๑.๗ มาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและการชดเชย : อธิบายรายละเอียดในการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นตาม ๑.๖ และในกรณีที่ความเสียหายไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ให้เสนอแผนการชดเชยความเสียหายดังกล่าวด้วย

๑.๘ มาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม : เสนอมาตรการและแผนการดำเนินการในการติดตามและประเมินผลภายหลังการดำเนินโครงการด้วย

๑.๙ ตารางสรุปผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่สำคัญพร้อมด้วยมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบดังกล่าว

ทั้งนี้ จะต้องดำเนินการตามแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนและการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมทางสังคม ในรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น

๒. เอกสารและหลักฐานที่ต้องนำเสนอ

 

๒.๑ รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น จำนวนไม่น้อยกว่า ๑๕ ฉบับ

๒.๒ ปกหน้าและปกในของรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นตามแบบ สผ. ๗

๒.๓ หนังสือรับรองการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นตามแบบ สผ. ๘

๒.๔ บัญชีรายชื่อผู้จัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นตามแบบ สผ. ๙

๒.๕ สำเนาใบอนุญาตเป็นผู้มีสิทธิทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม

แบบ สผ. ๑

แบบรายการแสดงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ

มาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม

และการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม

องค์ประกอบทาง

สิ่งแวดล้อมและคุณค่าต่าง ๆ

ผลกระทบต่อ

สิ่งแวดล้อมที่สำคัญ

มาตรการป้องกันและแก้ไข

ผลกระทบสิ่งแวดล้อม

การติดตามตรวจสอบผลกระทบ

สิ่งแวดล้อม

ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม

ทางกายภาพ

ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม

ทางชีวภาพ

คุณค่าการใช้ประโยชน์

คุณค่าต่อคุณภาพชีวิต

แบบ สผ. ๒

รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม

ชื่อโครงการ.................................................................................................................................................................

ที่ตั้งโครงการ...............................................................................................................................................................

ชื่อเจ้าของโครงการ...................................................................................................................................................

ที่อยู่เจ้าของโครงการ................................................................................................................................................

การมอบอำนาจ

(   ) เจ้าของโครงการได้มอบอำนาจให้.................................................................................

เป็นผู้ดำเนินการเสนอรายงาน ดังหนังสือมอบอำนาจที่แนบ

(   ) เจ้าของโครงการมิได้มีการมอบอำนาจแต่อย่างใด

จัดทำโดย

........................................................................

   (.ชื่อนิติบุคคลผู้จัดทำรายงานฯ)

แบบ สผ. ๓

หนังสือรับรองการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม

วันที่............เดือน....................................พ.ศ. ................

หนังสือฉบับนี้ขอรับรองว่า............................................................................ เป็นผู้จัดทำรายงานการ

วิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการ.............................................................................................................

ให้แก่............................................................................................................................................................................

เพื่อ.................................................................................................. ตามคำขอเลขที่..................................................

โดยมีคณะผู้ชำนาญการและเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการจัดทำรายงานดังต่อไปนี้

  ผู้ชำนาญการ                                     ลายมือชื่อ

..........................................................................           ..................................................................

   เจ้าหน้าที่                                        ลายมือชื่อ

..........................................................................           ..................................................................

..........................................................................           ..................................................................

..........................................................................           ..................................................................

..........................................................................

(........................................................................)

ตำแหน่ง...........................................................

(ประทับตรานิติบุคคล)

แบบ สผ. ๕

บัญชีรายชื่อผู้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม

ชื่อ -สกุล/วุฒิ

การศึกษา

หัวข้อที่

ทำการศึกษา

ที่อยู่/ที่ทำงานปัจจุบัน

สัดส่วนผลงานคิดเป็น%

ของงานศึกษาจัดทำรายงานทั้งฉบับ

ลายมือชื่อ

แบบ สผ. ๖

แบบแสดงรายละเอียดการเสนอรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม

เหตุผลในการเสนอรายงานฯ

(   ) เป็นโครงการเข้าข่ายต้องจัดทำรายงานฯ ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภทและขนาดโครงการหรือกิจการซึ่งต้องทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ประเภทโครงการ......................................................

(   ) เป็นโครงการที่จัดทำรายงานฯ เนื่องจากมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง.............................................

เมื่อวันที่............................................................................ (โปรดแนบมติคณะรัฐมนตรีและเอกสารที่เกี่ยวข้อง)

(   ) จัดทำรายงานฯ ตามความต้องการของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน

(   ) อื่น ๆ (ระบุ) .....................................................................................................................................

วันที่ลงนามในสัญญาว่าจ้างจัดทำรายงานฯ.........................................................................................................

การขออนุญาตโครงการ

(   ) รายงานฯ นี้จัดทำขึ้นเพื่อประกอบอนุญาตจาก..........................................................................

(ระบุชื่อหน่วยงานผู้ให้อนุญาต) กำหนดโดย พ.ร.บ. ..........................................................................

มาตรา/ประเภทที่/ข้อ/ลำดับที่...............................................................................................................

(   ) รายงานฯ จัดทำขึ้นเพื่อประกอบการขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี

(   ) อื่น ๆ (ระบุ).......................................................................................................................................

สถานภาพโครงการ (ระบุได้มากกว่า 1 ข้อ)

(   ) ก่อนการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ

(   ) กำลังศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ

(   ) ยังไม่ได้ก่อสร้าง

(   ) เริ่มก่อสร้างโครงการแล้ว (แนบภาพถ่ายพร้อมระบุวันที่)

(   ) ทดลองเดินเครื่องแล้ว

(   ) เปิดดำเนินโครงการแล้ว

สถานภาพโครงการนี้รายงานเมื่อวันที่ ...............................................................................................................

แบบ สผ. ๗

รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น

ชื่อโครงการ.................................................................................................................................................................

ที่ตั้งโครงการ...............................................................................................................................................................

ชื่อเจ้าของโครงการ...................................................................................................................................................

ที่อยู่เจ้าของโครงการ................................................................................................................................................

การมอบอำนาจ

(   ) เจ้าของโครงการได้มอบอำนาจให้.................................................................................

เป็นผู้ดำเนินการเสนอรายงาน ดังหนังสือมอบอำนาจที่แนบ

(   ) เจ้าของโครงการมิได้มีการมอบอำนาจแต่อย่างใด

จัดทำโดย

.........................................................................

   (ผู้จัดทำรายงานฯ)

แบบ สผ. ๘

หนังสือรับรองการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น

วันที่............เดือน....................................พ.ศ. ................

หนังสือฉบับนี้ขอรับรองว่า.................................................................................... เป็นผู้จัดทำรายงาน

กระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น โครงการ....................................................................................................................

ให้แก่............................................................................................................................................................................

เพื่อ.................................................................................................. ตามคำขอเลขที่..................................................

โดยมีคณะผู้ชำนาญการและเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการจัดทำรายงานดังต่อไปนี้

  ผู้ชำนาญการ                                     ลายมือชื่อ

..........................................................................           ..................................................................

   เจ้าหน้าที่                                        ลายมือชื่อ

..........................................................................           ..................................................................

..........................................................................           ..................................................................

..........................................................................           ..................................................................

..........................................................................

(........................................................................)

ตำแหน่ง...........................................................

  (ประทับตรานิติบุคคล)

แบบ สผ. ๙

บัญชีรายชื่อผู้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม

ชื่อ -สกุล/

วุฒิการศึกษา

หัวข้อที่

ทำการศึกษา

ที่อยู่/ที่ทำงานปัจจุบัน

สัดส่วนผลงานคิดเป็น%

ของงานศึกษาจัดทำรายงานทั้งฉบับ

ลายมือชื่อ

                      ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๕๖)[๘]

ประกาศนี้ให้ใช้บังคับนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๕๖)[๙]

ประกาศนี้ให้ใช้บังคับนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๕๗)[๑๐]

                   ข้อ ๒  บรรดารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามข้อ ๑ ซึ่งได้ยื่นต่อสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไว้ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ และยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ให้ถือว่ากระบวนการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสิ้นสุดลงโดยอนุโลม

                  ในกรณีคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการตามวรรคหนึ่ง ได้ให้ความเห็นชอบกับรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมดังกล่าวก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ และเจ้าของโครงการหรือกิจการได้นำผลการให้ความเห็นชอบกับรายงานของคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมไปประกอบการยื่นคำขอรับอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องภายหลังที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าเจ้าของโครงการหรือกิจการได้จัดทำรายงานตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎหมายนั้น ๆ แล้ว

ข้อ ๓  ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๕๗)[๑๑]

                   ข้อ ๒  บรรดารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นโครงการที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นตามข้อ ๑ ซึ่งได้ยื่นต่อสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไว้ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ และยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ให้ถือว่ากระบวนการพิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นสิ้นสุดลงโดยอนุโลม

                   ในกรณีคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการตามวรรคหนึ่ง ได้ให้ความเห็นชอบกับรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นดังกล่าวก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ และเจ้าของโครงการหรือกิจการได้นำผลการให้ความเห็นชอบกับรายงานของคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมไปประกอบการยื่นคำขอรับอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องภายหลังที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าเจ้าของโครงการหรือกิจการได้จัดทำรายงานตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎหมายนั้น ๆ แล้ว

ข้อ ๓  ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดทำรายงาน การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ฉบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๕๗)[๑๒]

ปริยานุช/ผู้จัดทำ

๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๕

นุสรา/ผู้ตรวจ

๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๘

  • [๑] ข้อ ๒ นิยามคำว่า “อุตสาหกรรมเหล็ก หรือเหล็กกล้า” แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๕๖)
  • [๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๙๗ ง/หน้า ๑/๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๕
  • [๓] ลำดับที่ ๑ ๑.๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๕๗)
  • [๔] ลำดับที่ ๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๕๗)
  • [๕] ลำดับที่ ๑๔ ขนาด แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๕๖)
  • [๖] ลำดับที่ ๑๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๕๖)
  • [๗] ลำดับที่ ๓๖ เพิ่มโดยประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ฉบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๕๗)
  • [๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๓๗ ง/หน้า ๒๐/๒๒ มีนาคม ๒๕๕๖
  • [๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๘๕ ง/หน้า ๓๘/๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๖
  • [๑๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๒๓๘ ง/หน้า ๔/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๗
  • [๑๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๑๑ ง/หน้า ๑๑/๑๕ มกราคม ๒๕๕๘
  • [๑๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๑๑ ง/หน้า ๑๓/๑๕ มกราคม ๒๕๕๘