ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณพื้นที่ที่ได้รับธรณีพิบัติ จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดระนอง และจังหวัดสตูล พ.ศ. ๒๕๔๙

ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณพื้นที่ที่ได้รับธรณีพิบัติ

จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดระนอง และจังหวัดสตูล

พ.ศ. ๒๕๔๙

                       

 

                อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๕ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๕ มาตรา ๔๘ มาตรา ๕๐ และมาตรา ๕๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และโดยได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๔๙ ออกประกาศกำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณพื้นที่ที่ได้รับธรณีพิบัติ จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดระนอง และจังหวัดสตูล ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑  ในประกาศนี้

“แนวชายฝั่งทะเล” หมายความว่า แนวที่น้ำทะเลขึ้นสูงสุดตามปกติทางธรรมชาติ

“ชายหาด” หมายความว่า บริเวณพื้นที่ระหว่างน้ำทะเลขึ้นสูงสุดตามปกติทางธรรมชาติและน้ำทะเลลงต่ำสุดตามปกติทางธรรมชาติ

“สันทราย” หมายความว่า เนินที่เกิดขึ้นโดยลมพัดพาตะกอนทรายร่วนมากองรวมกันต่อจากแนวชายฝั่งทะเลขึ้นไป

                   ข้อ ๒  ให้พื้นที่ที่ได้มีการกำหนดเป็นเขตอนุรักษ์และเขตควบคุมอาคารของจังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดระนอง และจังหวัดสตูล บางส่วน ดังต่อไปนี้ เป็นเขตพื้นที่ที่ให้ใช้มาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประกาศนี้

                  (๑) พื้นที่ภายในแนวเขตตามพระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ บังคับในท้องที่บางแห่งในจังหวัดระนอง จังหวัดพังงา จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง และจังหวัดสตูล พ.ศ. ๒๕๓๔

(๒) พื้นที่ภายในแนวเขตตามพระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ บังคับในเขตจังหวัดภูเก็ต พ.ศ. ๒๕๓๔

                  (๓) พื้นที่ภายในแนวเขตตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดเขตห้ามใช้เครื่องมืออวนลากและอวนรุนที่ใช้กับเรือยนต์ทำการประมง ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๑๕ ในบริเวณที่วัดจากแนวชายฝั่งทะเลออกไปในทะเลเป็นระยะ ๓,๐๐๐ เมตร

ให้กำหนดพื้นที่บางส่วนตามวรรคหนึ่งเป็น ๒ บริเวณ ดังต่อไปนี้

บริเวณที่ ๑ หมายถึง พื้นที่บนแผ่นดินใหญ่และเกาะจากแนวชายฝั่งทะเลเข้าไปในแผ่นดินจนจดแนวเขตหมู่บ้าน ดังต่อไปนี้

(๑) แผ่นดินใหญ่ ได้แก่

                  หมู่ที่ ๑ บ้านคลองรั้ว หมู่ที่ ๒ บ้านตลิ่งชัน หมู่ที่ ๔ บ้านหาดยาว หมู่ที่ ๕ บ้านปากหรา ตำบลตลิ่งชัน อำเภอเหนือคลอง หมู่ที่ ๒ บ้านเขาทอง หมู่ที่ ๓ บ้านท่าเลน ตำบลเขาทอง หมู่ที่ ๒ บ้านคลองม่วง หมู่ที่ ๓ บ้านเกาะกวาง ตำบลหนองทะเล อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่

                  หมู่ที่ ๔ บ้านเกาะเคี่ยม ตำบลกันตังใต้ หมู่ที่ ๓ บ้านมดตะนอย หมู่ที่ ๖ บ้านเจ้าไหม ตำบลเกาะลิบง หมู่ที่ ๑ บ้านหาดทรายขาว หมู่ที่ ๔ บ้านพระม่วง ตำบลนาเกลือ หมู่ที่ ๓ บ้านควนตุ้งกู หมู่ที่ ๔ บ้านน้ำราบ ตำบลบางสัก หมู่ที่ ๕ บ้านนายยอดทอง ตำบลวังวน อำเภอกันตัง หมู่ที่ ๑ บ้านนาทะเล หมู่ที่ ๒ บ้านนาชุมเห็ด หมู่ที่ ๓ บ้านทุ่งเปลว หมู่ที่ ๔ บ้านตะเสะ ตำบลตะเสะ หมู่ที่ ๑ บ้านปากปรนท่าตก หมู่ที่ ๕ บ้านแหลมปอ หมู่ที่ ๖ บ้านโคกวา หมู่ที่ ๑๐ บ้านโคกค่าย หมู่ที่ ๑๑ บ้านนาราโพ หมู่ที่ ๑๒ บ้านโคกเคียน ตำบลหาดสำราญ กิ่งอำเภอหาดสำราญ หมู่ที่ ๑ บ้านท่าข้าม หมู่ที่ ๒ บ้านหยงสตาร์ หมู่ที่ ๓ บ้านตีน หมู่ที่ ๔ บ้านทุ่งรวงทอง หมู่ที่ ๕ บ้านสามแยก หมู่ที่ ๖ บ้านทอนหาร หมู่ที่ ๗ บ้านควน หมู่ที่ ๘ บ้านท่าข้ามตก หมู่ที่ ๙ บ้านควนล้ำเพชร ตำบลท่าข้าม หมู่ที่ ๒ บ้านสี่แยกบ้านนา หมู่ที่ ๓ บ้านหินคอกควาย หมู่ที่ ๔ บ้านวังศิลา หมู่ที่ ๕ บ้านหัวควน หมู่ที่ ๗ บ้านแหลมยาง หมู่ที่ ๑๐ บ้านนาทุ่ง หมู่ที่ ๑๑ บ้านท่านา หมู่ที่ ๑๒ บ้านพรุใหญ่ ตำบลบ้านนา หมู่ที่ ๑ บ้านสุโสะ หมู่ที่ ๓ บ้านห้วยไม้ไผ่ หมู่ที่ ๔ บ้านท่าคลอง หมู่ที่ ๗ บ้านทุ่งกอ หมู่ที่ ๑๑ บ้านในทอน ตำบลสุโสะ อำเภอปะเหลียน หมู่ที่ ๓ บ้านแหลมไทร หมู่ที่ ๔ บ้านบางค้างคาว หมู่ที่ ๕ บ้านแหลมมะขาม หมู่ที่ ๗ บ้านทุ่งทอง ตำบลเขาไม้แก้ว หมู่ที่ ๒ บ้านพรุจูด หมู่ที่ ๖ บ้านหัวหิน หมู่ที่ ๘ บ้านโต๊ะบัน หมู่ที่ ๙ บ้านปากคลอง ตำบลบ่อหิน หมู่ที่ ๓ บ้านไม้ฝาด หมู่ที่ ๔ บ้านหาดปากเมง หมู่ที่ ๕ บ้านฉางหลาง หมู่ที่ ๗ บ้านนาหละ ตำบลไม้ฝาด อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง

               หมู่ที่ ๑ บ้านปากทวีป หมู่ที่ ๒ บ้านบางขยะ หมู่ที่ ๓ บ้านคึกคัก หมู่ที่ ๕ และหมู่ที่ ๖ บ้านบางเนียง หมู่ที่ ๗ บ้านบางหลาโอน ตำบลคึกคัก หมู่ที่ ๒ บ้านน้ำเค็ม หมู่ที่ ๓ บ้านบางหม้อ หมู่ที่ ๔ บ้านบางม่วง หมู่ที่ ๗ บ้านบางสักเหนือ หมู่ที่ ๘ บ้านบางสักใต้ ตำบลบางม่วง อำเภอตะกั่วป่า หมู่ที่ ๙ บ้านทับยาง ตำบลท้ายเหมือง หมู่ที่ ๒ บ้านเกาะนก หมู่ที่ ๗ บ้านขนิม ตำบลทุ่งมะพร้าว หมู่ที่ ๖ บ้านท่าแตง หมู่ที่ ๗ บ้านในไร่ ตำบลนาเตย หมู่ที่ ๑ บ้านลำรู หมู่ที่ ๒ บ้านเขาหลัก หมู่ที่ ๓ บ้านลำแก่น หมู่ที่ ๔ บ้านท่าดินแดง หมู่ที่ ๕ บ้านทับละมุ ตำบลลำแก่น อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา

              หมู่ที่ ๑ บ้านบางหวาน หมู่ที่ ๒ บ้านเหนือ หมู่ที่ ๓ บ้านโคกยาง หมู่ที่ ๔ บ้านกมลา หมู่ที่ ๕ บ้านหัวควน หมู่ที่ ๖ บ้านนาคา ตำบลกมลา หมู่ที่ ๑ ชุมชนบ้านกะหลิม หมู่ที่ ๒ ชุมชน บ้านโคกมะขาม หมู่ที่ ๓ ชุมชนบ้านชายวัด หมู่ที่ ๗ ชุมชนบ้านหาดป่าตอง เทศบาลเมืองป่าตอง อำเภอกะทู้ หมู่ที่ ๒ บ้านบางเทา หมู่ที่ ๓ บ้านหาดสุรินทร์ หมู่ที่ ๕ บ้านบางเทานอก หมู่ที่ ๖ บ้านโคกโตนด ตำบลเชิงทะเล หมู่ที่ ๑ บ้านหมากปรก หมู่ที่ ๓ บ้านสวนมะพร้าว หมู่ที่ ๔ บ้านไม้ขาว ตำบลไม้ขาว หมู่ที่ ๑ บ้านในยาง หมู่ที่ ๓ บ้านสาคู หมู่ที่ ๔ บ้านในทอน ตำบลสาคู อำเภอถลาง หมู่ที่ ๑ บ้านกะรน หมู่ที่ ๒ บ้านกะตะ หมู่ที่ ๓ บ้านบางลา หมู่ที่ ๔ บ้านคอกช้าง เทศบาลตำบลกะรน หมู่ที่ ๓ บ้านป่าหล่าย หมู่ที่ ๙ บ้านโคกโตนด ตำบลฉลอง หมู่ที่ ๑ บ้านใสยวน หมู่ที่ ๒ บ้านหาดราไวย์ หมู่ที่ ๔ บ้านบางคณฑี หมู่ที่ ๕ บ้านห้าแยก หมู่ที่ ๖ บ้านแหลมพรหมเทพ หมู่ที่ ๗ บ้านไสยวน ตำบลราไวย์ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต

                หมู่ที่ ๑ บ้านทะเลนอก หมู่ที่ ๒ บ้านเหนือ หมู่ที่ ๓ บ้านกำพวน หมู่ที่ ๔ บ้านภูเขาทอง ตำบลกำพวน หมู่ที่ ๑ บ้านบางมัน หมู่ที่ ๓ บ้านบางกล้วยนอก หมู่ที่ ๖ บ้านแหลมนาว หมู่ที่ ๗ บ้านไร่ใน ตำบลนาคา กิ่งอำเภอสุขสำราญ หมู่ที่ ๑ บ้านด่าน หมู่ที่ ๘ บ้านชีมี ตำบลกะเปอร์ หมู่ที่ ๑ บ้านชาคลี หมู่ที่ ๒ บ้านบางหิน หมู่ที่ ๕ บ้านคลองทราย ตำบลบางหิน หมู่ที่ ๑ บ้านม่วงกลวง หมู่ที่ ๒ บ้านบางเบน หมู่ที่ ๓ บ้านสำนัก หมู่ที่ ๔ บ้านอ่าวเคย ตำบลม่วงกลวง อำเภอกะเปอร์ หมู่ที่ ๑ บ้านทรายแดง หมู่ที่ ๒ บ้านหินดาด ตำบลทรายแดง หมู่ที่ ๑ บ้านปากน้ำ ตำบลปากน้ำ หมู่ที่ ๑ บ้านละออง หมู่ที่ ๒ บ้านล่าง หมู่ที่ ๓ บ้านเขาหยวก หมู่ที่ ๔ บ้านห้วยน้ำใส หมู่ที่ ๕ บ้านนกงาง หมู่ที่ ๖ บ้านคลองของ หมู่ที่ ๗ บ้านห้วยปลิง หมู่ที่ ๘ บ้านขจัดภัย ตำบลราชกรูด หมู่ที่ ๓ บ้านท่าฉาง หมู่ที่ ๔ บ้านล่าง ตำบลหงาว อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง

               หมู่ที่ ๑ บ้านทุ่งริ้น หมู่ที่ ๒ บ้านสาคร หมู่ที่ ๓ บ้านคลองลิกี ตำบลสาคร อำเภอท่าแพ หมู่ที่ ๑ บ้านขอนคลานตะวันออก หมู่ที่ ๒ บ้านราไวใต้ หมู่ที่ ๓ บ้านขอนคลานตะวันตก หมู่ที่ ๔ บ้านราไวเหนือ ตำบลขอนคลาน หมู่ที่ ๑ บ้านมะหงัง หมู่ที่ ๒ บ้านทุ่งสะโบ๊ะ หมู่ที่ ๓ บ้านทุ่งทะนาน หมู่ที่ ๔ บ้านท่านา หมู่ที่ ๕ บ้านทุ่งบุหลัง ตำบลทุ่งบุหลัง หมู่ที่ ๓ บ้านช่องไทร หมู่ที่ ๔ บ้านวังตง ตำบลนาทอน อำเภอทุ่งหว้า หมู่ที่ ๑ บ้านควนไสน หมู่ที่ ๓ บ้านควน หมู่ที่ ๔ บ้านควนใหญ่ หมู่ที่ ๕ บ้านปิใหญ่ หมู่ที่ ๑๑ บ้านทุ่งเสม็ด หมู่ที่ ๑๒ บ้านตูแตหลำ ตำบลกำแพง หมู่ที่ ๑ บ้านบ่อเจ็ดลูก หมู่ที่ ๒ บ้านปากบารา หมู่ที่ ๔ บ้านตะโล๊ะใส หมู่ที่ ๕ บ้านท่ายาง หมู่ที่ ๖ บ้านท่ามาลัย หมู่ที่ ๗ บ้านท่าพยอม ตำบลปากน้ำ หมู่ที่ ๑ บ้านท่าชะมวง หมู่ที่ ๒ บ้านปากละงู หมู่ที่ ๓ บ้านเกาะยวน หมู่ที่ ๔ บ้านลาหงา หมู่ที่ ๖ บ้านหัวทาง หมู่ที่ ๗ บ้านกันโต๊ะทิด หมู่ที่ ๑๔ บ้านหลอมปืน หมู่ที่ ๑๕ บ้านในใส ตำบลละงู หมู่ที่ ๑ บ้านตันหยงละไน้ หมู่ที่ ๒ บ้านกาแบง หมู่ที่ ๓ บ้านบุโบย หมู่ที่ ๔ บ้านสนกลาง หมู่ที่ ๕ บ้านสุไหงมุโส๊ะ หมู่ที่ ๖ บ้านสนใหม่ ตำบลแหลมสน อำเภอละงู หมู่ที่ ๒ บ้านเจ๊ะบิลัง หมู่ที่ ๓ บ้านบาเต๊ะ หมู่ที่ ๔ บ้านบันนังปุเลา ตำบลเจ๊ะบิลัง หมู่ที่ ๑ บ้านตันหยงโป หมู่ที่ ๒ บ้านหาดทรายยาว หมู่ที่ ๓ บ้านบากันเคย ตำบลตันหยงโป อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

(๒) เกาะ ได้แก่

                  เกาะลันตาใหญ่ หมู่ที่ ๑ บ้านหัวแหลม หมู่ที่ ๕ บ้านคลองหิน หมู่ที่ ๖ บ้านคลองนิน หมู่ที่ ๗ บ้านสังกาอู้ ตำบลเกาะลันตาใหญ่ หมู่ที่ ๑ บ้านศาลาด่าน หมู่ที่ ๒ บ้านพระแอะ ตำบลศาลาด่าน อำเภอเกาะลันตา เกาะกลาง หมู่ที่ ๑ บ้านเกาะกลาง หมู่ที่ ๒ บ้านคลองประสงค์ ตำบลคลองประสงค์ เกาะพีพีดอน หมู่ ๗ บ้านเกาะพีพี หมู่ ๘ บ้านแหลมตง ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมืองกระบี่ เกาะปู หมู่ที่ ๒ บ้านเกาะปู หมู่ที่ ๓ บ้านเกาะจำ เกาะศรีบอยา หมู่ที่ ๑ บ้านคลองเตาะ หมู่ที่ ๖ บ้านเกาะศรีบอยา หมู่ที่ ๗ บ้านหลังเกาะ เกาะฮั่ง หมู่ที่ ๔ บ้านเกาะฮั่ง ตำบลเกาะศรีบอยา อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่

                 เกาะมุกด์ หมู่ที่ ๒ บ้านเกาะมุกด์ เกาะลิบง หมู่ที่ ๑ บ้านโคกท้อน หมู่ที่ ๔ บ้านบาตูปูเต๊ะ หมู่ที่ ๕ บ้านหลังเขา หมู่ที่ ๗ บ้านทรายแก้ว ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง เกาะสุกร หมู่ที่ ๑ บ้านเสียมไหม หมู่ที่ ๒ บ้านแหลม หมู่ที่ ๓ บ้านกลางนา หมู่ที่ ๔ บ้านหาดทรายทอง ตำบลเกาะสุกร อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง

                 เกาะยาวน้อย หมู่ที่ ๕ บ้านริมทะเล ตำบลเกาะยาวน้อย เกาะยาวใหญ่ หมู่ที่ ๒ บ้านช่องหลาด หมู่ที่ ๓ บ้านย่าหมี หมู่ที่ ๔ บ้านคลองบอน ตำบลเกาะยาวใหญ่ หมู่ที่ ๑ บ้านโล๊ะโป๊ะ หมู่ที่ ๒ บ้านพรุใน หมู่ที่ ๓ บ้านโล๊ะปาไล้ หมู่ที่ ๕ บ้านคลองดินเหนียว หมู่ที่ ๗ บ้านโล๊ะปาเรด ตำบลพรุใน อำเภอเกาะยาว เกาะพระทอง หมู่ที่ ๑ บ้านทุ่งดาบ หมู่ที่ ๔ บ้านปากจก เกาะระ หมู่ที่ ๓ บ้านเกาะระ ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี เกาะคอเขา หมู่ที่ ๒ บ้านนอกนา หมู่ที่ ๓ บ้านปากเกาะ หมู่ที่ ๔ บ้านทุ่งตึก หมู่ที่ ๕ บ้านบางเนียง ตำบลเกาะคอเขา อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา

เกาะราชา ตำบลราไวย์ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต

                 เกาะกำใหญ่ หมู่ที่ ๑ บ้านทะเลนอก ตำบลกำพวน กิ่งอำเภอสุขสำราญ เกาะช้าง หมู่ที่ ๒ บ้านเกาะช้าง เกาะพยาม หมู่ที่ ๑ บ้านเกาะพยาม ตำบลเกาะพยาม เกาะคณฑี หมู่ที่ ๒ บ้านเกาะคณฑี เกาะเหลา หมู่ที่ ๖ บ้านเกาะเหลา เกาะสินไห หมู่ที่ ๔ บ้านเกาะสินไห ตำบลปากน้ำ เกาะหาดทรายดำ หมู่ที่ ๕ บ้านหาดทรายดำ ตำบลหงาว อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง

                เกาะตันหยงอุมา หมู่ที่ ๑ บ้านตันหยงอุมา หมู่ที่ ๒ บ้านบากันใหญ่ หมู่ที่ ๓ บ้านตันหยงกลิง เกาะยะระโตดนุ้ย หมู่ที่ ๔ บ้านยะระโตดนุ้ย เกาะสาหร่าย หมู่ที่ ๕ บ้านยะระโตดใหญ่ หมู่ที่ ๖ บ้านตะโล๊ะน้ำ ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

บริเวณที่ ๒ หมายถึง บริเวณน่านน้ำ ดังต่อไปนี้

                 (๑) พื้นที่จากแนวชายฝั่งทะเลของแผ่นดินใหญ่ออกไปในทะเล เป็นระยะ ๓,๐๐๐ เมตร ตั้งแต่อำเภอเกาะลันตา อำเภอเหนือคลอง อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ อำเภอกันตัง กิ่งอำเภอหาดสำราญ อำเภอปะเหลียน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง อำเภอคุระบุรี อำเภอตะกั่วทุ่ง อำเภอตะกั่วป่า อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา อำเภอกะทู้ อำเภอถลาง อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต กิ่งอำเภอสุขสำราญ อำเภอกะเปอร์ อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง อำเภอท่าแพ อำเภอทุ่งหว้า อำเภอละงู อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

                 (๒) พื้นที่จากแนวชายฝั่งทะเลโดยรอบเกาะออกไปในทะเล เป็นระยะ ๓,๐๐๐ เมตร ดังต่อไปนี้ เกาะกลาง เกาะปู เกาะพีพีดอน เกาะลันตาใหญ่ เกาะศรีบอยา เกาะฮั่ง จังหวัดกระบี่ เกาะมุกด์ เกาะลิบง เกาะสุกร จังหวัดตรัง เกาะคอเขา เกาะพระทอง เกาะยาวน้อย เกาะยาวใหญ่ เกาะระ จังหวัดพังงา เกาะราชา จังหวัดภูเก็ต เกาะกำใหญ่ เกาะคณฑี เกาะช้าง เกาะพยาม เกาะสินไห เกาะหาดทรายดำ เกาะเหลา จังหวัดระนอง เกาะตันหยงอุมา เกาะยะระโตดนุ้ย เกาะสาหร่าย จังหวัดสตูล

ข้อ ๓  การใช้ประโยชน์ที่ดินในบริเวณชายหาด ให้ใช้เฉพาะกรณีดังต่อไปนี้

(๑) การทำทุ่นจอดเรือหรือการดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยทางทะเลและ ชายหาด

(๒) กิจกรรมประเภทกีฬาชายหาดที่ไม่ใช้ยานพาหนะหรือเครื่องยนต์และมีลักษณะไม่ถาวร

(๓) การขุด ถม หรือเปลี่ยนสภาพธรรมชาติของพื้นที่ชายหาดที่ดำเนินการโดยส่วนราชการ เพื่อฟื้นฟูพื้นที่จากความเสียหายทางธรรมชาติ

ข้อ ๔  การใช้ประโยชน์ที่ดินในบริเวณแนวสันทราย ให้ใช้เฉพาะกรณีดังต่อไปนี้

(๑) การปลูกต้นไม้พื้นถิ่นหรือไม้ชายหาดที่มีรากแผ่ขยายหนาแน่น หรือการทำเนินทรายทดแทนแนวสันทรายเดิมที่สูญหายหรือเสียหาย

(๒) การขุด ถม หรือเปลี่ยนสภาพธรรมชาติของแนวสันทรายที่ดำเนินการโดยส่วนราชการ เพื่อฟื้นฟูพื้นที่จากความเสียหายทางธรรมชาติ

ข้อ ๕  พื้นที่ในบริเวณที่ ๑ ห้ามกระทำการ ดังต่อไปนี้

(๑) การตัดหรือทำลายป่าชายหาด ต้นไม้ หรือพืชบนสันทราย ยกเว้นหากปล่อยให้ต้นไม้นั้นโค่นล้มหักลงเอง จะเป็นอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สิน

(๒) การเก็บ หา นำออกไป หรือกระทำด้วยประการใดๆ ให้เป็นอันตรายต่อแหล่งวางไข่เต่าทะเล เต่าทะเล และไข่เต่าทะเล

(๓) การปล่อยทิ้งของเสียหรือมลพิษออกสู่สิ่งแวดล้อม เว้นแต่กรณีที่ได้ผ่านการบำบัด ตามมาตรฐานของทางราชการ

(๔) การทิ้งขยะมูลฝอย เว้นแต่เป็นการทิ้งในภาชนะรองรับ หรือทิ้งในที่ที่ทางราชการจัดเตรียมไว้

(๕) การระบายน้ำทิ้งจากท่อน้ำทิ้งลงสู่ชายหาดและทะเล

                   (๖) การถม ปิดกั้น หรือปรับพื้นที่ ซึ่งทำให้แหล่งน้ำสาธารณะตื้นเขินหรือเปลี่ยนทิศทางหรือทำให้แหล่งน้ำนั้นไม่อาจไหลได้ตามปกติ เว้นแต่เป็นการกระทำของทางราชการเพื่อสาธารณประโยชน์

                  (๗) การขับเคลื่อนยานพาหนะในบริเวณพื้นที่ระหว่างแนวชายฝั่งทะเลและแนวสันทรายหรือแนวถนนเลียบแนวชายฝั่งทะเล ทั้งนี้ เว้นแต่เพื่อการบำรุงรักษาชายหาด หรือการชัก ลาก จูงเรือขึ้นสู่ฝั่ง ในบริเวณที่ทางราชการกำหนดให้

(๘) การดำเนินการ หรือการประกอบกิจกรรมใดๆ รวมทั้งการนำไม้ออกจากพื้นที่ในบริเวณพื้นที่ป่าชายเลน หรือป่าชายหาด

ข้อ ๖  พื้นที่ในบริเวณที่ ๒ ห้ามกระทำการ ดังต่อไปนี้

(๑) การจับปลาสวยงามตามบัญชีท้ายประกาศและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในแนวปะการัง และแหล่งหญ้าทะเลรวมทั้งการจับปลา โดยการใช้อวนลาก อวนรุน สารเคมีและยาเบื่อเมา

                  (๒) การกระทำ หรือการประกอบกิจกรรมใดๆ ที่อาจเป็นอันตรายหรือมีผลกระทบ หรือทำให้ปะการัง ซากปะการัง หรือหินปะการัง และหญ้าทะเลถูกทำลายหรือเสียหายในแนวปะการังและแหล่งหญ้าทะเล

(๓) การสัญจรโดยใช้เรือยนต์ผ่านบริเวณแหล่งหญ้าทะเล ในกรณีระดับน้ำไม่ถึง ๑ เมตร

(๔) การปล่อยทิ้งมลพิษลงสู่ทะเล

(๕) การขุดลอก ยกเว้นการขุดลอกร่องน้ำเพื่อความปลอดภัยในการเดินเรือ

(๖) การทำเหมือง การขุดเจาะน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ เว้นแต่เป็นการดำเนินการตามประทานบัตรหรือสัมปทานที่ได้รับอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ

                  (๗) การงม หรือการประกอบกิจกรรมหรือการกระทำใดๆ ที่เป็นการค้นหา เก็บ ทำลายหรือทำให้เสียหายซึ่งโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ตามกฎหมายว่าด้วยโบราณสถานโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เว้นแต่การงมที่เป็นการค้นหาเพื่อการศึกษาวิจัยทางวิชาการ หรือเป็นการดำเนินการของทางราชการ โดยต้องได้รับอนุญาตจากกรมศิลปากรก่อน

(๘) การกระทำด้วยประการใดๆ ที่มีผลกระทบต่อความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ป่าชายเลนรวมทั้งการนำไม้ออกจากพื้นที่

ข้อ ๗  พื้นที่ในบริเวณที่ ๑ การก่อสร้างอาคารและสิ่งก่อสร้างต่างๆ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

(๑) บริเวณพื้นที่แนวชายฝั่งทะเลเข้าไปในแผ่นดิน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

(ก) ภายในระยะ ๓๐ เมตร นับจากแนวชายฝั่งทะเลเข้าไปในแผ่นดิน ห้ามปลูกสร้างอาคารหรือสิ่งก่อสร้างใดๆ

(ข) ภายในระยะ ๒๐ เมตร นับจากระยะตามที่กำหนดใน (ก) ให้ก่อสร้างสูงได้ไม่เกิน ๖ เมตร

(ค) ภายในระยะ ๑๕๐ เมตร นับจากระยะตามที่กำหนดใน (ข) ให้ก่อสร้างสูงได้ไม่เกิน ๑๒ เมตร

(ง) ภายในระยะ ๓๐๐ เมตร นับจากระยะตามที่กำหนดใน (ค) ให้ก่อสร้างสูงได้ไม่เกิน ๑๖ เมตร

ความใน (ข) (ค) และ (ง) ให้ใช้บังคับเฉพาะการก่อสร้างอาคารและสิ่งก่อสร้างในบริเวณจังหวัดระนอง จังหวัดตรัง และจังหวัดสตูล

                  (๒) บริเวณโดยรอบในระยะรัศมี ๑๐๐ เมตร จากเขตโบราณสถานตามกฎหมาย ว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ห้ามปลูกสร้างอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างใดๆ ยกเว้นอาคารอยู่อาศัยที่มีความสูงไม่เกินความสูงของโบราณสถานนั้น

(๓) อาคารพาณิชย์หรือโรงแรมต้องติดตั้งบ่อดักไขมันและระบบบำบัดน้ำเสีย โดยบ่อดักไขมันและระบบบำบัดน้ำเสียต้องห่างจากแหล่งน้ำสาธารณะไม่น้อยกว่า ๓๐ เมตร

(๔) โรงแรมหรือสถานที่พักตากอากาศ ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

(ก) มีพื้นที่ว่างไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ ของพื้นที่ก่อสร้างทั้งหมดและพื้นที่สีเขียว ต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ ของพื้นที่ว่างนั้น

(ข) โรงแรมหรือสถานที่พักตากอากาศที่มีจำนวนห้องพักต่ำกว่า ๘๐ ห้องลงมา ให้ดำเนินการตามข้อกำหนดท้ายประกาศ

(ค) โรงแรมหรือสถานที่พักตากอากาศในแต่ละโครงการบนเกาะต่างๆ ให้มีพื้นที่อาคารรวมในแต่ละอาคารหรือของกลุ่มอาคารได้ไม่เกิน ๓,๐๐๐ ตารางเมตร

ข้อ ๘  ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

(๑) ตรวจสอบและฟื้นฟูปะการัง หญ้าทะเล และคุณภาพน้ำทะเล เป็นประจำ

(๒) กรณีป่าชายเลนเสียหายและเสื่อมโทรม ให้ดำเนินการปลูกป่าทดแทน และดำเนินการฟื้นฟูไปด้วยในคราวเดียวกัน

(๓) ทำการฟื้นฟู และอนุรักษ์พรุให้กลับคืนสู่สภาพที่สมบูรณ์

(๔) ดำเนินการเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายหาด หรือเกี่ยวข้องกับชายหาด ทั้งนี้ โดยจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติก่อน

                   ข้อ ๙  เพื่อประโยชน์ในการกำกับดูแลและติดตามผลตามมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ตามข้อ ๒ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดของแต่ละจังหวัดแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลและติดตามผลการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมขึ้นในแต่ละจังหวัด เพื่อทำหน้าที่ดูแล ติดตาม ตรวจสอบการดำเนินการตามมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมนี้ไปสู่การปฏิบัติ และให้รายงานผลให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทราบเป็นประจำทุกหกเดือน

                  ให้คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานกรรมการหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องประจำจังหวัด หัวหน้าผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งในพื้นที่ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในพื้นที่ไม่เกินสามคนและผู้แทนภาคเอกชนซึ่งมีกิจกรรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในพื้นที่ไม่เกินสามคน เป็นกรรมการ และให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด เป็นกรรมการและเลขานุการ

                  ข้อ ๑๐  ให้ผู้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมอาคาร หรือการกระทำหรือการประกอบกิจการใดๆ ในเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมตามข้อ ๒ ปฏิบัติการให้เป็นไปตามมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมที่กำหนดไว้ในประกาศนี้

                  ข้อ ๑๑  ในพื้นที่ตามข้อ ๒ หากมีกฎหมายใดกำหนดมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมเรื่องใดไว้โดยเฉพาะ และเป็นมาตรการที่ไม่ต่ำกว่ามาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมนี้หรือมีมาตรการที่ดีกว่าในการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ ก็ให้เป็นไปตามมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมที่กำหนดไว้ในกฎหมายนั้น

                   ข้อ ๑๒  ในพื้นที่ตามข้อ ๒ บรรดาประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง การกำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ที่ประกาศใช้อยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้ใช้ได้ต่อไปในส่วนที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ สำหรับความในข้อใดที่ขัดหรือแย้งกับความในประกาศนี้ให้ใช้ประกาศฉบับนี้บังคับใช้แทน

                  ข้อ ๑๓  อาคารที่มีอยู่แล้ว หรืออาคารที่ได้รับความเสียหายจากธรณีพิบัติ ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่กำหนดไว้ตามข้อ ๒ ก่อนหรือในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ หากประสงค์จะซ่อมแซม ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามประกาศนี้ แต่ห้ามดัดแปลงหรือเปลี่ยนการใช้อาคารให้ขัดต่อหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ในประกาศนี้

                 ข้อ ๑๔  อาคารที่ได้รับอนุญาตหรือใบรับแจ้งให้ก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร หรือที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายเฉพาะว่าด้วยกิจการนั้นก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ และยังก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้ไม่แล้วเสร็จ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามประกาศนี้ แต่จะขอเปลี่ยนแปลงการอนุญาตหรือการแจ้งให้เป็นการขัดต่อหลักเกณฑ์ ตามที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ไม่ได้

ข้อ ๑๕[๑]  ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไปและมีระยะเวลาการบังคับใช้หนึ่งปีนับแต่วันที่ประกาศมีผลใช้บังคับ

ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙

ยงยุทธ ติยะไพรัช

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

บัญชีท้าย

ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณพื้นที่ที่ได้รับธรณีพิบัติ

จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดระนอง และจังหวัดสตูล

พ.ศ. ๒๕๔๙

ลำดับที่

รายชื่อ

กำหนดขนาด

Acanthuridae

ปลาขี้ตังเบ็ดทุกชนิดในสกุล (Genus) Acanthurus

ความยาวไม่เกิน ๒๐ ซม.

ปลาขี้ตังเบ็ดทุกชนิดในสกุล (Genus) Ctenochaetus

ปลาขี้ตังเบ็ดทุกชนิดในสกุล (Genus) Naso

ความยาวไม่เกิน ๒๐ ซม.

ปลาขี้ตังเบ็ดทุกชนิดในสกุล (Genus) Paracanthurus

ปลาขี้ตังเบ็ดทุกชนิดในสกุล (Genus) Zebrasoma

Antennariidae

ปลากบทุกชนิดในวงศ์ (Family) Antennariidae

Apogonidae

ปลาอมไข่ทุกชนิดในวงศ์ (Family) Apogonidae

Balistidae

ปลาวัวทุกชนิดในสกุล (Genus) Abalistes

ความยาวไม่เกิน ๒๐ ซม.

ปลาวัวทุกชนิดในสกุล (Genus) Balistapus

๑๐

ปลาวัวทุกชนิดในสกุล (Genus) Balistoides

๑๑

ปลาวัวทุกชนิดในสกุล (Genus) Melichthys

๑๒

ปลาวัวทุกชนิดในสกุล (Genus) Odonus

๑๓

ปลาวัวทุกชนิดในสกุล (Genus) Pseudobalistes

๑๔

ปลาวัวทุกชนิดในสกุล (Genus) Rhinecanthus

๑๕

ปลาวัวทุกชนิดในสกุล (Genus) Sufflamen

ความยาวไม่เกิน ๒๐ ซม.

Batrachoididae

๑๖

ปลาคางคกทุกชนิดในวงศ์ (Family) Batrachoididae

Blenniidae

๑๗

ปลาตั๊กแตนหินทุกชนิดในสกุล (Genus) Alticus

๑๘

ปลาตั๊กแตนหินทุกชนิดในสกุล (Genus) Andamia

๑๙

ปลาตั๊กแตนหินทุกชนิดในสกุล (Genus) Aspidontus

๒๐

ปลาตั๊กแตนหินทุกชนิดในสกุล (Genus) Atrosalarias

๒๑

ปลาตั๊กแตนหินทุกชนิดในสกุล (Genus) Blenniella

๒๒

ปลาตั๊กแตนหินทุกชนิดในสกุล (Genus) Cirripectes

๒๓

ปลาตั๊กแตนหินทุกชนิดในสกุล (Genus) Ecsenius

๒๔

ปลาตั๊กแตนหินทุกชนิดในสกุล (Genus) Entomacrodus

๒๕

ปลาตั๊กแตนหินทุกชนิดในสกุล (Genus) Exallias

๒๖

ปลาตั๊กแตนหินทุกชนิดในสกุล (Genus) Istiblennlus

๒๗

ปลาตั๊กแตนหินทุกชนิดในสกุล (Genus) Laiphognathus

๒๘

ปลาตั๊กแตนหินทุกชนิดในสกุล (Genus) Meiacanthus

๒๙

ปลาตั๊กแตนหินทุกชนิดในสกุล (Genus) Plagiotremus

๓๐

ปลาตั๊กแตนหินทุกชนิดในสกุล (Genus) Salarlas

Carapidae

๓๑

ปลาไข่มุกทุกชนิดในวงศ์ (Family) Carapidae

Carcharhinidae

๓๒

ปลาฉลามทุกชนิดในวงศ์ (Family) Carcharhinidae

ความยาวไม่เกิน ๕๐ ซม.

Centriscidae

๓๓

ปลาข้างใสทุกชนิดในวงศ์ (Family) Centriscidae

Chaetodontidae

๓๔

ปลาผีเสื้อ และปลาโนรีทุกชนิดในวงศ์ (Family)

Chaetodontidae

Cirrhitidae

๓๕

ปลาเหยี่ยวทุกชนิดในวงศ์ (Family) Cirrhitidae

Ephippidae

๓๖

ปลาหูช้างทุกชนิดในสกุล (Genus) Platax

ความยาวไม่เกิน ๒๐ ซม.

Gobiidae

๓๗

ปลาบู่กุ้งทุกชนิดในสกุล (Genus) Amblyeleotris

๓๘

ปลาบู่ทุกชนิดในสกุล (Genus) Amblygobius

๓๙

ปลาบู่ทุกชนิดในสกุล (Genus) Asterpteryx

๔๐

ปลาบู่ทุกชนิดในสกุล (Genus) Bethygobius

๔๑

ปลาบู่ทุกชนิดในสกุล (Genus) Callcgobius

๔๒

ปลาบู่กุ้งทุกชนิดในสกุล (Genus) Cryptocentrus

๔๓

ปลาบู่กุ้งทุกชนิดในสกุล (Genus) Ctenogobiops

๔๔

ปลาบู่จิ๋วทุกชนิดในสกุล (Genus) Eviota

๔๕

ปลาบู่ทุกชนิดในสกุล (Genus) Exvrias

๔๖

ปลาบู่ทุกชนิดในสกุล (Genus) Gnatholepis

๔๗

ปลาบู่ปะการังทุกชนิดในสกุล (Genus) Gobiodon

๔๘

ปลาบู่ทุกชนิดในสกุล (Genus) Istigobius

๔๙

ปลาบู่มหิดลทุกชนิดในสกุล (Genus) Mahidolia

๕๐

ปลาบู่กุ้งทุกชนิดในสกุล (Genus) Myersina

๕๑

ปลาบู่จิ๋วทุกชนิดในสกุล (Genus) Priolepis

๕๒

ปลาบู่กุ้งทุกชนิดในสกุล (Genus) Stonogobiops

๕๓

ปลาบู่จิ๋วทุกชนิดในสกุล (Genus) Trimma

๕๔

ปลาบู่ทรายทุกชนิดในสกุล (Genus) Valenciennea

๕๕

ปลาบู่กุ้งทุกชนิดในสกุล (Genus) Vanderhorstla

Grammistidae

๕๖

ปลากะรังเมือกทุกชนิดในวงศ์ (Family) Grammistidae

Haemulidae

๕๗

ปลาสร้อยนกเขาทุกชนิดในสกุล (Genus) Diagramma

ความยาวไม่เกิน ๒๐ ซม.

๕๘

ปลาสร้อยนกเขาทุกชนิดในสกุล (Genus) Plectorhinchus

ความยาวไม่เกิน ๒๐ ซม.

Holocentridae

๕๙

ปลาข้าวเม่าน้ำลึกทุกชนิดในวงศ์ (Family) Holocentridae

Kuhliidae

๖๐

ปลาหางธงทุกชนิดในสกุล (Genus) Kuhlia

Labridae

๖๑

ปลานกขุนทองทุกชนิดในวงศ์ (Family) Labridae

Malacanthidae

๖๒

ปลาจรวดทรายทุกชนิดในสกุล (Genus) Hoplolatilus

๖๓

ปลาจรวดทรายทุกชนิดในสกุล (Genus) Malacanthus

Microdesmidae

๖๔

ปลาบู่ลูกดอกทุกชนิดในสกุล (Genus) Nemateleotris

๖๕

ปลาบู่ลูกดอกทุกชนิดในสกุล (Genus) Parioglossus

๖๖

ปลาบู่ลูกดอกทุกชนิดในสกุล (Genus) Ptereleotris

Monacanthidae

๖๗

ปลาวัวทุกชนิดในวงศ์ (Family) Monacanthidae

ความยาวไม่เกิน ๒๐ ซม.

Muraenidae

๖๘

ปลาไหลทุกชนิดในวงศ์ (Family) Muraenidae

Ostraciidae

๖๙

ปลาปักเป้ากล่องทุกชนิดในวงศ์ (Family) Ostraciidae

Pempheridae

๗๐

ปลากระดี่ทะเลทุกชนิดในวงศ์ (Family) Pempheridae

Pinguipedidae (Mugiloididae)

๗๑

ปลาตาแหงนทุกชนิดในวงศ์ (Genus) Parapercis

Plesiopidae

๗๒

ปลาครีบยาวทุกชนิดในวงศ์ (Family) Plesiopidae

Pomacanthidae

๗๓

ปลาสินสมุทรทุกชนิดในวงศ์ (Family)

Pomacanthidae

Pomacentridae

๗๔

ปลาสลิดหิน และปลาการ์ตูนทุกชนิดในวงศ์ (Family)

Pomacentridae

Pristidae

๗๕

ปลาฉนากทุกชนิดในวงศ์ (Family) Pristidae

Pseudochromidae

๗๖

ปลาไหลทรายทุกชนิดในสกุล (Genus) Blennodesmus

๗๗

ปลาไหลทรายทุกชนิดในสกุล (Genus) Congrogadus

๗๘

ปลาหลังจุดทุกชนิดในสกุล (Genus) Pseudochromis

๗๙

ปลาหลังจุดทุกชนิดในสกุล (Genus) Pseudoplesiops

Rhinobatidae

๘๐

ปลาโรนิน และปลาโรนันทุกชนิดในวงศ์ (Family)

ความยาวไม่เกิน ๕๐ ซม.

Rhinobatidae

Scaridae

๘๑

ปลานกแก้วทุกชนิดในวงศ์ (Family) Scaridae

ความยาวไม่เกิน ๕๐ ซม.

Scorpaenidae

๘๒

ปลาสิงโตและปลาหินทุกชนิดในวงศ์ (Family)

Scorpaenidae

Serranidae

๘๓

ปลากะรังแดงเลือดนกชนิด Aethaloperca rogaa

ความยาวไม่เกิน ๒๐ ซม.

๘๔

ปลากะรังลายเส้นชนิด Anyperodon leucogrammicus

ความยาวไม่เกิน ๒๐ ซม.

๘๕

ปลากะรังทุกชนิดในสกุล (Genus) Cephalopholis

ความยาวไม่เกิน ๒๐ ซม.

๘๖

ปลากะรังหน้างอนชนิด Cromileptes altivelis

ความยาวไม่เกิน ๒๐ ซม.

๘๗

ปลากะรังทุกชนิดในสกุล (Genus) Epinephelusv

ความยาวไม่เกิน ๒๐ ซม.

ยกเว้นปลากะรังดอกแดงชนิด Epinephelus coioides

Ostraciidae

๘๘

ปลากะรังจิ๋วทุกชนิดในสกุล (Genus) Liopropoma

๘๙

ปลากะรังทุกชนิดในสกุล (Genus) Plectropomus

ความยาวไม่เกิน ๒๐ ซม.

๙๐

ปลากะรังจิ๋วทุกชนิดในสกุล (Genus) Pseudanthias

๙๑

ปลากะรังหางวงเดือนทุกชนิดในสกุล (Genus) Variola

ความยาวไม่เกิน ๒๐ ซม.

Siganidae

๙๒

ปลาสลิดทะเลโฉมงามชนิด Siganus (Lo) magnificus

๙๓

ปลาสลิดทะเลเหลืองชนิด Siganus puelloides

Solenostomidae

๙๔

ปลาจิ้มฟันจรเข้ปีศาจทุกชนิดในวงศ์ (Family)

Solenostomidae

Sphyrnidae

๙๕

ปลาฉลามหัวค้อนทุกชนิดในวงศ์ (Family)

ความยาวไม่เกิน ๕๐ ซม.

Sphyrnidae

Stegostomidae

๙๖

ปลาฉลามลายเสือดาวชนิด Stegostoma fasciatum

Syngnathidae

๙๗

ปลาจิ้มฟันจรเข้ทุกชนิดในสกุล (Genus) Bhanotia

๙๘

ปลาจิ้มฟันจรเข้ทุกชนิดในสกุล (Genus) Choeroichthys

๙๙

ปลาจิ้มฟันจรเข้ทุกชนิดในสกุล (Genus) Corythoichthys

๑๐๐

ปลาจิ้มฟันจรเข้ทุกชนิดในสกุล (Genus) Doryrhamphus

๑๐๑

ปลาจิ้มฟันจรเข้ทุกชนิดในสกุล (Genus) Dunckerocampus

๑๐๒

ปลาจิ้มฟันจรเข้ทุกชนิดในสกุล (Genus) Halicampus

๑๐๓

ปลาจิ้มฟันจรเข้ทุกชนิดในสกุล (Genus) Phoxocampus

๑๐๔

ปลาจิ้มฟันจรเข้ทุกชนิดในสกุล (Genus) Trachyrhamphus

Tetraodontidae

๑๐๕

ปลาปักเป้าทุกชนิดในสกุล (Genus) Arothron

๑๐๖

ปลาปักเป้าทุกชนิดในสกุล (Genus) Canthigaster

Torpedinidae

๑๐๗

ปลากระเบนไฟฟ้าทุกชนิดในวงศ์ (Family)

Torpedinidae

Toxotidae

๑๐๘

ปลาเสือพ่นน้ำทุกชนิดในวงศ์ (Family) Toxotidae

Triptervgiidae

๑๐๙

ปลาสามครีบทุกชนิดในวงศ์ (Family) Tripterygiidae

Zanclidae

๑๑๐

ปลาผีเสื้อเทวรูปชนิด Zanclus comutus

ข้อกำหนดท้าย

ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณพื้นที่ที่ได้รับธรณีพิบัติ

จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดระนอง และจังหวัดสตูล

พ.ศ. ๒๕๔๙

                       

 

ข้อ ๑  การออกแบบ ลักษณะ และรูปแบบของอาคารต้องให้สอดคล้องกับสภาพนิเวศน์ตามธรรมชาติของพื้นที่

ข้อ ๒  การก่อสร้างต้องมีมาตรการป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน

ข้อ ๓  การกองวัสดุที่มีฝุ่นที่ใช้ในการก่อสร้างต้องปิดหรือปกคลุม หรือเก็บไว้ในที่ปิดล้อม เพื่อป้องกันการปลิวฟุ้งของฝุ่นละออง

                 ข้อ ๔  ในระหว่างการก่อสร้างต้องจัดให้มีวัสดุปิดกั้นรอบตัวอาคาร โดยยึดติดกับนั่งร้านรอบอาคาร มีความสูงเท่ากับความสูงของอาคารขณะก่อสร้างตลอดแนวอาคาร และต้องรักษาให้อยู่ในสภาพดีตลอดการก่อสร้าง เพื่อป้องกันฝุ่นละอองและเศษวัสดุก่อสร้างร่วงหล่นและลดความดังของเสียง

                 ข้อ ๕  ในระหว่างการก่อสร้างต้องจัดให้มีและดูแลบำรุงรักษารางระบายน้ำและบ่อพักน้ำ ขนาดเพียงพอที่รองรับน้ำในพื้นที่ก่อสร้าง เพื่อให้ดินตกตะกอน ก่อนระบายออกสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะหรือแหล่งน้ำสาธารณะ

                 ข้อ ๖  ในระหว่างการก่อสร้างต้องจัดให้มีการบำบัดน้ำเสียจากห้องส้วม และน้ำใช้ในพื้นที่ก่อสร้าง โดยจัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูปที่มิใช่บ่อเกรอะและบ่อซึม เพื่อป้องกันการปนเปื้อนต่อดิน ทราย และคุณภาพน้ำใต้ดิน หรือคุณภาพน้ำของบ่อน้ำตื้นในบริเวณใกล้เคียง

                 ข้อ ๗  เมื่อเริ่มดำเนินกิจการต้องจัดให้มีที่พักขยะมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะ ที่สามารถป้องกันกลิ่นและแมลงรบกวน โดยภายในแยกเป็นที่พักขยะมูลฝอยเปียก ขยะมูลฝอยแห้ง และขยะมูลฝอยอันตราย โดยมีขนาดสามารถรองรับขยะมูลฝอยของโครงการได้ไม่น้อยกว่า ๓ วัน

                 ข้อ ๘  ที่พักขยะมูลฝอยเปียกต้องจัดให้มีการทำความสะอาดอย่างน้อยสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง และน้ำเสียที่เกิดจากการทำความสะอาดที่พักขยะมูลฝอย ให้ระบายสู่ระบบบำบัดน้ำเสียรวมของโครงการกรณีที่โครงการอยู่ในเขตบริการบำบัดน้ำเสียเมืองหรือชุมชน ให้ระบายลงสู่ท่อน้ำสาธารณะที่รวบรวมน้ำเสียเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียเมืองหรือชุมชน

นันทนา/ผู้จัดทำ

๒๑ มษายน ๒๕๔๙

อมรรัตน์/ปรับปรุง

๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๙

[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๕๒ ง/หน้า ๑/๑๒ เมษายน ๒๕๔๙