ประกาศการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่ 45/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ทั่วไปในการระบายน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรม

ประกาศการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ที่ 45/2541

เรื่อง หลักเกณฑ์ทั่วไปในการระบายน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรม

--------------

-

                        อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 (4) และมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติ

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522

                        เพื่อให้การระบายน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมเป็นไป

อย่างถูกต้องและเหมาะสม การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จึงเห็นควรประกาศกำหนด

หลักเกณฑ์ทั่วไปในการระบายน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรม ดังต่อไปนี้

                        ข้อ 1  ให้ยกเลิกประกาศการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่ 13/2530

เรื่องหลักเกณฑ์ทั่วไปในการระบายน้ำเสียลงสู่ระบบกำจัดน้ำเสียส่วนกลาง

                        ข้อ 2  ในประกาศนี้

                        "น้ำทิ้ง" หมายถึง น้ำที่ผ่านการใช้แล้วทุกชนิดที่เกิดจากการประกอบกิจการ

โรงงานอุตสาหกรรมและกิจกรรมอื่น ๆ ในโรงงานอุตสาหกรรม และให้หมายความรวมถึงน้ำทิ้ง

จากการใช้นำของคนงาน

                        "ผู้ประกอบการ" หมายถึง ผู้ซึ่งได้รับอนุญาตให้ประกอบอุตสาหกรรมในนิคม

อุตสาหกรรม

                        ข้อ 3  การระบายน้ำทิ้ง ผู้ประกอบการทุกราย ยกเว้นผู้ประกอบการในนิคม

อุตสาหกรรมบางชัน, นิคมอุตสาหกรรมผาแดง และนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดเฉพาะที่การนิคม

อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ระบายน้ำทิ้งลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะโดยตรง จะต้อง

ก่อสร้างระบบระบายน้ำทิ้ง เพื่อระบายน้ำทิ้งทุกส่วนลงสู่ท่อน้ำทิ้งส่วนกลางของนิคมอุตสาหกรรม

โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้

                        3.1 น้ำทิ้งที่ระบายออกจะต้องมีความเร็วเพียงพอที่จะพัดพาสิ่งปฏิกูลให้ไหลลง

ท่อระบายน้ำทิ้งส่วนกลางโดยไม่ตกค้าง

                        3.2 ระบบระบายน้ำทิ้งต้องเป็นระบบท่อปิด และไม่ส่งกลิ่นเหม็น

                        3.3 ระบบระบายน้ำทิ้งจะต้องแยกจากระบบระบายน้ำฝนโดยเด็ดขาด ทั้งนี้ เพื่อ

ป้องกันมิให้น้ำฝนไหลลงท่อน้ำทิ้งส่วนกลาง และต้องป้องกันไม่ให้น้ำทิ้งไหลลงสู่ระบบระบาย

น้ำฝนของนิคมอุตสาหกรรมโดยเด็ดขาด

                        3.4 จะต้องมีบ่อตรวจระบาย (MANHOLE) อย่างน้อย 1 บ่อ ภายในโรงงานก่อนที่

จะปล่อยน้ำทิ้งลงท่อน้ำทิ้งส่วนกลาง ทั้งนี้ เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับเก็บตัวอย่างน้ำทิ้งมาวิเคราะห์

คุณภาพน้ำทิ้ง

                        3.5 ในกรณีที่น้ำทิ้งมีคุณลักษณะเปลี่ยนแปลงมากในช่วงเวลาหนึ่งจะต้องมีบ่อ

เก็บกักขนาดเหมาะสมพอที่จะปรับคุณลักษณะของน้ำทิ้งให้คงที่ก่อนระบายลงสู่ท่อระบายน้ำทิ้ง

ส่วนกลาง

                        3.6 จะต้องมีประตูน้ำปิด-เปิด ก่อนที่จะระบายน้ำทิ้งลงท่อระบายน้ำทิ้งส่วนกลาง

                        3.7 การต่อท่อน้ำทิ้งจากโรงงานเข้ากับท่อระบายน้ำทิ้งส่วนกลางจะต้องเชื่อม

รอยต่อให้สนิท เพื่อป้องกันการซึมเข้า-ออก และจะต้องต่อลงที่ตำแหน่งบ่อตรวจระบาย

(MANHOLE) ที่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้จัดเตรียมไว้ให้แล้ว

                        ข้อ 4  กำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมในนิคม

อุตสาหกรรมเป็นไปดังตารางแนบท้ายประกาศนี้ และห้ามระบายสารที่มีผลต่อการระบายและ

การบำบัดน้ำทิ้งลงสู่ท่อระบายน้ำทิ้งส่วนกลางและแหล่งน้ำสาธารณะ เช่น

                        - สารที่มีความหนืดสูง

                        - สารที่จับหรือตกตะกอนในท่อระบายทำให้อุดตัน

                        - ตะกอนแคลเซี่ยมคาร์ไบด์ (Calcium Carbide Sludge)

                        - สารตัวทำละลาย (Solvent) เป็นต้น

                        ข้อ 5  การตรวจสอบค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม

ตามข้อ 4 ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้

                        (1) การตรวจสอบค่าบีโอดี(Biochemical Oxygen Demand, BOD5) ให้ใช้วิธี

อะไซด์ โมดิฟิเคชั่น (Azide Modification) ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 5 วัน ติดต่อกัน

หรือวิธีการอื่นที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมหรือกระทรวงอุตสาหกรรม

ให้ความเห็นชอบ

                        (2) การตรวจสอบค่าซีโอดี (Chemical Oxygen Demand, COD) ให้ใช้วิธี

ย่อยสลาย โดยโปตัสเซียม ไดโครเมต (Potassium Dichromate Digestion)

                        (3) การตรวจสอบค่าสารแขวนลอย (Suspended Solids, SS) ให้ใช้วิธีการกรอง

ผ่านกระดาศกรองใยแก้ว (Glass Fibre Filter Disc)

                        (4) การตรวจสอบค่า ทีดีเอส (TDS หรือ Total Dissolved Solids) ให้ใช้วิธีการ

ระเหยแห้ง ระหว่างอุณหภูมิ 103 องศาเซลเซียส ถึงอุณหภูมิ 105 องศาเซลเซียส ในเวลา 1 ชั่วโมง

                        (5) การตรวจสอบค่าทีเคเอ็น(TKN หรือ Total Kjeldahl Nitrogen) ให้ใช้วิธี

เจลดาห์ล (Kjeldahl)

                        (6) การตรวจสอบค่าความเป็นกรดและด่าง (pH) ของน้ำทิ้ง ให้ใช้เครื่องวัด

ความเป็นกรดและด่างของน้ำ (pH Meter)

                        (7) การตรวจสอบค่าโลหะหนัก ให้ใช้วิธีการดังนี้

                             7.1 การตรวจสอบค่าโครเมียม (Cr) ทองแดง (Cu) แคดเมียม (Cd)

แบเรียม ตะกั่ว (Pb) นิกเกิล (Ni), แมงกานีส (Mn) และเงิน (Ag) ให้ใช้วิธีอะตอมมิคแอบซอฟชั่น

สเปคโตร์โฟโตเมตตรี (Atomic Absorption Spectrophotometry) ชนิดไดเร็คแอสไพเรชั่น(Direct

Aspiration) หรือวิธีพลาสม่า อีมิสชั่น สเปคโตร์สโคปี (Plasma Emission Spectroscopy) ชนิด

อินดักทีฟลี คัพเพิล พลาสม่า (Inductively Coupled Plasma : ICP)

                             7.2 การตรวจสอบค่าอาร์เซนิค (As) และเซเลเนียม (Se) ให้ใช้วิธีอะตอมมิค

แอบซอฟชั่น สเปคโตร์โฟโตเมตตรี (Atomic Absorption Spectrophotometry) ชนิดไฮไดรด์

เจนเนอเรชั่น (Hydride Generation) หรือ วิธีพลาสม่า อีมิสชั่น สเปคโตร์สโคปี(Plasma Emission

Spectroscopy) ชนิดอินดักทีฟลี คัพเพิล พลาสม่า (Inductively Coupled Plasma : ICP)

                             7.3 การตรวจสอบค่าปรอท (Hg) ให้ใช้วิธีอะตอมมิคแอบซอฟชั่นโคลด์

เวเปอร์เทคนิค (Atomic absorption Gold Vapour Technique)

                        (8) การตรวจสอบเหล็กทั้งหมด (Total Iron) ให้ใช้วิธีอะตอมมิคแอบซอฟชั่น

สเปคโตร์โฟโตเมตตรี (Atomic Absorption Spectrophotometry) ชนิดไดเร็คแอสไพเรชั่น

(Direct Aspiration) หรือวิธีพลาสม่า อีมิสชั่น สเปคโตร์สโคปี (Plasma Emission Spectroscopy)

ชนิดวิธี อินดักทีฟลี คัพเพิล พลาสม่า (Inductively coupled Plasma : ICP)

                        (9) การตรวจสอบค่าฟลูออไรด์ (Fluoride) ให้ใช้วิธีการเทียบสี

(Spectrophotometry)

                        (10) การตรวจสอบค่าซัลไฟด์ (Sulphide) ให้ใช้วิธีการไตเตรท (Titrate)

                        (11) การตรวจสอบค่าไซยาไนด์ (Cyanide) ให้ใช้วิธีกลั่นและตามด้วยวิธี

ไพริดีน บาร์บิทู ริคแอซิค (Pyridine-Barbituric Acid)

                        (12) การตรวจสอบค่าฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde) ให้ใช้วิธีเทียบสี

(Spectrophotometry)

                        (13) การตรวจสอบค่าสารประกอบฟีนอล (Phenols Compound) ให้ใช้

วิธีกลั่น และตามด้วยวิธี 4 - อะมิโนแอนติไพริน (Distillation, 4 - Aminoantipyrine)

                        (14) การตรวจสอบค่าคลอรีนอิสระ (Free Chlorine) ให้ใช้วิธีไอโอโดเมตริค

(Iodometric Method)

                        (15) การตรวจสอบค่าคลอไรด์คิดเทียบเป็น คลอรีน (Chloride as Cl2) ให้ใช้

วิธีการไตเตรท (Titrate)

                        (16) การตรวจสอบค่าสารที่ใช้ป้องันหรือกำจัดศัตรูพืชหรือสัตว์ (Pesticide)

ให้ใช้วิธีก๊าซโครมาโตกราฟี (Gas - Chromatography)

                        (17) การตรวจสอบอุณหภูมิ (Temperature) ของน้ำ ให้ใช้เครื่องวัดอุณหภูมิ

วัดกระทำการเก็บตัวอย่างน้ำ

                        (18) การตรวจสอบค่าน้ำมันและไขมัน (Oil and grease) ให้ใช้วิธีสกัดด้วย

คัวทำละลาย แล้วแยกหาน้ำหนักของน้ำมันและไขมัน

                        (19) การตรวจสอบสารกัมมันตรังสี (Radioactive compound) ให้ใช้วิธีการ

ตาม Standard Methods for the Examination of Water and Wastewater ซึ่ง American Public

Health Assoctation, American Water Work Association และ Water Environment Federation

ของสหรัฐอเมริกา ร่วมกันกำหนดไว้

                        ข้อ 6  การตรวจสอบค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งจากโรงานอุตสาหกรรม

ตามข้อ 5 จะต้องเป็นไปตามคู่มือวิเคราะห์น้ำและน้ำทิ้ง ของสมาคมวิศวกรสิ่งแวดล้อมแห่ง

ประเทศไทย หรือ Standard Methods for the Examination of Water and Wastewater ซึ่ง

American Public Health Association, American Water Work Association และ Water

Environment Federation ของสหรัฐอเมริกา ร่วมกันกำหนดไว้

                        หากคุณภาพน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมรายใดมากกว่างมาตรฐานที่การนิคม

อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กำหนดไว้ในข้อ 4 แห่งประกาศฉบับนี้ จะต้องจัดให้มีระบบบำบัด

น้ำทิ้งเบื้องต้นก่อนระบายน้ำทิ้งนั้น ลงสู่ระบบบำบัดน้ำทิ้งส่วนกลาง

                        ในกรณีที่มีปัญหา ในการดำเนินการตามประกาศนี้ ให้ผู้ว่าการการนิคม

อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด

                        บรรดาประกาศ หรือคำสั่งอื่นใดของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในประกาศฉบับนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับประกาศฉบับนี้ให้ใช้

ประกาศฉบับนี้แทน

                        ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 เป็นต้นไป

                                                ประกาศ ณ วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541

                                                              สมเจตน์ ทัณพงษ์

                                                ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

[ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย]

[116/11ง/3 : 10/02/2542]