พระราชกฤษฎีกา ให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 บังคับในเขตสุขาภิบาลบางแห่ง พ.ศ. 2535

พระราชกฤษฎีกา

ให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒

บังคับในเขตสุขาภิบาลบางแห่ง

พ.ศ. ๒๕๓๕

                   

 

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.

ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๕

เป็นปีที่ ๔๗ ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ บังคับในเขตสุขาภิบาลบางแห่ง

                 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้

มาตรา ๑  พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ บังคับในเขตสุขาภิบาลบางแห่ง พ.ศ. ๒๕๓๕”

มาตรา ๒[๑]  พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา ๓  ให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ บังคับในเขตสุขาภิบาล ดังต่อไปนี้

                 (๑) สุขาภิบาลไร่ใหม่ อำเภอกุยบุรี สุขาภิบาลทับสะแก อำเภอทับสะแก สุขาภิบาลกำเนิดนพคุณ อำเภอบางสะพาน สุขาภิบาลปากน้ำปราณ สุขาภิบาลไร่เก่า อำเภอปราณบุรี และสุขาภิบาลคลองวาฬ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

(๒) สุขาภิบาลประจันตคาม อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี

(๓) สุขาภิบาลทับกวาง อำเภอแก่งคอย สุขาภิบาลวังม่วง กิ่งอำเภอวังม่วง อำเภอมวกเหล็ก และสุขาภิบาลหนองแซง อำเภอหนองแซง จังหวัดสระบุรี

                  (๔) สุขาภิบาลกุดข้าวปุ้น อำเภอกุดข้าวปุ้น สุขาภิบาลบ้านด่าน อำเภอโขงเจียม สุขาภิบาลชานุมาน อำเภอชานุมาน สุขาภิบาลนาจะหลวย อำเภอนาจะหลวย สุขาภิบาลน้ำยืน อำเภอน้ำยืน สุขาภิบาลบุณฑริก อำเภอบุณฑริก สุขาภิบาลพนา อำเภอพนา สุขาภิบาลเสนางคนิคม อำเภอเสนางคนิคม และสุขาภิบาลหัวตะพาน อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอุบลราชธานี

มาตรา ๔  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

ชวน  หลีกภัย

นายกรัฐมนตรี

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในเขตสุขาภิบาลบางแห่ง กำลังมีการขยายตัวทั้งในด้านการก่อสร้างอาคารและการผังเมือง สมควรให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ บังคับในเขตสุขาภิบาลดังกล่าว เพื่อประโยชน์ในด้านการควบคุมเกี่ยวกับความมั่นคง แข็งแรง ความปลอดภัย การป้องกันอัคคีภัย การสาธารณสุข การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การผังเมือง การสถาปัตยกรรม และการอำนวยความสะดวกแก่การจราจร จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

สรัลพร/พิมพ์

๑๕ มกราคม ๒๕๕๑

ฐิติพงษ์/ตรวจ

๒๙ มกราคม ๒๕๕๑

[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๑๒๕/หน้า ๑๓/๒๙ ธันวาคม ๒๕๓๕