กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๗ (พ.ศ. ๒๕๒๑)ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐

กฎกระทรวง

ฉบับที่ ๑๗ (พ.ศ. ๒๕๒๑)

ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง

พ.ศ. ๒๔๙๐[๑]

                  

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑  ให้ยกเลิก

(๑) กฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๔๙๐) ว่าด้วยการกำหนดอัตราเงินอากร ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐

(๒) กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๔๙๑) ว่าด้วยการกำหนดอัตราเงินอากร ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐

(๓) กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๔ (พ.ศ. ๒๔๙๒) ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียม ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐

(๔) กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๖ (พ.ศ. ๒๕๐๖) ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมงพุทธศักราช ๒๔๙๐

ข้อ ๒  ให้กำหนดอัตราอากรสำหรับที่อนุญาตตามบัญชีหมายเลข ๑ ท้ายกฎกระทรวงนี้

ข้อ ๓  ให้กำหนดอัตราอากรอาชญาบัตรสำหรับเครื่องมือในพิกัดตามบัญชีหมายเลข ๒ ท้ายกฎกระทรวงนี้

ข้อ ๔  ให้กำหนดอัตราอากรใบอนุญาตรายบุคคลผู้ทำการประมงตามบัญชีหมายเลข ๓ ท้ายกฎกระทรวงนี้

ข้อ ๕  ให้กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมตามบัญชีหมายเลข ๔ ท้ายกฎกระทรวงนี้

ให้ไว้ ณ วันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๑

ป.  กรรณสูต

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

บัญชีหมายเลข ๑

อัตราอากรสำหรับที่อนุญาต

ลำดับ

ประเภทที่อนุญาต

อัตราอากร

บาท

สตางค์

๑.

๒.

๓.

๔.

๕.

๖.

๗.

๘.

๙.

๑๐.

๑๑.

๑๒.

๑๓.

๑๔.

๑๕.

๑๖.

๑๗.

๑๘.

๑๙.

๒๐.

โป๊ะน้ำลึก                                           แห่งละ

อวนรัง                                              แห่งละ

โป๊ะน้ำตื้น                                           แห่งละ

เฝือกรัง                                             แห่งละ

จิบ                                                   แห่งละ

ลี่                                                     แห่งละ

สุก                                                  แห่งละ

โพงพาง                                             ช่องละ

ร้านโจน                                             แห่งละ

รั้วไซมาน                                           ช่องละ

กั้นซู่รั้วไซมาน                                      ช่องละ

ช้อนปีก                                             แห่งละ

ยอปีก                                               แห่งละ

บาม                                                 แห่งละ

ยอขันช่อ                                            แห่งละ

ช้อนขันช่อ                                          แห่งละ

จันทา                                               แห่งละ

กร่ำ                                          ตารางเมตรละ

บ่อล่อสัตว์น้ำ                               ตารางเมตรละ

ที่เลี้ยงหอย                                  ตารางเมตรละ

๒๐๐

๒๐๐

๑๕๐

๑๕๐

๑๕๐

๑๕๐

๑๕๐

๑๐๐

๑๐๐

๕๐

๕๐

๕๐

๕๐

๒๕

๒๐

๒๐

๑๐

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

๒๕

บัญชีหมายเลข ๒

อัตราอากรอาชญาบัตรสำหรับเครื่องมือในพิกัด

ลำดับ

ชื่อเครื่องมือ

อัตราอากร

บาท

สตางค์

๑.

๒.

๓.

๔.

๕.

๖.

๗.

๘.

๙.

ยอขันช่อ ช้อนขันช่อ ช้อนสนั่น และช้อนหางเหยี่ยวมีเครื่องยก                 ปากละ

ถุงโพงพาง (ที่ใช้ประกอบกับโพงพาง รั้วไซมาน หรือกั้นซู่รั้วไซมาน)                ถุงละ

ถุงบาม                                 ปากละ

เรือผีหลอกหรือเรือกัตรา              ลำละ

แหยาว ตั้งแต่ ๔ เมตรขึ้นไป (ยังไม่ทบเพลา)                                               ปากละ

ช้อนต่าง ๆ ปากกว้างตั้งแต่ ๓.๕ เมตรขึ้นไป                                               ปากละ

เบ็ดราวยาวตั้งแต่ ๔๐ เมตรขึ้นไป   สายละ

ข่ายหรืออวนต่าง ๆ มีอัตราดังนี้

(ก) อวนลอยขนาดช่องตาตั้งแต่ ๗ เซนติเมตรขึ้นไป (การวัดให้ดึงตาอวนเป็นเส้นตรงตามเส้นทแยงมุม แล้ววัดตามเส้นนั้นจากกึ่งกลางของเงื่อนหนึ่งไปยังกึ่งกลางของอีกเงื่อนหนึ่ง) ยาวเมตรละ

(ข) อวนลอยขนาดช่องตาไม่ถึง ๗ เซนติเมตร (การวัดให้ใช้วิธีเดียวกับ ๘ (ก)) ยาวเมตรละ

(ค)[๒] อวนลากปลา และอวนลากกุ้ง ยาวเมตรละ

(ง) ข่ายหรืออวนอื่น ๆ

(๑) ขนาดกว้างกว่า ๑ เมตร ถึง ๔ เมตร                         ยาวเมตรละ

(๒) ขนาดกว้างกว่า ๔ เมตร ถึง ๘ เมตร                         ยาวเมตรละ

(๓) ขนาดกว้างกว่า ๘ เมตร ถึง ๒๔ เมตร                         ยาวเมตรละ

(๔) ขนาดกว้างกว่า ๒๔ เมตร ขึ้นไป ยาวเมตรละ

เฝือกหรือเครื่องกั้นขนาดยาวกว่า ๒ เมตรขึ้นไป (เว้นแต่เฝือกหรือเครื่องกั้นที่ใช้ประกอบกับโป๊ะ โพงพาง รั้วไซมาน กั้นซู่รั้วไซมาน ช้อนปีก หรือยอปีก)         เมตรละ

๒๐

๒๐

๑๕

๑๐

๑๐

๑๐

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

๕๐

-

-

-

-

บัญชีหมายเลข ๓

อัตราอากรใบอนุญาตรายบุคคลผู้ทำการประมง

ลำดับ

ชื่อเครื่องมือ

อัตราอากร

บาท

สตางค์

๑.

๒.

๓.

ใบอนุญาตรายบุคคลผู้ทำการประมงโดยใช้เครื่องมือนอกพิกัดในที่อนุญาต        คนละ

ใบอนุญาตหาหอยแมลงภู่และหอยกะพง คนละ

ใบอนุญาตหาเทียนหอยและหอยมุก   คนละ

๑๕

๑๕

๑๕

-

-

-

บัญชีหมายเลข ๔

อัตราค่าธรรมเนียม

ลำดับ

ชื่อเครื่องมือ

อัตราอากร

บาท

สตางค์

๑.

๒.

๓.

๔.

๕.

๖.

ใบอนุญาตสำหรับทำการค้าสัตว์น้ำ ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ และอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ

(ก) ใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการแพปลาหรือสะพานปลา ซึ่งรับทำการขายสินค้าสัตว์น้ำเป็นปกติธุระด้วยวิธีการขายทอดตลาด ขายเหมา ขายส่ง หรือวิธีการอย่างอื่น โดยมีข้อตกลงหรือเข้าใจกันโดยตรง หรือโดยปริยายตามพฤติการณ์ว่าสินค้านั้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วนจะได้รับค่านายหน้าในการขายจากเจ้าของสินค้าสัตว์น้ำ           ปีละ

(ข) ใบอนุญาตสำหรับการค้าสินค้าสัตว์น้ำสดหรือเค็ม ด้วยวิธีการขายทอดตลาด ขายเหมา หรือขายส่ง               ปีละ

(ค) ใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการโรงเค็มหรือทำปลาเค็มเพื่อการค้า ปีละ

(ง) ใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการโรงทำน้ำปลาเพื่อการค้า           ปีละ

(จ) ใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการโรงทำกะปิเพื่อการค้า               ปีละ

(ฉ) ใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการโรงนึ่งหรือย่างสัตว์น้ำเพื่อการค้า  ปีละ

(ช) ใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการโรงทำหอยแห้งเพื่อการค้า          ปีละ

(ซ) ใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการโรงทำสัตว์น้ำกระป๋อง               ปีละ

ค่าโอนประทานบัตร                  ฉบับละ

ค่าโอนใบอนุญาต อาชญาบัตร

(ก) ใบอนุญาตสำหรับที่อนุญาต      ฉบับละ

(ข) อาชญาบัตรหรือใบอนุญาตอื่น ๆ ฉบับละ

ใบแทนอาชญาบัตร ใบอนุญาต หรือประทานบัตร                    ฉบับละ

ใบอนุญาตสำหรับผู้มีอาชีพทำการประมง  ปีละ

ค่าสลักหลังใบอาชญาบัตร เพื่อแก้ไขหรือเพิ่มเติมผู้มีสิทธิใช้เครื่องมือทำการประมง                           ครั้งละ

๑๕๐

๑๕๐

๑๕๐

๑๕๐

๕๐

๑๐๐

๕๐

๑๕๐

๒๐

๒๐

๑๕

๑๐

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราอากรสำหรับที่อนุญาต อัตราอากรอาชญาบัตรสำหรับเครื่องมือในการพิกัด อัตราอากรใบอนุญาตรายบุคคลผู้ทำการประมง และอัตราค่าธรรมเนียมที่กำหนดไว้แต่เดิมนั้นได้ใช้มาเป็นเวลากว่าสิบปีแล้ว สมควรปรับปรุงให้เหมาะสมกับภาวะทางเศรษฐกิจและค่าของเงินในปัจจุบัน  จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

 

กฎกระทรวง ฉบับที่ ๒๐ (พ.ศ. ๒๕๓๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐[๓]

 

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่ได้มีกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐ กำหนดประเภทอวนที่ใช้จับสัตว์น้ำแต่ละชนิดโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การจับสัตว์น้ำไม่กระทบต่อระบบนิเวศน์ทางทะเล สมควรกำหนดอัตราอากรอาชญาบัตรให้สอดคล้องกับการกำหนดประเภทของอวนดังกล่าว  จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

จุฑามาศ/ผู้จัดทำ

๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๘

[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๕/ตอนที่ ๘๓/หน้า ๔๗๓/๑๕ สิงหาคม ๒๕๒๑

[๒] บัญชีหมายเลข ๒ อัตราอากรอาชญาบัตรสำหรับเครื่องมือในพิกัด ลำดับ ๘ (ค) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒๐ (พ.ศ. ๒๕๓๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐

[๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๕๑ ก/หน้า ๑๐/๑๔ ตุลาคม ๒๕๓๙