พระราชกฤษฎีกากำหนดป่ายางหัก ในท้องที่ตำบลวังไคร้ อำเภอท่ายาง และตำบลยางน้ำกลัดใต้ อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ให้เป็นป่าคุ้มครอง พ.ศ. 2595

พระราชกฤษฎีกา

กำหนดป่ายางหัก ในท้องที่ตำบลวังไคร้

อำเภอท่ายาง และตำบลยางน้ำกลัดใต้ อำเภอเขาย้อย

จังหวัดเพชรบุรี ให้เป็นป่าคุ้มครอง

พ.ศ. ๒๔๙๕

---------------

                                                            ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.

                                             ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๕

                                                        เป็นปีที่ ๗ ในรัชกาลปัจจุบัน

                        พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ

โปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า

                        โดยที่เป็นการสมควรกำหนดป่ายางหัก ในท้องที่ตำบลวังไคร้ อำเภอท่ายาง

และตำบลยางน้ำกลัดใต้ อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ให้เป็นป่าคุ้มครอง

                        อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๙๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

พุทธศักราช ๒๔๗๕ แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๙๕ และมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติ

คุ้มครองและสงวนป่า พุทธศักราช ๒๔๘๑ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกา

ขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้

                        มาตรา ๑  พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกากำหนดป่ายางหัก

ในท้องที่ตำบลวังไคร้ อำเภอท่ายาง และตำบลยางน้ำกลัดใต้ อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี

ให้เป็นป่าคุ้มครอง พ.ศ. ๒๔๙๕"

                        มาตรา ๒  พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวัน นับแต่

วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

                        มาตรา ๓  ให้ป่ายางหัก ในท้องที่ตำบลวังไคร้ อำเภอท่ายาง และตำบลยาง

น้ำกลัดใต้ อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้

เป็นป่าคุ้มครอง

                        มาตรา ๔  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรงวงเกษตรรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

   จอมพล ป. พิบูลสงคราม

       นายกรัฐมนตรี

[รก.๒๔๙๕/๗๖/๘พ/๒๙ ธันวาคม ๒๔๙๕]

                                                                                                            ชไมพร/พิมพ์

                                                                                                            ๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๔