พระราชกฤษฎีกากำหนดให้ป่าหนองหญ้าไทร ในท้องที่ตำบลหนองหญ้าไทร อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี ให้เป็นป่าคุ้มครอง พ.ศ. 2496

พระราชกฤษฎีกา

กำหนดป่าหนองหญ้าไทร ในท้องที่ตำบลหนองหญ้าไทร

อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี

ให้เป็นป่าคุ้มครอง พ.ศ. ๒๔๙๖

----------

                                                        ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.

                                         ให้ไว้ ณ วันที่ ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๖

                                                เป็นปีที่ ๘ ในรัชกาลปัจจุบัน

                        พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  มีพระบรมราชโองการ

โปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า

                        โดยที่เป็นการสมควรกำหนดป่าหนองหญ้าไทร ในท้องที่ตำบลหนองหญ้าไทร

อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี ให้เป็นป่าคุ้มครอง

                        อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๙๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

พุทธศักราช ๒๔๗๕ แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๙๕ และมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติ

คุ้มครองและสงวนป่า พุทธศักราช ๒๔๘๑ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกา

ขึ้นไว้ ดั่งต่อไปนี้

                        มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกากำหนดป่าหนองหญ้า

ไทร  ในท้องที่ตำบลหนองหญ้าไทร อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี ให้เป็นป่าคุ้มครอง พ.ศ.

๒๔๙๖"

                        มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่

วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

                        มาตรา ๓ ให้ป่าหนองหญ้าไทร ในท้องที่ตำบลหนองหญ้าไทร อำเภอสามชุก

จังหวัดสุพรรณบุรี ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นป่าคุ้มครอง

                        มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

  จอมพล ป. พิบูลสงคราม

      นายกรัฐมนตรี

+----------------------------------------------------------------------------------------------------+

หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากที่ดินแห่งนี้เป็นป่าที่มี

ไม้มีค่าเป็นป่าปริมาณมาก เช่น ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้แดงและไม้ประดู่ มีสภาพเหมาะสมที่ควรสงวน

เพื่อให้ราษฎรได้มีไม้ใช้ตลอดไป อันจะให้ประโยชน์มากยิ่งกว่าที่จะแผ้วถางลงทำเป็นที่เพาะปลูก

หรือเพื่อกิจการอย่างอื่นต่อหน่วยเนื้อที่ และการใช้ประโยชน์จากป่าของราษฎรส่วนมากมิได้เป็น

ไปตามหลักเศรษฐกิจ เช่นเข้าก่นสร้าง แผ้วถาง เผาป่าที่อุดมไปด้วยพันธุ์ไม้มีค่า โดยไม่คำนึงถึง

ผลได้เสียที่จะบังเกิดแก่ส่วนรวมเป็นเหตุให้ป่าที่ดีมีค่าถูกทำลายทรุดโทรมเสียหายเกินควร จึง

สมควรที่จะจัดการคุ้มครองที่ป่าแห่งนี้ไว้เพื่อประโยชน์แห่งรัฐและประชาชน.

[รก.๒๔๙๖/๖๑/๑๑๗๐/๒๙ กันยายน ๒๔๙๖]

                                                                                                ชไมพร/พิมพ์

                                                                                                ๒ ตุลาคม ๒๕๔๔