พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเขตอุตสาหกรรมส่งออกภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๓๙

พระราชกฤษฎีกา

จัดตั้งเขตอุตสาหกรรมส่งออกภาคใต้

พ.ศ. ๒๕๓๙

------------

                                                        ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.

                                           ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ.๒๕๓๙

                                                   เป็นปีที่ ๕๑ ในรัชกาลปัจจุบัน

                        พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ

โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

                        โดยที่เป็นการสมควรจัดตั้งเขตอุตสาหกรรมส่งออกภาคใต้ ในท้องที่ตำบลฉลุง

อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

                        อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่ง

แก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๕) พุทธศักราช ๒๕๓๘

และมาตรา ๓๖ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ.๒๕๒๒

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้

                        มาตรา ๑  พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเขตอุตสาหกรรม

ส่งออกภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๓๙"

                        มาตรา ๒  พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจา

นุเบกษา เป็นต้นไป

                        มาตรา ๓  ให้จัดตั้งเขตอุตสาหกรรมส่งออกภาคใต้ ในท้องที่ตำบลฉลุง อำเภอ

หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้

                        มาตรา ๔  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

      บรรหาร ศิลปอาชา

        นายกรัฐมนตรี

[ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย]

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

หมายเหตุ :-เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เพื่อส่งเสริมให้มีการลงทุนและ

ใช้แรงงานภายในประเทศมากขึ้น และอำนวยความสะดวกในด้านสาธารณูปโภคแก่ผู้ลงทุนเพื่อการ

ส่งออกได้ดียิ่งขึ้นสมควรจัดตั้งเขตอุตสาหกรรมส่งออกภาคใต้ ในท้องที่ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่

จังหวัดสงขลา และโดยที่มาตรา ๓๖ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่ง

ประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๒ บัญญัติว่า การจัดตั้งเขตอุตสาหกรรมส่งออกให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

[รก.๒๕๓๙/๔๔ก/๙/๓ ตุลาคม ๒๕๓๙]