พระราชกฤษฎีกากำหนดป่าคลองริ่ว ในท้องที่ตำบลบางน้ำจืด อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ให้เป็นป่าคุ้มครอง พุทธศักราช 2487

พระราชกฤษฎีกา

กำหนดป่าคลองริ่ว  ในท้องที่ตำบลบางน้ำจืด

อำเภอหลังสวน  จังหวัดชุมพร  ให้เป็นป่าคุ้มครอง

พุทธศักราช ๒๔๘๗

-------------

                              ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล

                                         คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

                                     (ตามประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎร

                                      ลงวันที่ ๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๘๐

                                และลงวันที่ ๑๖ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๘๔)

                                                  อาทิตย์ ทิพอาภา

                                                  ปรีดี พนมยงค์

                              ตราไว้ ณ วันที่ ๑๘ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๘๗

                                        เป็นปี ๑๑ ในรัชกาลปัจจุบัน

                        โดยที่เห็นสมควรกำหนดป่าคลองริ่ว  ในท้องที่ตำบลบางน้ำจืด อำเภอหลังสวน

จังหวัดชุมพร ให้เป็นป่าคุ้มครอง

                        คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์  ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองและสงวนป่า  พุทธศักราช

๒๔๘๑ จึงให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ดังต่อไปนี้

                        มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้ให้เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกากำหนดป่าคลองริ่ว

ในท้องที่ตำบลบางน้ำจืด อำเภอหลังสวนจังหวัดชุมพร ให้เป็นป่าคุ้มครอง พุทธศักราช ๒๔๘๗"

                        มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วัน

ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

                        มาตรา ๓ ให้ป่าคลองริ่ว  ในท้องที่ตำบลบางน้ำจืดอำเภอหลังสวนจังหวัดชุมพร

ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้เป็นป่าคุ้มครอง

                        มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการรักษาการตามพระราช

กฤษฎีกานี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

  จอมพล ป. พิบูลสงคราม

      นายกรัฐมนตรี

[รก.๒๔๘๗/๗๙/๑๒๖๔/๓๑ ธันวาคม ๒๔๘๗]

                                                                                                ชไมพร/พิมพ์

                                                                                                ๒ ตุลาคม ๒๔๘๗