คลังสำหรับ 04/05/2016

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1114/2525

เขตคันคลองรังสิตประยูรศักดิ์ ที่ยื่นขึ้นไปฝั่งละ 1 เส้น เป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(2)
พระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พ.ศ. 2485 มาตรา 23 ให้กรมชลประทานจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ดูแลแต่มิได้รวมถึงให้มีอำนาจและหน้าที่นำเขตคันคลองรังสิตประยูรศักดิ์ไปให้เช่าโดยมิได้คำนึงถึงสิทธิของบุคคลอื่นที่มีต่อเขตคันคลองมาแต่เดิม เมื่อจำเลยที่ 2 ผู้เช่าได้ปักเสาคอนกรีตกั้นที่แนวเขตคันคลองตรงที่ติดต่อกับเขตที่ดินของโจทก์ จนไม่สามารถใช้สอยหาประโยชน์จากการที่จะผ่านเขต คันคลองไปสู่คลองได้ โจทก์ฟ้องให้เพิกถอนสัญญาเช่าระหว่างจำเลย ทั้งสองได้ แต่ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1071/2520

เจ้าหน้าที่ขุดคลองส่งน้ำผ่านที่ดินของจำเลยในเขตโครงการชลประทานโดยราษฎรและจำเลยยินยอมโดยปริยาย จำเลยจะปิดกั้นไม่ได้ เป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติชลประทานหลวง พ.ศ. 2485 มาตรา 20,36 ตรี ฉบับที่ 3 พ.ศ.2507 มาตรา 16

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7775/2540

ความผิดฐานทำไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต และฐานก่นสร้างแผ้วถางป่า ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 11,73 วรรคสอง และมาตรา 54,72 ตรี เมื่อเป็นการกระทำความผิดในคราวเดียวกัน จึงเป็นความผิดกรรมเดียว ผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามมาตรา 11,73 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทที่มี โทษหนักที่สุดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาในปัญหานี้แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสีย ให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 938/2481

ลำรางในที่ดินของเอกชน+เจ้าของที่ดินได้ปล่อยให้เรือเดินไปมากว่า 10 ปี แต่ไม่ปรากฎว่าเจ้าของที่ดินได้เวนคืนหรือสละกรรมสิทธิ์โดยการยกให้อย่างไรแล้ว ไม่ทำให้ลำรางนั้นกลายเป็นที่สาธารณะขึ้นกรณีดังนี้เพียงแต่ก่อให้เกิดภาระจำยอมแก่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ข้างเคียงเท่านั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เปิดทางซึ่งเป็นภาระจำยอมในเมื่อสามยกทรัพย์เป็นของเอกชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 838/2477

ที่ลาดติดต่อกับฝั่งคลองนั้นถึงแม้ในฤดูน้ำน้ำท่วมถึงก็ยังไม่เป็นเหตุพอจะชี้ขาดได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของคลอง พะยาน คู่ความจะขอสืบพะยานในข้อที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คดีศาลงดสืบพะยานนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 741 – 745/2509

โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้ง 5 บังอาจยึดถือครอบครองที่ดินบริเวณหน้าฝายทุ่งหมูบุ้นอันเป็นที่สาธารณะสำหรับประชาชนใช้ร่วมกันนายอำเภอได้ออกคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายให้จำเลยออกไปจำเลยบังอาจขัดขืนไม่กระทำตามคำสั่ง ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินจำเลยไม่รู้และไม่เข้าใจมาก่อนว่าเป็นที่สาธารณะการขัดคำสั่งทำด้วยใจสุจริต ขาดเจตนาร้าย ยกฟ้องจำเลยฝ่ายเดียวอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจำเลยฎีกาต่อมาว่าที่พิพาทมิใช่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน แต่จำเลยมีสิทธิครอบครองและมีกรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย ขอให้พิพากษากลับศาลล่างว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยทั้งหมดดังนี้ คดีอาญาจึงยุติเพียงศาลชั้นต้นเมื่อจำเลยกล่าวอ้างโต้แย้งว่าที่พิพาทเป็นที่ดินที่จำเลยมีสิทธิครอบครองมา มิใช่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน จำเลยชอบที่จะไปว่ากล่าวในทางแพ่งต่อไป ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ให้ยกฎีกาจำเลย(อ้างนัยฎีกาที่ 1223/2495)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 672/2482

ปลัดอำเภอเกณฑ์ราษฎรให้ถางป่าและขุดตอตามลำน้ำที่มีสภาพเป็นปกติ ราษฎรขัดขืนไม่กระทำตามก็ไม่มีผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 592/2513

โจทก์ฟ้องขอให้ศาลสั่งแสดงว่าที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์จำเลยให้การต่อสู้ว่า ที่พิพาทไม่ใช่ของโจทก์ เป็นที่สาธารณะและที่พิพาทเป็นที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน โจทก์มีหน้าที่นำสืบให้ได้ความว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์
ที่พิพาทหมาย 1 เป็นหนองที่ราษฎรร่วมกันซื้อจากมารดาโจทก์ ส่วนที่หมาย 2, 3 เป็นที่ที่ ม. ยกให้เป็นที่สาธารณะทำเลเลี้ยงสัตว์ตั้งแต่ปี 2465 เมื่อราษฎรซื้อและรับยกให้แล้ว ราษฎรเข้าครอบครองใช้ที่พิพาทเป็นประโยชน์ร่วมกันตลอดมา กรณีเช่นนี้ถือว่าเป็นการสละเจตนาครอบครองโดยส่งมอบทรัพย์ที่ครอบครองแล้ว นับแต่รับมอบที่พิพาทแล้วราษฎรเป็นจำนวนร้อย ๆ ได้ร่วมกันทำทำนบกั้นน้ำประตูระบายน้ำ ขุด ลอก หนอง โดยถือว่าเป็นที่สาธารณะที่ราษฎรได้ใช้เป็นประโยชน์ร่วมกัน ดังนี้หนองและที่พิพาทหมาย 1, 2, 3เป็นหนองและทำเลเลี้ยงสัตว์ที่ราษฎรใช้ร่วมกันมาเป็นเวลาสิบ ๆ ปีแล้ว จึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 และการเป็นหนองสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่นั้น กฎหมายไม่บังคับว่าต้องขึ้นทะเบียนเพราะจะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ ย่อมเป็นไปตามสภาพของที่นั้นเองว่าเป็นทรัพย์สินเพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันหรือไม่

ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 117, 122 บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของกรมการอำเภอที่จะต้องรักษาดูแลที่ดินลำน้ำอันเป็นสาธารณประโยชน์ได้ ไม่ให้ผู้ใดทำให้เสียหายหรือกีดกันเอาเป็นอาณาประโยชน์แต่เฉพาะตัว จำเลยในฐานะนายอำเภอจึงมีอำนาจสั่งห้ามโจทก์ไม่ให้บุกรุกที่สาธารณประโยชน์ตลอดจนมีอำนาจฟ้องแย้งขับไล่โจทก์ได้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 287/2517

จำเลยปลูกสร้างอาคารและเขื่อนถมดินรุกล้ำเขตคลองบางโพงพางซึ่งเป็นที่อันเป็นสาธารณประโยชน์ นายอำเภอเจ้าของท้องที่คลองบางโพงพางย่อมมีอำนาจฟ้องขอบังคับให้จำเลยรื้อถอนอาคารและเขื่อนถมดินที่รุกล้ำนั้นออกไปได้ โดยอาศัยอำนาจตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 122 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2495 มาตรา 40 วรรค 3
จำเลยปลูกสร้างอาคารและเขื่อนถมดินรุกล้ำเขตคลองบางโพงพางซึ่งเป็นที่อันเป็นสาธารณประโยชน์ นายอำเภอเจ้าของท้องที่คลองบางโพงพางย่อมมีอำนาจฟ้องขอบังคับให้จำเลยรื้อถอนอาคารและเขื่อนถมดินที่รุกล้ำนั้นออกไปได้ โดยอาศัยอำนาจตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 122 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2495 มาตรา 40 วรรค 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 309/2500

คำสั่งผู้รักษาการแทนนายอำเภอเมื่อ พ.ศ.2496 ห้ามมิให้จำเลยทำนาในหนองสาธารณะ เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายจำเลยเข้าทำนาเมื่อ พ.ศ.2498 ศาลลงโทษจำเลยฐานขัดคำสั่งตาม มาตรา334(2) กฎหมายลักษณะอาญา
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา94 ไม่ถือความผิดลหุโทษเป็นความผิดเพื่อเพิ่มโทษ ศาลอุทธรณ์ลงโทษและเพิ่มโทษตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา76 ถูกต้องตามกฎหมายในเวลานั้นเมื่อจำเลยฎีกาขึ้นมาศาลฎีกาแก้เป็นไม่เพิ่มโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3
หนองสาธารณะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ใครจะอ้างอายุความครอบครองยันต่อแผ่นดินไม่ได้

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง