คลังหมวดหมู่ : ‘คำพิพากษาศาลฎีกา’

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1490/2540

พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 มาตรา 28 วรรคหนึ่งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่ระงับเหตุรำคาญที่เกิดขึ้นในสถานที่นั้น มาตรา 45 ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้ดำเนินกิจการนั้นแก้ไขหรือปรับปรุงให้ถูกต้อง ถ้าการดำเนินกิจการนั้นจะก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนจะสั่งให้ผู้นั้นหยุดดำเนินกิจการไว้ทันทีเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะเป็นที่พอใจแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าปราศจากอันตรายแล้วก็ได้ และต้องทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้ดำเนินกิจการซึ่งจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งทราบ แต่ที่จำเลยยอมรับว่าจำเลยได้ดำเนินการแก้ไข เหตุเดือดร้อนรำคาญตามคำสั่งของสำนักงานเทศบาลเมืองตรังแล้วนั้นอาจเป็นการทราบคำสั่งดังกล่าวจากเจ้าพนักงานตำรวจผู้แจ้งข้อหาให้จำเลยทราบก็ได้ เมื่อจำเลยยังไม่ได้ทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยชอบ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยมีความผิดตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1733/2543

การที่โจทก์ทั้งสิบหกฟ้องขอให้ระงับโครงการพัฒนาท่าอากาศยานขอนแก่นและขอให้เพิกถอนมติคณะรัฐมนตรีที่อนุมัติการก่อสร้างโครงการดังกล่าว โดยที่ฟ้องโจทก์มิได้บรรยายว่า หากจำเลยที่ 1 และที่ 2 จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมแล้วจะมีผลถึงขนาดที่คณะรัฐมนตรีจะไม่อนุมัติการก่อสร้างโครงการดังกล่าว จึงยังไม่อาจถือได้ว่ามติคณะรัฐมนตรีไม่ชอบ ทั้งตามฟ้องโจทก์อ้างว่าโจทก์ทั้งสิบหกได้รับความเสียหายจากการก่อสร้างอันเนื่องมาจากความบกพร่องของผู้ก่อสร้างที่ไม่ป้องกันมลพิษ ซึ่งความเสียหายดังกล่าวก็มิใช่ผลโดยตรงจากมติคณะรัฐมนตรี โจทก์ทั้งสิบหกย่อมไม่อาจฟ้องขอให้เพิกถอนมติคณะรัฐมนตรีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 861/2540

สิทธิและหน้าที่ในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2534มาตรา58สิทธิในการมีอากาศสะอาดบริสุทธิ์หายใจเพื่อสุขภาพพลานามัยและคุณภาพชีวิตที่ดีสิทธิในการได้รับความรื่นรมย์ตามธรรมชาติสิทธิที่จะปลอดจากความเสียหายและเดือดร้อนอันเกิดจากปัญหาน้ำท่วมปัญหาการจราจรติดขัดปัญหามลพิษทางอากาศปัญหาความร้อนที่ระบายจากตึกอาคารสูงล้วนเป็นสิทธิตามปกติธรรมดาของคนทั่วไปซึ่งมีสิทธิได้รับตามกฎหมายที่กำหนดอยู่แล้วจึงไม่ใช่เป็นสิทธิที่โจทก์ทั้งเจ็ดได้รับความเสียหายเป็นพิเศษโจทก์ทั้งเจ็ดจึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องร้องจำเลยทั้งสาม การที่โจทก์ทั้งเจ็ดขอทราบข้อมูลและข่าวสารเกี่ยวกับรายงานการประชุมและมติในการพิจารณาสถานที่ทำงานของหน่วยราชการในเขตกรุงเทพมหานครและเมืองหลักรวมทั้งแบบแปลนการจัดพื้นที่การก่อสร้างอาคารและแผนการป้องกันแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจากจำเลยที่3แต่จำเลยที่3ไม่ให้ความร่วมมือและไม่แจ้งเหตุขัดข้องว่าเป็นข้อมูลหรือข่าวสารที่ถือว่าเป็นความลับเกี่ยวข้องกับการรักษาความมั่นคงแห่งชาติหรือเข้าข้อยกเว้นข้ออื่นที่ไม่ต้องเปิดเผยแต่อย่างใดจึงเป็นการกระทบสิทธิของโจทก์ทั้งเจ็ดตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ.2535มาตรา6และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯมาตรา48ทวิโจทก์ทั้งเจ็ดจึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3073/2545

จำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดที่ห้ามเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบน้ำเค็มในพื้นที่น้ำจืดในเขตจังหวัดเท่านั้น ความผิดดังกล่าวจึงเกิดขึ้นเพราะจำเลยไม่ได้รับอนุญาต ดังนั้น การที่จำเลยใช้เครื่องตีน้ำในบ่อกุ้งหาทำให้เครื่องตีน้ำดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิดอันจะพึงริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1) ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7193/2547

พ.ร.บ.แร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 73 ให้สิทธิแก่ผู้ถือประทานบัตรใช้ที่ดินในเขตเหมืองแร่ที่มีแร่ไม่สมบูรณ์พอที่จะเปิดทำเหมืองเพื่อเกษตรกรรมในระหว่างอายุประทานบัตรได้ การที่โจทก์ปลูกต้นยางพาราลงในที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ในเขตเหมืองแร่ เป็นการใช้สิทธิในฐานะผู้ถือประทานบัตร ไม่ทำให้ต้นยางพาราที่ปลูกสร้างไว้เป็นส่วนควบของที่ดิน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 146 และยังคงเป็นทรัพย์สินของโจทก์ การที่จำเลยกรีดเอาน้ำยางพาราจากต้นยางพาราของโจทก์ไป จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์

ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและจำเลยเข้าไปกรีดเอาน้ำยางพาราภายหลังประทานบัตรของโจทก์หมดอายุแล้วเพื่อการยังชีพมิได้มีเถยจิตเป็นโจรผู้ร้ายแต่อย่างใด กับทั้งภายหลังเกิดเหตุจำเลยได้รับอนุญาตจากรัฐให้มีสิทธิทำกินในที่ดินพิพาท กรณีมีเหตุอันสมควรให้ความปรานีแก่จำเลยโดยรอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 56

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 302/2527

เขตเหมืองแร่ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 มาตรา 4หมายความถึงเขตพื้นที่ซึ่งกำหนดในประทานบัตรชั่วคราวหรือประทานบัตรเท่านั้น หาหมายรวมถึงบริเวณพื้นที่ซึ่งใช้เป็นที่เก็บขังน้ำขุ่นข้นหรือมูลดินทรายด้วยไม่ ฉะนั้น การที่จำเลยมีแร่จำนวนเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดเก็บไว้ในเขตซึ่งเป็นที่ทิ้งมูลดินทรายนอกเขตพื้นที่ในประทานบัตร จึงมีความผิดตามมาตรา 105

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3630/2541

โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาให้รับผิดต่อโจทก์ผู้เป็นบุคคลภายนอกอันเกิดจากการ นำยึด และขายทรัพย์สินโดยมิชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 284 วรรคสอง ซึ่งมิได้มีกฎหมายบัญญัติในเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนดสิบปีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 193/30 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อโจทก์ฟ้องคดี ยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ได้ใช้ราคาซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งของศาลชั้นต้นอันเป็นวันเริ่มนับอายุความนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ เมื่อปรากฏภายหลังว่าที่ดินที่จำเลยคดีนี้ในฐานะเจ้าหนี้คำพิพากษาให้นำยึดและโจทก์เป็นผู้ซื้อได้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งของศาลเป็นที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติตามกฎกระทรวงฉบับที่ 1,085(พ.ศ. 2527) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ลงวันที่ 1 พฤศจิกายน2527 และปัจจุบันกลายเป็นอ่างเก็บน้ำที่กรมชลประทานก่อสร้างขึ้น แต่เดิมที่ดินแปลงนี้เป็นที่ดิน น.ส.3 ก. ซึ่งทางราชการออกให้ไว้แก่ส. ซึ่งถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีที่มีการขายทอดตลาดดังกล่าวตั้งแต่ก่อนที่จะมีกฎกระทรวงกำหนดให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ กรณีย่อมมีผลทำให้ ส.ยังคงมีสิทธิครอบครองที่ดินนั้นอยู่ต่อไป ตามมาตรา 12 วรรคสุดท้ายแห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ. 2507 เมื่อโจทก์ซื้อที่ดินไปจากการขายทอดตลาด แต่ไม่ได้ สิทธิครอบครองในที่ดินที่ซื้อมา โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้ จำเลยผู้นำยึดคืนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดนั้นได้ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้บริเวณพื้นที่ตาม น.ส.3 ก.ที่ดินพิพาทตามฟ้องเป็นเขตป่าไม้ถาวร กรณียังต้องฟังข้อเท็จจริงให้แน่ชัดเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นกรณีสิทธิในที่ดินที่บุคคลมีอยู่ตามป.ที่ดิน กล่าวคือ น.ส.3 ก.รายนี้ออกโดยชอบด้วยกฎหมายดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 12 วรรคสุดท้าย แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ. 2507 อันเป็นประเด็นที่รวมอยู่ในประเด็นที่ว่า โจทก์มี อำนาจฟ้องให้จำเลยคืนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินตามฟ้อง หรือไม่ เพราะข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นสาระสำคัญอันทำให้ผลคดี เปลี่ยนแปลง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานทำให้มีข้อเท็จจริง ไม่เพียงพอที่จะวินิจฉัยคดี จึงจำต้องทำการสืบพยานโจทก์ และจำเลยต่อไปให้สิ้นกระแสความ กรณีเป็นเรื่องที่มิได้ ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการพิจารณาตามมาตรา 243(2) ประกอบด้วยมาตรา 247 ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลล่าง ทั้งสองตลอดจนคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาเฉพาะประเด็นดังกล่าวต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5472/2545

เจ้าพนักงานยึดชิ้นไม้กฤษณาและกฤษณาจำนวน 30 กิโลกรัมจากจำเลยเป็นของกลาง ซึ่งเป็นของป่าหวงห้ามจำนวนมาก การที่จำเลยเข้าไปเก็บหาและนำออกไปซึ่งชิ้นไม้ดังกล่าวจากเขตอุทยานแห่งชาติ เป็นการลักลอบเก็บของป่าหวงห้ามเพื่อนำไปขายทำให้ป่าไม้ถูกทำลายและเสื่อมสภาพ ก่อให้เกิดความแห้งแล้งผืนดินพังทลาย ลำน้ำตื้นเขินหรือเกิดอุทกภัยและเป็นการทำลายเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ นับเป็นพฤติการณ์ร้ายแรง จึงไม่มีเหตุรอการลงโทษให้จำเลย

โจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยใช้ขวานของกลางเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการกระทำความผิด จึงต้องริบขวานของกลางตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 74 ทวิ และพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติฯ มาตรา 29 ปัญหานี้แม้ศาลชั้นต้นไม่ริบทรัพย์ดังกล่าวและไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้ริบทรัพย์ดังกล่าวได้เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 303/2539

เมื่อส. ได้ครอบครองทำประโยชน์ทำสวนจากในที่ดินที่เกิดเหตุตั้งแต่ปี2486ก่อนป. ที่ดินพ.ศ.2497ใช้บังคับฉะนั้นส. เป็นผู้ได้ที่ดินที่เกิดเหตุมาตามป. ที่ดินที่ดินที่เกิดเหตุจึงไม่ใช่ป่าตามพระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ.2484มาตรา4(1)เมื่อส. ยกที่ดินที่เกิดเหตุให้จำเลยจำเลยจึงมีสิทธิครอบครองที่พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4834 – 4835/2539

หนังสือมอบอำนาจมีข้อความว่า"กระทรวงการคลังโดยก.อธิบดีกรมธนรักษ์ผู้รับมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังขอมอบอำนาจให้ผู้บัญชาการทหารเรือมีอำนาจดำเนินคดีอาญาและคดีแพ่งกับผู้บุกรุกพร้อมบริวารให้ออกไปจากที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ชบ.481ตามข้อความดังกล่าวเป็นการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีโดยเฉพาะเจาะจงแก่ผู้ที่บุกรุกที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ชบ.481หาใช่มอบอำนาจทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา801ไม่และในกรณีเช่นนี้ก็ไม่อาจระบุชื่อผู้ที่จะถูกฟ้องไว้ล่วงหน้าก็ได้เมื่อจำเลยที่1และที่2ถูกกล่าวหาว่าบุกรุกที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ชบ.481ผู้รับมอบอำนาจก็ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่1และที่2ตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวได้ ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินอำเภอบางละมุงจังหวัดชลบุรีพ.ศ.2479มีความมุ่งหมายกำหนดเขตหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าสำหรับไว้ใช้ในราชการทหารที่ดินที่หวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1304(3)แม้ต่อมาในปี2498จะมีผู้แจ้งการครอบครองที่ดิน(ส.ค.1)นั้นตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ.2497มาตรา5ก็ตามที่ดินนั้นก็ยังคงเป็นที่หวงห้ามต่อไปตามมาตรา10ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้แจ้งที่ดินดังกล่าวจึงเป็นที่ราชพัสดุตามความหมายของมาตรา4แห่งพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุพ.ศ.2518 จำเลยทั้งสี่ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทแต่ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากผู้บัญชาการฐานทัพเรือสัตหีบเมื่อผู้บัญชาการฐานทัพเรือสัตหีบแจ้งให้จำเลยทั้งสี่ออกจากที่ดินพิพาทจำเลยทั้งสี่ไม่ยอมออกการเข้าครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยทั้งสี่จึงเป็นการไม่ชอบการที่โจทก์ที่2ถึงที่8ได้กระทำการขัดขวางมิให้จำเลยทั้งสี่เข้าครอบครองที่ดินพิพาทจึงเป็นการปฏิบัติราชการไปตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่แต่ละคนมีอยู่มิได้มีเจตนาจะกลั่นแกล้งจำเลยทั้งสี่จึงไม่เป็นละเมิดต่อจำเลยทั้งสี่การทำละเมิดของบริษัทจำเลยที่1ได้แสดงออกโดยจำเลยที่2ซึ่งเป็นผู้แทนและเป็นการกระทำที่ไม่อยู่ในขอบวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่1จำเลยที่2จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่1ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา76วรรคสอง จำเลยที่1และที่2ไม่ได้นำดินลูกรังไปไถไปถมทะเลแต่นำที่ดินลูกรังไปถมทำถนนและถมที่ดินพิพาทแล้วปรับพื้นที่ให้ทราบจำเลยที่1และที่2ไม่ได้นำดินลูกรังออกไปจากพื้นที่ของโจทก์ที่1ดินลูกรังยังคงอยู่ในที่ดินของกระทรวงการคลังโจทก์ที่1มิได้สูญหายไปไหนโจทก์ที่1จึงมิได้เสียหายเกี่ยวกับดินลูกรัง

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง