คลังหมวดหมู่ : ‘กฎหมายลูก’

กฎกระทรวงเศรษฐการว่าด้วยการนำร่อง ออกตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำสยามแก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2477 (ฉบับที่ 2) (Update ณ วันที่ 08/08/2523) (ฉบับที่ 13)

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่กฎกระทรวงเศรษฐการว่าด้วยการนำร่อง ฯ ได้กำหนดให้มีผู้นำร่องที่จะอนุญาตให้ทำการนำร่องได้ไม่เกิน ๕๐ คน และมีผู้ฝึกการนำร่องของรัฐบาลได้ไม่เกิน ๑๐ คน โดยไม่รวมผู้นำร่องพิเศษ บัดนี้ได้มีการกำหนดอัตราเจ้าพนักงานนำร่องโดยสำนักงาน ก.พ. เพิ่มให้กรมเจ้าท่าอีก ๔ ตำแหน่ง สมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงดังกล่าวเพื่อให้เจ้าพนักงานนำร่องมีจำนวนตามอัตราที่เพิ่มขึ้นได้ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

กฎกระทรวงเศรษฐการว่าด้วยการนำร่อง ออกตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำสยามแก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2477 (ฉบับที่ 2) (Update ณ วันที่ 06/07/2530) (ฉบับที่ 14)

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎกระทรวงเศรษฐการ ว่าด้วยการนำร่อง ออกตามความในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒๘ (พ.ศ. ๒๕๑๗) ฯ มีข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้สมัครเป็นผู้นำร่องที่ไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน การพัฒนาทางด้านการศึกษา และการพัฒนาของเรือสมัยใหม่ สมควรแก้ไขเพิ่มเติมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น และในกรณีที่กรมเจ้าท่ามีความจำเป็นที่ต้องมีผู้นำร่องเพิ่มขึ้น แต่มีผู้สมัครเป็นผู้นำร่องไม่เพียงพอกับความต้องการ ให้กรมเจ้าท่ามีอำนาจรับสมัครผู้นำร่องจากบุคคลที่มีคุณสมบัติอย่างอื่นที่กรมเจ้าท่าเห็นสมควรได้ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎกระทรวงเศรษฐการ ว่าด้วยการนำร่อง ออกตามความในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒๘ (พ.ศ. ๒๕๑๗) ฯ มีข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้สมัครเป็นผู้นำร่องที่ไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน การพัฒนาทางด้านการศึกษา และการพัฒนาของเรือสมัยใหม่ สมควรแก้ไขเพิ่มเติมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น และในกรณีที่กรมเจ้าท่ามีความจำเป็นที่ต้องมีผู้นำร่องเพิ่มขึ้น แต่มีผู้สมัครเป็นผู้นำร่องไม่เพียงพอกับความต้องการ ให้กรมเจ้าท่ามีอำนาจรับสมัครผู้นำร่องจากบุคคลที่มีคุณสมบัติอย่างอื่นที่กรมเจ้าท่าเห็นสมควรได้ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากการเก็บค่าธรรมเนียมสำหรับใบอนุญาตที่ต้องออกเป็นหนังสือและอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับใบอนุญาตดังกล่าวตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๘ (พ.ศ. ๒๕๑๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช ๒๔๕๖ และกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓๙ (พ.ศ. ๒๕๒๓) ฯ ยังไม่เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน สมควรปรับปรุงให้เหมาะสมยิ่งขึ้น และสมควรนำอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับใบอนุญาตที่ต้องออกเป็นหนังสือตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒๒ (พ.ศ. ๒๕๑๕) ฯ มาบัญญัติรวมไว้ในกฎกระทรวงฉบับเดียวกันเพื่อความสะดวกในการใช้กฎหมาย จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

กฎกระทรวงเศรษฐการว่าด้วยการนำร่อง ออกตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำสยามแก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2477 (ฉบับที่ 2) (Update ณ วันที่ 01/04/2534) (ฉบับที่ 15)

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎกระทรวงเศรษฐการ ว่าด้วยการนำร่อง ออกตามความในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒) ในส่วนที่เกี่ยวกับการเลื่อนชั้นของผู้นำร่องและจำนวนของผู้นำร่องยังไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน กล่าวคือ ในปัจจุบันมีเรือเข้าออกในเขตท่าหรือน่านน้ำมากขึ้นกว่าเดิมทุกปี ทำให้ผู้นำร่องแต่ละนายได้รับประสบการณ์ในการนำร่องเรือเพิ่มขึ้นเร็วกว่าเดิม สมควรลดระยะเวลาการนำร่องเรือเพื่อการเลื่อนชั้นของผู้นำร่องลงจากเดิม และขณะนี้ได้มีการสร้างและขยายท่าเรือเพิ่มขึ้น ทำให้จำนวนผู้นำร่องที่กำหนดไว้แต่เดิมไม่เพียงพอต่อปริมาณงานที่เพิ่มขึ้น สมควรเพิ่มจำนวนผู้นำร่องให้เหมาะสมกับงานที่เพิ่มขึ้น และโดยที่ข้อกำหนดต่าง ๆ เกี่ยวกับมารยาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้นำร่องใช้มาเป็นเวลานานโดยยังไม่เคยมีการปรับปรุงแก้ไข ประกอบกับได้มีการปรับปรุงส่วนราชการในกรมเจ้าท่าใหม่แล้ว สมควรแก้ไขเพิ่มเติมส่วนต่าง ๆ เหล่านั้นให้รัดกุมและเหมาะสมยิ่งขึ้นเสียในคราวเดียวกัน จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

กฎกระทรวงเศรษฐการว่าด้วยการนำร่อง ออกตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำสยามแก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2477 (ฉบับที่ 2) (Update ณ วันที่ 10/09/2536) (ฉบับที่ 16)

เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎกระทรวงเศรษฐการ ว่าด้วยการนำร่อง ออกตามความในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๗ (พ.ศ. ๒๕๓๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒) ได้กำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครเป็นผู้นำร่องไว้ไม่เหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน สมควรปรับปรุงการกำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครดังกล่าวเสียใหม่ เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษาชั้นสูงสุดตามหลักสูตรฝ่ายเดินเรือจากสถาบันการเดินเรือ ของรัฐบาลไทยหรือรัฐบาลต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในด้านการเดินเรือมีสิทธิสมัครเป็นผู้นำร่องชั้น ๒ ค. ได้เท่าเทียมกับผู้สำเร็จการศึกษาชั้นสูงสุดจากโรงเรียนนายเรือ กองทัพเรือไทยหรือกองทัพเรือต่างประเทศ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

กฎกระทรวงเศรษฐการ ว่าด้วยการนำร่อง ออกตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำสยาม แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2477 (ฉบับที่ 2)

เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากพิกัดค่าจ้างนำร่องที่ใช้อยู่ปัจจุบันนี้ได้ใช้มาเป็นเวลานานแล้ว ทำให้ไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน และสมควรแก้ไขเพิ่มเติมวิธีการเก็บและแบ่งเงินผลประโยชน์ที่ได้มาเนื่องในการนำร่องให้เหมาะสมเพื่อประโยชน์ของรัฐและเป็นธรรมกับผู้นำร่อง นอกจากนี้ สมควรกำหนดให้นายเรือของเรือที่ชักธงไทยที่จะนำเรือเข้าไปในเขตท่าหรือน่านน้ำตามที่กำหนดซึ่งบังคับให้เป็นเขตที่ต้องเดินเรือโดยมีผู้นำร่องสามารถขอรับใบอนุญาตเป็นผู้นำร่องพิเศษเพื่อทำการนำร่องภายในเขตท่าหรือน่านน้ำนั้นๆ ได้ อันจะเป็นการสนับสนุนกิจการพาณิชย์นาวีของประเทศให้ขยายตัวมากขึ้น จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2034/2544

จำเลยกระทำผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งผู้ว่าราชการจังหวัดที่มีคำสั่งให้ระงับการเลี้ยงกุ้งกุลาดำในพื้นที่กำหนดโดยเด็ดขาดและก่อให้เกิดอันตรายหรือความเสียหายจากภาวะมลพิษแต่ชุดเกียร์ปั่นน้ำชุดแกนเหล็กติดใบพัดใช้ตีน้ำทุ่นรองแกนเหล็กล้วนเป็นเครื่องมือที่ใช้ประกอบอาชีพเลี้ยงปลาเลี้ยงกุ้ง เป็นเครื่องมือประกอบอาชีพทั่วไป มิใช่เครื่องมือที่มีไว้จะเป็นความผิดในตัวโดยตรงซึ่งตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ. 2535 ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการริบทรัพย์ไว้โดยเฉพาะจึงต้องอาศัยบทบัญญัติการริบทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 ซึ่งเป็นดุลพินิจของศาลที่จะริบหรือไม่ก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4707/2550

คำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรีเป็นคำสั่งที่ออกตามคำสั่งที่ได้รับมอบอำนาจจากนายรัฐมนตรีตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 2/2541 ทั้งสองคำสั่งมีใจความสำคัญสอดคล้องต้องกันว่า การเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบความเค็มต่ำในพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการเกษตรกรรม เป็นอู่ข้าวอู่น้ำของประเทศ เป็นเหตุให้เกิดภาวะมลพิษทั้งทางน้ำและในดิน…ฯลฯ เกิดภาวะขาดความสมดุลตามธรรมชาติผลตอบแทนที่ได้รับจากการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบความเค็มต่ำในพื้นที่น้ำจืดไม่คุ้มกับความเสียหายต่อทรัพยากร จึงให้ระงับการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบความเค็มต่ำในพื้นที่น้ำจืด และผู้ว่าราชการจังหวัดมีคำสั่งให้ระงับการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบความเค็มต่ำในพื้นที่น้ำจืดในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี ตามคำสั่งดังกล่าวแม้ไม่ได้ให้คำนิยามหรือให้ความหมายว่าการเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบความเค็มต่ำ คือ ความเค็มอัตราส่วนเท่าใด แต่ตามข้อเท็จจริงย่อมเป็นที่เข้าใจอยู่แล้วว่า คือ การเลี้ยงกุ้งกุลาดำในน้ำซึ่งนำน้ำทะเลพอประมาณมาเติมผสมลงในน้ำจืดโดยกุ้งกุลาดำมีชีวิตและเจริญเติบโตได้ ซึ่งจำเลยก็เข้าใจความหมายดังกล่าวดี จึงนำสืบต่อสู้ไว้ตรงประเด็นว่า ช่วงวันเวลาเกิดเหตุตามคำฟ้องจำเลยไม่ได้นำน้ำทะเลมาเติมผสมลงในน้ำในบ่อที่ใช้เลี้ยงกุ้งกุลาดำของจำเลยแต่อย่างใด คำสั่งของนายกรัฐมนตรีและคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรีดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2139/2552

ในการสร้างบ้านพักอาศัยพร้อมสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ รวมทั้งถนนลูกรังและเขื่อนหินเรียงกันดินบริเวณหน้าบ้านพักอาศัยของโจทก์นั้น ได้รับความยินยอมและอยู่ในความรู้เห็นของเจ้าของที่ดิน จึงถือได้ว่าถนนลูกรังและเขื่อนหินเรียงกันดินบริเวณหน้าบ้านพักอาศัย เข้าข้อยกเว้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 146 ที่จะไม่เป็นส่วนควบของที่ดิน การที่จำเลยยกข้อกฎหมายขึ้นอ้างว่าถนนลูกรังและเขื่อนหินเรียงเป็นส่วนควบของที่ดิน เพื่อปฏิเสธไม่จ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ ทั้งๆ ที่โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง แต่กลับไม่อาจใช้ประโยชน์ได้ต่อไปเนื่องจากต้องรื้อถอนบ้านพักขนย้ายครอบครัวออกไป เพราะถูกแนวเดินสายส่งไฟฟ้าของจำเลยพาดผ่านจึงไม่ชอบด้วยเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยฯ มาตรา 30 ที่มุ่งหมายจะให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยต้องพิจารณาจ่ายค่าทดแทนให้แก่เจ้าของทรัพย์สินที่ถูกแนวเขตเดินสายส่งไฟฟ้าพาดผ่านอย่างเป็นธรรม

พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยฯ มาตรา 30 ทวิ วรรคสาม ที่บัญญัติว่า “…ให้เจ้าของหรือผู้มีสิทธิครอบครองทรัพย์สินหรือผู้ทรงสิทธิอื่นใดได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้นับแต่วันที่ต้องมีการจ่าย วางหรือฝากเงินค่าทดแทนนั้น” คำว่า “…ทั้งนี้นับแต่วันที่ต้องมีการจ่าย วางหรือฝากเงินค่าทดแทน หาใช่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ต้องจ่ายเพิ่มไม่ เมื่อโจทก์ไม่ยอมรับเงินค่าทดแทนจากจำเลย จำเลยได้นำเงินดังกล่าวไปฝากไว้ที่ธนาคารออมสิน โจทก์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในจำนวนเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้น นับตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม 2542 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยนำเงินค่าทดแทนไปฝากธนาคารเป็นต้นไป ไม่ใช่นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5728/2533

การวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติ กระทำเพื่อประโยชน์แก่การอันเป็นสาธารณูปโภคและเพื่อประโยชน์สาธารณะของรัฐ การสร้างท่าเรือน้ำลึกก็เป็นประโยชน์ต่อประชาชนทั่วไปและประเทศชาติ ถือได้ว่ากระทำไปเพื่อประโยชน์สาธารณะของรัฐ จำเลยที่ 2 ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีจึงมีอำนาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงเนื้อที่ในเขตประทานบัตรของโจทก์ทั้งสองได้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหาย

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง