คลังหมวดหมู่ : ‘กฎหมายลูก’

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2594/2524

จำเลยทั้งสองถูกฟ้องว่ากระทำการปิดกั้นและทดน้ำในลำน้ำอันเป็นการทำให้เสื่อมประโยชน์แก่ทางน้ำสาธารณะ จำเลยทั้งสอง ให้การและนำสืบทำนองเดียวกันว่าได้กระทำด้วยความจำเป็นเพื่อให้จำเลยและคนงานมีน้ำกินน้ำใช้ เช่นนี้ การที่จำเลยที่ 1 ฎีกาข้อกฎหมายอ้างว่ากระทำไปด้วยความจำเป็น. โดยยกข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวว่าเพื่อนำน้ำเข้าใช้ในกิจการเหมืองแร่ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ปรากฏในสำนวนและมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแต่ในศาลชั้นต้น ฎีกาข้อกฎหมายของจำเลยที่ 1 จึงต้องห้ามตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2736/2527

ศ. มีชื่อเป็นผู้ถือประทานบัตรการที่โจทก์เข้า ทำเหมืองในเขตเหมืองแร่ตามประทานบัตรก็โดยอาศัยสิทธิของ ศ. โจทก์ไม่ได้เป็นผู้รับช่วงการทำเหมืองหรือได้รับโอน ประทานบัตรจาก ศ. ตามมาตรา 77,78 แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 สิทธิการทำเหมืองตามประทานบัตรยังเป็น ของ ศ. การที่จำเลยที่ 1 สั่งเพิกถอนประทานบัตร ดังกล่าว หาเป็นการโต้แย้งสิทธิการทำเหมืองของโจทก์ไม่โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง การที่โจทก์ทำเหมืองผิดจากที่ได้รับอนุญาตตามประทานบัตรปล่อยทำนบเก็บกักน้ำขุ่นข้นดินทรายที่ชิดทางน้ำพังอัน เป็นการกระทำฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแร่ซึ่งจะเป็นเหตุให้รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งเพิกถอนประทานบัตรตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 มาตรา 138 นั้น อำนาจของรัฐมนตรีตามกฎหมายดังกล่าวแตกต่างจากอำนาจของรัฐมนตรีในการสั่งเพิกถอนประทานบัตรที่กำหนดไว้ในมาตรา 85,86 ซึ่งบัญญัติ ไว้ในหมวดทำเหมือง แต่มาตรา 138 บัญญัติไว้ในหมวดกำหนดโทษซึ่งเป็นที่เห็นได้ว่ารัฐมนตรีจะมีอำนาจสั่งเพิกถอน ประทานบัตรตามมาตรา 138 เพราะเหตุที่ผู้ถือประทานบัตรกระทำผิดพระราชบัญญัติแร่ได้ต่อเมื่อ ผู้ถือประทานบัตรได้รับโทษทางอาญาตามที่กฎหมายกำหนดไว้เสียก่อน เมื่อไม่ปรากฏว่าข้อเท็จจริงที่โจทก์กระทำอันมีลักษณะเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 ได้มีการดำเนินคดีให้ มีการลงโทษโจทก์ตามพระราชบัญญัติแร่ มาตรา 138 รัฐมนตรี จึงไม่มีอำนาจสั่งเพิกถอนประทานบัตรของโจทก์ การที่ จำเลยที่ 1 สั่งเพิกถอนประทานบัตรที่ออกให้โจทก์จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่อาจทำเหมือง ได้ ต่อไปจนสิ้นกำหนดตามประทานบัตร โจทก์ ย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายจากการทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2736/2527

ศ. มีชื่อเป็นผู้ถือประทานบัตรการที่โจทก์เข้า ทำเหมืองในเขตเหมืองแร่ตามประทานบัตรก็โดยอาศัยสิทธิของ ศ. โจทก์ไม่ได้เป็นผู้รับช่วงการทำเหมืองหรือได้รับโอน ประทานบัตรจาก ศ. ตามมาตรา 77,78 แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 สิทธิการทำเหมืองตามประทานบัตรยังเป็น ของ ศ. การที่จำเลยที่ 1 สั่งเพิกถอนประทานบัตร ดังกล่าว หาเป็นการโต้แย้งสิทธิการทำเหมืองของโจทก์ไม่โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง การที่โจทก์ทำเหมืองผิดจากที่ได้รับอนุญาตตามประทานบัตรปล่อยทำนบเก็บกักน้ำขุ่นข้นดินทรายที่ชิดทางน้ำพังอัน เป็นการกระทำฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแร่ซึ่งจะเป็นเหตุให้รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งเพิกถอนประทานบัตรตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 มาตรา 138 นั้น อำนาจของรัฐมนตรีตามกฎหมายดังกล่าวแตกต่างจากอำนาจของรัฐมนตรีในการสั่งเพิกถอนประทานบัตรที่กำหนดไว้ในมาตรา 85,86 ซึ่งบัญญัติ ไว้ในหมวดทำเหมือง แต่มาตรา 138 บัญญัติไว้ในหมวดกำหนดโทษซึ่งเป็นที่เห็นได้ว่ารัฐมนตรีจะมีอำนาจสั่งเพิกถอน ประทานบัตรตามมาตรา 138 เพราะเหตุที่ผู้ถือประทานบัตรกระทำผิดพระราชบัญญัติแร่ได้ต่อเมื่อ ผู้ถือประทานบัตรได้รับโทษทางอาญาตามที่กฎหมายกำหนดไว้เสียก่อน เมื่อไม่ปรากฏว่าข้อเท็จจริงที่โจทก์กระทำอันมีลักษณะเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 ได้มีการดำเนินคดีให้ มีการลงโทษโจทก์ตามพระราชบัญญัติแร่ มาตรา 138 รัฐมนตรี จึงไม่มีอำนาจสั่งเพิกถอนประทานบัตรของโจทก์ การที่ จำเลยที่ 1 สั่งเพิกถอนประทานบัตรที่ออกให้โจทก์จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่อาจทำเหมือง ได้ ต่อไปจนสิ้นกำหนดตามประทานบัตร โจทก์ ย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายจากการทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ได้

คำวินิจฉัยที่ 18/2554

ศาลจังหวัดสมุทรสาครโดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5768/2530

โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยปลูกสร้างบ้านพักอาศัยรุกล้ำที่ดินราชพัสดุเขตชานคลองชลประทานโดยละเมิดกฎหมายและคำขอท้ายฟ้องได้ระบุอ้างพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พุทธศักราช2485 มาตรา 23 วรรค 1 ซึ่งเป็นบทความผิดและมาตรา 37 ซึ่งเป็นบทกำหนดโทษกับอ้างพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2507 มาตรา 17 ซึ่งให้ยกเลิกความในมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พุทธศักราช 2485 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2497 ทั้งได้ขอให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำนั้นด้วย เพียงแต่โจทก์มิได้อ้างพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2507 มาตรา 12 ซึ่งให้ยกเลิกความในมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติการชลประทานหลวงพุทธศักราช 2485 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2497 ทั้งมิได้อ้างพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2518 มาตรา 7 ซึ่งให้ยกเลิกความในมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พุทธศักราช 2485 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2507 แล้วบัญญัติความใหม่ขึ้นแทนเท่านั้น ตามความที่บัญญัติขึ้นใหม่ ยังคงเรียกว่ามาตรา 23 และมาตรา 37 อยู่นั่นเองการที่จำเลยกระทำความผิดหลังจากใช้กฎหมายซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมใหม่แล้ว แต่โจทก์มิได้ระบุอ้างพระราชบัญญัติที่แก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว จึงมิทำให้ฟ้องโจทก์ขาดความสมบูรณ์

เมื่อฟังว่าจำเลยกระทำการฝ่าฝืนมาตรา 23 วรรค 1 แห่งพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พุทธศักราช 2485 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2507 มาตรา 12 และมีบทกำหนดโทษตามพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พุทธศักราช 2485 มาตรา37 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง (ฉบับที่ 4)พ.ศ.2518 มาตรา 7 ศาลก็ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2518 มาตรา 7 ได้ และให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำนั้นได้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1071/2520

เจ้าหน้าที่ขุดคลองส่งน้ำผ่านที่ดินของจำเลยในเขตโครงการชลประทานโดยราษฎรและจำเลยยินยอมโดยปริยาย จำเลยจะปิดกั้นไม่ได้ เป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติชลประทานหลวง พ.ศ. 2485 มาตรา 20,36 ตรี ฉบับที่ 3 พ.ศ.2507 มาตรา 16

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7775/2540

ความผิดฐานทำไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต และฐานก่นสร้างแผ้วถางป่า ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 11,73 วรรคสอง และมาตรา 54,72 ตรี เมื่อเป็นการกระทำความผิดในคราวเดียวกัน จึงเป็นความผิดกรรมเดียว ผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามมาตรา 11,73 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทที่มี โทษหนักที่สุดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาในปัญหานี้แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสีย ให้ถูกต้อง

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง