คลังคำสำคัญ ‘พระราชกฤษฎีกา’

พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลนายาง ตำบลนาอิน อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ และตำบลดงประคำ อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก ให้เป็นขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2552

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลนายาง ตำบลนาอิน อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ และตำบลดงประคำ อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก และโดยที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่านาอิน – นายาง ในส่วนที่มีสภาพเป็นป่าเสื่อมโทรมแล้ว สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลสว่าง และตำบลแก่งโดม อำเภอสว่างวีระวงค์ จังหวัดอุบลราชธานี ให้เป็นขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2552

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลสว่าง และตำบลแก่งโดม อำเภอสว่างวีระวงศ์ จังหวัดอุบลราชธานี มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเองหรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก และโดยที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าโนนฮังรังแร้ง ในส่วนที่มีสภาพเป็นป่าเสื่อมโทรมแล้ว สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในท้องที่ตำบลแม่สอย และตำบลบ้านแปะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2552

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลแม่สอย และตำบลบ้านแปะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมากและโดยที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าจอมทองในส่วนที่มีสภาพเป็นป่าเสื่อมโทรมแล้ว สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในท้องที่ตำบลหนองบ่อ อำเภอเมืองอุบลราชธานี และตำบลชีทวน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2552

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลหนองบ่อ อำเภอเมืองอุบลราชธานี และตำบลชีทวน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก และโดยที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงผักขา ในส่วนที่มีสภาพเป็นป่าเสื่อมโทรมแล้ว สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบ้านนา ตำบลสุโสะ อำเภอปะเหลียน และตำบลบ้าหวี ตำบลหาดสำราญ อำเภอหาดสำราญ จังหวัดตรัง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2552

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลบ้านนา ตำบลสุโสะ อำเภอปะเหลียน และตำบลบ้าหวี ตำบลหาดสำราญ อำเภอหาดสำราญ จังหวัดตรัง มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก สมควรกำหนดเขตที่ดินที่ได้จำแนกออกจากเขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี ป่าเลนคลองปรน – คลองควนยาง – คลองหินคอกควาย ป่าพรุชีล้อม ป่าแก่คอกช้าง และป่าควนล้วนในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่บางแห่งในอำเภอเสนา อำเภออุทัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอภาชี อำเภอบางบาล อำเภอวังน้อย อำเภอบางไทร อำเภอบางซ้าย อำเภอบางปะอิน อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และอำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2552

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๑๘ พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอบางไทร และอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๑๙ พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่อำเภอเสนา อำเภออุทัย และอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๒๐ และพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๒๑ ได้กำหนดเขตปฏิรูปที่ดิน ในท้องที่อำเภอลาดบัวหลวง อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอบางไทร อำเภอวังน้อย อำเภอเสนา อำเภออุทัย อำเภอบางปะอิน และอำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยถือเขตอำเภอดังกล่าวเป็นหลัก ซึ่งทำให้เขตปฏิรูปที่ดินที่กำหนดตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวครอบคลุมพื้นที่ที่ไม่มีโครงการเพื่อดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมด้วยต่อมาเมื่อมาตรา ๒๕ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๒ กำหนดให้การกำหนดเขตปฏิรูปที่ดิน ให้กำหนดเฉพาะที่ดินที่จะดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เว้นแต่ในกรณีที่จำเป็นจะถือเขตของตำบลหรืออำเภอเป็นหลักแล้ว สมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว เพื่อกำหนดเขตปฏิรูปที่ดินเฉพาะที่ดินที่มีการดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเท่านั้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2554

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก และโดยที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่ทรายคำ ในส่วนที่มีสภาพเป็นป่าเสื่อมโทรมแล้ว สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

พระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ. 2497

หมายเหตุ:-เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้คือเนื่องจากไม้บางชนิดมีคุณภาพดี

บางชนิดมีราคาสูง และบางชนิดก็หายากซึ่งมีบุคคลนิยมทำออกมาเพื่อการค้า หรือประกอบการ

อุตสาหกรรมเป็นปริมาณมาก และการทำไม้ดังกล่าวนี้ได้กระทำไปโดยมุ่งหวังที่จะได้ไม้เป็นปริมาณ

มากแต่ฝ่ายเดียว หาได้คำนึงถึงความเสียหายของพรรณไม้แต่อย่างใดไม่ เช่น ตัดฟันไม้ทุกชนิด

และทุกขนาดอันขัดต่อหลักวิชาการ ทั้งนี้เพื่อความสะดวกหรือมุ่งหวังที่จะได้ไม้ออกมาเป็นสินค้า

เป็นปริมาณมากจนเกินกำลังแห่งการยังผล อันเป็นไปตามธรรมชาติแห่งป่าไม้ เป็นเหตุให้ไม้

ชนิดดีมีค่า หรือหายากเป็นอันตรายหรือเสื่อมสลายพันธุ์ไป จึงจำเป็นและสมควรที่จะกำหนดไม้

หวงห้ามในท้องที่บางจังหวัดเสียใหม่ เพื่อประโยชน์ในการควบคุมบำรุงรักษาป่าไม้อันเป็นสาธารณ

สมบัติของแผ่นดินสืบไป

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง