คลังคำสำคัญ ‘พระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พ.ศ. 2485’

กฎกระทรวง ฉบับที่ ๗๕ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พุทธศักราช ๒๔๘๕

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดให้ทางน้ำชลประทานคลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งซ้าย จากท่อระบายปากคลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งซ้าย ในท้องที่ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล ถึงปลายคลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งซ้าย กิโลเมตรที่ ๑๘.๗๕๐ ในท้องที่ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล ทางน้ำชลประทานคลองซอย ๑ ขวาของคลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งซ้าย จากท่อระบายปากคลองซอย ๑ ขวา ในท้องที่ตำบลบ้านควน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล ถึงท่อระบายปลายคลองซอย ๑ ขวา กิโลเมตรที่ ๒.๘๓๔ ในท้องที่ตำบลบ้านควน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล และทางน้ำชลประทานคลองซอย ๒ ขวาของคลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งซ้าย จากท่อระบายปากคลองซอย ๒ ขวา ในท้องที่ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล ถึงปลายคลองซอย ๒ ขวา กิโลเมตรที่ ๖.๐๐๐ ในท้องที่ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล เป็นทางน้ำชลประทานที่จะเรียกเก็บค่าชลประทาน เพื่อให้เกิดประโยชน์จากการใช้น้ำอย่างเต็มที่ และเนื่องจากมาตรา ๘ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการชลประทานหลวงพุทธศักราช ๒๔๘๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๑๘ บัญญัติให้ทางน้ำชลประทานที่จะเรียกเก็บค่าชลประทานต้องกำหนดโดยกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

กฎกระทรวง ฉบับที่ ๗๖ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พุทธศักราช ๒๔๘๕[

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดให้ทางน้ำชลประทานอ่างเก็บน้ำกิ่วลม ในท้องที่ตำบลเมืองมาย ตำบลบ้านสา อำเภอแจ้ห่ม และตำบลบ้านแลง ตำบลบุญนาคพัฒนา อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง เป็นทางน้ำชลประทานที่จะเรียกเก็บค่าชลประทาน เพื่อให้เกิดประโยชน์จากการใช้น้ำอย่างเต็มที่ และเนื่องจากมาตรา ๘ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พุทธศักราช ๒๔๘๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๑๘ บัญญัติให้ทางน้ำชลประทานที่จะเรียกเก็บค่าชลประทานต้องกำหนดโดยกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

พระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พุทธศักราช ๒๔๘๕

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พุทธศักราช ๒๔๘๕ ซึ่งประกาศใช้อยู่ในขณะนี้ ยังมีข้อความขาดตกบกพร่องอยู่หลายประการไม่เหมาะสมแก่การดำเนินงาน และการควบคุมการชลประทานหลวง ซึ่งในปัจจุบันนี้ได้ขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง จึงเห็นสมควรแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อให้เป็นการเหมาะสมแก่กาลสมัยยิ่งขึ้น

พระราชบัญญัติการชลประทานหลวง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๐๗

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบันนี้ กิจการชลประทานได้ขยายตัวกว้างขวางขึ้น เพื่อให้ได้ผลตามแผนพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ แต่ปรากฏว่า บทบัญญัติบางมาตราแห่งกฎหมายว่าด้วยการชลประทานหลวงฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบันไม่เหมาะสมแก่การดำเนินงานก่อสร้าง การบำรุงรักษา และการควบคุม ตลอดจนอัตราโทษ อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่มีน้อยไม่พอเพียงที่จะใช้ในการระงับปราบปรามผู้กระทำผิดให้ได้ผลอย่างแท้จริง จึงจำเป็นต้องแก้ไขเพื่อให้เหมาะสมแก่กาลสมัย

พระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พุทธศักราช ๒๔๘๕

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบันนี้ กิจการชลประทานได้ขยายตัวกว้างขวางขึ้น เพื่อให้ได้ผลตามแผนพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ แต่ปรากฏว่า บทบัญญัติบางมาตราแห่งกฎหมายว่าด้วยการชลประทานหลวงฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบันไม่เหมาะสมแก่การดำเนินงานก่อสร้าง การบำรุงรักษา และการควบคุม ตลอดจนอัตราโทษ อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่มีน้อยไม่พอเพียงที่จะใช้ในการระงับปราบปรามผู้กระทำผิดให้ได้ผลอย่างแท้จริง จึงจำเป็นต้องแก้ไขเพื่อให้เหมาะสมแก่กาลสมัย

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง