คลังคำสำคัญ ‘พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504’

พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าภูแลนคาด้านทิศเหนือ และป่าภูแลนคาด้านทิศใต้ ในท้องที่ตำบลบ้านหัน ตำบลสระโพนทอง ตำบลโนนกอก ตำบลซับสีทอง ตำบลบ้านเดื่อ อำเภอเกษตรสมบูรณ์ ตำบลกุดชุมแสง ตำบลคูเมือง อำเภอหนองบัวแดง ตำบลท่ามะไฟหวาน อำเภอแก้งคร้อ ตำบลห้วยต้อน อำเภอเมืองชัยภูมิ และตำบลภูแลนคา อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2550

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากบริเวณที่ดินป่าภูแลนคาด้านทิศเหนือและป่าภูแลนคาด้านทิศใต้ ในท้องที่ตำบลบ้านหัน ตำบลสระโพนทอง ตำบลโนนกอก ตำบลซับสีทอง ตำบลบ้านเดื่อ อำเภอเกษตรสมบูรณ์ ตำบลกุดชุมแสง ตำบลคูเมือง อำเภอหนองบัวแดง ตำบลท่ามะไฟหวาน อำเภอแก้งคร้อ ตำบลห้วยต้อน อำเภอเมืองชัยภูมิ และตำบลภูแลนคา อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ เนื้อที่ประมาณ ๒๐๐.๕ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๑๒๕,๓๑๒.๕ ไร่ ประกอบด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญและมีค่า เช่น พันธุ์ไม้ ของป่า สัตว์ป่านานาชนิด ตลอดจนทิวทัศน์ ป่า หน้าผา น้ำตก ภูเขา ถ้ำ และลำธารที่สวยงามยิ่ง สมควรกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ เพื่อสงวนไว้ให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิม มิให้ถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลงไป เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาและรื่นรมย์ของประชาชน และเพื่ออำนวยประโยชน์อื่นแก่รัฐและประชาชน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าน้ำปาด และป่าภูสอยดาว ในท้องที่ตำบลม่วงเจ็ดต้น ตำบลบ้านโคก ตำบลนาขุม อำเภอบ้านโคก ตำบลห้วยมุ่น อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ และตำบลบ่อภาค อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2551

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากบริเวณที่ดินป่าน้ำปาด และป่าภูสอยดาว ในท้องที่ตำบลม่วงเจ็ดต้น ตำบลบ้านโคก ตำบลนาขุม อำเภอบ้านโคก ตำบลห้วยมุ่น อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ และตำบลบ่อภาค อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก เนื้อที่ประมาณ ๓๔๐.๒๑๒๘ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๒๑๒,๖๓๓ ไร่ ประกอบด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญและมีค่าเช่น พันธุ์ไม้ ของป่า สัตว์ป่านานาชนิด ตลอดจนทิวทัศน์ที่สวยงามยิ่ง สมควรกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ เพื่อสงวนไว้ให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิมมิให้ถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลงไป เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาและรื่นรมย์ของประชาชน และเพื่ออำนวยประโยชน์อื่นแก่รัฐและประชาชน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าเขาใหญ่ ในท้องที่ตำบลช้างให้ตก ตำบลทรายขาว ตำบลนาประดู่ ตำบลทุ่งพลา ตำบลปากล่อ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ตำบลลำพะยา อำเภอเมืองยะลา ตำบลตาชี อำเภอยะหา จังหวัดยะลา และป่าเทือกเขาสันกาลาคีรี ในท้องที่ตำบลบ้านโหนด ตำบลเปียน ตำบลธารคีรี อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2551

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากบริเวณที่ดินป่าเขาใหญ่ ในท้องที่ตำบลช้างให้ตก ตำบลทรายขาว ตำบลนาประดู่ ตำบลทุ่งพลา ตำบลปากล่อ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ตำบลลำพะยา อำเภอเมืองยะลา ตำบลตาชี อำเภอยะหา จังหวัดยะลา และป่าเทือกเขาสันกาลาคีรี ในท้องที่ตำบลบ้านโหนด ตำบลเปียน ตำบลธารคีรี อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา เนื้อที่ประมาณ ๖๙.๕๗๑๒ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๔๓,๔๘๒ ไร่ ประกอบด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญและมีค่า เช่น พันธุ์ไม้ ของป่า สัตว์ป่านานาชนิด ตลอดจนทิวทัศน์ ป่า ภูเขา และน้ำตกที่สวยงามยิ่ง สมควรกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ เพื่อสงวนไว้ให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิม มิให้ถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลงไป เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาและรื่นรมย์ของประชาชนและเพื่ออำนวยประโยชน์อื่นแก่รัฐและประชาชน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าดอยภูคา และป่าผาแดง ในท้องที่ตำบลดงพญา ตำบลบ่อเกลือใต้ และตำบลภูฟ้า อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2552

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากบริเวณที่ดินป่าดอยภูคาและป่าผาแดง ในท้องที่ตำบลดงพญา ตำบลบ่อเกลือใต้ และตำบลภูฟ้า อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน เนื้อที่ประมาณ ๒๔๖.๓๗๑๒ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๑๕๓,๙๘๒ ไร่ ประกอบด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญและมีค่า เช่น พันธุ์ไม้ ของป่า สัตว์ป่านานาชนิด ตลอดจนทิวทัศน์ที่สวยงามยิ่ง สมควรกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ เพื่อสงวนไว้ให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิมมิให้ถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลงไป เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาและรื่นรมย์ของประชาชนและเพื่ออำนวยประโยชน์อื่นแก่รัฐและประชาชน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

พระราชกฤษฎีกาเพิกถอนอุทยานแห่งชาติป่าดอยอินทนนท์ บางส่วน ในท้องที่ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง ตำบลสันติสุข ตำบลดอยหล่อ อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2552

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีความจำเป็นที่จะขอเข้าทำประโยชน์ และขอเพิกถอนอุทยานแห่งชาติป่าดอยอินทนนท์บางส่วน ในท้องที่ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง ตำบลสันติสุข ตำบลดอยหล่อ อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อที่ประมาณ ๓๑๕ ไร่ ๓ งาน ๘๐ ตารางวา เพื่อก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำแม่หอย เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บแหล่งน้ำใช้เพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตรกรรม รวมทั้งช่วยบรรเทาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในเขตพื้นที่อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ และคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้เข้าทำประโยชน์และให้เพิกถอนพื้นที่โครงการอ่างเก็บน้ำแม่หอยออกจากพื้นที่อุทยานแห่งชาติป่าดอยอินทนนท์แล้ว สมควรเพิกถอนพื้นที่ดังกล่าวออกจากการเป็นอุทยานแห่งชาติ และโดยที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อท้องที่การปกครองและเขตของอำเภอและตำบลในพื้นที่อุทยานแห่งชาติตามที่ระบุไว้ในพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าดอยอินทนนท์ ในท้องที่ตำบลแม่นาจร ตำบลช่างเคิ่ง ตำบลท่าผา อำเภอแม่แจ่ม ตำบลแม่วิน ตำบลทุ่งปี้ อำเภอสันป่าตอง และตำบลสองแคว ตำบลยางคราม ตำบลบ้านหลวง ตำบลสบเตี๊ยะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๒๑ หลังจากที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับแล้ว โดยได้มีการเปลี่ยนชื่อ “ตำบลสองแคว อำเภอจอมทอง” เป็น “ตำบลดอยหล่อ อำเภอจอมทอง” เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๔ แบ่งท้องที่ “อำเภอสันป่าตอง” ตั้งเป็น “กิ่งอำเภอแม่วาง อำเภอสันป่าตอง” เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๓ และตั้งเป็น “อำเภอแม่วาง” เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๘ และแบ่งท้องที่ “อำเภอจอมทอง” ตั้งเป็น “กิ่งอำเภอดอยหล่อ” เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๘ และตั้งเป็น “อำเภอดอยหล่อ” เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๐ สมควรแก้ไขชื่อและเขตท้องที่ให้ถูกต้องเสียในคราวเดียวกัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าจอมทอง ป่าแม่ขาน และป่าแม่วาง ในท้องที่ตำบลสันติสุข ตำบลยางคราม ตำบลดอยหล่อ อำเภอดอยหล่อ ตำบลบ้านหลวง ตำบลข่วงเปา อำเภอจอมทอง และตำบลทุ่งปี้ อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2552

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากบริเวณที่ดินป่าจอมทอง ป่าแม่ขาน และป่าแม่วาง ในท้องที่ตำบลสันติสุข ตำบลยางคราม ตำบลดอยหล่อ อำเภอดอยหล่อ ตำบลบ้านหลวง ตำบลข่วงเปา อำเภอจอมทอง และตำบลทุ่งปี้ อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อที่ประมาณ ๑๑๙.๖๒๕๖ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๗๔,๗๖๖ ไร่ ประกอบด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญและมีค่า เช่น พันธุ์ไม้ ของป่า สัตว์ป่านานาชนิด ตลอดจนทิวทัศน์ที่สวยงามยิ่ง สมควรกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ เพื่อสงวนไว้ให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิม มิให้ถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลงไป เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาและรื่นรมย์ของประชาชน และเพื่ออำนวยประโยชน์อื่นแก่รัฐและประชาชน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าเขาช้างเผือก และป่าห้วยเขยง ในท้องที่ตำบลหนองลู ตำบลปรังเผล อำเภอสังขละบุรี และตำบลปิล๊อก ตำบลท่าขนุน ตำบลห้วยเขย่ง ตำบลหินดาด ตำบลลิ่นถิ่น อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2552

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากบริเวณที่ดินป่าเขาช้างเผือกและป่าห้วยเขยง ในท้องที่ตำบลหนองลู ตำบลปรังเผล อำเภอสังขละบุรี และตำบลปิล๊อก ตำบลท่าขนุน ตำบลห้วยเขย่ง ตำบลหินดาด ตำบลลิ่นถิ่น อำ เภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี เนื้อที่ประมาณ ๑,๒๓๕.๕๔๓ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๗๗๒,๒๑๔.๒๗ ไร่ ประกอบด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญและมีค่า เช่น พันธุ์ไม้ ของป่า สัตว์ป่านานาชนิด ตลอดจนทิวทัศน์ที่สวยงามยิ่ง สมควรกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ เพื่อสงวนไว้ให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิมมิให้ถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลงไป เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาและรื่นรมย์ของประชาชน และเพื่ออำนวยประโยชน์อื่นแก่รัฐและประชาชน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าสามหมื่น ป่าแม่ระมาด และป่าแม่ละเมา ในท้องที่ตำบลสามหมื่น ตำบลขะเนจื้อ ตำบลพระธาตุ อำเภอแม่ระมาด และตำบลพะวอ ตำบลแม่กาษา ตำบลแม่ปะ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2552

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากบริเวณที่ดินป่าสามหมื่น ป่าแม่ระมาด และป่าแม่ละเมา ในท้องที่ตำบลสามหมื่น ตำบลขะเนจื้อ ตำบลพระธาตุ อำเภอแม่ระมาด และตำบลพะวอ ตำบลแม่กาษา ตำบลแม่ปะ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เนื้อที่ประมาณ ๓๙๖.๗๓๑๒ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๒๔๗,๙๕๗ ไร่ ประกอบด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญและมีค่า เช่น พันธุ์ไม้ ของป่าสัตว์ป่านานาชนิด ตลอดจนทิวทัศน์ที่สวยงามยิ่ง สมควรกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ เพื่อสงวนไว้ให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิมมิให้ถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลงไปเพื่อประโยชน์แก่การศึกษาและรื่นรมย์ของประชาชน และเพื่ออำนวยประโยชน์อื่นแก่รัฐและประชาชน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง