คลังคำสำคัญ ‘พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496’

พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้กำหนดหลักการในการจัดระเบียบการปกครองส่วนท้องถิ่นขึ้นใหม่เพื่อให้เป็นไปตามหลักแห่งการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น จึงสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในส่วนของวาระการดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาเทศบาล ข้อห้ามและการสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกสภาเทศบาล การพ้นจากตำแหน่งเทศมนตรีและคณะเทศมนตรี การยุบสภาเทศบาล รวมทั้งอำนาจหน้าที่ของเทศบาลให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองท่าข้าม พ.ศ. 2543

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากเทศบาลตำบลท่าข้าม

ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลท่าข้าม จังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ. ๒๕๒๙ มี

สภาพความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมเพิ่มขึ้น สมควรเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาล

เมืองท่าข้าม จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อเทศบาลตำบลเชิงดอย เป็นเทศบาลตำบลดอยสะเก็ด พ.ศ. 2545

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากเทศบาลตำบลเชิงดอย

มีแนวเขตคลุมพื้นที่ตำบลเชิงดอย ตำบลป่าป้อง และตำบลลวงเหนือ นอกจากนี้ยังซ้ำกับชื่อของ

องค์การบริหารส่วนตำบลเชิงดอย สมควรเปลี่ยนชื่อใหม่ให้เหมาะสม และเป็นไปตามเจตนารมณ์

ของประชาชนในท้องถิ่น จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

[รก.๒๕๔๕/๖๘ก/๑๓/๒๒ กรกฎาคม ๒๕๔๕]

พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อเทศบาลตำบลศรีถ้อย เป็นเทศบาลตำบลเจดีย์หลวง พ.ศ. ๒๕๔๕

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากทางราชการได้เปลี่ยน

แปลงเขตปกครองท้องที่ สมควรเปลี่ยนชื่อของเทศบาลตำบลเพื่อให้ตรงกับชื่อของตำบลตามความ

เป็นจริง เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนในการติดต่อกับทางราชการ และเป็นไปตามเจตนารมณ์ของ

ประชาชนในท้องถิ่น จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อเทศบาลตำบลอ่าวอุดม เป็นเทศบาลตำบลเจ้าพระยาสุรศักดิ์ พ.ศ. ๒๕๔๕

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากสมควรเปลี่ยนชื่อ

เทศบาลตำบลอ่าวอุดม ให้มีความเหมาะสม เพื่อเป็นการระลึกถึงคุณงามความดีของเจ้าพระยา

สุรศักดิ์มนตรี ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกและสร้างความเจริญให้กับอำเภอศรีราชา และเป็นไปตามเจตนารมณ์

ของประชาชนในท้องถิ่น จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตเทศบาลตำบลเวียงพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๕๔๕

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากองค์การบริหารส่วนตำบลเวียงมีประชากรไม่ถึงสองพันคนและไม่สามารถที่จะบริหารงานให้มีประสิทธิภาพในลักษณะองค์การบริหารส่วนตำบลได้ และประชาชนได้แสดงเจตนารมณ์ที่จะยุบรวมกับเทศบาลตำบลเวียงพร้าวที่มีเขตติดต่อกันภายในเขตอำเภอเดียวกัน และโดยที่มาตรา ๔๑ จัตวา แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๒ บัญญัติให้กระทำได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ประกอบกับมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๔๙๙ บัญญัติให้การเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลให้กระทำโดยพระราชกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

พระราชกฤษฎีกายุบรวมองค์การบริหารส่วนตำบลขุหลุกับเทศบาลตำบลตระการพืชผล และกำหนดเขตเทศบาลตำบลตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. ๒๕๔๕

พระราชกฤษฎีกา

ยุบรวมองค์การบริหารส่วนตำบลขุหลุกับเทศบาลตำบลตระการพืชผล

และกำหนดเขตเทศบาลตำบลตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี

พ.ศ.

พระราชกฤษฎีกายุบรวมองค์การบริหารส่วนตำบลวังกะพี้กับเทศบาลตำบลวังกะพี้ และกำหนดเขตเทศบาลตำบลวังกะพี้ จังหวัดอุตรดิตถ์ พ.ศ. ๒๕๔๕

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากองค์การบริหารส่วนตำบลวังกะพี้มีประชากรไม่ถึงสองพันคนและไม่สามารถที่จะบริหารงานให้มีประสิทธิภาพในลักษณะองค์การบริหารส่วนตำบลได้ และประชาชนได้แสดงเจตนารมณ์ที่จะยุบรวมกับเทศบาลตำบลวังกะพี้ที่มีเขตติดต่อกันภายในเขตอำเภอเดียวกัน และโดยที่มาตรา ๔๑ จัตวา แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๒ บัญญัติให้กระทำได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ประกอบกับมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๔๙๙ บัญญัติให้การเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลกระทำโดยพระราชกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

พระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๔๓

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยกำหนดให้คณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนหรือมาจากความเห็นชอบของสภาท้องถิ่น และการเลือกตั้งคณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนให้ใช้วิธีออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ สมควรปรับปรุงรูปแบบการบริหารเทศบาลจากที่เป็นอยู่ในปัจจุบันที่ให้นายกเทศมนตรีมาจากการเลือกกันเองของสมาชิกสภาเทศบาล เป็นให้นายกเทศมนตรีมาจากการเลือกตั้งของราษฎรในเขตเทศบาล เพื่อให้ราษฎรได้มีส่วนร่วมในการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของราษฎรในท้องถิ่นโดยตรง นอกจากนี้ สมควรปรับปรุงการปฏิบัติงานของสภาเทศบาลให้เหมาะสมและสอดคล้องกันด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง