คลังคำสำคัญ ‘พระราชบัญญัติการประปานครหลวง พ.ศ.2510’

พระราชบัญญัติการประปานครหลวง พ.ศ. 2510

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่การประปาในเขตจังหวัดพระนคร จังหวัดธนบุรี จังหวัดนนทบุรีและจังหวัดสมุทรปราการในปัจจุบันได้แยกดำเนินการเป็นสี่แห่ง ทำให้เป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายและบริการการประปาไม่ดีพอ ฉะนั้นเพื่อเป็นการประหยัดและให้มีบริการการประปาที่ดียิ่งขึ้น จึงสมควรที่จะปรับปรุงการประปาในเขตจังหวัดดังกล่าวเสียใหม่โดยรวมการดำเนินการการประปาทั้งสี่แห่งนี้ เป็นการประปานครหลวง

พระราชบัญญัติการประปานครหลวง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากการประปานครหลวงยังมีโครงการปรับปรุงและขยายกิจการประปาอยู่อีกหลายโครงการที่จะต้องดำเนินการ สมควรให้อำนาจแก่การประปานครหลวงออกพันธบัตรหรือตราสารอื่นใดเพื่อการลงทุน สำหรับจัดหาทุนมาใช้ดำเนินการตามโครงการปรับปรุงและขยายกิจการประปาดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น

พระราชบัญญัติการประปานครหลวง พ.ศ. 2510 (ฉบับ Update ณ วันที่ 20/04/2522)

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากการประปานครหลวงยังมีโครงการปรับปรุงและขยายกิจการประปาอยู่อีกหลายโครงการที่จะต้องดำเนินการ สมควรให้อำนาจแก่การประปานครหลวงออกพันธบัตรหรือตราสารอื่นใดเพื่อการลงทุน สำหรับจัดหาทุนมาใช้ดำเนินการตามโครงการปรับปรุงและขยายกิจการประปาดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น

พระราชบัญญัติการประปานครหลวง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติการประปานครหลวง พ.ศ. ๒๕๑๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการประปานครหลวง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๖ มีบทบัญญัติบางประการที่ไม่เหมาะสมแก่การปฏิบัติงานของการประปานครหลวง และในปัจจุบันเอกชนในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ ได้ดำเนินการสร้างระบบการผลิต จัดส่ง และจำหน่ายน้ำประปาหรือขยายระบบดังกล่าวที่มีอยู่โดยไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่สมควร ซึ่งอาจเป็นผลเสียหายแก่ประชาชนผู้ใช้น้ำประปานั้นได้ สมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติดังกล่าวให้การประปานครหลวงสามารถปฏิบัติงานได้โดยคล่องตัวในฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ และให้การประปานครหลวงสามารถควบคุมมาตรฐานเกี่ยวกับการผลิต จัดส่ง และจำหน่ายน้ำประปาของเอกชนในเขตท้องที่ดังกล่าวได้ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น

พระราชบัญญัติการประปานครหลวง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2530

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติการประปานครหลวง พ.ศ. ๒๕๑๐ มีบทบัญญัติให้มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย และให้นำกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่เนื่องจากกฎหมายดังกล่าวได้ยกเลิกบทบัญญัติว่าด้วยอนุญาโตตุลาการไปแล้ว สมควรแก้ไขพระราชบัญญัติการประปานครหลวง พ.ศ. ๒๕๑๐ ให้สอดคล้องกันด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชบัญญัติการประปานครหลวง พ.ศ. 2510 (ฉบับ Update ณ วันที่ 19/08/2530)

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติการประปานครหลวง พ.ศ. ๒๕๑๐ มีบทบัญญัติให้มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย และให้นำกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่เนื่องจากกฎหมายดังกล่าวได้ยกเลิกบทบัญญัติว่าด้วยอนุญาโตตุลาการไปแล้ว สมควรแก้ไขพระราชบัญญัติการประปานครหลวง พ.ศ. ๒๕๑๐ ให้สอดคล้องกันด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชบัญญัติการประปานครหลวง (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2535

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติการประปานครหลวง พ.ศ. ๒๕๑๐ ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน บทบัญญัติต่างๆ ไม่เหมาะสมกับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการปรับปรุงและขยายกิจการที่เกี่ยวเนื่องกับหรือเป็นประโยชน์แก่การประปา เพื่อให้การประปานครหลวงสามารถบริการประชาชนได้อย่างกว้างขวางและดำเนินการเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่ประชาชนได้มากยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

ระเบียบการประปานครหลวง ฉบับที่ 222 ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนลูกหนี้ค่าน้ำประปารายตัว พ.ศ. 2538

หมายเหตุ :- ด้วยคณะกรรมการและคณะทำงานศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำระบบงานคอมพิวเตอร์ ระบบงาน CIS. (CUSTOMER INFORMATION SYSTEM) ซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามคำสั่ง กปน. ที่ ๔๑๓/๒๕๓๑ สั่ง ณ วันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๓๑ และแก้ไขเพิ่มเติม ฯลฯ ได้เห็นสมควรยกเลิกการปฏิบัติงานตามคู่มือรายได้ ระเบียบการจัดเก็บรายได้ บทที่ ๔ ตอนที่ ๑ การแก้ไขบัญชีลูกหนี้รายตัว โดยได้กำหนดหลักเกณฑ์ขึ้นใหม่ และจัดทำเป็นระเบียบการประปานครหลวง ว่าด้วย การจัดทำทะเบียนลูกหนี้ค่าน้ำประปารายตัวฉบับดังกล่าวนี้ เพื่อให้สำนักงานประปาสาขาหรือหน่วยงานที่ปฏิบัติงานลักษณะเดียวกับสำนักงานประปาสาขาใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานต่อไป

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง