คลังคำสำคัญ ‘พระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520’

กฎกระทรวง ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราค่าธรรมเนียมและอัตราค่าวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำหรือของเหลวที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๒๑) ออกตามความในพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. ๒๕๒๐ ไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบันและค่าของเงินตราที่เปลี่ยนแปลงไป ประกอบกับมาตรา ๔ และมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติน้ำบาดาล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้ปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมใหม่ รวมทั้งได้กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการโอนใบอนุญาตขึ้นใหม่อีกประเภทหนึ่ง สมควรแก้ไขอัตราค่าธรรมเนียมและอัตราค่าวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำหรือของเหลวให้เหมาะสมกับสภาพการณ์และค่าของเงินตราในปัจจุบันและกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการโอนใบอนุญาตให้สอดคล้องกับบทบัญญัติดังกล่าว จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

กฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520 (ฉบับ Update ณ วันที่ 31/07/2543)

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบันในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครปฐม มีการสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ในปริมาณที่เกินกว่าปริมาณน้ำที่ไหลซึมลงสู่ชั้นน้ำบาดาล ทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กล่าวคือเป็นสาเหตุสำคัญทำให้มีการทรุดตัวของแผ่นดิน การแพร่กระจายของน้ำเค็มเข้าสู่ชั้นน้ำบาดาลตลอดจนทำให้ระดับน้ำบาดาลลดลง ดังนั้น เพื่อให้มีการใช้น้ำบาดาลอย่างอนุรักษ์และจูงใจให้มีการใช้น้ำผิวดินทดแทนจึงสมควรเพิ่มอัตราค่าใช้น้ำบาดาลในเขตท้องที่ดังกล่าวให้เหมาะสม และปรับปรุงหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเรียกเก็บ ในกรณีที่มิได้ชำระตามระยะเวลาที่กำหนดในเขตน้ำบาดาลทุกเขตเสียใหม่ เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

กฎกระทรวง กำหนดอัตราค่าอนุรักษ์น้ำบาดาล และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเรียกเก็บค่าอนุรักษ์น้ำบาดาล พ.ศ. 2547

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดอัตราค่าอนุรักษ์น้ำบาดาลและหลักเกณฑ์เรียกเก็บค่าอนุรักษ์น้ำบาดาลจากผู้รับใบอนุญาตใช้น้ำบาดาลในเขตวิกฤตการณ์น้ำบาดาล และโดยที่มาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. ๒๕๒๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติน้ำบาดาล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ บัญญัติให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าอนุรักษ์น้ำบาดาล และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเรียกเก็บค่าอนุรักษ์น้ำบาดาล จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

กฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าอนุรักษ์น้ำบาดาลและหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเรียกเก็บค่าอนุรักษ์น้ำบาดาล (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่อัตราค่าอนุรักษ์น้ำบาดาล และหลักเกณฑ์การเรียกเก็บค่าอนุรักษ์น้ำบาดาลตามกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าอนุรักษ์น้ำบาดาล และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเรียกเก็บค่าอนุรักษ์น้ำบาดาล พ.ศ. ๒๕๔๗ ที่บังคับใช้ในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับสถานการณ์น้ำบาดาลที่เปลี่ยนแปลงไป สมควรปรับปรุงอัตราค่าอนุรักษ์น้ำบาดาล ยกเว้นค่าอนุรักษ์น้ำบาดาล และปรับปรุงหลักเกณฑ์การเรียกเก็บค่าอนุรักษ์น้ำบาดาลให้แก่ผู้รับใบอนุญาตใช้น้ำบาดาลที่ใช้น้ำบาดาลเพื่อกิจการบางประเภท และผู้รับใบอนุญาตใช้น้ำบาดาลซึ่งสถานที่ประกอบกิจการน้ำบาดาลได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติ หรือซึ่งได้ใช้น้ำบาดาลเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง