คลังคำสำคัญ ‘พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510’

กฎกระทรวง ฉบับที่ 28 (พ.ศ. 2517) ออกตามความในพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๑๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ ๒ ) พ.ศ. ๒๕๑๖ ให้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการสำรวจแร่ตามอาชญาบัตร การอนุรักษ์แร่ และการทำเหมือง โดยกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงฉบับนี้

พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องด้วยขณะนี้มีกฎหมายแร่อยู่หลายฉบับ สมควรนำมารวมไว้ในที่เดียวกันและปรับปรุงเสียใหม่ โดยให้รัฐมีอำนาจควบคุมการตรวจ การผลิต การรักษาแหล่งแร่ การจำหน่ายแร่ และการโลหกรรม และในเวลาเดียวกันก็อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการทำเหมือง ตลอดถึงการให้ความคุ้มครองแก่กรรมกรและสวัสดิภาพของประชาชนให้เหมาะสมแก่กาลสมัย

พระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยแร่ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันยังไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ เป็นเหตุให้ไม่อาจเร่งรัดและส่งเสริมการสำรวจแร่และการผลิตทรัพยากรธรณีอันมีค่าให้ได้ผลและอำนวยประโยชน์แก่ประเทศชาติได้ และประกอบกับ ทั้งค่าธรรมเนียมบางรายการยังไม่เหมาะสม สมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยแร่ให้รัดกุมและเหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติฉบับนี้ขึ้น

พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 (Update ณ วันที่ 31/07/2516)

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยแร่ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันยังไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ เป็นเหตุให้ไม่อาจเร่งรัดและส่งเสริมการสำรวจแร่และการผลิตทรัพยากรธรณีอันมีค่าให้ได้ผลและอำนวยประโยชน์แก่ประเทศชาติได้ และประกอบกับทั้งค่าธรรมเนียมบางรายการยังไม่เหมาะสม สมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยแร่ให้รัดกุมและเหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติฉบับนี้ขึ้น

พระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๑๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๖ ยังไม่เหมาะสมและไม่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและปราบปรามผู้กระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยแร่ และการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมที่จะเรียกเก็บยังต่ำ ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน สมควรแก้ไขกฎหมายว่าด้วยแร่ให้รัดกุมและเหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 (Update ณ วันที่ 12/05/2522)

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๑๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๖ ยังไม่เหมาะสมและไม่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและปราบปรามผู้กระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยแร่ และการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมที่จะเรียกเก็บยังต่ำ ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน สมควรแก้ไขกฎหมายว่าด้วยแร่ให้รัดกุมและเหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 พ.ศ. 2526

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ เนื่องจากการส่งหนังสือหรือคำสั่งแก่บุคคลเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๑๐ จะต้องส่งโดยตรงเสียก่อน จึงจะส่งหนังสือหรือคำสั่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน หรือปิดไว้ในที่ที่เห็นได้ง่าย ณ สำนักงาน ภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่ของบุคคลดังกล่าวได้ ทำให้ไม่สะดวกในการปฏิบัติ สมควรกำหนดวิธีการส่งหนังสือหรือคำสั่งเสียใหม่โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถเลือกส่งโดยตรงหรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนได้ นอกจากนั้นในปัจจุบันผู้ทำเหมืองผลิตแร่ได้เกินปริมาณที่ทางราชการอนุญาตให้ส่งออกนอกราชอาณาจักรและจำนวนแร่ที่เกินปริมาณดังกล่าวนี้ทางราชการยังไม่มีมาตรการที่จะควบคุมการเก็บรักษามิให้สูญหาย หรือถูกลักลอบไปจำหน่ายยังต่างประเทศ อันจะทำให้เกิดความเสียหายแก่เศรษฐกิจของประเทศ สมควรจัดให้มีสถานที่ฝากแร่เพื่อรับฝากแร่ที่เกินปริมาณดังกล่าว พร้อมทั้งให้มีมาตรการควบคุมการเก็บรักษาอย่างเหมาะสม และให้สิทธิแก่ผู้ที่นำแร่ไปฝากไว้ ณ สถานที่ฝากแร่ที่จะขอผัดการชำระค่าภาคหลวงแร่ไว้ก่อนได้ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมการทำเหมือง จึงจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๑๐ และโดยที่เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนในอันจะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้

พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 (Update ณ วันที่ 13/10/2526)

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ เนื่องจากการส่งหนังสือหรือคำสั่งแก่บุคคลเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๑๐ จะต้องส่งโดยตรงเสียก่อน จึงจะส่งหนังสือหรือคำสั่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน หรือปิดไว้ในที่ที่เห็นได้ง่าย ณ สำนักงาน ภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่ของบุคคลดังกล่าวได้ ทำให้ไม่สะดวกในการปฏิบัติ สมควรกำหนดวิธีการส่งหนังสือหรือคำสั่งเสียใหม่โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถเลือกส่งโดยตรงหรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนได้ นอกจากนั้น ในปัจจุบันผู้ทำเหมืองผลิตแร่ได้เกินปริมาณที่ทางราชการอนุญาตให้ส่งออกนอกราชอาณาจักรและจำนวนแร่ที่เกินปริมาณดังกล่าวนี้ทางราชการยังไม่มีมาตรการที่จะควบคุมการเก็บรักษามิให้สูญหายหรือถูกลักลอบไปจำหน่ายยังต่างประเทศ อันจะทำให้เกิดความเสียหายแก่เศรษฐกิจของประเทศ สมควรจัดให้มีสถานที่ฝากแร่เพื่อรับฝากแร่ที่เกินปริมาณดังกล่าว พร้อมทั้งให้มีมาตรการควบคุมการเก็บรักษาอย่างเหมาะสม และให้สิทธิแก่ผู้ที่นำแร่ไปฝากไว้ ณ สถานที่ฝากแร่ที่จะขอผัดการชำระค่าภาคหลวงแร่ไว้ก่อนได้ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมการทำเหมือง จึงจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๑๐ และโดยที่เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนในอันจะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้

พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันในท้องที่บางแห่งได้มีการลักลอบทำแร่และลักลอบส่งแร่ออกนอกราชอาณาจักรอยู่เป็นประจำ ทำให้เกิดความเสียหายแก่เศรษฐกิจของประเทศอย่างมาก แต่พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๑๐ มิได้ให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในอันที่จะควบคุมหรือวางมาตรการที่เหมาะสมในการป้องกันและปราบปรามได้อย่างมีประสิทธิภาพสมควรให้รัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดให้ท้องที่หนึ่งท้องที่ใดเป็นเขตควบคุมแร่ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมีอำนาจบางประการในอันที่จะสามารถควบคุมและวางมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการทำแร่และลักลอบส่งแร่ออกนอกราชอาณาจักรได้กับเห็นควรให้มีการเพิ่มและแก้ไขบทกำหนดโทษให้สอดคล้องกัน รวมทั้งเพิ่มเติมกรณีการคืนค่าภาคหลวงแร่ และแก้ไขวิธีการในเรื่องของกลางและการจ่ายเงินสินบนและเงินรางวัลนำจับ และโดยที่เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนในอันจะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้

พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 (Update ณ วันที่ 13/02/2528)

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันในท้องที่บางแห่งได้มีการลักลอบทำแร่และลักลอบส่งแร่ออกนอกราชอาณาจักรอยู่เป็นประจำ ทำให้เกิดความเสียหายแก่เศรษฐกิจของประเทศอย่างมาก แต่พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๑๐ มิได้ให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในอันที่จะควบคุมหรือวางมาตรการที่เหมาะสมในการป้องกันและปราบปรามได้อย่างมีประสิทธิภาพสมควรให้รัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดให้ท้องที่หนึ่งท้องที่ใดเป็นเขตควบคุมแร่ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมีอำนาจบางประการในอันที่จะสามารถควบคุมและวางมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการทำแร่และลักลอบส่งแร่ออกนอกราชอาณาจักรได้กับเห็นควรให้มีการเพิ่มและแก้ไขบทกำหนดโทษให้สอดคล้องกัน รวมทั้งเพิ่มเติมกรณีการคืนค่าภาคหลวงแร่ และแก้ไขวิธีการในเรื่องของกลางและการจ่ายเงินสินบนและเงินรางวัลนำจับ และโดยที่เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนในอันจะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง