คลังคำสำคัญ ‘พระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร พ.ศ. 2509’

พระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร พ.ศ. 2509

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ ในการส่งเสริมพัฒนาการเกษตรของประเทศ จำเป็นต้องจัดให้ความช่วยเหลือทางการเงินอันเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งเพื่อเกษตรกรสามารถเพิ่มผลผลิตและรายได้การเกษตร การให้ความช่วยเหลือเช่นนั้นควรจัดขยายออกไปอย่างกว้างขวางทั้งในด้านเกษตรกรโดยตรง และในด้านกลุ่มเกษตรกร กับสหกรณ์การเกษตรการดำเนินงานให้ความช่วยเหลือทางการเงินในด้านต่าง ๆ เหล่านี้ควรอยู่ภายใต้การควบคุมเป็นระบบเดียวกันเพื่อให้ได้ผลมั่นคงและสะดวกในการจัดหาเงินทุนเพิ่มเติม ฉะนั้น จึงสมควรจัดตั้งธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรขึ้นเป็นสถาบันในระดับชาติเพื่อทำหน้าที่ดังกล่าวนี้

พระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2519

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร พ.ศ. ๒๕๐๙ ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว สถานการณ์เศรษฐกิจการเกษตรของประเทศได้เปลี่ยนแปลงตลอดมา สมควรปรับปรุงบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวให้เหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อสามารถให้ความร่วมมือกับทางราชการในการพัฒนาการเกษตรของประเทศได้โดยกว้างขวาง ทั้งในด้านการส่งเสริมอาชีพ การจัดหาที่ดินเพื่อการเกษตร การจำหน่ายผลิตผล และอื่น ๆ ในการนี้สมควรเพิ่มทุนของธนาคารขึ้นเพื่อให้สนองความต้องการของเกษตรกรในเรื่องสินเชื่อการเกษตรได้โดยสมบูรณ์ยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น

พระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร พ.ศ. 2509 (Update ณ วันที่ 31/12/2519)

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร พ.ศ. ๒๕๐๙ ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว สถานการณ์เศรษฐกิจการเกษตรของประเทศได้เปลี่ยนแปลงตลอดมา สมควรปรับปรุงบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวให้เหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อสามารถให้ความร่วมมือกับทางราชการในการพัฒนาการเกษตรของประเทศได้โดยกว้างขวาง ทั้งในด้านการส่งเสริมอาชีพ การจัดหาที่ดินเพื่อการเกษตร การจำหน่ายผลิตผล และอื่น ๆ ในการนี้สมควรเพิ่มทุนของธนาคารขึ้นเพื่อให้สนองความต้องการของเกษตรกรในเรื่องสินเชื่อการเกษตรได้โดยสมบูรณ์ยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น

พระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2525

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ได้มีหน่วยงานของรัฐบางแห่งในขณะนี้ประสงค์ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรดำเนินงานเกี่ยวกับการเรียกเก็บเงินค่าที่ดิน ค่าชดเชยการลงทุน ค่าบริการ ค่าธรรมเนียม หรือเงินประเภทอื่น แทนหน่วยงานของรัฐนั้น ๆ เพราะธนาคารมีสาขาขยายอยู่ทั่วไปในประเทศอยู่แล้ว และโดยที่บทบัญญัติบางประการในกฎหมายปัจจุบันยังไม่เหมาะสม กล่าวคือธนาคารจะให้กู้เงินแก่ผู้ฝากเงินซึ่งมิใช่เกษตรกรไม่ได้ เป็นเหตุให้มีผู้ฝากเงินกับธนาคารน้อยกว่าที่ควร ซึ่งไม่เป็นการสนับสนุนให้ธนาคารสามารถระดมทุนเพื่อเป็นสินเชื่อสำหรับเกษตรกรได้เต็มที่ บทบัญญัติเกี่ยวกับการมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา ๑๑ (๔) ไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติในมาตรา ๑๑ วรรคสอง จนทำให้เป็นที่สงสัยว่าธนาคารจะรับที่ดินของลูกหนี้ธนาคารมาประเมินราคาใช้หนี้เงินกู้ได้หรือไม่ และในขณะนี้ธนาคารมิได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายที่ดิน ทำให้การดำเนินธุรกิจต้องมีภาระสูง ทำให้ไม่อาจให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมในการทำนิติกรรมกับธนาคารได้ แตกต่างกับการทำนิติกรรมกับสหกรณ์อื่น ๆ ผู้ทำนิติกรรมจะได้ยกเว้นค่าธรรมเนียมในกรณีนี้ด้วย นอกจากนั้นกำหนดเวลาในการประชุมใหญ่ของผู้ถือหุ้นกำหนดเวลาเสนองบดุล และกำหนดเวลารายงานกิจการประจำปีตามกฎหมายปัจจุบันก็กำหนดไว้น้อยเกินไปยังไม่เหมาะสม สมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร พ.ศ. 2509 (Update ณ วันที่ 27/08/2525)

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ได้มีหน่วยงานของรัฐบางแห่งในขณะนี้ประสงค์ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรดำเนินงานเกี่ยวกับการเรียกเก็บเงินค่าที่ดิน ค่าชดเชยการลงทุน ค่าบริการ ค่าธรรมเนียม หรือเงินประเภทอื่น แทนหน่วยงานของรัฐนั้น ๆ เพราะธนาคารมีสาขาขยายอยู่ทั่วไปในประเทศอยู่แล้ว และโดยที่บทบัญญัติบางประการในกฎหมายปัจจุบันยังไม่เหมาะสม กล่าวคือธนาคารจะให้กู้เงินแก่ผู้ฝากเงินซึ่งมิใช่เกษตรกรไม่ได้ เป็นเหตุให้มีผู้ฝากเงินกับธนาคารน้อยกว่าที่ควร ซึ่งไม่เป็นการสนับสนุนให้ธนาคารสามารถระดมทุนเพื่อเป็นสินเชื่อสำหรับเกษตรกรได้เต็มที่ บทบัญญัติเกี่ยวกับการมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา ๑๑ (๔) ไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติในมาตรา ๑๑ วรรคสอง จนทำให้เป็นที่สงสัยว่าธนาคารจะรับที่ดินของลูกหนี้ธนาคารมาประเมินราคาใช้หนี้เงินกู้ได้หรือไม่ และในขณะนี้ธนาคารมิได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายที่ดิน ทำให้การดำเนินธุรกิจต้องมีภาระสูง ทำให้ไม่อาจให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมในการทำนิติกรรมกับธนาคารได้ แตกต่างกับการทำนิติกรรมกับสหกรณ์อื่น ๆ ผู้ทำนิติกรรมจะได้ยกเว้นค่าธรรมเนียมในกรณีนี้ด้วย นอกจากนั้นกำหนดเวลาในการประชุมใหญ่ของผู้ถือหุ้นกำหนดเวลาเสนองบดุล และกำหนดเวลารายงานกิจการประจำปีตามกฎหมายปัจจุบันก็กำหนดไว้น้อยเกินไปยังไม่เหมาะสม สมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2535

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากปัจจุบันพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร พ.ศ. ๒๕๐๙ กำหนดความหมายของคำว่า เกษตรกร และวัตถุประสงค์ของธนาคารไว้ค่อนข้างจะจำกัด โดยเกษตรกรนั้นหมายความเฉพาะผู้ประกอบอาชีพการเกษตรโดยตรงและให้เกษตรกรกู้เงินได้เฉพาะเพื่อการประกอบอาชีพการเกษตรเท่านั้น อีกทั้งเงินทุนของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรตามที่กำหนดไว้นั้นในขณะนี้มีจำนวนไม่เพียงพอทำให้ความช่วยเหลือในการประกอบอาชีพของเกษตรกรอยู่ในวงจำกัด สมควรที่จะขยายความหมายของคำว่า เกษตรกร ให้รวมถึงเกษตรกรตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และขยายวัตถุประสงค์ของธนาคารตามพระราชบัญญัตินี้ให้กว้างขึ้นให้เกษตรกรสามารถกู้เงินไปเพื่อการประกอบอาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องในการเกษตรเพื่อเป็นการเพิ่มรายได้กับครอบครัวไว้ด้วย และแก้ไขในเรื่องการเพิ่มทุนเรือนหุ้นของธนาคารเพื่อให้ธนาคารสามารถให้ความช่วยเหลือในด้านการให้สินเชื่อแก่เกษตรกรได้มากขึ้น นอกจากนี้ เพื่อให้การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น สมควรให้มีกองทุนที่ดินขึ้นในธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โดยให้ผู้จัดการธนาคารเป็นผู้บริหารกองทุนที่ดินตามระเบียบข้อบังคับ หรือมติที่คณะกรรมการกองทุนที่ดินกำหนด และแยกการดำเนินงานออกต่างหากจากการดำเนินงานตามปกติของธนาคาร จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร พ.ศ. 2509 (Update ณ วันที่ 08/04/2535)

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากปัจจุบันพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร พ.ศ. ๒๕๐๙ กำหนดความหมายของคำว่า เกษตรกร และวัตถุประสงค์ของธนาคารไว้ค่อนข้างจะจำกัด โดยเกษตรกรนั้นหมายความเฉพาะผู้ประกอบอาชีพการเกษตรโดยตรงและให้เกษตรกรกู้เงินได้เฉพาะเพื่อการประกอบอาชีพการเกษตรเท่านั้น อีกทั้งเงินทุนของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรตามที่กำหนดไว้นั้นในขณะนี้มีจำนวนไม่เพียงพอทำให้ความช่วยเหลือในการประกอบอาชีพของเกษตรกรอยู่ในวงจำกัด สมควรที่จะขยายความหมายของคำว่า เกษตรกร ให้รวมถึงเกษตรกรตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และขยายวัตถุประสงค์ของธนาคารตามพระราชบัญญัตินี้ให้กว้างขึ้นให้เกษตรกรสามารถกู้เงินไปเพื่อการประกอบอาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องในการเกษตรเพื่อเป็นการเพิ่มรายได้กับครอบครัวไว้ด้วย และแก้ไขในเรื่องการเพิ่มทุนเรือนหุ้นของธนาคารเพื่อให้ธนาคารสามารถให้ความช่วยเหลือในด้านการให้สินเชื่อแก่เกษตรกรได้มากขึ้น นอกจากนี้ เพื่อให้การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น สมควรให้มีกองทุนที่ดินขึ้นในธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โดยให้ผู้จัดการธนาคารเป็นผู้บริหารกองทุนที่ดินตามระเบียบข้อบังคับ หรือมติที่คณะกรรมการกองทุนที่ดินกำหนด และแยกการดำเนินงานออกต่างหากจากการดำเนินงานตามปกติของธนาคาร จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบันการให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกร กลุ่มเกษตรกร และสหกรณ์การเกษตร แต่เฉพาะในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมหรืออาชีพอื่นที่เกี่ยวเนื่องในการเกษตรนั้นยังไม่เพียงพอที่จะทำให้เกษตรกรมีรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สมควรขยายขอบเขตแห่งวัตถุประสงค์ของธนาคารให้สามารถช่วยเหลือทางการเงินแก่เกษตรกร กลุ่มเกษตรกร และสหกรณ์การเกษตร ในการประกอบอาชีพอื่น การพัฒนาความรู้และคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและครอบครัวของเกษตรกร และสำหรับการดำเนินการตามโครงการที่เป็นการส่งเสริม หรือสนับสนุนการประกอบเกษตรกรรม ซึ่งเป็นการดำเนินการร่วมกับผู้ประกอบการ ซึ่งจะส่งผลทำให้ขบวนการเกษตรกรรมทั้งในด้านการผลิตและการตลาดดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำให้เกิดการพัฒนาภาคเกษตรกรรมอย่างครบวงจร และสมควรขยายอำนาจในการดำเนินงานให้สอดคล้องกับการขยายขอบเขตแห่งวัตถุประสงค์ และเพื่อให้ธนาคารสามารถรับฝากเงินเพื่อสงเคราะห์ชีวิตของเกษตรกรและครอบครัว ชดเชยความเสียหายจากภัยธรรมชาติในการประกอบเกษตรกรรมเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรได้กว้างขวางขึ้น ตลอดจนสมควรเพิ่มจำนวนกรรมการเพื่อมาช่วยในการดำเนินงานหรือการประกอบธุรกิจของธนาคาร เพิ่มอำนาจในการจัดหาเงินทุนโดยการออกสลากออมทรัพย์และกำหนดให้รัฐบาลสามารถค้ำประกันเงินกู้ของธนาคารได้สูงขึ้น เพื่อสนับสนุนให้สามารถหาเงินทุนมาใช้จ่ายในการดำเนินงานได้มากขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร พ.ศ. 2509 (Update ณ วันที่ 24/02/2542)

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบันการให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกร กลุ่มเกษตรกร และสหกรณ์การเกษตร แต่เฉพาะในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมหรืออาชีพอื่นที่เกี่ยวเนื่องในการเกษตรนั้นยังไม่เพียงพอที่จะทำให้เกษตรกรมีรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สมควรขยายขอบเขตแห่งวัตถุประสงค์ของธนาคารให้สามารถช่วยเหลือทางการเงินแก่เกษตรกร กลุ่มเกษตรกร และสหกรณ์การเกษตร ในการประกอบอาชีพอื่น การพัฒนาความรู้และคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและครอบครัวของเกษตรกร และสำหรับการดำเนินการตามโครงการที่เป็นการส่งเสริม หรือสนับสนุนการประกอบเกษตรกรรม ซึ่งเป็นการดำเนินการร่วมกับผู้ประกอบการ ซึ่งจะส่งผลทำให้ขบวนการเกษตรกรรมทั้งในด้านการผลิตและการตลาดดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำให้เกิดการพัฒนาภาคเกษตรกรรมอย่างครบวงจร และสมควรขยายอำนาจในการดำเนินงานให้สอดคล้องกับการขยายขอบเขตแห่งวัตถุประสงค์ และเพื่อให้ธนาคารสามารถรับฝากเงินเพื่อสงเคราะห์ชีวิตของเกษตรกรและครอบครัว ชดเชยความเสียหายจากภัยธรรมชาติในการประกอบเกษตรกรรมเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรได้กว้างขวางขึ้น ตลอดจนสมควรเพิ่มจำนวนกรรมการเพื่อมาช่วยในการดำเนินงานหรือการประกอบธุรกิจของธนาคาร เพิ่มอำนาจในการจัดหาเงินทุนโดยการออกสลากออมทรัพย์และกำหนดให้รัฐบาลสามารถค้ำประกันเงินกู้ของธนาคารได้สูงขึ้น เพื่อสนับสนุนให้สามารถหาเงินทุนมาใช้จ่ายในการดำเนินงานได้มากขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2549

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ รวมทั้งการดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เพื่อให้การดำเนินกิจการของธนาคารมีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และสามารถทำหน้าที่เป็นสถาบันการเงินเพื่อการพัฒนาชนบทไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนทางการเงิน หรือการบริหารจัดการ ให้แก่บุคคลหรือนิติบุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและการพัฒนาชนบท นอกจากนั้นเพื่อให้มีการระดมเงินทุนในการดำเนินกิจการของธนาคาร สมควรเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นของสถาบันการเงินและบุคคลอื่นด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง