กฎกระทรวง กำหนดชนิดของสัตว์ป่าคุ้มครองให้เป็นสัตว์ป่าชนิดที่เพาะพันธุ์ได้ พ.ศ. 2546

กฎกระทรวง

กำหนดชนิดของสัตว์ป่าคุ้มครองให้เป็นสัตว์ป่าชนิดที่เพาะพันธุ์ได้

พ.ศ.  ๒๕๔๖[๑]

                  

                   อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๖มาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑  ให้ยกเลิก

(๑) กฎกระทรวง ฉบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕

(๒) กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ. ๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕

ข้อ ๒  ให้สัตว์ป่าคุ้มครองตามบัญชีท้ายกฎกระทรวงนี้เป็นสัตว์ป่าชนิดที่เพาะพันธุ์ได้

ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๖

ประพัฒน์  ปัญญาชาติรักษ์

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

บัญชีสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่เพาะพันธุ์ได้

ลำดับที่

สัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่เพาะพันธุ์ได้

สัตว์ป่าจำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

กระจงเล็ก (Tragulus javanicus)

กวางป่า (Cervus unicolor)

ชะมดเช็ดหรือชะมดเชียง (Viverricula indica หรือ Viverricula malaccensis)

ทราย หรือเนื้อทราย หรือตามะแน (Axis porcinus หรือ Cervus porcinus)

ลิงกัง (Macaca nemestrina)

ลิงวอก (Macaca mulatta)

ลิงแสม (Macaca fascicularis)

อีเก้ง หรือเก้ง หรือฟาน (Muntiacus muntjak)

๑๐

๑๑

๑๒

๑๓

สัตว์ป่าจำพวกนก

ไก่จุก (Rollulus rouloul)

ไก่ป่า (Gallus gallus)

ไก่ฟ้าพญาลอ (Lophura diardi)

ไก่ฟ้าหน้าเขียว (Lophura ignita)

ไก่ฟ้าหลังขาว (Lophura nycthemera)

ไก่ฟ้าหลังเทา (Lophura leucomelanos หรือ Lophura leucomelana)

ไก่ฟ้าหางลายขวาง (Syrmaticus humiae)

นกกระทาดงแข้งเขียว (Arborophila chloropus)

นกกระทาดงคอสีแสด (Arborophila rufogularis)

นกกระทาดงจันทบูรณ์ (Arborophila diversa หรือ Arborophila cambodiana)

นกกระทาดงปักษ์ใต้ (Arborophila charltonii)

นกกระทาดงอกสีน้ำตาล (Arborophila brunneopectus)

นกกระทาทุ่ง (Francolinus pintadeanus)

๑๔

๑๕

๑๖

๑๗

๑๘

๑๙

นกกะรางคอดำหรือนกซอฮู้ (Garrulax chinensis)

นกกะรางสร้อยคอเล็ก (Garrulax monileger)

นกกะรางสร้อยคอใหญ่ (Garrulax pectoralis)

นกกะรางหัวหงอก (Garrulax leucolophus)

นกกะรางอกสีน้ำตาลไหม้ (Garrulax strepitans)

นกกะลิงหรือนกกะแล (Psittacula finschii)

๒๐

๒๑

๒๒

๒๓

๒๔

๒๕

๒๖

๒๗

๒๘

๒๙

๓๐

๓๑

๓๒

๓๓

๓๔

๓๕

๓๖

๓๗

๓๘

๓๙

๔๐

๔๑

๔๒

นกกางเขนดง หรือ นกบินหลาดง หรือ นกบินหลาควน หรือ นกจิงปุ๊ย

(Copsychus malabaricus)

นกกางเขนบ้าน หรือ นกบินหลาบ้าน หรือนกอีแจ้บ หรือนกจีจู๊

(Copsychus saularis)

นกกิ้งโครงคอดำ (Gracupica nigricollis หรือ Sturnus nigricollis)

นกแก้วโม่ง (Psittacula eupatria)

นกแก้วหัวแพร (Psittacula roseata)

นกขุนทอง (Gracula religiosa)

นกแขกเต้า (Psittacula alexandri)

นกปรอดหัวโขน หรือ นกกรงหัวจุก (Pycnonotus jocosus)

นกยูง (Pavo muticus)

นกแว่นสีเทา หรือ นกแว่นเหนือ (Polyplectron bicalcaratum)

นกแว่นสีน้ำตาล หรือ นกแว่นใต้ (Polyplectron malacense)

นกหกเล็กปากดำ (Loriculus galgulus)

นกหกเล็กปากแดง (Loriculus vernalis)

นกหกใหญ่ (Psittinus cyanurus)

นกหว้า (Argusianus argus)

นกเอี้ยงสาริกา หรือ นกเอี้ยงสาลิกา (Acridotheres tristis)

นกเอี้ยงหงอน (Acridotheres grandis หรือ Acridotheres javanicus)

เป็ดคับแค (Nettapus coromandelianus)

เป็ดแดง (Dendrocygna javanica)

เป็ดเทา (anas poecilorhyncha)

เป็นลาย (Anas querquedula)

เป็นหงส์ (Sarkidiornis melanotos)

เป็ดหางแหลม (Anas acuta)

สัตว์ป่าจำพวกสัตว์เลื้อยคลาน

งูสิง (Ptyas korros)

งูสิงหางลายหรืองูสิงลาย (Ptyas mucosus)

งูหลาม (Python molurus bivittatus)

งูเหลือม (Python reticulatus)

จระเข้น้ำเค็ม (Crocodylus porosus)

จระเข้น้ำจืด (Crocodylus siamensis)

สัตว์ป่าจำพวกสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก

กบทูดหรือเขียดแลว (Limnonectes blythii หรือ Rana blythii)

สัตว์ป่าจำพวกปลา

ปลาตะพัดหรือปลาอโรวาน่า (Scleropages formosus)

ปลาเสือตอ หรือปลาเสือ หรือปลาลาด (Coius microlepis)

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ และกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ. ๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ ต่างได้กำหนดสัตว์ป่าคุ้มครองบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่เพาะพันธุ์ได้ไว้เป็นเอกเทศจากกัน ทำให้เกิดความไม่สะดวกในการบังคับใช้กฎหมาย ประกอบกับมีสัตว์ป่าคุ้มครองบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองที่สามารถเพาะพันธุ์ได้ที่ควรได้รับการส่งเสริมให้มีการเพาะพันธุ์เพิ่มเติม เพื่อป้องกันมิให้สูญพันธุ์ และเพื่ออนุญาตให้บุคคลมีไว้ในครอบครอง ค้า และเพาะพันธุ์ได้โดยชอบด้วยกฎหมาย จึงสมควรที่จะปรับปรุงกฎกระทรวงทั้งสองฉบับดังกล่าวเสียใหม่โดยรวมเป็นกฎกระทรวงฉบับเดียวกัน พร้อมกับกำหนดสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่เพาะพันธุ์ได้เพิ่มเติม เพื่อให้เกิดความสะดวกแก่ผู้ใช้กฎหมาย จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

พัชรินทร์/สุนันทา  แก้ไข

๑๙ กันยายน ๒๕๔๖

A+B

[๑]รก.๒๕๔๖/๕๙ก/๑/๒๗ มิถุนายน ๒๕๔๖