กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๔๙๐) ว่าด้วยชื่อเครื่องมือในพิกัดออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐

กฎกระทรวง

ฉะบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๔๙๐)

ว่าด้วยชื่อเครื่องมือในพิกัด

ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง

พ.ศ. ๒๔๙๐[๑]

                  

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ (๑๓) และมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

เครื่องมือทำการประมงต่อไปนี้เป็นเครื่องมือในพิกัด

(๑) ยอขันช่อ

(๒) ช้อนขันช่อ

(๓) ช้อนสนั่น

(๔) ช้อนหางเหยี่ยว

(๕) ถุงโพงพางซึ่งใช้ประกอบกับโพงพาง รั้วไซมานหรือกั้นซู่รั้วไซมาน

(๖) ถุงบาม

(๗) เรือผีหลอกหรือเรือกัตรา

(๘) แหยาวตั้งแต่ ๔ เมตรขึ้นไป (ยังไม่ทบเพลา)

(๙) ช้อนต่าง ๆ ปากกว้างตั้งแต่ ๓.๕ เมตรขึ้นไป

(๑๐) เบ็ดราวยาวตั้งแต่ ๔๐ เมตรขึ้นไป

(๑๑) ข่าย

(๑๒)[๒] อวนลอย อวนลากปลา อวนลากกุ้ง และอวนอื่น ๆ

(๑๓) เฝือก

(๑๔) เครื่องกั้น

ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๐

จรูญ  สืบแสง

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ

กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๙ (พ.ศ. ๒๕๓๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐[๓]

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบันมีอวนสำหรับใช้จับสัตว์น้ำเฉพาะประเภทเพื่อให้การจับสัตว์น้ำไม่กระทบต่อระบบนิเวศน์ทางทะเล  ดังนั้น เพื่อให้การอนุรักษ์สัตว์น้ำมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สมควรกำหนดประเภทอวนที่จะใช้จับสัตว์น้ำบางประเภทให้ชัดเจนตรงตามวัตถุประสงค์ในการใช้  จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

จุฑามาศ/ผู้จัดทำ

๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๘

[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖๔/ตอนที่ ๑๗/ฉบับพิเศษ หน้า ๘/๑๔ เมษายน ๒๔๙๐

[๒] (๑๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๙ (พ.ศ. ๒๕๓๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐

[๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๕๑ ก/หน้า ๘/๑๔ ตุลาคม ๒๕๓๙