กฎกระทรวง ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยชื่อเครื่องมือในพิกัดออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490

กฎกระทรวง

ฉะบับที่ 1 (พ.ศ. 2490)

ว่าด้วยชื่อเครื่องมือในพิกัด

ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง

พ.ศ. 2490

------

     อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 (13) และมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติ

การประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้

ดังต่อไปนี้

     เครื่องมือทำการประมงต่อไปนี้เป็นเครื่องมือในพิกัด

     (1) ยอขันช่อ

     (2) ช้อนขันช่อ

     (3) ช้อนสนั่น

     (4) ช้อนหางเหยี่ยว

     (5) ถุงโพงพางซึ่งใช้ประกอบกับโพงพาง รั้วไซมานหรือกั้นซู่รั้วไซมาน

     (6) ถุงบาม

     (7) เรือผีหลอกหรือเรือกัตรา

     (8) แหยาวตั้งแต่ 4 เมตรขึ้นไป (ยังไม่ทบเพลา)

     (9) ช้อนต่าง ๆ ปากกว้างตั้งแต่ 3.5 เมตรขึ้นไป

    (10) เบ็ดราวยาวตั้งแต่ 40 เมตรขึ้นไป

    (11) ข่าย

    (12) อวนต่าง ๆ

    (13) เฝือก

    (14) เครื่องกั้น

                      ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490

                                 จรูญ สืบแสง

                       รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ

                         กฎกระทรวง

                    ฉะบับที่ 2 (พ.ศ. 2490)

                 ว่าด้วยการกำหนดอัตราเงินอากร

              ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง

                         พ.ศ. 2490

                          ------

     อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการประมง

พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้

ดังต่อไปนี้

     ให้กำหนดอัตราเงินอากรดังต่อไปนี้

*[1]

     `ให้ยกเลิกอัตราเงินอากรค่าที่อนุญาตบ่อล่อสัตว์น้ำ ลำดับ 20 ตาม

บัญชี (ก) แห่งกฎกระทรวง ฉะบับที่ 2 (พ.ศ. 2490) และให้เก็บ

ในอัตราตารางเมตรละสิบห้าสตางค์ ทุกจังหวัดที่มีการเก็บเงินอากรเกี่ยวกับ

การทำการประมง'

IMAGE 0

*[4]

     ให้ยกเลิกความในลำดับ 8 ของ (ข) อัตราเงินอากรอาชญาบัตร

สำหรับเครื่องมือในพิกัด แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วย

การกำหนดอัตราเงินอากร ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490

และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

IMAGE 0

                      ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490

                                 จรูญ สืบแสง

                       รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ

*[2]

     `ยกเลิกกฎกระทรวง ฉะบับที่ 3 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการกำหนด

อัตราค่าธรรมเนียม ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490'

                         กฎกระทรวง

                    ฉะบับที่ 4 (พ.ศ. 2490)

                    ว่าด้วยการขออาชญาบัตร

               ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง

                         พ.ศ. 2490

                          ------

     อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการประมง

พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้

ดังต่อไปนี้

     ข้อ 1. ผู้ใดประสงค์จะขออาชญาบัตรเพื่อใช้เครื่องมือในพิกัดชะนิดใด

ทำการประมงต้องยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ (คำขอ) ท้ายกฎกระทรวงนี้ต่อ

คณะกรมการอำเภอท้องที่ การขอรับอาชญาบัตรเช่นว่านี้ หากผู้ขอมีอาชญาบัตร

ฉะบับหลังที่สุดสำหรับเครื่องมือนั้น ก็ให้แนบไปกับคำขอด้วยและถ้าผู้ขอประสงค์

จะให้ผู้ใดในครอบครองหรือลูกจ้างมีสิทธิ์ใช้เครื่องมือนั้นด้วยก็ให้ระบุชื่อไว้ใน

คำขอนั้น

     ข้อ 2. ในการยื่นคำขอตามข้อ 1 นั้น ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่สงสัยอาจ

สั่งให้ผู้ขออนุญาตนำเครื่องมือนั้นมาให้ตรวจก็ได้ ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่จะให้

กำนันหรือผู้ใหญ่บ้านในท้องที่นั้นตรวจวัดแทนและรับรองก็ได้

     ข้อ 3. เมื่อได้รับคำขอตามความในข้อ 1 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณา

คำขอ เมื่อเห็นว่าเป็นการถูกต้องและสมควรจะอนุญาตได้ตามกฎเกณฑ์ในระเบียบ

วิธีการอนุญาตที่กำหนดไว้ ก็ให้เรียกเก็บเงินอากรตามอัตราที่กำหนดไว้ใน

กฎกระทรวง และออกอาชญาบัตรให้แก่ผู้ขอ

     ข้อ 4. ใบอาชญาบัตรทุกฉะบับต้องให้นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอประจำ

กิ่งอำเภอ หรือผู้ทำการแทน แล้วแต่กรณี เป็นผู้ลงลายมือชื่ออนุญาต และให้ใช้

แบบอาชญาบัตร (อนุญาต 1) ท้ายกฎกระทรวงนี้

     ข้อ 5. ถ้าผู้รับอนุญาตใดประสงค์จะขอสลักหลังอาชญาบัตรเพื่อตัดทอน

หรือเพิ่มบุคคลในครอบครัวหรือลูกจ้างของตนให้เป็นผู้มีสิทธิ์ใช้เครื่องมือในพิกัด

ก็ให้ยื่นรายชื่อบุคคลที่จะตัดทอนหรือเพิ่มต่อคณะกรมการอำเภอท้องที่พร้อมด้วย

อาชญาบัตร และผู้รับอนุญาตจะต้องเสียค่าธรรมเนียมค่าสลักหลังตามกฎกระทรวง

และให้นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอ หรือผู้ทำการแทน แล้วแต่กรณี

เป็นผู้ลงลายมือชื่ออนุญาตในการสลักหลัง

     ข้อ 6. ถ้าผู้รับอนุญาตรายใดนำเครื่องมือในพิกัดนั้นไปใช้ทำการประมง

ในท้องที่อื่นซึ่งเก็บอากรสูงกว่าที่ตนได้ชำระไว้แล้ว ก็ให้ผู้รับอนุญาตนั้นนำ

อาชญาบัตรไปเสียอากรเพิ่มเติมต่อคณะกรมการอำเภอที่ตนนำเครื่องมือในพิกัด

ไปใช้ทำการประมง ต่อเมื่อได้ชำระเงินอากรเพิ่มเติม และนายอำเภอ หรือ

ปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอ หรือผู้ทำการแทน แล้วแต่กรณี ได้สลักหลังอาชญาบัตร

ว่าได้เสียเงินอากรเพิ่มเติมตามกฎกระทรวงแล้ว จึงจะใช้เครื่องมือนั้นทำการ

ประมงได้

     ข้อ 7. ถ้าอาชญาบัตรที่ออกให้ตามกฎกระทรวงนี้ศูนย์หายหรือชำรุดเสียหาย

ในสาระสำคัญ ผู้รับอนุญาตมีสิทธิ์ยื่นคำขอนั้น ๆ รับใบแทนอาชญาบัตรตามแบบพิมพ์

(คำขอ 2) ท้ายกฎกระทรวงนี้ ต่อคณะกรรมการอำเภอท้องที่และให้ส่งอาชญาบัตร

ที่ชำรุดไปด้วย เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอและได้สอบสวนพิจารณาเห็นสมควร

ออกใบแทนให้ก็ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการออกใบแทนตามกฎกระทรวง และ

ออกใบแทนอาชญาบัตรอันมีข้อความอย่างเดียวกับอาชญาบัตรที่ศูนย์หายหรือชำรุด

เสียหายในสาระสำคัญให้แก่ผู้รับอนุญาตแต่ให้เขียนคำว่า `ใบแทน' ด้วยหมึกสีแดง

ไว้ตอนบน

     ใบแทนอาชญาบัตรทุกฉะบับต้องให้นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอประจำ

กิ่งอำเภอ หรือผู้ทำการแทน แล้วแต่กรณีในท้องที่เดียวกัน เป็นผู้ลงลายมือชื่อ

อนุญาตในแบแทน

     ข้อ 8. ถ้าผู้รับอนุญาตประสงค์จะโอนอาชญาบัตรของตนให้แก่ผู้อื่น ให้ยื่น

เรื่องราวชี้แจงเหตุผลพร้อมด้วยอาชญาบัตรต่อคณะกรมการอำเภอท้องที่ เมื่อ

พนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับเรื่องราว และได้พิจารณาเห็นว่าถูกต้องตามกฎเกณฑ์

การโอนตามที่กำหนดไว้ ก็ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการโอนตามที่กำหนดไว้

ในกฎกระทรวง และให้นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอ หรือ

ผู้ทำการแทน แล้วแต่กรณี สลักหลังการโอนและชื่อผู้รับโอนไว้ในอาชญาบัตรนั้น

และมอบอาชญาบัตรให้แก่ผู้รับโอนต่อไป

     ข้อ 9. ถ้าผู้รับอนุญาตรายใดได้รับการผ่อนเวลาชำระเงินอากรค่าอาชญาบัตร

ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบอนุญาตตามแบบพิมพ์ (อนุญาต 2) ท้ายกฎกระทรวงนี้

ให้แก่ผู้รับอนุญาตแทนอาชญาบัตร และให้ผู้รับอนุญาตมีสิทธิ์ใช้เครื่องมือนั้นทำการ

ประมงได้ ตามเวลาที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตระหว่างผ่อนเวลาชำระเงินอากร

                      ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490

                                 จรูญ สืบแสง

                       รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ

                         กฎกระทรวง

                    ฉะบับที่ 5 (พ.ศ. 2490)

                        ว่าด้วยที่อนุญาต

              ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง

                         พ.ศ. 2490

                          ------

     อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการประมง

พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้

ดังต่อไปนี้

     ข้อ 1. ผู้ใดประสงค์จะขออนุญาตทำการประมงหรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

ในที่อนุญาตตามประกาศของข้าหลวงประจำจังหวัด ต้องยื่นคำขอตามแบบพิมพ์

(คำขอ 3) ท้ายกฎกระทรวงนี้ต่อคณะกรมการอำเภอท้องที่

     ข้อ 2. ถ้าผู้ขออนุญาตเคยได้รับอนุญาตให้ทำการประมงหรือเพาะเลี้ยง

สัตว์น้ำในที่อนุญาตนั้นอยู่แล้ว ก็ให้แนบในอนุญาตปีก่อนมาพร้อมกับคำขอด้วย

     ข้อ 3. เมื่อได้รับคำขอตามข้อ 1 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาคำขอ

เมื่อเห็นว่าเป็นการถูกต้องและสมควรจะอนุญาตได้ก็ให้เรียกเก็บเงินอากร

ตามอัตราที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง และออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอต่อไป

     ข้อ 4. ใบอนุญาตสำหรับที่อนุญาตทุกฉะบับ ต้องให้นายอำเภอหรือ

ปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอ หรือผู้ทำการแทนแล้วแต่กรณี เป็นผู้ลงลายมือชื่อ

อนุญาต และให้ใช้แบบพิมพ์ใบอนุญาต (อนุญาต 3) ท้ายกฎกระทรวงนี้

     ข้อ 5. การออกใบแทนใบอนุญาต  การโอนใบอนุญาตและการผ่อน

เวลาชำระเงินอากรใบอนุญาต ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการออกใบแทนการ

โอนอาชญาบัตรและการผ่อนเวลาชำระเงินอากรอาชญาบัตร ตามที่กำหนดไว้

ในกฎกระทรวง ฉะบับที่ 4 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการขออาชญาบัตร

ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 มาใช้โดยอนุโลม

แล้วแต่กรณี

                      ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490

                                 จรูญ สืบแสง

                       รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ

                          กฎกระทรวง

                     ฉะบับที่ 6 (พ.ศ. 2490)

                       ว่าด้วยบ่อล่อสัตว์น้ำ

                ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง

                          พ.ศ. 2490

                           ------

     อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 (6) และมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติ

การประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้

ดังต่อไปนี้

                        ก. บ่อล่อสัตว์น้ำ

                           ------

     ข้อ 1. บ่อล่อสัตว์น้ำ คือ ที่ล่อสัตว์น้ำซึ่งอยู่ในที่ดินอันบุคคลถือ

กรรมสิทธิ์ก็ดี หรือในที่สาธารณสมบัตรของแผ่นดินก็ดี ไม่ว่าบ่อล่อสัตว์น้ำนั้น

จะมีลักษณะหรือรูปร่างอย่างใดโดยผู้ขุดหรือสร้างหรือเจ้าของหรือผู้ครอบครอง

มีความมุ่งหมายโดยตรงหรือโดยปริยายที่จะล่อสัตว์น้ำจากที่จับสัตว์น้ำเพื่อ

ประโยชน์ในการทำการประมง

                  ข. การขุดหรือสร้างบ่อล่อสัตว์น้ำ

                           ------

     ข้อ 2. ผู้ใดประสงค์จะขุดหรือสร้างบ่อล่อสัตว์น้ำในที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติ

ของแผ่นดิน ต้องยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ (คำขอ 4) ท้ายกฎกระทรวงนี้ต่อคณะกรมการ

อำเภอท้องที่

     ข้อ 3. เมื่อได้รับคำขอตามข้อ 2 แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาคำขอ

เมื่อเห็นสมควรอนุญาต ก็ให้ออกใบอนุญาตตามแบบพิมพ์ (อนุญาต 4) ท้ายกฎกระทรวงนี้

                ค. การทำการประมงในบ่อล่อสัตว์น้ำ

                           ------

     ข้อ 4. ผู้ใดประสงค์จะทำการประมงในบ่อล่อสัตว์น้ำด้วยวิธีวิดน้ำ หรือทำให้

น้ำในบ่อนั้นแห้งหรือลดน้อยลงไม่ว่าบ่อล่อสัตว์น้ำนั้นจะอยู่ในที่ดินอันบุคคลถือ

กรรมสิทธิ์หรืออยู่ในที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ต้องยื่นคำขอตามแบบพิมพ์

(คำขอ 3) ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่

     ข้อ 5. เมื่อได้รับคำขอตามข้อ 4 แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาคำขอ

เมื่อเห็นสมควรอนุญาต ก็ให้เรียกเก็บเงินอากรตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง

และออกใบอนุญาตตามแบบพิมพ์ (อนุญาต 4)

                        ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490

                                   จรูญ สืบแสง

                         รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ

                         กฎกระทรวง

                    ฉะบับที่ 7 (พ.ศ. 2490)

                     ว่าด้วยบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ

               ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง

                         พ.ศ. 2490

                          ------

     อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 (7) และมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติ

การประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้

ดังต่อไปนี้

                      ก. บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ

                          ------

     ข้อ 1. บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ คือที่เลี้ยงสัตว์น้ำซึ่งอยู่ในที่ดินอันบุคคลถือ

กรรมสิทธิ์ก็ดี หรือในที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินก็ดี โดยผู้ขุดหรือสร้างหรือ

เจ้าของหรือผู้ครอบครองมีความมุ่งหมายโดยตรงที่จะเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชะนิดใด

ชะนิดหนึ่งหรือหลายชะนิดรวมกันให้เพิ่มจำนวนหรือเพิ่มน้ำหนักยิ่งขึ้น

                 ข. การขุดเรือสร้างบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ

                          ------

     ข้อ 2. ผู้ใดประสงค์จะขุดหรือสร้างบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำในที่ดินอันเป็น

สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ต้องยื่นคำขออนุญาตตามแบบพิมพ์ (คำขอ 4)

ต่อท้ายกฎกระทรวง ฉะบับที่ 6 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยบ่อล่อสัตว์น้ำ

ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ต่อพนักงาน

เจ้าหน้าที่ ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่

     ข้อ 3. เมื่อได้รับคำขออนุญาตตามข้อ 2 แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่

พิจารณาคำขอ เมื่อเห็นสมควรอนุญาต ก็ให้ออกใบอนุญาตตามแบบพิมพ์ (อนุญาต 4)

ต่อท้ายกฎกระทรวง ฉะบับที่ 6 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยบ่อล่อสัตว์น้ำ ออก

ตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490

     ข้อ 4. ใบอนุญาตตามข้อ 3 ทุกฉะบับ ต้องให้พนักงานเจ้าหน้าที่

ลงลายมือชื่อในใบอนุญาต

                      ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490

                                 จรูญ สืบแสง

                       รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ

                         กฎกระทรวง

                    ฉะบับที่ 8 (พ.ศ. 2490)

                       ว่าด้วยที่ว่าประมูล

                ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง

                         พ.ศ. 2490

                          ------

     อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการประมง

พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้

ดังต่อไปนี้

                   ก. การดำเนินการว่าประมูล

                          ------

     ข้อ 1. ให้คณะกรมการจังหวัดท้องที่รายงานขออนุมัติการว่าประมูล

ที่ว่าประมูลพร้อมทั้งชะนิด จำนวน และที่ตั้งเครื่องมือทำการประมงต่อรัฐมนตรี

ว่าการกระทรวงเกษตราธิการ ก่อนดำเนินการออกประกาศว่าประมูลทุกคราว

               ข. คณะกรรมการดำเนินการว่าประมูล

                          ------

     ข้อ 2. ให้ข้าหลวงประจำจังหวัดท้องที่สั่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการ

ว่าประมูลขึ้นคณะหนึ่งไม่น้อยกว่า 3 นาย ประกอบด้วยข้าหลวงประจำจังหวัด

ท้องที่หรือผู้รักษาการแทน ประมงจังหวัดหรือผู้รักษาการแทน และนายอำเภอ

หรือปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอท้องที่หรือผู้รักษาการแทนแล้วแต่กรณี

     แต่ถ้าจังหวัดใดไม่มีประมงจังหวัดหรือผู้รักษาการแทนก็ให้ข้าหลวงประจำ

จังหวัดแต่งตั้งบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ

การประมง พ.ศ. 2490 เป็นกรรมการแทน

     ข้อ 3. ให้คณะกรรมการดำเนินการว่าประมูลมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการ

ว่าประมูล ที่ว่าประมูลในท้องที่จังหวัดนั้นตามวิธีการและกฎเกณฑ์ในระเบียบการ

ว่าประมูลซึ่งได้กำหนดไว้

     ข้อ 4. ในการว่าประมูลคณะกรรมการดำเนินการว่าประมูลจะกำหนดให้

ว่าประมูลโดยวิธีปิดซองหรือโดยวิธีปากเปล่าก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร และจะ

กำหนดอัตราเงินอากรขั้นต่ำสำหรับการว่าประมูลไว้ก็ได้

*[3]

     `ข้อ 5  บรรดาที่ว่าประมูลทุกแห่งจะต้องอนุญาตให้บุคคลทำการประมง

หรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำโดยวิธีว่าประมูล เว้นแต่ที่ว่าประมูลแห่งใดที่สมควรอนุญาต

ให้แก่สหกรณ์การประมงเป็นผู้รับอนุญาต หรือสมควรอนุญาตให้แก่ผู้รับอนุญาตที่

ประทานบัตรสิ้นอายุในปีที่พึ่งล่วงมา และเป็นผู้ที่ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติ

ทำการประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไม่ได้ผล ก็ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร

มีอำนาจอนุมัติให้จังหวัดอนุญาตได้โดยไม่ต้องว่าประมูล

     ถ้าที่ว่าประมูลแห่งใดไม่มีผู้เข้าว่าประมูล หรือมีผู้เข้าว่าประมูลเพียง

รายเดียว หรือผู้เข้าว่าประมูลให้อากรต่ำเกินสมควร จะระงับการว่าประมูลเสีย

ก็ได้ หรือถ้าคณะกรรมการดำเนินการว่าประมูลได้พิจารณาเห็นสมควร จะอนุญาต

ให้ผู้ใดเป็นผู้รับอนุญาตทำการประมงหรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่ว่าประมูลนั้น โดย

กำหนดจำนวนเงินอากรที่จะเรียกเก็บตามที่เห็นสมควรก็ได้ แต่ทั้งนี้จะต้องได้รับ

ความเห็นชอบจากอธิบดีกรมประมงก่อน และจำนวนเงินอากรจะต้องไม่ต่ำกว่า

อัตราค่าที่อนุญาตประเภทนั้น ๆ'

                  ค. วิธีการดำเนินการว่าประมูล

                          ------

     ข้อ 6. ก่อนเวลาดำเนินการว่าประมูลที่ว่าประมูลแห่งใดให้ข้าหลวง

ประจำจังหวัดท้องที่ทำหนังสือประกาศให้ประชาชนทราบล่วงหน้าก่อนวันว่าประมูล

เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน โดยให้ปิดประกาศไว้ที่ศาลากลางจังหวัดท้องที่

ที่ว่าการอำเภอท้องที่ และที่ชุมนุมชนตามที่เห็นสมควร

     ข้อ 7. ในประกาศของข้าหลวงประจำจังหวัดตามข้อ 6 จะต้องมีข้อความ

ดังต่อไปนี้ คือ ชื่อที่ว่าประมูล ที่ว่าประมูลนั้นอยู่ในตำบลใด อำเภอใด สถานที่

ทำการว่าประมูล วันและเวลาทำการว่าประมูล ที่ตั้งและชื่อเครื่องมือทำการ

ประมงที่อนุญาตให้ใช้ในที่ว่าประมูล กำหนดอายุการอนุญาตให้ทำการประมง

และกำหนดวันเดือนปีทำสัญญาและการส่งเงินอากร

         ง. กำหนดอายุการอนุญาตให้ทำการประมงในที่ว่าประมูล

                          ------

     ข้อ 8. กำหนดอายุการอนุญาตในการประมงในที่ว่าประมูลนั้น ให้ข้าหลวง

ประจำจังหวัดท้องที่มีอำนาจกำหนดการอนุญาตได้คราวละ 1 ปี เมื่อหมดอายุ

การอนุญาตแล้วก็ให้ดำเนินการว่าประมูลใหม่ ถ้าข้าหลวงประจำจังหวัดได้พิจารณา

เห็นสมควรกำหนดอายุการอนุญาตเกินกว่า 1 ปี ก็ให้รายงานขออนุญาตต่ออธิบดี

กรมการประมง

              จ. การออกประทานบัตรและการทำสัญญา

                          ------

     ข้อ 9. เมื่อคณะกรรมการดำเนินการว่าประมูลชี้ขาดให้ผู้ใดเป็นผู้ได้รับ

อนุญาตแล้ว ให้ข้าหลวงประจำจังหวัดท้องที่ดำเนินการเรียกให้ผู้นั้นนำหลักทรัพย์

หรือจัดหาผู้ค้ำประกันเงินอากรตามข้อ 13 และดำเนินการออกประทานบัตรตาม

แบบพิมพ์ท้ายกฎกระทรวงนี้ และให้ผู้รับอนุญาตทำสัญญาผูกขาดตามแบบที่อธิบดี

กรมการประมงกำหนด

     ข้อ 10. ให้ข้าหลวงประจำจังหวัดท้องที่เป็นผู้ลงลายมือชื่ออนุญาตใน

ประทานบัตร ส่วนในสัญญาผูกขาดที่กระทรวงเกษตราธิการทำกับผู้อนุญาตนั้น

ให้ข้าหลวงประจำจังหวัดท้องที่กับประมงจังหวัดหรือผู้รักษาการแทน เป็น

ผู้ลงลายมือชื่อแทนกระทรวงเกษตราธิการ แต่ถ้าจังหวัดใดไม่มีประมงจังหวัด

หรือผู้รักษาการแทน ก็ให้ผู้รับแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ

การประมง พ.ศ. 2490 เป็นผู้ลงลายมือชื่อร่วมกับข้าหลวงประจำจังหวัด

     ข้อ 11. การทำสัญญาผูกขาดตามข้อ 9 และ 10 ให้ทำเป็นสองฉะบับ

มีข้อความตรงกัน และให้คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างยึดถือไว้เป็นหลักฐานฝ่ายละ

หนึ่งฉะบับ ในสัญญาผูกขาดจะต้องแสดงอาณาเขตต์ที่ว่าประมูล และที่ตั้งเครื่องมือ

ทำการประมงแบบไว้ด้วย

                ฉ. การชำระเงินอากรค่าที่ว่าประมูล

                          ------

     ข้อ 12. การชำระเงินอากรค่าที่ว่าประมูล ให้ผู้รับอนุญาตชำระทั้งหมด

ในเวลารับประทานบัตรและลงลายมือชื่อในสัญญาผูกขาด เว้นแต่จะได้มีการ

ผ่อนเวลาตามความในมาตรา 39

                  ช. หลักทรัพย์และผู้ค้ำประกัน

                          ------

     ข้อ 13. ในกรณีที่มีการผ่อนเวลาตามความในมาตรา 39 ผู้รับอนุญาต

จะต้องนำหลักทรัพย์คือโฉนดที่ดิน หรืออสังหาริมทรัพย์มาจำนองไว้เป็นประกัน

การชำระอากร ถ้าหลักทรัพย์ดังกล่าวแล้วมีราคายังไม่คุ้มกับเงินอากร ก็ให้

ผู้รับอนุญาตหาผู้ค้ำประกันที่มีหลักทรัพย์มั่นคงเป็นที่พอใจของคณะกรรมการ

ดำเนินการว่าประมูลมาทำสัญญาจำนองหรือค้ำประกันให้ถูกต้องตามกฎหมาย

แล้วจึงให้ข้าหลวงประจำจังหวัดออกประทานบัตร และทำสัญญาผูกขาดตามข้อ 9

         ซ. การผิดชำระอากรและการผ่อนเวลาชำระอากร

                          ------

     ข้อ 14. เมื่อได้ดำเนินการตามมาตรา 40 และมาตรา 41 แล้ว

ปรากฏว่าเงินอากรยังค้างชำระอยู่ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เร่งรัดให้ผู้ค้ำประกัน

ชำระเงินอากรโดยไม่ชักช้า

                    ฌ. การโอนประทานบัตร

                          ------

     ข้อ 15. ถ้าผู้รับอนุญาตรายใดประสงค์จะโอนประทานบัตรและสัญญา

ผูกขาดในที่ว่าประมูลซึ่งตนได้รับให้แก่ผู้อื่นให้ผู้รับอนุญาตและผู้รับโอนยื่น

เรื่องราวขออนุญาตโอนต่อข้าหลวงประจำจังหวัด เมื่อได้เสียค่าธรรมเนียม

ตามอัตราที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงและได้รับอนุญาตแล้ว จึงจำทำการโอนกันได้

     ข้อ 16. การโอนประทานบัตรและสัญญาผูกขาดตามข้อ 15 ผู้โอนจะต้อง

นำประทานบัตรมาให้ข้าหลวงประจำจังหวัดสลักหลังการโอน และผู้รับโอนจะต้อง

ทำสัญญาผูกขาดกับพนักงานเจ้าหน้าที่มีข้อความเช่นเดียวกับผู้ที่ทำกับผู้โอน และ

ต้องปฏิบัติในเรื่องหลักทรัพย์ประกัน ผู้ค้ำประกันและอื่น ๆ ตามกฎกระทรวงนี้

                    ญ. การเวนคืนที่ว่าประมูล

                          ------

     ข้อ 17. ถ้าผู้รับอนุญาตรายใดประสงค์จะเวนคืนที่ว่าประมูลให้แก่พนักงาน

เจ้าหน้าที่ก่อนสิ้นกำหนดอายุการอนุญาตตามประทานบัตรและสัญญาผูกขาด ให้ผู้นั้น

ยื่นเรื่องราวขอเวนคืนต่อข้าหลวงประจำจังหวัด

     ข้อ 18. เมื่อข้าหลวงประจำจังหวัดได้รับเรื่องราวขอเวนคืนที่ว่าประมูลแล้ว

และได้พิจารณาเห็นสมควรจะรับเวนคืน ก็ให้สั่งอนุญาตให้เวนคืนได้ ส่วนทรัพย์สิน

ที่ผู้นั้นนำมาวางประกันและสัญญาค้ำประกัน ให้คงยึดถือไว้ก่อนจนกว่าจะได้จัดการ

อย่างหนึ่งอย่างใดแก่ที่ว่าประมูลนั้น เพื่อให้ได้เงินอากรครบตามสัญญาผูกขาด

     ข้อ 19. ถ้าข้าหลวงประจำจังหวัดได้พิจารณาเห็นสมควรให้จัดการว่าประมูล

ที่ว่าประมูลที่เวนคืนนั้นใหม่ ก็ให้กรรมการดำเนินการว่าประมูลดำเนินการต่อไปได้

หากได้เงินอากรต่ำกว่าการประมูลคราวแรกเท่าใด ก็ให้ข้าหลวงประจำจังหวัด

เรียกเงินอากรที่ยังขาดจากผู้เวนคืนจนครบ

     ข้อ 20. ที่ว่าประมูลซึ่งผู้รับอนุญาตขอเวนคืนนั้น แม้ผู้รับอนุญาตจะยังไม่ได้

ลงมือทำการประมงในที่ว่าประมูลนั้นเลยก็ดี เงินอากรที่ผู้รับอนุญาตชำระแล้ว

จะเรียกคืนมิได้แต่ถ้าการขอเวนคืนนั้น เนื่องจากเหตุที่ทางราชการได้กระทำการ

อย่างหนึ่งอย่างใด ทำให้เสียประโยชน์ของผู้รับอนุญาตในการทำการประมงใน

ที่ว่าประมูลนั้น เช่นการปิดทำนบเป็นต้น ให้ข้าหลวงประจำจังหวัดรับคืนที่ว่าประมูล

นั้น และส่งคืนเงินอากรที่ได้ชำระแล้วให้แก่ผู้รับอนุญาตทั้งหมดแต่ถ้าผู้รับอนุญาต

ได้ลงมือทำการประมงได้ผลประโยชน์ไปบ้างแล้ว ก็ให้พิจารณาว่าจะควรคืนเงิน

อากรที่ชำระให้แล้วเพียงใดหรือไม่ต้องคืนเลย โดยให้พิจารณาถึงประโยชน์ที่

ผู้รับอนุญาตได้รับจากที่ว่าประมูลนั้นแล้วเพียงใด

            ฎ. การออกใบแทนประทานบัตรและสัญญาผูกขาด

                          ------

     ข้อ 21. การออกใบแทนประทานบัตรและสัญญาผูกขาด ให้นำบทบัญญัติ

แห่งกฎกระทรวง ฉะบับที่ 4 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการออกใบแทนอาชญาบัตร

มาใช้โดยอนุโลม และในใบแทนประทานบัตรและสัญญาผูกขาดนั้น ให้ข้าหลวง

ประจำจังหวัดเป็นผู้ลงลายมือชื่ออนุญาต

                      ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490

                                 จรูญ สืบแสง

                       รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ

                        กฎกระทรวง

                   ฉะบับที่ 9 (พ.ศ. 2490)

                   ว่าด้วยใบอนุญาตรายบุคคล

              ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง

                        พ.ศ. 2490

                         ------

     อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติ

การประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่ากระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้

ดังต่อไปนี้

     ข้อ 1. ผู้ใดประสงค์จะทำการประมงโดยใช้เครื่องมือนอกพิกัดในที่อนุญาต

รายบุคคล หรือทำการหาหอยแมลงภู่และหอยกระพงหรือเทียนหอยและหอยมุกด์

ให้ยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ (คำขอ 1) ต่อท้ายกฎกระทรวง ฉะบับที่ 4 (พ.ศ. 2490)

ว่าด้วยการขออาชญาบัตรต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่

     ข้อ 2. เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอตามข้อ 1 แล้ว ให้พิจารณา

ถ้าเห็นสมควรอนุญาตก็ให้เรียกเก็บเงินอากรตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง

และดำเนินการออกใบอนุญาตให้ตามแบบพิมพ์ (อนุญาต 5) ท้ายกฎกระทรวงนี้

     ข้อ 3. ใบอนุญาตทุกฉะบับที่ออกให้ตามข้อ 2 ให้นายอำเภอหรือปลัดอำเภอ

ประจำกิ่งอำเภอหรือผู้ทำการแทนแล้วแต่กรณี เป็นผู้ลงลายมือชื่ออนุญาต

                      ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490

                                 จรูญ สืบแสง

                       รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ

                         กฎกระทรวง

                    ฉะบับที่ 10 (พ.ศ. 2490)

                ว่าด้วยการติดโคมไฟและเครื่องหมาย

               ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง

                         พ.ศ. 2490

                          ------

     อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติ

การประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้

ดังต่อไปนี้

     ข้อ 1. ผู้ใดได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องมือประจำที่ มีหน้าที่ต้องติดโคมไฟ

และเครื่องหมายแผ่นสี่เหลี่ยมสีขาวกว้าง 20 เซ็นติเมตร ยาว 50 เซ็นติเมตร

เป็นอย่างน้อยให้เห็นได้ชัดเจน

     ข้อ 2. โคมไฟนั้นผู้รับอนุญาตตามข้อ 1 ต้องติดโคมไฟไว้ที่เรือทุ่น หรือ

ที่เสาหรือสลัก ตั้งแต่พระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้น ส่วนเครื่องหมายนั้นในเวลา

กลางวันผู้รับอนุญาตจะต้องติดไว้เสมอที่เครื่องมือประจำที่

                      ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490

                                 จรูญ สืบแสง

                       รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ

                         กฎกระทรวง

                    ฉะบับที่ 11 (พ.ศ. 2490)

                       ว่าด้วยการอุทธรณ์

               ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง

                         พ.ศ. 2490

                          ------

     อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติ

การประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้

ดังต่อไปนี้

     ข้อ 1. ในกรณีที่เจ้าพนักงาน ผู้มีอำนาจออกประทานบัตร ใบอนุญาตและ

อาชญาบัตร ไม่ยอมออกเอกสารเช่นว่านั้น ถ้าบุคคลผู้มีส่วนได้เสียประสงค์จะ

อุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงาน ก็ให้บุคคลนั้นยื่นอุทธรณ์ต่อเจ้าพนักงาน ภายใน

กำหนดสามสิบวันนับตั้งแต่วันที่ผู้ยื่นอุทธรณ์ทราบคำสั่ง

     ข้อ 2. ในคำอุทธรณ์นั้น จะต้องชี้แจงข้อเท็จจริงและเหตุผลโดยละเอียด

ชัดเจนว่าคำสั่งของเจ้าพนักงานนั้นไม่ชอบด้วยเหตุผลประการใด และต้องลงชื่อตัว

ชื่อสกุลและภูมิลำเนาของผู้ยื่นอุทธรณ์

     ข้อ 3. เมื่อเจ้าพนักงานได้รับคำอุทธรณ์ ก็ให้ออกใบรับให้แก่ผู้ยื่นอุทธรณ์

เป็นหลักฐาน และให้เจ้าพนักงานดังกล่าวแล้วชี้แจงข้อเท็จจริงและเหตุผลในการ

ไม่ยอมออกใบอนุญาตหรืออาชญาบัตรแล้วแต่กรณีโดยละเอียด เสนอคณะกรรมการ

จังหวัดเพื่อตรวจสอบ แสดงความเห็นภายในกำหนดสามสิบวันนับตั้งแต่วันได้รับ

อุทธรณ์

     ข้อ 4. สำหรับกรณีใบอนุญาตหรืออาชญาบัตรนั้นถ้าคณะกรมการจังหวัด

เห็นสมควรออกใบอนุญาตหรืออาชญาบัตรให้แก่ผู้ยื่นอุทธรณ์ ก็ให้แนะนำเจ้าพนักงาน

ดำเนินการออกใบอนุญาตหรืออาชญาบัตรให้แก่ผู้อุทธรณ์ต่อไปได้ ถ้าเจ้าพนักงาน

ออกใบอนุญาตหรืออาชญาบัตรให้ก็เป็นอันยุติ แต่ถ้าพนักงานเห็นว่าไม่สมควร

ออกใบอนุญาตหรืออาชญาบัตร ก็ให้เจ้าพนักงานรายงานมายังรัฐมนตรีว่าการ

กระทรวงเกษตราธิการพร้อมด้วยความเห็นของคณะกรมการจังหวัดภายในยี่สิบวัน

นับตั้งแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์

     ข้อ 5. ในกรณีที่ไม่ยอมให้ออกประทานบัตร เมื่อข้าหลวงประจำจังหวัด

ได้รับอุทธรณ์ ก็ให้ชี้แจงข้อเท็จจริงและเหตุผลโดยละเอียดเสนอไปยังรัฐมนตรี

ว่าการกระทรวงเกษตราธิการภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันได้รับอุทธรณ์

     ข้อ 6. เมื่อเจ้าพนักงานได้รับคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง

เกษตราธิการ ให้แจ้งคำวินิจฉัยนั้นให้ผู้อุทธรณ์ทราบภายในห้าวัน

                      ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490

                                 จรูญ สืบแสง

                       รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ

                          กฎกระทรวง

                    ฉะบับที่ 12 (พ.ศ. 2490)

         ว่าด้วยการขออนุญาตและจดทะเบียนผู้มีอาชีพในการประมง

         การสินค้าสัตว์น้ำ ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ และอุตสาหกรมสัตว์น้ำ

                ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง

                          พ.ศ. 2490

                           ------

     อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการประมง

พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้

ดังต่อไปนี้

         การขออนุญาตและการจดทะเบียนผู้มีอาชีพในการประมง

                           ------

     ข้อ 1. ผู้ใดประกอบอาชีพอยู่แล้วในวันใช้พระราชบัญญัติการประมง

พ.ศ. 2490 ก็ดี หรือมีความประสงค์จะประกอบอาชีพก็ดี ถ้าเป็นอาชีพที่

ระบุไว้ในพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผู้มีอาชีพในการประมง การค้าสินค้าสัตว์น้ำ

ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ และอุตสาหกรรมสัตว์น้ำมาจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติ

การประมง พ.ศ. 2490 ให้ผู้นั้นยื่นคำขออนุญาตและจดทะเบียน (คำขอ 6)

ท้ายกฎกระทรวงนี้

สำหรับจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี ให้ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

ณ กรมการประมง

สำหรับจังหวัดอื่น ให้ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่

     ข้อ 2. เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอตามข้อ 1 แล้ว ก็ให้พิจารณา

คำขอนั้น ถ้าสมควรอนุญาตก็ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กำหนดใน

กฎกระทรวง และดำเนินการจดทะเบียนออกใบอนุญาตตามแบบพิมพ์ (อนุญาต 6)

ท้ายกฎกระทรวงนี้

     ข้อ 3. ใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อ 2 ทุกฉะบับ ให้อธิบดีกรมการประมง

นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอ หรือผู้ทำการแทนแล้วแต่กรณี

เป็นผู้ลงลายมือชื่ออนุญาต

                      ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490

                                 จรูญ สืบแสง

                       รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ

*[2]

                       กฎกระทรวง

                 ฉะบับที่ 14 (พ.ศ. 2492)

              ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียม

             ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง

                       พ.ศ. 2490

                        ------

     อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการให้ยกเลิกกฎกระทรวง ฉะบับที่ 3

(พ.ศ. 2490) ลงวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 ว่าด้วยการกำหนดอัตรา

ค่าธรรมเนียม ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490

และให้ใช้กฎต่อไปนี้แทน

IMAGE 0

                  ให้ไว้ ณ วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2492

                         ช่วง เกษตรศิลปการ

                   รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ

บทเฉพาะกาล

--------------------

กฎกระทรวง ฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2502) ออกตามความในพระราชบัญญัติ

การประมง พ.ศ. 2490

หมายเหตุ :-  เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องด้วย

ผู้มีอาชีพทำการประมงในท้องที่จังหวัดต่าง ๆ ได้รับความเสียหายเพราะภัย

ธรรมชาติวิปริตในบางปี เช่น ใน พ.ศ. 2500 และ 2501 ดินฟ้าอากาศ

แห้งแล้งมาก ในน่านน้ำจืดน้ำเข้าทุ่งน้อย ปลาเข้าวางไข่ไม่ได้ผล ในทะเล

ก็เช่นเดียวกันปลาวางไข่น้อย จึงทำให้ชาวประมงผู้ว่าประมูลจับปลาไม่ได้ผล

ผู้ว่าประมูลได้ต้องเสียเงินอากรให้แก่รัฐบาลในอัตราสูง ก็ได้รับความเสียหาย

และเดือนร้อนมาก อนึ่งที่จับสัตว์น้ำประเภทที่ว่าประมูลบางแห่งมีความเหมาะสม

ที่จะจัดตั้งเป็นสหกรณ์การประมง แล้วอนุญาตให้สหกรณ์การประมงที่ได้จัดตั้งขึ้น

มีสิทธิทำการประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่ว่าประมูลแห่งนั้นได้

     จึงเป็นการสมควรออกกฎกระทรวงฉบับใหม่ เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมให้รัฐมนตรี

ว่าการกระทรวงเกษตรมีอำนาจอนุมัติให้จังหวัดอนุญาตที่จับสัตว์น้ำประเภทที่ว่า

ประมูลให้แก่ผู้ประสบอุทกภัย วาตะภัย หรือให้แก่ผู้ประสบความเสียหายจากภัย

ธรรมชาติกับให้สหกรณ์การประมงได้

--------------------

กฎกระทรวง ฉบับที่ 16 (พ.ศ. 2506) ออกตามความในพระราชบัญญัติ

การประมง พ.ศ. 2490

หมายเหตุ :-  เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องด้วย

กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการกำหนดอัตราเงินอากร

การประมงได้ประกาศใช้มาเป็นเวลา 15 ปีแล้ว การเรียกเก็บเงินอากรแก่

เครื่องมือการประมงบางชนิดยังไม่เหมาะสมกับเหตุการณ์ในปัจจุบัน เพราะ

ในปัจจุบันนี้การประมงทะเลได้พัฒนาก้าวหน้าขึ้นเป็นอันมาก ชาวประมงได้

นำเอาเครื่องมือประมงแบบใหม่ ๆ มาใช้ทำการประมงอีกหลายชนิด เช่น

อวนลอยไนล่อน เป็นต้น อวนแบบใหม่ ๆ เหล่านี้ ซึ่งเป็นเครื่องมือขนาดเล็ก

แต่ต้องเสียเงินอากรค่าอาชญาบัตรในอัตราสูงเกินรายได้ของชาวประมง

ซึ่งนับว่าไม่เป็นธรรมแก่ชาวประมงผู้ใช้อวนลอยไนล่อน เมื่อเปรียบเทียบกับ

เครื่องมือขนาดใหญ่อื่น ๆ ซึ่งเสียเงินอากรน้อยกว่าอวนลอยไนล่อนหลายเท่า

แต่สามารถจับสัตว์น้ำได้มากกว่าอวนลอยไนล่อนหลายสิบเท่า เพื่อส่งเสริม

อาชีพชาวประมงผู้ใช้อวนลอยไนล่อนให้สามารถประกอบอาชีพต่อไปได้

จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงแก้ไขปรับปรุงอัตราเงินอากรการประมง

เสียใหม่

เชิงอรรถ

--------------------

   *[1] แก้ไขโดย กฎกระทรวง ฉะบับที่ 13 (พ.ศ. 2491) ว่าด้วยการ

        กำหนดอัตราเงินอากร ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง

        พ.ศ. 2490

   *[2] แก้ไขโดย กฎกระทรวง ฉะบับที่ 14 (พ.ศ. 2492) ว่าด้วยการ

        กำหนดอัตราค่าธรรมเนียม ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง

        พ.ศ. 2490

   *[3] แก้ไขโดย กฎกระทรวง ฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2502) ออกตามความใน

        พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490

   *[4] แก้ไขโดย กฎกระทรวง ฉบับที่ 16 (พ.ศ. 2506) ออกตามความใน

        พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490