การใช้น้ำเพื่อการคมนาคม
เส้นทางคมนาคมทางน้ำมีบทบาทสำคัญในการขนส่งสินค้าและการเดินทางของประชาชนมากเนื่องจากเป็นประเทศที่ไม่มีพื้นที่ติดต่อกับทะเล การที่สปป.ลาวมีแม่น้ำโขงผ่านตลอดประเทศ ซึ่งความยาวจากทิศเหนือจรดทิศใต้ รวมระยะทางทั้งสิ้น 1,835 กิโลเมตรจึงเป็นแม่น้ำสายสำคัญอย่างยิ่งในการใช้คมนาคม อย่างไรก็ตาม การขนส่งทางนํ้าไม่อาจใช้ได้ตลอด เนื่องจากข้อจำกัดทางกายภาพหลายด้านเพราะทางตอนใต้มีเกาะแก่งเป็นจำนวนมาก รวมไปถึงระดับน้ำที่ขึ้นลงตามฤดูกาล ทำให้เส้นทางขนส่งทางเรือทำได้เพียง 875 กิโลเมตร และสามารถเดินเรือได้สะดวกเฉพาะฤดูน้ำหลาก โดยจะสามารถบรรทุกสินค้าในเรือได้ถึง 300 ตัน แต่ฤดูแล้งจะบรรทุกสินค้าได้เพียง 20-30 ตันเท่านั้น
พระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้อง..
-
พระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พ.ศ.2485
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่บทบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะในพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พุทธศักราช ๒๔๘๕ บางอย่างไม่เหมาะสมและซ้ำซ้อนกับบทบัญญัติในกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ได้ปรับปรุงใหม่แล้ว สมควรยกเลิกบทบัญญัติดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
-
พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบันผู้ได้รับอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารหรือสิ่งล่วงล้ำลำน้ำได้ใช้อาคารหรือสิ่งล่วงล้ำลำน้ำนั้นประกอบธุรกิจ สมควรแก้ไขอัตราโทษให้เหมาะสมยิ่งขึ้นและกำหนดให้ผู้ได้รับอนุญาตดังกล่าวต้องชำระค่าตอบแทนเป็นรายปีตามวิธีการและอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง ประกอบกับขณะนี้ประเทศไทยได้พัฒนาไปเป็นประเทศอุตสาหกรรมมากขึ้นเป็นผลให้มีการนำเคมีภัณฑ์และสิ่งของต่าง ๆ ที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้เข้ามาในประเทศเป็นจำนวนมากกว่าที่เป็นมาในอดีต หากไม่มีการควบคุมการนำเข้ามาโดยทางเรือให้เหมาะสมแล้ว อาจก่อให้เกิดอันตรายอย่างกว้างขวางแก่บุคคล สัตว์ สิ่งของ และสิ่งแวดล้อม สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับอำนาจของกรมเจ้าท่าในการควบคุมการขนส่งสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายได้ และเนื่องจากอัตราโทษสำหรับผู้กระทำผิดตามกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทยยังไม่เหมาะสม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
-
พระราชบัญญัติรักษาคลอง ร.ศ.121
มีพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ประกาศให้ทราบทั่วกันว่า การเพาะปลูกก็ดี การค้าขายไปมาก็ดี ในพระราชอาณาเขตนี้ ทางน้ำลำคลองเป็นสำคัญ และในเวลานี้คลองก็มีอยู่แล้วเป็นอันมากแต่ชำรุดตื้นเขินไปเสียโดยมาก เหตุเพราะยังมิได้จัดการรักษาให้พอเพียง ทรงพระราชดำริจะบำรุงและรักษาคลองเก่าที่มีอยู่แล้ว และที่จะขุดขึ้นใหม่ให้เรียบร้อยถาวร เพื่อให้เป็นประโยชน์และสะดวกแก่ธุระของราษฎรยิ่งขึ้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติไว้ดังนี้
-
พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติเทศบาล มีบทบัญญัติบางประการไม่เหมาะสมกับสภาวะในปัจจุบันเป็นการจำกัดสิทธิของประชาชน ทั้งสิทธิของผู้สมัครรับเลือกตั้งและสิทธิของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง สมควรเปิดกว้างให้เป็นดุลพินิจของประชาชนโดยเสรี จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ส่งต่อเนื้อหา: