ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภท ขนาด และวิธีปฏิบัติสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชนจะต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมพ.ศ. ๒๕๕๓
ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เรื่อง กำหนดประเภท ขนาด และวิธีปฏิบัติสำหรับโครงการหรือกิจการ
ที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน
จะต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. ๒๕๕๓
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดประเภท ขนาด และวิธีปฏิบัติสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน จะต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมประกอบกับคณะรัฐมนตรีได้มีมติในคราวการประชุมเมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๓ เห็นชอบให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมประกาศประเภท ขนาด และวิธีปฏิบัติสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ เพื่อให้การเป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา ๖๗ วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๗ วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ และโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี และตามมาตรา ๔๖ และมาตรา ๕๑ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“อุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้น (upstream petrochemical industry)” และ “อุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นกลาง (intermediate petrochemical industry)” ให้ใช้ตามคำจำกัดความตามนิยามของสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
“สารก่อมะเร็งกลุ่ม ๑” หมายความว่า บัญชีรายชื่อสารก่อมะเร็งกลุ่ม ๑ ตามประกาศของ International Agency for Research on Cancer (IARC)
“สารก่อมะเร็งกลุ่ม ๒ A” หมายความว่า บัญชีรายชื่อสารก่อมะเร็งกลุ่ม ๒ A ตามประกาศของ International Agency for Research on Cancer (IARC)
ข้อ ๒ ให้กำหนดประเภท ขนาด และวิธีปฏิบัติสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน จะต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยมีรายละเอียดตามเอกสารแนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๓ โครงการหรือกิจการตามข้อ ๒ ให้หมายความรวมถึงโครงการของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือโครงการร่วมกับเอกชน ทั้งที่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี และโครงการหรือกิจการซึ่งต้องได้รับอนุญาตจากทางราชการตามกฎหมายด้วย
ข้อ ๔ การจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการหรือกิจการ ตามข้อ ๒ ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติและแนวทางในการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ลงวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๒ ทั้งนี้ การจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมดังกล่าวข้างต้น ต้องจัดทำโดยผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้มีสิทธิจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ข้อ ๕[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
สุวิทย์ คุณกิตติ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เอกสารแนบท้ายประกาศ
๑. กรณีโครงการหรือกิจการของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือโครงการร่วมกับเอกชน ซึ่งต้องเสนอขอรับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ให้เสนอรายงานในขั้นก่อนขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรี
๒. กรณีโครงการหรือกิจการของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ซึ่งไม่ต้องเสนอขอรับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ให้เสนอรายงานในขั้นขออนุมัติโครงการ หรือขออนุมัติงบประมาณ หรือก่อนดำเนินการก่อสร้าง แล้วแต่กรณี
๓. กรณีโครงการหรือกิจการซึ่งจะต้องได้รับอนุญาตจากทางราชการตามกฎหมายให้เสนอรายงานตามท้ายตารางนี้
ลำดับ |
ประเภทโครงการหรือกิจการ |
ขนาด |
หลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ |
๑ |
การถมทะเล หรือทะเลสาบ นอกแนวเขตชายฝั่งเดิม ยกเว้นการถมทะเลที่เป็นการ ฟื้นฟูสภาพชายหาด |
ตั้งแต่ ๓๐๐ ไร่ ขึ้นไป |
ให้เสนอในขั้นขออนุมัติ หรือขออนุญาตโครงการ |
๒ |
การทำเหมืองแร่ตามกฎหมายว่าด้วยแร่ ดังต่อไปนี้ |
|
|
๒.๑ เหมืองแร่ใต้ดิน เฉพาะที่ออกแบบให้โครงสร้างมีการยุบตัวภายหลังการทำเหมือง โดยไม่มีค้ำยันและไม่มีการใส่คืนวัสดุทดแทน เพื่อป้องกันการยุบตัว |
ทุกขนาด |
ให้เสนอในขั้น ขอประทานบัตร |
|
๒.๒ เหมืองแร่ตะกั่ว เหมืองแร่สังกะสี หรือเหมืองแร่โลหะอื่นที่ใช้ไซยาไนด์หรือปรอท หรือตะกั่วไนเตรต ในกระบวนการผลิต หรือเหมืองแร่โลหะอื่นที่มีอาร์เซโนไพไรต์(arsenopyrite) เป็นแร่ประกอบ (associatedmineral) |
ทุกขนาด |
ให้เสนอในขั้น ขอประทานบัตร |
|
๒.๓ เหมืองแร่ถ่านหิน เฉพาะที่มีการลำเลียงแร่ถ่านหินออกนอกพื้นที่โครงการด้วยรถยนต์ |
ขนาดตั้งแต่ ๒๐๐,๐๐๐ ตัน/เดือน หรือ ตั้งแต่ ๒,๔๐๐,๐๐๐ ตัน/ปี ขึ้นไป
|
ให้เสนอในขั้น ขอประทานบัตร |
|
๒.๔ เหมืองแร่ในทะเล |
ทุกขนาด |
ให้เสนอในขั้น ขอประทานบัตร |
|
๓ |
นิคมอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรม หรือโครงการ ที่มีลักษณะเช่นเดียวกับนิคมอุตสาหกรรม ดังต่อไปนี้ |
|
|
๓.๑ นิคมอุตสาหกรรม หรือโครงการที่มีลักษณะเช่นเดียวกับนิคมอุตสาหกรรมที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรองรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ตาม ๔ หรืออุตสาหกรรมถลุงแร่เหล็ก ตาม ๕.๑ หรือ ๕.๒ แล้วแต่กรณี มากกว่า ๑ โรงงาน ขึ้นไป |
ทุกขนาด |
ให้เสนอในขั้นขออนุมัติ หรือขออนุญาตโครงการ |
|
๓.๒ นิคมอุตสาหกรรม หรือโครงการที่มีลักษณะเช่นเดียวกับนิคมอุตสาหกรรม ที่มีการขยายพื้นที่เพื่อรองรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ตาม ๔ หรืออุตสาหกรรมถลุงแร่เหล็ก ตาม ๕.๑ หรือ ๕.๒
|
ทุกขนาด |
ให้เสนอในขั้นขออนุมัติ หรือขออนุญาตโครงการ |
|
๔ |
อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ดังต่อไปนี้ |
|
|
๔.๑ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้น (upstream petrochemicalindustry) |
ทุกขนาด หรือที่มีการขยายกำลังการผลิตตั้งแต่ร้อยละ ๓๕ ของกำลังการผลิตเดิมขึ้นไป |
ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการหรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ หรือในขั้นขอขยายแล้วแต่กรณี
|
|
๔.๒ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นกลาง(intermediatepetrochemical industry)ดังต่อไปนี้ |
|
|
|
๔.๒.๑ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นกลาง(intermediatepetrochemical industry)ที่ผลิตสารเคมี หรือใช้วัตถุดิบที่เป็นสารเคมีซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งกลุ่ม ๑ |
ขนาดกำลังการผลิต ๑๐๐ ตัน/วัน ขึ้นไป หรือที่มีการขยายขนาดกำลังการผลิตรวมกันแล้วมากกว่า ๑๐๐ ตัน/วัน ขึ้นไป |
ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการหรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ หรือในขั้นขอขยาย แล้วแต่กรณี
|
|
๔.๒.๒ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นกลาง(intermediatepetrochemical industry)ที่ผลิต สารเคมี หรือใช้วัตถุดิบที่เป็นสารเคมี ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งกลุ่ม ๒ A |
ขนาดกำลังการผลิต ๗๐๐ ตัน/วัน ขึ้นไป หรือที่มีการขยายขนาดกำลังการผลิตรวมกันแล้วมากกว่า ๗๐๐ ตัน/วัน ขึ้นไป |
ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการหรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ หรือในขั้นขอขยาย แล้วแต่กรณี |
|
๕ |
อุตสาหกรรมถลุงแร่ หรือหลอมโลหะ ดังต่อไปนี้ |
|
|
๕.๑ อุตสาหกรรมถลุงแร่เหล็ก |
ที่มีปริมาณแร่ป้อน (input) เข้าสู่กระบวนการผลิต ตั้งแต่ ๕,๐๐๐ ตัน/วัน ขึ้นไป หรือที่มีปริมาณแร่ป้อน(input) เข้าสู่กระบวนการผลิตรวมกันตั้งแต่ ๕,๐๐๐ ตัน/วัน ขึ้นไป |
ให้เสนอในขั้นขออนุญาต ก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการ หรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ หรือในขั้นขอขยาย แล้วแต่กรณี |
|
๕.๒ อุตสาหกรรมถลุงแร่เหล็กที่มีการผลิตถ่านcoke หรือที่มีกระบวนการsintering |
ทุกขนาด |
ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการหรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ แล้วแต่กรณี |
|
๕.๓ อุตสาหกรรมถลุงแร่ ทองแดง ทองคำ หรือสังกะสี |
ที่มีปริมาณแร่ป้อน (input) เข้าสู่กระบวนการผลิต ตั้งแต่ ๑,๐๐๐ ตัน/วัน ขึ้นไป หรือที่มีปริมาณแร่ป้อน(input) เข้าสู่กระบวนการผลิต รวมกันตั้งแต่ ๑,๐๐๐ ตัน/วัน ขึ้นไป |
ให้เสนอในขั้นขออนุญาต ก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการ หรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ หรือในขั้นขอขยาย แล้วแต่กรณี |
|
๕.๔ อุตสาหกรรมถลุงแร่ตะกั่ว |
ทุกขนาด |
ให้เสนอในขั้นขออนุญาต ก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการ หรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ แล้วแต่กรณี |
|
๕.๕ อุตสาหกรรมหลอมโลหะ (ยกเว้นเหล็ก และอะลูมิเนียม) |
ขนาดกำลังการผลิต (output)ตั้งแต่ ๕๐ ตัน/วันขึ้นไป หรือมีกำลังการผลิตรวมกันตั้งแต่ ๕๐ ตัน/วัน ขึ้นไป |
ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการ หรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ หรือในขั้นขอขยาย แล้วแต่กรณี |
|
๕.๖ อุตสาหกรรมหลอมตะกั่ว |
ขนาดกำลังการผลิต (output)ตั้งแต่ ๑๐ ตัน/วัน ขึ้นไป หรือมีกำลังการผลิตรวมกันตั้งแต่ ๑๐ ตัน/วัน ขึ้นไป |
ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการ หรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ หรือในขั้นขอขยาย แล้วแต่กรณี |
|
๖[๒] |
การผลิต มีไว้ครอบครอง หรือใช้ซึ่งพลังงานปรมาณูจาก เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู |
ที่มีกำลังตั้งแต่ ๒ เมกะวัตต์ขึ้นไป |
ให้เสนอในขั้นขออนุมัติหรือขอ อนุญาตโครงการ |
๗ |
โรงงานปรับคุณภาพของเสียรวมหรือโรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการฝังกลบสิ่งปฏิกูล หรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานที่มีการเผาหรือฝังกลบของเสียอันตราย ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน ยกเว้นการเผาในหม้อเผาซิเมนต์ที่ใช้ของเสียอันตรายเป็นเชื้อเพลิงทดแทน หรือใช้เป็นเชื้อเพลิงเสริม |
ทุกขนาด |
ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการ หรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ แล้วแต่กรณี |
๘ |
โครงการระบบขนส่งทางอากาศ |
ที่มีการก่อสร้าง ขยาย หรือเพิ่มทางวิ่งของอากาศยานตั้งแต่ ๓,๐๐๐ เมตร ขึ้นไป |
ให้เสนอในขั้นขออนุมัติหรือขออนุญาตโครงการ |
๙ |
ท่าเทียบเรือ |
๑) ที่มีความยาวหน้าท่า (berthlength) ตั้งแต่ ๓๐๐ เมตรขึ้นไป หรือมีพื้นที่ท่าเทียบเรือตั้งแต่ ๑๐,๐๐๐ ตารางเมตร ขึ้นไป ยกเว้นท่าเทียบเรือโดยสารหรือท่าเทียบเรือเรือสินค้าเพื่อการอุปโภคและบริโภคหรือท่าเทียบเรือสำราญและกีฬา
๒) ที่มีการขุดลอกร่องน้ำตั้งแต่ ๑๐๐,๐๐๐ ตารางเมตร ขึ้นไป ยกเว้นท่าเทียบเรือโดยสาร หรือท่าเทียบเรือสินค้าเพื่อการอุปโภคและบริโภค หรือท่าเทียบเรือสำราญและกีฬา
๓) ที่มีการขนถ่ายวัตถุอันตรายหรือกากของเสียอันตรายซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งกลุ่ม ๑ มีปริมาณรวมกันตั้งแต่ ๒๕,๐๐๐ ตัน/เดือนขึ้นไป หรือมีปริมาณรวมกันทั้งปีตั้งแต่ ๒๕๐,๐๐๐ ตัน/ปี ขึ้นไป |
ให้เสนอในขั้นขออนุมัติ หรือขออนุญาตโครงการ
ให้เสนอในขั้นขออนุมัติ หรือขออนุญาตโครงการ
ให้เสนอในขั้นขออนุมัติ หรือขออนุญาตโครงการ |
๑๐ |
เขื่อนเก็บกักน้ำ หรืออ่างเก็บน้ำ |
๑) ที่มีปริมาตรเก็บกักน้ำ ตั้งแต่ ๑๐๐ ล้านลูกบาศก์เมตรขึ้นไป หรือ
๒) ที่มีพื้นที่เก็บกักน้ำตั้งแต่ ๑๕ ตารางกิโลเมตร ขึ้นไป |
ให้เสนอในขั้นขออนุมัติ หรือขออนุญาตโครงการ
ให้เสนอในขั้นขออนุมัติ หรือขออนุญาตโครงการ |
๑๑ |
โรงไฟฟ้าพลังความร้อน ดังต่อไปนี้ |
|
|
๑๑.๑ โรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง |
ขนาดกำลังผลิตกระแสไฟฟ้ารวม ตั้งแต่ ๑๐๐ เมกกะวัตต์ ขึ้นไป |
ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการ หรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ แล้วแต่กรณี |
|
๑๑.๒ โรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงชีวมวล |
ขนาดกำลังผลิตกระแสไฟฟ้ารวม ตั้งแต่ ๑๕๐ เมกกะวัตต์ ขึ้นไป |
ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการ หรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ แล้วแต่กรณี |
|
๑๑.๓ โรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งเป็นระบบพลังความร้อนร่วมชนิด combined cycleหรือ cogeneration |
ขนาดกำลังผลิตกระแสไฟฟ้ารวม ตั้งแต่๓,๐๐๐ เมกะวัตต์ขึ้นไป |
ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการ หรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ แล้วแต่กรณี |
|
๑๑.๔ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ |
ทุกขนาด |
ให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการ หรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ แล้วแต่กรณี |
ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภท ขนาด และวิธีปฏิบัติสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชนจะต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม พ.ศ. ๒๕๕๓ (ฉบับที่ ๔ ) พ.ศ. ๒๕๕๙[๓]
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ปริยานุช/จัดทำ
๑๔ กันยายน ๒๕๕๓
นุสรา/ปรับปรุง
๒๘ มกราคม ๒๕๕๙
วิศนี/เพิ่มเติม
๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๙
ปัญญา/ตรวจ
๗ มิถุนายน ๒๕๕๙
- [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๐๔ ง/หน้า ๓๔/๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๓
- [๒] ตารางเอกสารแนบท้ายประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภท ขนาด และวิธีปฏิบัติ สำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ ที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน จะต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม พ.ศ. ๒๕๕๓ ลำดับที่ ๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภท ขนาด และวิธีปฏิบัติสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชนจะต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม พ.ศ. ๒๕๕๓ (ฉบับที่ ๔ ) พ.ศ. ๒๕๕๙
- [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๙๓ ง/หน้า ๔/๒๒ เมษายน ๒๕๕๙