พระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 บังคับในท้องที่บางแห่งในตำบลบ่อแฮ้ว ตำบลพิชัย ตำบลพระบาท และตำบลชมพู อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง พ.ศ. 2532

พระราชกฤษฎีกา

ให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒

บังคับในท้องที่บางแห่งในตำบลบ่อแฮ้ว ตำบลพิชัย ตำบลพระบาท

และตำบลชมพู อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง

พ.ศ. ๒๕๓๒

                   

 

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.

ให้ไว้ ณ วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๒

เป็นปีที่ ๔๔ ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ บังคับในท้องที่บางแห่งในตำบลบ่อแฮ้ว ตำบลพิชัย ตำบลพระบาท และตำบลชมพู อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง

 

            อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้

 

             มาตรา ๑  พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ บังคับในท้องที่บางแห่งในตำบลบ่อแฮ้ว ตำบลพิชัย ตำบลพระบาท และตำบลชมพู อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง พ.ศ. ๒๕๓๒”

 

มาตรา ๒[๑]  พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

 

           มาตรา ๓  ให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ บังคับในท้องที่บางแห่งในตำบลบ่อแฮ้ว ตำบลพิชัย ตำบลพระบาท และตำบลชมพู อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้

 

มาตรา ๔  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้

 

 

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

พลเอก ชาติชาย  ชุณหะวัณ

นายกรัฐมนตรี

[เอกสารแนบท้าย]

 

                 ๑.  แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ บังคับในท้องที่บางแห่งในตำบลบ่อแฮ้ว ตำบลพิชัย ตำบลพระบาท และตำบลชมพู อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง พ.ศ. ๒๕๓๒

 

(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่บางแห่งในตำบลบ่อแฮ้ว ตำบลพิชัย ตำบลพระบาท และตำบลชมพู อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง กำลังมีการขยายตัวทั้งในด้านการก่อสร้างอาคารและการผังเมือง สมควรให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ บังคับในท้องที่ดังกล่าว เพื่อประโยชน์ในด้านการควบคุมเกี่ยวกับความมั่นคงแข็งแรง ความปลอดภัย การป้องกันอัคคีภัย การสาธารณสุข การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การผังเมือง การสถาปัตยกรรม และการอำนวยความสะดวกแก่การจราจร จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

 

 

 

สรัลพร/พิมพ์

๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๐

ฐิติพงษ์/ตรวจ

๑๔ มกราคม ๒๕๕๑

 

[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๕๒/ฉบับพิเศษ หน้า ๒๓/๑๓ กันยายน ๒๕๓๒