พระราชกฤษฎีกา กำหนดป่ายางวังยาว ในท้องที่ตำบลยางหย่อง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ให้เป็นป่าคุ้มครอง พุทธศักราช 2484

พระราชกฤษฎีกา

กำหนดป่ายางวังยาว ในท้องที่ตำบลยางหย่อง อำเภอท่ายาง

จังหวัดเพชรบุรี ให้เป็นป่าคุ้มครอง

พุทธศักราช ๒๔๘๔

-------------

                                ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล

                                                คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

                                          (ตามประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎร

                                           ลงวันที่ ๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๘๑)

                                                            อาทิตย์ทิพอาภา

                                                      พล. อ. พิชเยนทร โยธิน

                                     ตราไว้ ณ วันที่ ๑๗ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๔

                                                    เป็นปีที่ ๘ ในรัชกาลปัจจุบัน

                        โดยที่เห็นสมควรกำหนดป่ายางวังยาว ในท้องที่ตำบลยางหย่อง อำเภอท่ายาง

จังหวัดเพชรบุรี ให้เป็นป่าคุ้มครอง

                        คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองและสงวนป่า พุทธศักราช

๒๔๘๑ จึงให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้

                        มาตรา ๑  พระราชกฤษฎีกานี้ให้เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกากำหนดป่ายางวังยาว

ในท้องที่ตำบลยางหย่อง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ให้เป็นป่าคุ้มครอง พุทธศักราช ๒๔๘๔"

                        มาตรา ๒  ให้ใช้พระราชกฤษฎีกานี้เมื่อพ้นกำหนดสามสิบวัน นับตั้งแต่วัน

ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

                        มาตรา ๓  ให้ป่ายางวังยาว ในท้องที่ตำบลยางหย่อง อำเภอท่ายาง จังหวัด

เพชรบุรี ภายในเขตดังปรากฏตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เป็นป่าคุ้มครอง

                        มาตรา ๔  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการรักษาการให้เป็นไปตาม

พระราชกฤษฎีกานี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

        พิบูลสงคราม

       นายกรัฐมนตรี

[รก.๒๔๘๔/-/๗๘๓/๑ กรกฎาคม ๒๔๘๔]

                                                                                                ชไมพร/พิมพ์

                                                                                                ๒๙ ตุลาคม ๒๕๔๔