พระราชกฤษฎีกา ยุบรวมสภาตำบลห้วยราชากับเทศบาลตำบลห้วยราช และกำหนดเขตเทศบาลตำบลห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ พ.ศ. 2546
พระราชกฤษฎีกา
ยุบรวมสภาตำบลห้วยราชากับเทศบาลตำบลห้วยราช
และกำหนดเขตเทศบาลตำบลห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์
พ.ศ. ๒๕๔๖
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖
เป็นปีที่ ๕๘ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรรวมสภาตำบลห้วยราชากับเทศบาลตำบลห้วยราชตามเจตนารมณ์ของประชาชนในเขตสภาตำบลห้วยราชา และกำหนดเขตเทศบาลตำบลห้วยราช
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๔๑ ตรี แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๒ ประกอบกับมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๔๙๙ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกายุบรวมสภาตำบลห้วยราชากับเทศบาลตำบลห้วยราช และกำหนดเขตเทศบาลตำบลห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ พ.ศ. ๒๕๔๖”
มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้รวมสภาตำบลห้วยราชาเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเทศบาลตำบลห้วยราช ซึ่งตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์
การใดที่สภาตำบลห้วยราชาได้กระทำไปแล้วโดยชอบด้วยกฎหมายว่าด้วยการนั้นๆ ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้ถือเป็นอันใช้ได้และผูกพันเทศบาลตำบลห้วยราช
มาตรา ๔ เขตของเทศบาลตำบลห้วยราช ซึ่งตั้งอยู่ในอำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ ให้มีดังต่อไปนี้
หลักเขตที่ ๑ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือ ตั้งฉากกับทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ตรงกิโลเมตรที่ ๓๘๑.๘๘๐ ระยะทางประมาณ ๒,๓๐๐ เมตร บริเวณพิกัด UB ๐๓๒๕๙๓
ด้านเหนือ
จากหลักเขตที่ ๑ เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตามแนวเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลห้วยราชากับตำบลสามแวง ระยะทางประมาณ ๒,๕๐๐ เมตร ถึงหลักเขตที่ ๒ ซึ่งตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของห้วยราช บริเวณพิกัด UB ๐๕๖๕๘๓
จากหลักเขตที่ ๒ เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตามแนวเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลห้วยราชากับตำบลสามแวง ระยะทางประมาณ ๑,๒๐๐ เมตร ถึงหลักเขตที่ ๓ ซึ่งตั้งอยู่ฟากตะวันตกของถนน รพช. บร. ๒๐๑๒ บริเวณพิกัด UB ๐๖๗๕๗๘
จากหลักเขตที่ ๓ เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตามแนวเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลห้วยราชากับตำบลสามแวง ระยะทางประมาณ ๑,๘๐๐ เมตร ถึงหลักเขตที่ ๔ ซึ่งตั้งอยู่ด้านตะวันออกเฉียงเหนือของหนองสะเปรือน บริเวณพิกัด UB ๐๘๕๕๗๖
ด้านตะวันออก
จากหลักเขตที่ ๔ เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตามแนวเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลห้วยราชากับตำบลสามแวง และเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลห้วยราชากับตำบลบ้านตะโก ระยะทางประมาณ ๕๐๐ เมตร ถึงหลักเขตที่ ๕ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณพิกัด UB๐๘๖๕๗๑
จากหลักเขตที่ ๕ เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ตามแนวเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลห้วยราชากับตำบลบ้านตะโก ระยะทางประมาณ ๑,๗๐๐ เมตร ถึงหลักเขตที่ ๖ ซึ่งตั้งอยู่ฟากใต้ของถนน รพช. บร. ๒๐๒๐ บริเวณพิกัด UB ๐๘๓๕๕๕
จากหลักเขตที่ ๖ เป็นเส้นตรงไปทางทิศใต้ ถึงหลักเขตที่ ๗ ซึ่งตั้งอยู่ทางฟากเหนือของทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ตรงกิโลเมตรที่ ๓๘๘.๔๐๐ ระยะทางประมาณ ๙๐๐ เมตร บริเวณพิกัด UB ๐๘๓๕๔๗
ด้านใต้
จากหลักเขตที่ ๗ เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเลียบทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ถึงหลักเขตที่ ๘ ตรงกิโลเมตรที่ ๓๘๖ ระยะทางประมาณ ๒,๔๐๐ เมตร บริเวณพิกัด UB ๐๖๒๕๕๖
จากหลักเขตที่ ๘ เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ถึงหลักเขตที่ ๙ ซึ่งตั้งฉากกับทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะทางประมาณ ๕๐๐ เมตร บริเวณพิกัด UB ๐๕๙๕๕๑
จากหลักเขตที่ ๙ เป็นเส้นตรงขนานกับทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ระยะทางประมาณ ๑,๕๐๐ เมตร ถึงหลักเขตที่ ๑๐ บริเวณพิกัด UB ๐๔๖๕๕๖
จากหลักเขตที่ ๑๐ เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ถึงหลักเขตที่ ๑๑ ซึ่งตั้งอยู่ฟากเหนือของทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ตรงกิโลเมตรที่ ๓๘๔.๕๐๐ ระยะทางประมาณ ๕๐๐ เมตร บริเวณพิกัด UB ๐๔๘๕๖๑
จากหลักเขตที่ ๑๑ เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตามทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ถึงหลักเขตที่ ๑๒ ซึ่งตั้งอยู่ฟากเหนือของทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ตรงกิโลเมตรที่ ๓๘๑.๘๘๐ ระยะทางประมาณ ๒,๗๐๐ เมตร บริเวณพิกัด UB๐๒๔๕๗๒
ด้านตะวันตก
จากหลักเขตที่ ๑๒ เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะทางประมาณ ๒,๓๐๐ เมตร ตามแนวเส้นแบ่งเขตระหว่างอำเภอเมืองบุรีรัมย์กับอำเภอห้วยราช บรรจบหลักเขตที่ ๑
ดังปรากฏตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้
ตามเส้นแนวเขตที่กล่าวไว้ในมาตรานี้ ให้มีหลักย่อยปักไว้เพื่อแสดงแนวเขตตามสมควร
มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
[เอกสารแนบท้าย]
๑. แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกายุบรวมสภาตำบลห้วยราชากับเทศบาลตำบลห้วยราช และกำหนดเขตเทศบาลตำบลห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ พ.ศ. ๒๕๔๖
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากประชาชนในสภาตำบลห้วยราชามีเจตนารมณ์ที่จะรวมกับเทศบาลตำบลห้วยราชที่มีเขตติดต่อกันภายในเขตอำเภอเดียวกัน ทั้งนี้ ตามผลการสำรวจเจตนารมณ์ของประชาชนในสภาตำบลห้วยราชา และโดยที่มาตรา ๔๑ ตรี แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๒ บัญญัติให้กระทำได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาและให้กำหนดเขตใหม่ของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นไว้ในพระราชกฤษฎีกานี้ด้วย ประกอบกับมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๔๙๙ บัญญัติให้การเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลให้กระทำโดยพระราชกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
สรัลพร/พิมพ์
๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
ฐิติพงษ์/ตรวจ
๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๘๗ ก/หน้า ๑/๑๗ กันยายน ๒๕๔๖