พระราชกฤษฎีกา ให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 บังคับในเขตสุขาภิบาลบางแห่ง พ.ศ. 2534

พระราชกฤษฎีกา

ให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒

บังคับในเขตสุขาภิบาลบางแห่ง

พ.ศ. ๒๕๓๔

-----------------------

                                                           ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.

                                           ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๔

                                                    เป็นปีที่ ๔๖ ในรัชกาลปัจจุบัน

                        พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ

โปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า

                        โดยที่เป็นการสมควรให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ บังคับ

ในเขตสุขาภิบาลบางแห่ง

                        อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร

พุทธศักราช ๒๕๓๔ และมาตรา ๒ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ จึงทรง

พระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้

                        มาตรา  ๑  พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติ

ควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ บังคับในเขตสุขาภิบาลบางแห่ง พ.ศ. ๒๕๓๔"

                        มาตรา  ๒  พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราช

กิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

                        มาตรา  ๓  ให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ บังคับในเขต

สุขาภิบาล ดังต่อไปนี้

                        (๑)  สุขาภิบาลเกาะลันตาใหญ่ อำเภอเกาะลันตา สุขาภิบาลคลองพน อำเภอ

คลองท่อม และสุขาภิบาลแหลมสัก อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่

                        (๒)  สุขาภิบาลลาดหญ้า อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

                        (๓)  สุขาภิบาลยางตลาด อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์

                        (๔)  สุขาภิบาลลานกระบือ อำเภอลานกระบือ และสุขาภิบาลปากดง อำเภอ

เมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร

                        (๕)  สุขาภิบาลชนบท อำเภอชนบท สุขาภิบาลโนนหัน อำเภอชุมแพ สุขาภิบาล

วังชัย อำเภอน้ำพอง และสุขาภิบาลมัญจาคีรี อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น

                        (๖)  สุขาภิบาลบ้านโพธิ์ อำเภอบ้านโพธิ์ สุขาภิบาลแปลงยาว อำเภอแปลงยาว

และสุขาภิบาลเกาะขนุน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา

                        (๗)  สุขาภิบาลบ่อทอง อำเภอบ่อทอง สุขาภิบาลพานทอง สุขาภิบาลหนอง

ตำลึง อำเภอพานทอง สุขาภิบาลเกาะสีชัง กิ่งอำเภอเกาะสีชัง อำเภอศรีราชา และสุขาภิบาลบาง

เสร่ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

                        (๘)  สุขาภิบาลแพรกศรีราชา อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท

                        (๙)  สุขาภิบาลหนองบัวแดง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ

                        (๑๐)  สุขาภิบาลเชียงดาว อำเภอเชียงดาว สุขาภิบาลเวียงพร้าว อำเภอพร้าว

สุขาภิบาลแม่แจ่ม อำเภอแม่แจ่ม สุขาภิบาลต้นเปา อำเภอสันกำแพง สุขาภิบาลบ้านกลาง

สุขาภิบาลบ้านภาค อำเภอสันป่าตอง สุขาภิบาลยางเนิ้ง อำเภอสารภี และสุขาภิบาลหนองตอง

พัฒนา อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่

                        (๑๑)  สุขาภิบาลท่าข้าม สุขาภิบาลทุ่งยาว อำเภอปะเหลียน สุขาภิบาลย่านตา

ขาว อำเภอย่านตาขาว สุขาภิบาลสิเกา อำเภอสิเกา สุขาภิบาลคลองปาง อำเภอห้วยยอด และ

สุขาภิบาลนาโยงเหนือ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง

                        (๑๒)  สุขาภิบาลแม่จะเรา สุขาภิบาลแม่ระมาด อำเภอแม่ระมาด สุขาภิบาล

ท่าสายลวด อำเภอแม่สอด สุขาภิบาลสามเงา อำเภอสามเงา สุขาภิบาลอุ้มผาง อำเภออุ้มผาง และ

สุขาภิบาลวังเจ้า อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก

                        (๑๓)  สุขาภิบาลท่าอุเทน อำเภอท่าอุเทน และสุขาภิบาลธาตุพนม อำเภอธาตุ

พนม จังหวัดนครพนม

                        (๑๔)  สุขาภิบาลเมืองคง อำเภอคง สุขาภิบาลด่านขุนทด อำเภอด่านขุนทด

สุขาภิบาลกลางดง อำเภอปากช่อง และสุขาภิบาลกุดจิก อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา

                        (๑๕)  สุขาภิบาลชะอวด อำเภอชะอวด สุขาภิบาลเชียรใหญ่ อำเภอเชียรใหญ่

สุขาภิบาลท่ายาง อำเภอทุ่งใหญ่ สุขาภิบาลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา และสุขาภิบาลนาบอน

อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช

                        (๑๖)  สุขาภิบาลโกรกพระ อำเภอโกรกพระ สุขาภิบาลช่องแค อำเภอตาคลี

และสุขาภิบาลหนองเบน อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์

                        (๑๗)  สุขาภิบาลตันหยงมัส อำเภอระแงะ และสุขาภิบาลรือเสาะ อำเภอรือ

เสาะ จังหวัดนราธิวาส

                        (๑๘)  สุขาภิบาลโซ่พิสัย อำเภอโซ่พิสัย สุขาภิบาลโพนสา อำเภอท่าบ่อ

สุขาภิบาลพรเจริญ อำเภอพรเจริญ และสุขาภิบาลสังคม อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย

                        (๑๙)  สุขาภิบาลกุยบุรี อำเภอกุยบุรี และสุขาภิบาลหนองพลับ อำเภอหัวหิน

จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

                        (๒๐)  สุขาภิบาลเมืองเก่า อำเภอกบินทร์บุรี สุขาภิบาลวังน้ำเย็น อำเภอวังน้ำ

เย็น สุขาภิบาลวัฒนานคร อำเภอวัฒนานคร สุขาภิบาลศรีมหาโพธิ อำเภอศรีมหาโพธิ และ

สุขาภิบาลสระแก้ว อำเภอสระแก้ว จังหวัดปราจีนบุรี

                        (๒๑)  สุขาภิบาลคุระบุรี อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา

                        (๒๒)  สุขาภิบาลเขาชัยสน สุขาภิบาลท่ามะเดื่อ อำเภอเขาชัยสน สุขาภิบาล

ควนขนุน สุขาภิบาลมะกอกเหนือ อำเภอควนขนุน สุขาภิบาลแม่ขรี อำเภอตะโหมด และสุขาภิบาล

ปากพะยูน จังหวัดพัทลุง

                        (๒๓)  สุขาภิบาลป่าแดง อำเภอชาติตระการ และสุขาภิบาลวัดโบสถ์ อำเภอวัด

โบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก

                        (๒๔)  สุขาภิบาลท่ายาง อำเภอท่ายาง และสุขาภิบาลบางตะบูน สุขาภิบาล

บ้านแหลม อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี

                        (๒๕)  สุขาภิบาลร้องกวาง อำเภอร้องกวาง สุขาภิบาลห้วยอ้อ อำเภอลอง

สุขาภิบาลวังชิ้น อำเภอวังชิ้น สุขาภิบาลสูงเม่น อำเภอสูงเม่น สุขาภิบาลสอง อำเภอสอง และ

สุขาภิบาลทุ่งโฮ้ง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่

                        (๒๖)  สุขาภิบาลห้วยข้าวก่ำ อำเภอจุน สุขาภิบาลเชียงคำ สุขาภิบาลสบบง

อำเภอเชียงคำ สุขาภิบาลเชียงม่วน อำเภอเชียงม่วน สุขาภิบาลดอกคำใต้ อำเภอดอกคำใต้

สุขาภิบาลปง อำเภอปง และสุขาภิบาลแม่ใจ อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา

                        (๒๗)  สุขาภิบาลหนองแสง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม

                        (๒๘)  สุขาภิบาลขุนยวม อำเภอขุนยวม สุขาภิบาลปาย อำเภอปาย และ

สุขาภิบาลแม่สะเรียง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

                        (๒๙) สุขาภิบาลคำชะอี อำเภอคำชะอี และสุขาภิบาลนิคมคำสร้อย อำเภอนิคม

คำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร

                        (๓๐) สุขาภิบาลลำใหม่ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

                        (๓๑) สุขาภิบาลเกษตรวิสัย อำเภอเกษตรวิสัย สุขาภิบาลจตุรพักตร์พิมาน

อำเภอจตุรพักตร์พิมาน สุขาภิบาลพนมไพร อำเภอพนมไพร สุขาภิบาลกลาง อำเภอเสลภูมิ และ

สุขาภิบาลสระคู อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

                        (๓๒) สุขาภิบาลน้ำจืด อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง

                        (๓๓) สุขาภิบาลทุ่งควายกิน อำเภอแกลง สุขาภิบาลบ้านค่าย อำเภอบ้านค่าย

และสุขาภิบาลแกลงกะเฉด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง

                        (๓๔) สุขาภิบาลห้วยเหนือ อำเภอขุขันธ์ สุขาภิบาลขุนหาญ อำเภอขุนหาญ

สุขาภิบาลไพรบึง อำเภอไพรบึง และสุขาภิบาลเมืองคง อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ

                        (๓๕) สุขาภิบาลกุดบาก อำเภอกุดบาก สุขาภิบาลวาริชภูมิ อำเภอวาริชภูมิ

และสุขาภิบาลสว่างแดนดิน อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร

                        (๓๖) สุขาภิบาลพังลา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา

                        (๓๗) สุขาภิบาลกำแพง อำเภอละงู และสุขาภิบาลฉลุง อำเภอเมืองสตูล

จังหวัดสตูล

                        (๓๘) สุขาภิบาลบ้านแพ้ว และสุขาภิบาลหลักห้า อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัด

สมุทรสาคร

                        (๓๙)  สุขาภิบาลบ้านหมอ อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี

                        (๔๐) สุขาภิบาลกงไกรลาศ อำเภอกงไกรลาศ สุขาภิบาลลานหอย อำเภอบ้าน

ด่านลานหอย สุขาภิบาลศรีสำโรง อำเภอศรีสำโรง และสุขาภิบาลศรีสัชนาลัย สุขาภิบาลหาดเสี้ยว

อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย

                        (๔๑) สุขาภิบาลนางบวช อำเภอเดิมบางนางบวช สุขาภิบาลโคกคาม

สุขาภิบาลบางปลาม้า สุขาภิบาลบ้านแหลม สุขาภิบาลไผ่กองดิน อำเภอบางปลาม้า และ

สุขาภิบาลโพธิ์พระยา อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี

                        (๔๒) สุขาภิบาลจอมพระ อำเภอจอมพระ สุขาภิบาลท่าตูม อำเภอท่าตูม

สุขาภิบาลกังแอน อำเภอปราสาท สุขาภิบาลรัตนบุรี อำเภอรัตนบุรี สุขาภิบาลระแงง อำเภอ

ศีขรภูมิ สุขาภิบาลสังขะ อำเภอสังขะ สุขาภิบาลสำโรงทาบ อำเภอสำโรงทาบ และสุขาภิบาล

เมืองที อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

                        (๔๓)  สุขาภิบาลนากลาง อำเภอนากลาง สุขาภิบาลโนนสะอาด อำเภอโนน

สะอาด สุขาภิบาลบ้านผือ อำเภอบ้านผือ สุขาภิบาลโนนสูงเปลือย อำเภอศรีบุญเรือง สุขาภิบาล

สุวรรณคูหา อำเภอสุวรรณคูหา สุขาภิบาลหนองวัวซอ อำเภอหนองวัวซอ และสุขาภิบาลบ้านเชียง

สุขาภิบาลหนองหาน อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี

                        (๔๔)  สุขาภิบาลลานสัก อำเภอลานสัก และสุขาภิบาลหนองฉาง อำเภอหนอง

ฉาง จังหวัดอุทัยธานี

                        มาตรา  ๔  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราช

กฤษฎีกานี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

         อานันท์  ปันยารชุน

           นายกรัฐมนตรี

-----------------------------------------------------------------------------------------------------

หมายเหตุ :-  เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในเขตสุขาภิบาล

บางแห่ง กำลังมีการขยายตัวทั้งในด้านการก่อสร้างอาคารและการผังเมือง สมควรให้ใช้พระราช

บัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ บังคับในเขตสุขาภิบาลดังกล่าว เพื่อประโยชน์ในด้านการ

ควบคุมเกี่ยวกับความมั่นคงแข็งแรง ความปลอดภัย การป้องกันอัคคีภัย การสาธารณสุข การรักษา

คุณภาพสิ่งแวดล้อม การผังเมือง การสถาปัตยกรรม และการอำนวยความสะดวกแก่การจราจร จึง

จำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

[รก.๒๕๓๔/๑๗๙/๑พ/๙ ตุลาคม ๒๕๓๔]

                                                                                    พุทธชาด/แก้ไข

                                                                                    ๐๔/๑๐/๔๕

                                                                                    A+B (C)