พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำสยาม แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พุทธศักราช 2479
พระราชบัญญัติ
การเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ ๕)
พุทธศักราช ๒๔๗๙
ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
(ตามประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎร
ลงวันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๗๘)
อาทิตย์ทิพอาภา
เจ้าพระยายมราช
พล.อ.เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน
ตราไว้ ณ วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๗๙
เป็นปีที่ ๓ ในรัชกาลปัจจุบัน
โดยที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติว่า สมควรแก้ไขพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒) เพื่อให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
จึงมีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้ให้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ ๕) พุทธศักราช ๒๔๗๙”
มาตรา ๒[๑] ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๑ วรรค ๒ แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒) นั้นเสีย
มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการมีหน้าที่รักษาการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พ.อ. พหลพลพยุหเสนา
นายกรัฐมนตรี
พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทยแก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒) มาตรา ๑๑ วรรคสอง ซึ่งพระราชบัญญัตินี้ให้ยกเลิกมีความดังนี้ “แต่เจ้าของเรือหรือนายเรือย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องขอให้ผู้นำร่องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ตนอีกต่อหนึ่ง”
วศิน/แก้ไข
๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๓/-/หน้า ๗๑๙/๒๙ พฤศจิกายน ๒๔๗๙