คลังสำหรับ 04/07/2016

พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. ๒๕๑๒ มีบทบัญญัติที่ไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบันและไม่เอื้ออำนวยต่อการส่งเสริมการประกอบกิจการโรงงาน เนื่องจากกำหนดให้โรงงานทุกลักษณะต้องขออนุญาตเช่นเดียวกันทั้ง ๆ ที่ตามสภาพที่เป็นจริงโรงงานต่าง ๆ มีลักษณะที่แตกต่างกัน โรงงานบางประเภทไม่จำเป็นจะต้องควบคุมดูแลการตั้งโรงงาน เพียงแต่ดูแลการดำเนินงานเท่านั้น คงมีแต่โรงงานบางประเภทที่อาจเกิดอันตรายจากการประกอบกิจการได้เท่านั้นที่ควรจะควบคุมการจัดตั้งอย่างเคร่งครัด จึงสมควรปรับปรุงระบบการควบคุมดูแลให้สอดคล้องกับสภาพการประกอบกิจการด้วยการให้โรงงานบางลักษณะอาจประกอบกิจการได้ภายใต้ระบบการกำกับตามปกติ และโรงงานบางลักษณะจะต้องแจ้งให้ทราบก่อนจึงจะเริ่มประกอบกิจการได้ โดยคงมีแต่โรงงานบางลักษณะที่จำเป็นเท่านั้นที่จะยังคงใช้ระบบการอนุญาต และสมควรปรับปรุงวิธีการอนุญาตให้เหมาะสมยิ่งขึ้นด้วย นอกจากนี้ ได้กำหนดให้มีการประสานงานกันระหว่างพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตตามกฎหมายให้พิจารณาลดการดำเนินงานที่ซ้ำซ้อนกันเพื่อความสะดวกแก่ผู้ประกอบการ และสมควรปรับปรุงการควบคุมการประกอบกิจการโรงงานให้เป็นไปโดยได้ผลยิ่งขึ้นด้วยการให้มีการออกกฎเพื่อกำหนดขอบเขตการประกอบกิจการโรงงานให้ชัดเจน และกำหนดขั้นตอนการใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการออกคำสั่งเพื่อบังคับให้โรงงานปฏิบัติตามกฎหมาย พร้อมกับปรับปรุงอัตราโทษและกำหนดให้มีการร่วมรับผิดสำหรับผู้ที่ทำงานในโรงงานนอกเหนือจากเจ้าของโรงงานเพื่อให้การควบคุมโรงงานเป็นไปอย่างได้ผลยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชบัญญัติรักษาคลองประปา พ.ศ. 2526

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่กฎหมายว่าด้วยการรักษาคลองประปาซึ่งได้ตราขึ้นไว้ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๕๖ มีบทบัญญัติที่ไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบันซึ่งได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเป็นอันมาก ทำให้เกิดความไม่สะดวกแก่การปฏิบัติราชการ นอกจากนี้ได้มีการจัดตั้งการประปาส่วนภูมิภาคแยกต่างหากจากการประปานครหลวงแล้ว ในการนี้สมควรปรับปรุงบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวให้เหมาะสมยิ่งขึ้น รวมทั้งให้มีการรักษาคลองประปาในเขตของการประปาส่วนภูมิภาคในลักษณะเดียวกันกับคลองประปาในเขตของการประปานครหลวงด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

กฎกระทรวง ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2555) ออกตามความในพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรยกเว้นค่าใช้น้ำบาดาลให้แก่ผู้รับใบอนุญาตใช้น้ำบาดาลซึ่งสถานที่ประกอบกิจการน้ำบาดาลได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติ หรือซึ่งได้ใช้น้ำบาดาลเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติ เพื่อเป็นการบรรเทาภาระค่าใช้น้ำบาดาลให้แก่ผู้รับใบอนุญาตใช้น้ำบาดาลซึ่งได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายจากภัยธรรมชาติดังกล่าว จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

พระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ในท้องที่ตำบลสวนพริก ตำบลลุมพลี ตำบลบ้านเกาะ ตำบลคลองสระบัว ตำบลหันตรา ตำบลภูเขาทอง ตำบลบ้านป้อม ตำบลไผ่ลิง ตำบลสำเภาล่ม ตำบลคลองสวนพลู ตำบลปากกราน ตำบลเกาะเรียน อำเภอพระนครศรีอยุธยา และตำบลธนู อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พ.ศ. 2532

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่บางแห่งในตำบลสวนพริก ตำบลลุมพลี ตำบลบ้านเกาะ ตำบลคลองสระบัว ตำบลหันตรา ตำบลภูเขาทอง ตำบลบ้านป้อม ตำบลไผ่ลิง ตำบลสำเภาล่ม ตำบลคลองสวนพลู ตำบลปากกราน ตำบลเกาะเรียน อำเภอพระนครศรีอยุธยา และตำบลธนู อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กำลังมีการขยายตัวทั้งในด้านการก่อสร้างอาคารและการผังเมือง สมควรให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ บังคับในท้องที่ดังกล่าว เพื่อประโยชน์ในด้านการควบคุมเกี่ยวกับความมั่นคงแข็งแรง ความปลอดภัย การป้องกันอัคคีภัย การสาธารณสุข การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การผังเมือง การสถาปัตยกรรม และการอำนวยความสะดวกแก่การจราจร จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

พระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ในท้องที่ตำบลท่าทราย ตำบลโคกขาม ตำบลท่าจีน และตำบลบางหญ้าแพรก อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร พ.ศ. 2533

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่บางแห่งในตำบลอ่าวน้อย และตำบลเกาะหลัก อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กำลังมีการขยายตัวทั้งในด้านการก่อสร้างอาคารและการผังเมือง สมควรให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ บังคับในท้องที่ดังกล่าว เพื่อประโยชน์ในด้านการควบคุมเกี่ยวกับความมั่นคงแข็งแรง ความปลอดภัย การป้องกันอัคคีภัย การสาธารณสุข การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การผังเมือง การสถาปัตยกรรม และการอำนวยความสะดวกแก่การจราจร จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

พระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 บังคับในเขตเทศบาลตำบลบางแห่งในจังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดพะเยา จังหวัดพิจิตร จังหวัดลำพูน จังหวัดเลย และจังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. 2547

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในเขตเทศบาลตำบลธัญญา อำเภอกมลาไสย เทศบาลตำบลนาจารย์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เทศบาลตำบลบ้านทราย อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา เทศบาลตำบลโพธิ์ประทับช้าง อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร เทศบาลตำบลริมปิง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน เทศบาลตำบลนาด้วง อำเภอนาด้วง เทศบาลตำบลนาแห้ว อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย และเทศบาลตำบลตาลสุม อำเภอตาลสุม เทศบาลตำบลอ่างศิลา อำเภอพิบูลมังสาหาร เทศบาลตำบลโพธิ์ไทร อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี มีการขยายตัวทั้งในด้านการก่อสร้างอาคารและการผังเมือง สมควรให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ บังคับในท้องที่ดังกล่าว เพื่อประโยชน์ในด้านการควบคุมเกี่ยวกับความมั่นคงแข็งแรง ความปลอดภัย การป้องกันอัคคีภัย การสาธารณสุข การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การผังเมือง การสถาปัตยกรรม และการอำนวยความสะดวกแก่การจราจร จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

กฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าใช้น้ำบาดาลที่นำส่งเข้ากองทุนพัฒนาน้ำบาดาล พ.ศ. 2547

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๗ จัตวา แห่งพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. ๒๕๒๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติน้ำบาดาล (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๖ กำหนดให้จัดตั้งกองทุนพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อเป็นทุนใช้จ่ายในการศึกษา วิจัย พัฒนา และอนุรักษ์แหล่งน้ำบาดาลและสิ่งแวดล้อม และกำหนดให้กองทุนพัฒนาน้ำบาดาลประกอบด้วยเงินที่ได้จากการเรียกเก็บค่าใช้น้ำบาดาลตามมาตรา ๗ (๒) แห่งพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. ๒๕๒๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติน้ำบาดาล (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๖ ที่นำส่งเข้ากองทุนพัฒนาน้ำบาดาลตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลน้ำพุ และตำบลท่าชี อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2550

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่ตำบลน้ำพุ และตำบลท่าชี อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมากสมควรกำหนดเขตที่ดินที่ได้จำแนกออกจากเขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี ป่าบ้านนา – ท่าเรือ – เคียนซาในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง