คลังหมวดหมู่ : ‘กฎหมายลูก’

กฎกระทรวง ฉบับที่ 28 (พ.ศ. 2532) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๖๘ จัตวา

วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช ๒๔๘๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย

พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช ๒๔๘๔ พ.ศ. ๒๕๓๒

ได้กำหนดให้การยื่นคำขอพิสูจน์ การพิสูจน์ การพิจารณาและการสั่งการของรัฐมนตรี

ในกรณีผู้รับสัมปทานที่ประสงค์จะพิสูจน์เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิหรือกรรมสิทธิ์ในไม้ซึ่งตน

ได้มาจากการทำไม้ตามสัมปทานที่รัฐมนตรีมีคำสั่งตามมาตรา ๖๘ ทวิ หรือที่สิทธิการ

ทำกิจการที่ได้รับสัมปทานสิ้นสุดลงตามมาตรา ๖๘ ตรี หรือตามมาตรา ๔

แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช ๒๔๘๔

พ.ศ. ๒๕๓๒ หรือในกรณีที่สัมปทานสิ้นสุดลง เนื่องจากทางราชการได้ใช้สิทธิเพิกถอน

สัมปทานเพราะเหตุที่ผู้รับสัมปทานไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดหรือเงื่อนไขที่กำหนดใน

สัมปทาน ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงจึงจำ

เป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

กฎกระทรวง ฉบับที่ 29 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒๔

(พ.ศ. ๒๕๑๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช ๒๔๘๔ ว่าด้วยการทำไม้

หวงห้ามกำหนดหลักเกณฑ์การทำไม้โดยวิธีตัดเท่านั้น แต่ปัจจุบันการทำไม้สามารถกระทำโดยวิธี

ขุดล้อมไปปลูกทั้งต้นได้ด้วย สมควรปรับปรุงวิธีการทำไม้ให้สามารถกระทำได้หลายวิธี จึงจำเป็น

ต้องออกกฎกระทรวงนี้

กฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตทำประโยชน์ในเขตป่า พ.ศ. 2558

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการขออนุญาตและการอนุญาตให้บุคคลทำประโยชน์ในเขตป่าตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๖ (พ.ศ. ๒๔๙๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช ๒๔๘๔ ว่าด้วยการแผ้วถางป่า ใช้บังคับมาเป็นเวลานานและขาดความชัดเจน รวมทั้งไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน สมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังกล่าวเสียใหม่ให้เหมาะสมและชัดเจนยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

พระราชกฤษฎีกากำหนดของป่าหวงห้าม พ.ศ. 2497

หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากของป่าบางชนิดมีคุณภาพ

ดี บางชนิดมีราคาสูง และบางชนิดก็หายาก ซึ่งมีบุคคลนิยมเก็บหานำออกมาเพื่อการค้าหรือประกอบ

การอุตสาหกรรมเป็นปริมาณมาก และการเก็บหาของป่าดั่งกล่าวนี้ได้กระทำไปโดยมุ่งหวังที่จะได้ของป่า

เป็นปริมาณมากแต่ถ่ายเดียว หาได้คำนึงถึงความเสียหายแก่พืชพันธุ์แห่งของป่าแต่อย่างใดไม่ เช่น ใช้วิธี

การเก็บหาของป่าซึ่งขัดต่อหลักวิชาการ ทั้งนี้ เพื่อความสดวกหรือมุ่งหวังที่จะได้ของป่านั้นเป็นปริมาณ

มากจนเกินกำลังแห่งการยังผล อันเป็นไปตามธรรมชาติแห่งป่าไม้ เป็นเหตุให้ต้นไม้อันเป็นแหล่งกำเนิด

ของป่านั้นเป็นอันตรายหรือเสื่อมสลายสูญสิ้นพันธุ์ไป จึงเป็นการจำเป็นและสมควรที่จะกำหนดของป่าหวง

ห้ามในท้องที่จังหวัดต่าง ๆ เสียใหม่ เพื่อประโยชน์ในการควบคุมบำรุงรักษาพืชพันธุ์แห่งของป่าสืบไป

พระราชกฤษฎีกาเพิกถอนของป่าหวงห้ามบางชนิด พ.ศ. 2501

หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่

จังหวัดกาญจนบุรี ได้กำหนดไม้ไผ่และไม้รวกทุกชนิดเป็นของป่าหวงห้ามไว้ตามพระราช

กฤษฎีกากำหนดของป่าหวงห้าม พ.ศ.2497 เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ราษฎร

ในท้องที่จังหวัดกาญจนบุรี จะได้ใช้ไม้ไผ่และไม่รวกมาทำการปลูกสร้างบ้านเรือนอยู่อาศัย

หรือทำรั้วเพื่อป้องกันภยันตรายหรือใช้ทำประโยชน์อย่างอื่นๆ โดยไม่ต้องรับอนุญาตและ

ไม่ต้องเสียค่าภาคหลวงอีกต่อไป สมควรที่จะเพิกถอนไม่ไผ่และไม่รวกทุกชนิดซึ่งกำหนด

เป็นของหวงห้ามในท้องที่จังหวัดกาญจนบุรี ตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวนั้นเสีย

พระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ.2505

หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากของป่าบางชนิดมีคุณ

ภาพดี บางชนิดมีราคาสูงและบางชนิดก็หายาก ซึ่งมีบุคคลนิยมเก็บหานำออกมาเพื่อการค้าหรือ

ประกอบการอุตสาหกรรมเป็นปริมาณมาก และการเก็บหาของป่าดังกล่าวนี้ ได้กระทำไปโดยมุ่งหวังที่จะ

ได้ของป่าเป็นปริมาณมากแต่อย่างเดียว หาได้คำนึงถึงความเสียหายแก่พืชพันธุ์แห่งของป่าแต่อย่างใด

ไม่ เป็นเหตุให้ต้นไม้อันเป็นแหล่งกำเนิดของป่านั้นเป็นอันตราย หรือเสื่อมสลายสูญพันธุ์ไป จึงเป็น

การจำเป็นและสมควรที่จะกำหนดของป่าหวงห้ามในท้องที่จังหวัดต่าง ๆ เสียใหม่ เพื่อประโยชน์ใน

การควบคุมบำรุงรักษาพืชพันธุ์แห่งของป่าสืบไป

หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากของป่าบางชนิดมีคุณ

ภาพดี บางชนิดมีราคาสูงและบางชนิดก็หายาก ซึ่งมีบุคคลนิยมเก็บหานำออกมาเพื่อการค้าหรือ

ประกอบการอุตสาหกรรมเป็นปริมาณมาก และการเก็บหาของป่าดังกล่าวนี้ ได้กระทำไปโดยมุ่งหวังที่จะ

ได้ของป่าเป็นปริมาณมากแต่อย่างเดียว หาได้คำนึงถึงความเสียหายแก่พืชพันธุ์แห่งของป่าแต่อย่างใด

ไม่ เป็นเหตุให้ต้นไม้อันเป็นแหล่งกำเนิดของป่านั้นเป็นอันตราย หรือเสื่อมสลายสูญพันธุ์ไป จึงเป็น

การจำเป็นและสมควรที่จะกำหนดของป่าหวงห้ามในท้องที่จังหวัดต่าง ๆ เสียใหม่ เพื่อประโยชน์ใน

การควบคุมบำรุงรักษาพืชพันธุ์แห่งของป่าสืบไป

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง