คลังคำสำคัญ ‘พระราชกฤษฎีกา’

พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าเขาสมิง (ป่าคลองใหญ่และป่าเขาไฟไหม้) ในท้องที่ตำบลหนองบอน ตำบลช้างทูน ตำบลบ่อพลอย ตำบลนนทรีย์ และตำบลด่านชุมพล อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2552

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากบริเวณที่ดินป่าเขาสมิง (ป่าคลองใหญ่และป่าเขาไฟไหม้) ในท้องที่ตำบลหนองบอน ตำบลช้างทูน ตำบลบ่อพลอย ตำบลนนทรีย์ และตำบลด่านชุมพล อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด เนื้อที่ประมาณ ๑๙๗.๙๒ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๑๒๓,๗๐๐ ไร่ ประกอบด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญและมีค่า เช่น พันธุ์ไม้ ของป่า สัตว์ป่านานาชนิดตลอดจนทิวทัศน์ที่สวยงามยิ่ง สมควรกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ เพื่อสงวนไว้ให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิมมิให้ถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลงไป เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาและรื่นรมย์ของประชาชน และเพื่ออำนวยประโยชน์อื่นแก่รัฐและประชาชน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าขุนซ่อง และป่าจันตาแป๊ะและป่าเขาวังแจง ในท้องที่ตำบลขุนซ่อง อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2552

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากบริเวณที่ดินป่าขุนซ่องและป่าจันตาแป๊ะและป่าเขาวังแจง ในท้องที่ตำบลขุนซ่อง อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี เนื้อที่ประมาณ ๑๑๗.๙๖ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๗๓,๗๒๙ ไร่ ประกอบด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญและมีค่า เช่น พันธุ์ไม้ ของป่า สัตว์ป่านานาชนิด ตลอดจนทิวทัศน์ที่สวยงามยิ่ง สมควรกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ เพื่อสงวนไว้ให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิมมิให้ถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลงไป เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาและรื่นรมย์ของประชาชน และเพื่ออำนวยประโยชน์อื่นแก่รัฐและประชาชน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าน้ำโจน ป่าเขาพระฤๅษี และป่าเขาบ่อแร่ แปลงที่หนึ่ง ในท้องที่ตำบลชะแล ตำบลท่าขนุน ตำบลสหกรณ์นิคม อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2552

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากบริเวณที่ดินป่าน้ำโจน ป่าเขาพระฤๅษี และป่าเขาบ่อแร่ แปลงที่หนึ่ง ในท้องที่ตำบลชะแล ตำบลท่าขนุน ตำบลสหกรณ์นิคม อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี เนื้อที่ประมาณ ๖๗๒.๕๙๘๔ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๔๒๐,๓๗๔ ไร่ ประกอบด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญและมีค่า เช่น พันธุ์ไม้ ของป่า สัตว์ป่านานาชนิด ตลอดจนทิวทัศน์ที่สวยงามยิ่งสมควรกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ เพื่อสงวนไว้ให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิม มิให้ถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลงไป เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาและรื่นรมย์ของประชาชนและเพื่ออำนวยประโยชน์อื่นแก่รัฐและประชาชน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

พระราชกฤษฎีกาเพิกถอนอุทยานแห่งชาติป่าภูเก้า ป่าภูพาน และป่าโคกสูงและป่าบ้านดง บางส่วน ในท้องที่ตำบลโคกม่วง อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู พ.ศ. 2553

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีความจำเป็นที่จะขอเข้าทำประโยชน์ และขอเพิกถอนอุทยานแห่งชาติป่าภูเก้า ป่าภูพานและป่าโคกสูงและป่าบ้านดง บางส่วน ในท้องที่ตำบลโคกม่วง อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู เนื้อที่ประมาณ ๒,๒๗๗ ไร่ เพื่อก่อสร้างอ่างเก็บน้ำน้ำบองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อประโยชน์ในการกักเก็บน้ำเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากการขาดแคลนน้ำในการเกษตรและอุปโภคบริโภคให้กับเกษตรกรในพื้นที่อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้เข้าทำประโยชน์และให้เพิกถอนพื้นที่โครงการอ่างเก็บน้ำน้ำบองบริเวณอ่างเก็บน้ำและหัวงานออกจากพื้นที่อุทยานแห่งชาติแล้ว สมควรเพิกถอนพื้นที่โครงการอ่างเก็บน้ำน้ำบองออกจากการเป็นอุทยานแห่งชาติ และโดยที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อท้องที่การปกครองและเขตของอำเภอและตำบลในพื้นที่อุทยานแห่งชาติตามที่ระบุไว้ในพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าภูเก้า ในท้องที่ตำบลหัวนา ตำบลนามะเฟือง อำเภอหนองบัวลำภู และตำบลบ้านถิ่น ตำบลโคกม่วง ตำบลนิคมพัฒนา ตำบลโนนเมือง ตำบลหนองเรือ อำเภอโนนสัง จังหวัดอุดรธานี ป่าภูพาน ในท้องที่ตำบลกุดดู่ ตำบลโนนสัง ตำบลบ้านค้อ ตำบลหนองเรือ ตำบลโคกใหญ่ อำเภอโนนสัง จังหวัดอุดรธานี และป่าโคกสูงและป่าบ้านดง ในท้องที่ตำบลศรีสุขสำราญ ตำบลนาคำ ตำบลบ้านดง ตำบลเขื่อนอุบลรัตน์ อำเภออุบลรัตน์ และตำบลหว้าทอง ตำบลทุ่งชมพู ตำบลนาหว้า อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๒๘ หลังจากที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับแล้ว โดยได้มีการแยกอำเภอหนองบัวลำภู อำเภอนากลาง อำเภอโนนสัง อำเภอศรีบุญเรือง และอำเภอสุวรรณคูหา ออกจากการปกครองของจังหวัดอุดรธานี รวมตั้งขึ้นเป็นจังหวัดหนองบัวลำภู ในปี พ.ศ. ๒๕๓๖ สมควรแก้ไขชื่อและเขตท้องที่ให้ถูกต้องเสียในคราวเดียวกัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

พระราชกฤษฎีกาเพิกถอนอุทยานแห่งชาติป่าเขาลำปี และหาดท้ายเหมือง บางส่วน ในท้องที่ตำบลท้ายเหมือง อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา พ.ศ. 2553

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากมหาวิทยาลัยรามคำแหงมีความจำเป็นที่จะขอเข้าใช้พื้นที่บางส่วนในเขตอุทยานแห่งชาติป่าเขาลำปี และหาดท้ายเหมือง ในท้องที่ตำบลท้ายเหมือง อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา เนื้อที่ประมาณ ๕๐ ไร่ เพื่อจัดตั้งสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดพังงา เป็นสถานศึกษาในระดับอุดมศึกษาเพื่อกระจายการศึกษาสู่ภูมิภาคและตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในจังหวัดพังงาและจังหวัดใกล้เคียง และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้เพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติป่าเขาลำปี และหาดท้ายเหมือง บางส่วนออกจากพื้นที่อุทยานแห่งชาติแล้ว สมควรเพิกถอนพื้นที่ดังกล่าวออกจากการเป็นอุทยานแห่งชาติ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

พระราชกฤษฎีกาเพิกถอนอุทยานแห่งชาติป่าแม่จางฝั่งซ้าย ป่าแม่จางใต้ฝั่งซ้าย ป่าแม่ทาน ป่าแม่เลิม และป่าแม่ปะ ป่าแม่ปงและป่าแม่ลอง ป่าแม่เกิ๋ง และป่าแม่สรอย บางส่วน ในท้องที่ตำบลแม่ปะ อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง พ.ศ. 2554

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีความจำเป็นที่จะขอเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่บางส่วนในเขตอุทยานแห่งชาติป่าแม่จางฝั่งซ้าย ป่าแม่จางใต้ฝั่งซ้าย ป่าแม่ทาน ป่าแม่เลิม และป่าแม่ปะ ป่าแม่ปงและป่าแม่ลอง ป่าแม่เกิ๋ง และป่าแม่สรอย บางส่วน ในท้องที่ตำบลแม่ปะ อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง เนื้อที่ ๑๓๔ ไร่ ๑ งาน ๖๐ ตารางวา เพื่อก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยแม่ปะอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง และปัญหาอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ให้แก่ราษฎรบ้านปางกุ่มและหมู่บ้านใกล้เคียง และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้เข้าทำประโยชน์และให้เพิกถอนพื้นที่โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยแม่ปะอันเนื่องมาจากพระราชดำริออกจากพื้นที่อุทยานแห่งชาติดังกล่าวแล้ว สมควรเพิกถอนพื้นที่ดังกล่าวออกจากการเป็นอุทยานแห่งชาติ และโดยที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงเขตของตำบลในพื้นที่อุทยานแห่งชาติตามที่ระบุไว้ในพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าแม่พริก ป่าแม่เสลียม ป่าแม่ทาน และป่าแม่จางฝั่งซ้าย ในท้องที่ตำบลดอนไฟ ตำบลบ้านกิ่ว ตำบลบ้านบอม อำเภอแม่ทะ ตำบลสมัย ตำบลสบปราบ อำเภอสบปราบ และตำบลแม่ถอด ตำบลแม่ปะ อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง และป่าแม่สรอย ป่าแม่เกิ๋ง ป่าแม่ปง และป่าแม่ลอง ในท้องที่ตำบลหัวทุ่ง อำเภอลอง และตำบลแม่ป้าก ตำบลแม่พุง ตำบลสรอย อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๒๔ หลังจากที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับแล้ว โดยได้มีการแบ่งท้องที่ “ตำบลดอนไฟ อำเภอแม่ทะ” ตั้งเป็น “ตำบลวังเงิน อำเภอแม่ทะ” เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๑ แบ่งท้องที่ “ตำบลบ้านบอม อำเภอแม่ทะ” ตั้งเป็น “ตำบลสันดอนแก้ว อำเภอแม่ทะ” เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๒ แบ่งท้องที่ “ตำบลสรอย อำเภอวังชิ้น” ตั้งเป็น “ตำบลป่าสัก อำเภอวังชิ้น” เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๓ แบ่งท้องที่ “ตำบลหัวทุ่ง อำเภอลอง” ตั้งเป็น “ตำบลบ่อเหล็กลอง อำเภอลอง” เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๖ และแบ่งท้องที่ “ตำบลแม่ป้าก อำเภอวังชิ้น” ตั้งเป็น “ตำบลแม่เกิ๋ง อำเภอวังชิ้น” เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๘ และเนื่องจากพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวระบุชื่อป่าสงวนแห่งชาติไม่ถูกต้องโดยระบุชื่อป่าสงวนแห่งชาติ “ป่าแม่พริก และป่าแม่เสลียม” ซึ่งมิได้อยู่ในแนวเขตอุทยานแห่งชาติดังกล่าวตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาฯ และมิได้ระบุชื่อป่าสงวนแห่งชาติ “ป่าแม่จางใต้ฝั่งซ้าย และป่าแม่เลิม และป่าแม่ปะ” ซึ่งอยู่ในแนวเขตอุทยานแห่งชาติดังกล่าวตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาฯ ไว้ในแนวเขตอุทยานแห่งชาติดังกล่าว ประกอบกับระบุชื่อป่าสงวนแห่งชาติ “ป่าแม่เสลียม” แตกต่างไปจากชื่อป่าสงวนแห่งชาติ “ป่าแม่สะเลียม” ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๐๔ (พ.ศ. ๒๕๐๕) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองและสงวนป่า พุทธศักราช ๒๔๘๑ สมควรแก้ไขเขตท้องที่การปกครองและชื่อป่าสงวนแห่งชาติให้ถูกต้องเสียในคราวเดียวกัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าฝั่งซ้ายแม่น้ำภาชี ป่ากงเกวียน และป่าพุยาง และป่าพุสามซ้อน ในท้องที่ตำบลอ่างหิน ตำบลทุ่งหลวง ตำบลยางหัก อำเภอปากท่อ และตำบลหนองพันจันทร์ ตำบลบ้านคา ตำบลบ้านบึง อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2555

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากบริเวณที่ดินป่าฝั่งซ้ายแม่น้ำภาชี ป่ากงเกวียน และป่าพุยาง และป่าพุสามซ้อน ในท้องที่ตำบลอ่างหิน ตำบลทุ่งหลวง ตำบลยางหัก อำเภอปากท่อ และตำบลหนองพันจันทร์ ตำบลบ้านคา ตำบลบ้านบึง อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี เนื้อที่ประมาณ ๓๒๘.๗๔๑๐ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๒๐๕,๔๖๓ ไร่ ๓ งาน ๕๙ ตารางวา ประกอบด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญและมีค่า เช่น พันธุ์ไม้ ของป่า สัตว์ป่านานาชนิด ตลอดจนทิวทัศน์ที่สวยงามยิ่ง สมควรกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ เพื่อสงวนไว้ให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิมมิให้ถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลงไป เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาและรื่นรมย์ของประชาชนและเพื่ออำนวยประโยชน์อื่นแก่รัฐและประชาชน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าโคกซำซาง ป่าเขาโปลกหล่น ป่าเขาปางก่อ และป่าวังชมภู ในท้องที่ตำบลนาซำ ตำบลหินฮาว ตำบลวังบาล ตำบลบ้านเนิน อำเภอหล่มเก่า ตำบลน้ำก้อ ตำบลน้ำชุน ตำบลบุ่งน้ำเต้า ตำบลบุ่งคล้า อำเภอหล่มสัก ตำบลแคมป์สน ตำบลทุ่งสมอ ตำบลเขาค้อ ตำบลริมสีม่วง ตำบลสะเดาะพง ตำบลหนองแม่นา อำเภอเขาค้อ และตำบลท่าพล ตำบลป่าเลา อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2555

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากบริเวณที่ดินป่าโคกซำซาง ป่าเขาโปลกหล่น ป่าเขาปางก่อ และป่าวังชมภู ในท้องที่ตำบลนาซำ ตำบลหินฮาว ตำบลวังบาล ตำบลบ้านเนิน อำเภอหล่มเก่า ตำบลน้ำก้อ ตำบลน้ำชุน ตำบลบุ่งน้ำเต้า ตำบลบุ่งคล้า อำเภอหล่มสัก ตำบลแคมป์สน ตำบลทุ่งสมอ ตำบลเขาค้อ ตำบลริมสีม่วง ตำบลสะเดาะพง ตำบลหนองแม่นา อำเภอเขาค้อ และตำบลท่าพล ตำบลป่าเลา อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ เนื้อที่ประมาณ ๔๘๒.๗๑๖๘ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๓๐๑,๖๙๘ ไร่ ประกอบด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญและมีค่า เช่น พันธุ์ไม้ ของป่า สัตว์ป่านานาชนิด ตลอดจนทิวทัศน์ ป่า ภูเขา และน้ำตกที่สวยงามยิ่ง สมควรกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ เพื่อสงวนไว้ให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิม มิให้ถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลงไป เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาและรื่นรมย์ของประชาชน และเพื่ออำนวยประโยชน์อื่นแก่รัฐและประชาชน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าสะเมิง ในท้องที่ตำบลแม่สาบ ตำบลสะเมิงเหนือ ตำบลบ่อแก้ว และตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2555

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากบริเวณที่ดินป่าโคกซำซาง ป่าเขาโปลกหล่น ป่าเขาปางก่อ และป่าวังชมภู ในท้องที่ตำบลนาซำ ตำบลหินฮาว ตำบลวังบาล ตำบลบ้านเนิน อำเภอหล่มเก่า ตำบลน้ำก้อ ตำบลน้ำชุน ตำบลบุ่งน้ำเต้า ตำบลบุ่งคล้า อำเภอหล่มสัก ตำบลแคมป์สน ตำบลทุ่งสมอ ตำบลเขาค้อ ตำบลริมสีม่วง ตำบลสะเดาะพง ตำบลหนองแม่นา อำเภอเขาค้อ และตำบลท่าพล ตำบลป่าเลา อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ เนื้อที่ประมาณ ๔๘๒.๗๑๖๘ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๓๐๑,๖๙๘ ไร่ ประกอบด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญและมีค่า เช่น พันธุ์ไม้ ของป่า สัตว์ป่านานาชนิด ตลอดจนทิวทัศน์ ป่า ภูเขา และน้ำตกที่สวยงามยิ่ง สมควรกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ เพื่อสงวนไว้ให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิม มิให้ถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลงไป เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาและรื่นรมย์ของประชาชน และเพื่ออำนวยประโยชน์อื่นแก่รัฐและประชาชน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าแม่ยม ป่าแม่ต๋ำ และป่าแม่ร่องขุย ในท้องที่ตำบลปง ตำบลควร ตำบลขุนควร อำเภอปง ตำบลบ้านถ้ำ ตำบลหนองหล่ม ตำบลบ้านปิน อำเภอดอกคำใต้ และตำบลสระ ตำบลเชียงม่วน ตำบลบ้านมาง อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2555

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากบริเวณที่ดินป่าแม่ยม ป่าแม่ต๋ำ และป่าแม่ร่องขุย ในท้องที่ตำบลปง ตำบลควร ตำบลขุนควร อำเภอปง ตำบลบ้านถ้ำ ตำบลหนองหล่ม ตำบลบ้านปิน อำเภอดอกคำใต้ และตำบลสระ ตำบลเชียงม่วน ตำบลบ้านมาง อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา เนื้อที่ประมาณ ๘๕๙.๘๗๘๔ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๕๓๗,๔๒๔ ไร่ ประกอบด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญและมีค่า เช่น พันธุ์ไม้ ของป่า สัตว์ป่านานาชนิด ตลอดจนทิวทัศน์ที่สวยงามยิ่ง สมควรกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ เพื่อสงวนไว้ให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิมมิให้ถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลงไป เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาและรื่นรมย์ของประชาชน และเพื่ออำนวยประโยชน์อื่นแก่รัฐและประชาชน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง