คลังคำสำคัญ ‘พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522’

พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอุตสาหกรรมส่งออกบางปู พ.ศ. ๒๕๔๓

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากเขตอุตสาหกรรม

ส่งออกบางปูซึ่งจัดตั้งตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเขตอุตสาหกรรมส่งออกบางปู พ.ศ. ๒๕๓๑

ในท้องที่ตำบลแพรกษา อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ ได้มีผู้ประกอบอุตสาห

กรรมขออนุญาตใช้ที่ดินเต็มพื้นที่แล้ว แต่ยังมีผู้ประสงค์จะประกอบกิจการในเขตนี้อยู่อีก สมควร

ขยายพื้นที่เขตอุตสาหกรรมส่งออกบางปู ในท้องที่ตำบลแพรกษา อำเภอเมืองสมุทรปราการ

จังหวัดสมุทรปราการ ออกไป โดยนำพื้นที่บางส่วนของเขตอุตสาหกรรมทั่วไป นิคมอุตสาหกรรม

บางปูมากำหนดเพิ่มขึ้นไว้เพื่อรองรับการขยายตัวสำหรับการประกอบอุตสาหกรรมเพื่อการส่ง

ออกซึ่งจะสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ในการสนับสนุนอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกและจะ

ทำให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกได้รับสิทธิประโยชน์ตามที่กำหนดไว้สำหรับ

ผู้ประกอบอุตสาหกรรมในเขตอุตสาหกรรมส่งออก และโดยที่มาตรา ๓๖ วรรคสาม แห่งพระราช

บัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๒ กำหนดว่า การเปลี่ยนแปลงเขต

อุตสาหกรรมส่งออกให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเขตอุตสาหกรรมส่งออกทีเอส ๒๑ พ.ศ. ๒๕๔๓

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบาย

ส่งเสริมให้มีการลงทุนและใช้แรงงานภายในประเทศมากขึ้น และอำนวยความสะดวกในด้าน

สาธารณูปโภคแก่ผู้ลงทุนเพื่อการส่งออกได้ดียิ่งขึ้น สมควรจัดตั้งเขตอุตสาหกรรมส่งออกทีเอส ๒๑

ในท้องที่ตำบลตาสิทธิ์ อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง เพื่อรองรับนโยบายดังกล่าว และโดยที่

มาตรา ๓๖ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๒

บัญญัติว่า การจัดตั้งเขตอุตสาหกรรมส่งออกให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องตรา

พระราชกฤษฎีกานี้

พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอุตสาหกรรมส่งออกบ้านหว้า พ.ศ. ๒๕๔๓

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากเขตอุตสาหกรรมส่งออกบ้านหว้าซึ่งจัดตั้งตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเขตอุตสาหกรรมส่งออกบ้านหว้า พ.ศ. ๒๕๓๔ ในท้องที่ตำบลบ้านเลน และตำบลบ้านหว้า อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้มีผู้ประกอบอุตสาหกรรมขออนุญาตใช้ที่ดินเต็มพื้นที่แล้ว แต่ยังมีผู้ประสงค์จะประกอบกิจการในเขตนี้อยู่อีก สมควรขยายพื้นที่เขตอุตสาหกรรมส่งออกบ้านหว้า ในท้องที่ตำบลบ้านเลน และตำบลบ้านหว้า อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ออกไปโดยนำพื้นที่บางส่วนของเขตอุตสาหกรรมทั่วไป นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า มากำหนดเพิ่มขึ้นไว้เพื่อรองรับการขยายตัวสำหรับการประกอบอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก ซึ่งจะสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการสนับสนุนอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกและจะทำให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกได้รับสิทธิประโยชน์ตามที่กำหนดไว้สำหรับผู้ประกอบอุตสาหกรรมในเขตอุตสาหกรรมส่งออก และโดยที่มาตรา ๓๖ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๒ บัญญัติว่า การเปลี่ยนแปลงเขตอุตสาหกรรมส่งออกให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอุตสาหกรรมส่งออกบ้านหว้า (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๗

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากเขตอุตสาหกรรมส่งออกบ้านหว้าในท้องที่ตำบลบ้านเลน และตำบลบ้านหว้า อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งจัดตั้งตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเขตอุตสาหกรรมส่งออกบ้านหว้า พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอุตสาหกรรมส่งออกบ้านหว้า พ.ศ. ๒๕๔๓ ยังมีผู้ประกอบอุตสาหกรรมจำนวนมากประสงค์ที่จะลงทุนประกอบอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกในเขตนี้อยู่อีก สมควรขยายพื้นที่เขตอุตสาหกรรมส่งออกบ้านหว้าดังกล่าว โดยจัดหาพื้นที่เพิ่มเติมส่วนหนึ่งและนำพื้นที่บางส่วนของเขตอุตสาหกรรมทั่วไป นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า มากำหนดเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับการขยายตัวสำหรับการประกอบอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก อันเป็นการสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการสนับสนุนอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก และทำให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกได้รับสิทธิประโยชน์ตามที่กำหนดไว้สำหรับผู้ประกอบอุตสาหกรรมในเขตอุตสาหกรรมส่งออก และโดยที่มาตรา ๓๖ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๒ บัญญัติว่า การเปลี่ยนแปลงเขตอุตสาหกรรมส่งออกให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงสภาพสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ในเขตอุตสาหกรรมทั่วไป นิคมอุตสาหกรรมเอเซีย ในท้องที่ตำบลบ้านฉาง อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยองให้เป็นกรรมสิทธิ์ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2548

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในเขตอุตสาหกรรมทั่วไป นิคมอุตสาหกรรมเอเซีย ในท้องที่ตำบลบ้านฉาง อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง มีพื้นที่ครอบคลุมสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ซึ่งเป็นทางสาธารณประโยชน์และลำรางสาธารณประโยชน์ เนื้อที่รวมประมาณ ๗ ไร่ ๒ งาน ๙๖ ตารางวา ปัจจุบันพลเมืองยังใช้ประโยชน์ในที่ดินนั้นอยู่และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยประสงค์จะได้กรรมสิทธิ์เพื่อนำไปพัฒนาให้เป็นส่วนหนึ่งของเขตอุตสาหกรรมทั่วไป นิคมอุตสาหกรรมเอเซีย ทั้งนี้ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้จัดที่ดินแปลงอื่นเนื้อที่รวมประมาณ ๖ ไร่ ๒ งาน ๙๒ ตารางวา ซึ่งอยู่ในท้องที่เดียวกันก่อสร้างเป็นถนนสาธารณประโยชน์และลำรางสาธารณประโยชน์สำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันแทน สมควรเปลี่ยนแปลงสภาพสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันดังกล่าว เพื่อให้มีผลเป็นการถอนสภาพที่ดินนั้นจากการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน และให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ภายใต้เงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด และโดยที่มาตรา ๓๖ ทวิ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๙ บัญญัติว่า ในกรณีที่มีประกาศตามมาตรา ๓๖ วรรคสองจัดตั้งหรือเปลี่ยนแปลงเขตอุตสาหกรรมทั่วไป ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงสภาพสาธารณสมบัติของแผ่นดินได้ โดยระบุแปลงและจำนวนเนื้อที่ดินโดยประมาณที่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยประสงค์จะได้กรรมสิทธิ์ไว้ในพระราชกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

พระราชกฤษฎีกา เปลี่ยนแปลงสภาพสาธารณสมบัติของแผ่นดิน สำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ในเขตอุตสาหกรรมทั่วไป นิคมอุตสาหกรรมตะวันออก ในท้องที่ตำบลห้วยโป่ง และตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2549

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในเขตอุตสาหกรรมทั่วไปนิคมอุตสาหกรรมตะวันออก ในท้องที่ตำบลห้วยโป่ง และตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง มีพื้นที่ครอบคลุมสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันซึ่งเป็นทางสาธารณประโยชน์ เนื้อที่รวมประมาณ ๑๒ ไร่ ๒ งาน ๗๖ ตารางวา ปัจจุบันพลเมืองได้เลิกใช้ประโยชน์ร่วมกันในที่ดินดังกล่าวแล้ว และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยประสงค์จะได้กรรมสิทธิ์ เพื่อนำไปพัฒนาให้เป็นส่วนหนึ่งของเขตอุตสาหกรรมทั่วไป นิคมอุตสาหกรรมตะวันออก สมควรเปลี่ยนแปลงสภาพสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันดังกล่าว เพื่อให้มีผลเป็นการถอนสภาพที่ดินนั้นจากการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินและให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยภายใต้เงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด และโดยที่มาตรา ๓๖ ทวิ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๙ บัญญัติว่า ในกรณีที่มีประกาศตามมาตรา ๓๖ วรรคสอง จัดตั้งหรือเปลี่ยนแปลงเขตอุตสาหกรรมทั่วไป ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงสภาพสาธารณสมบัติของแผ่นดินได้ โดยระบุแปลงและจำนวนเนื้อที่ดินโดยประมาณที่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยประสงค์จะได้กรรมสิทธิ์ไว้ในพระราชกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงสภาพสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ในเขตอุตสาหกรรมทั่วไป นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ในท้องที่ตำบลมาบยางพร อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2549

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในเขตอุตสาหกรรมทั่วไปนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ในท้องที่ตำบลมาบยางพร อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง มีพื้นที่ครอบคลุมสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันซึ่งเป็นห้วยสาธารณประโยชน์ เนื้อที่ประมาณ ๘ ไร่ ๑ งาน ๓ ตารางวา ปัจจุบันพลเมืองยังใช้ประโยชน์ในที่ดินนั้นอยู่ และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยประสงค์จะได้กรรมสิทธิ์เพื่อนำไปพัฒนาให้เป็นส่วนหนึ่งของเขตอุตสาหกรรมทั่วไป นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ทั้งนี้ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้จัดที่ดินแปลงอื่น เนื้อที่ประมาณ ๘ ไร่ ๑ งาน ๔ ตารางวา ซึ่งอยู่ในท้องที่เดียวกันขุดเป็นห้วยสาธารณประโยชน์สำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันแทนสมควรเปลี่ยนแปลงสภาพสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันดังกล่าว เพื่อให้มีผลเป็นการถอนสภาพที่ดินนั้นจากการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินและให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ภายใต้เงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดและโดยที่มาตรา ๓๖ ทวิ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๙ บัญญัติว่า ในกรณีที่มีประกาศตามมาตรา ๓๖ วรรคสอง จัดตั้งหรือเปลี่ยนแปลงเขตอุตสาหกรรมทั่วไปให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงสภาพสาธารณสมบัติของแผ่นดินได้โดยระบุแปลงและจำนวนเนื้อที่ดินโดยประมาณที่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยประสงค์จะได้กรรมสิทธิ์ไว้ในพระราชกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงสภาพสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันในเขตอุตสาหกรรมทั่วไป นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ในท้องที่ตำบลมาบยางพร อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2550

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในเขตอุตสาหกรรมทั่วไปนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ในท้องที่ตำบลมาบยางพร อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง มีพื้นที่ครอบคลุมสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันซึ่งเป็นทางสาธารณประโยชน์ เนื้อที่รวมประมาณ ๒๙ ไร่ ๘๐ ตารางวา ปัจจุบันพลเมืองได้เลิกใช้ประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวแล้ว และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยประสงค์จะได้กรรมสิทธิ์เพื่อนำไปพัฒนาให้เป็นส่วนหนึ่งของเขตอุตสาหกรรมทั่วไปนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ สมควรเปลี่ยนแปลงสภาพสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันดังกล่าวเพื่อให้มีผลเป็นการถอนสภาพที่ดินนั้นจากการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินและให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ภายใต้เงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด และโดยที่มาตรา ๓๖ ทวิ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๙ บัญญัติว่า ในกรณีที่มีประกาศตามมาตรา ๓๖ วรรคสอง จัดตั้งหรือเปลี่ยนแปลงเขตอุตสาหกรรมทั่วไป ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงสภาพสาธารณสมบัติของแผ่นดินได้ โดยระบุแปลงและจำนวนเนื้อที่ดินโดยประมาณที่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยประสงค์จะได้กรรมสิทธิ์ไว้ในพระราชกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงสภาพสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ในเขตอุตสาหกรรมทั่วไป นิคมอุตสาหกรรมเอเซีย ในท้องที่ตำบลบ้านฉาง อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในเขตอุตสาหกรรมทั่วไป นิคมอุตสาหกรรมเอเซีย ในท้องที่ตำบลบ้านฉาง อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง มีพื้นที่ครอบคลุมสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันซึ่งเป็นทางสาธารณประโยชน์และลำรางสาธารณประโยชน์ เนื้อที่รวมประมาณ ๖ ไร่ ๒ งาน ๒๗ ตารางวา ปัจจุบันพลเมืองได้เลิกใช้ประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวแล้ว และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยประสงค์จะได้กรรมสิทธิ์เพื่อนำไปพัฒนาให้เป็นส่วนหนึ่งของเขตอุตสาหกรรมทั่วไป นิคมอุตสาหกรรมเอเซีย สมควรเปลี่ยนแปลงสภาพสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันดังกล่าว เพื่อให้มีผลเป็นการถอนสภาพที่ดินนั้นจากการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินและให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ภายใต้เงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ให้ความยินยอมและการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้ชำระราคาที่ดินให้แก่กระทรวงการคลังแล้ว และโดยที่มาตรา ๓๖/๑ แห่งพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๐ บัญญัติว่า ในกรณีที่มีประกาศตามมาตรา ๓๖ วรรคสอง จัดตั้งหรือเปลี่ยนแปลงนิคมอุตสาหกรรมและมีสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่ในเขตดังกล่าว ให้ตราพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงสภาพสาธารณสมบัติของแผ่นดินได้ โดยระบุแปลงและจำนวนเนื้อที่ดินโดยประมาณที่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยประสงค์จะได้กรรมสิทธิ์ไว้ในพระราชกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงสภาพสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันในเขตอุตสาหกรรมทั่วไป นิคมอุตสาหกรรมเอเซีย ในท้องที่ตำบลห้วยโป่ง และตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในเขตอุตสาหกรรมทั่วไปนิคมอุตสาหกรรมเอเซีย ในท้องที่ตำบลห้วยโป่ง และตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง มีพื้นที่ครอบคลุมสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันซึ่งเป็นทางสาธารณประโยชน์และลำรางสาธารณประโยชน์ เนื้อที่รวมประมาณ ๙ ไร่ ๙๔ ตารางวา ปัจจุบันพลเมืองได้เลิกใช้ประโยชน์ร่วมกันในที่ดินดังกล่าวแล้วและการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยประสงค์จะได้กรรมสิทธิ์เพื่อนำไปพัฒนาให้เป็นส่วนหนึ่งของเขตอุตสาหกรรมทั่วไป นิคมอุตสาหกรรมเอเซีย สมควรเปลี่ยนแปลงสภาพสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันดังกล่าว เพื่อให้มีผลเป็นการถอนสภาพที่ดินนั้นจากการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินและให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยภายใต้เงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ให้ความยินยอมและการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้ชำระราคาที่ดินให้แก่กระทรวงการคลังแล้ว และโดยที่มาตรา ๓๖/๑ แห่งพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๐ บัญญัติว่า ในกรณีที่มีประกาศตามมาตรา ๓๖ วรรคสอง จัดตั้งหรือเปลี่ยนแปลงนิคมอุตสาหกรรมและมีสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่ในเขตดังกล่าวให้ตราพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงสภาพสาธารณสมบัติของแผ่นดินได้ โดยระบุแปลงและจำนวนเนื้อที่ดินโดยประมาณที่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยประสงค์จะได้กรรมสิทธิ์ไว้ในพระราชกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง