พระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ. 2530

ตราพระบรมราชโองการ

พระราชกฤษฎีกา

กำหนดไม้หวงห้าม

พ.ศ. 2530

----------

                             ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.

ให้ไว้ ณ วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2530

เป็นปีที่ 42 ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศ

ว่า

โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการกำหนดไม้หวงห้ามเสียใหม่ ให้เหมาะสม

กับสภาพการณ์ในปัจจุบัน

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 159 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา 7 แห่ง

พระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2518

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้

มาตรา 1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า `พระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ. 2530'

มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

เป็นต้นไป

มาตรา 3 ให้ยกเลิก

(1) พระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ. 2505

(2) พระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2510

(3) พระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2517

(4) พระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2517

(5) พระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2520

มาตรา 4 ให้ไม้บางชนิดในป่า ในท้องที่ทุกจังหวัดทั่วราชอาณาจักรตามที่ระบุไว้ในบัญชีท้ายพระราช

กฤษฎีกานี้ เป็นไม้หวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484

มาตรา 5 การเปลี่ยนแปลงประเภทไม้หวงห้ามโดยผลแห่งบทบัญญัติตามพระราชกฤษฎีกานี้ไม่กระทบ

กระเทือนการอนุญาตให้ทำไม้ในแปลงหนึ่งแปลงใดในพื้นที่ป่าสัมปทานก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ

หรือใบอนุญาตทำไม้ที่ได้ออกให้ไว้ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้คงใช้ได้ไปเท่ากำหนดเวลาการ

อนุญาตหรืออายุใบอนุญาตแล้วแต่กรณี

มาตรา 6 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

พิชัย รัตตกุล

รองนายกรัฐมนตรี

 

บัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดไม่หวงห้าม พ.ศ.2530

 

 

หมายเหตุ:-เหตุผลโดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการกำหนดไม้หวงห้ามเสียใหม่

ให้ใช้บังคับในท้องที่ทุกจังหวัดทั่วราชอาณาจักร เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการ

ควบคุมไม้หวงห้ามไม่สับสนยุ่งยากและได้ผลดียิ่งขึ้น ประกอบกับในปัจจุบันไม้บางชนิดที่มิได้กำหนดเป็นไม้

หวงห้ามมาก่อนกลับเป็นไม้มีค่ายากและนิคมนำออกโดยไม่คำนึงถึงความเสียหายของพันธุ์ไม้ ดังนั้น เพื่อ

มิให้ไม้ชนิดดีมีค่าหายากเป็นอันตรายหรือสูญสิ้นไปสมควรกำหนดให้ไม้บางชนิดเป็นไม้หวงห้ามรวมทั้งเปลี่ยน

แปลงประเภทไม้หวงห้ามบางชนิดที่ได้กำหนดไว้แล้วเสียใหม่ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน

จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้