คลังสำหรับ 26/05/2016

กฎกระทรวงเศรษฐการว่าด้วยการนำร่อง ออกตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำสยามแก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2477 (ฉบับที่ 2) (Update ณ วันที่ 16/09/2518) (ฉบับที่ 12)

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากเงินค่าจ้างนำร่องที่ทางราชการแบ่งให้แก่ผู้นำร่องตามกฎกระทรวงที่ใช้บังคับอยู่ไม่เหมาะสมกับกาลสมัย สมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงในส่วนที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

กฎกระทรวงเศรษฐการว่าด้วยการนำร่อง ออกตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำสยามแก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2477 (ฉบับที่ 2) (Update ณ วันที่ 08/08/2523) (ฉบับที่ 13)

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่กฎกระทรวงเศรษฐการว่าด้วยการนำร่อง ฯ ได้กำหนดให้มีผู้นำร่องที่จะอนุญาตให้ทำการนำร่องได้ไม่เกิน ๕๐ คน และมีผู้ฝึกการนำร่องของรัฐบาลได้ไม่เกิน ๑๐ คน โดยไม่รวมผู้นำร่องพิเศษ บัดนี้ได้มีการกำหนดอัตราเจ้าพนักงานนำร่องโดยสำนักงาน ก.พ. เพิ่มให้กรมเจ้าท่าอีก ๔ ตำแหน่ง สมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงดังกล่าวเพื่อให้เจ้าพนักงานนำร่องมีจำนวนตามอัตราที่เพิ่มขึ้นได้ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

กฎกระทรวงเศรษฐการว่าด้วยการนำร่อง ออกตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำสยามแก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2477 (ฉบับที่ 2) (Update ณ วันที่ 06/07/2530) (ฉบับที่ 14)

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎกระทรวงเศรษฐการ ว่าด้วยการนำร่อง ออกตามความในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒๘ (พ.ศ. ๒๕๑๗) ฯ มีข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้สมัครเป็นผู้นำร่องที่ไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน การพัฒนาทางด้านการศึกษา และการพัฒนาของเรือสมัยใหม่ สมควรแก้ไขเพิ่มเติมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น และในกรณีที่กรมเจ้าท่ามีความจำเป็นที่ต้องมีผู้นำร่องเพิ่มขึ้น แต่มีผู้สมัครเป็นผู้นำร่องไม่เพียงพอกับความต้องการ ให้กรมเจ้าท่ามีอำนาจรับสมัครผู้นำร่องจากบุคคลที่มีคุณสมบัติอย่างอื่นที่กรมเจ้าท่าเห็นสมควรได้ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎกระทรวงเศรษฐการ ว่าด้วยการนำร่อง ออกตามความในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒๘ (พ.ศ. ๒๕๑๗) ฯ มีข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้สมัครเป็นผู้นำร่องที่ไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน การพัฒนาทางด้านการศึกษา และการพัฒนาของเรือสมัยใหม่ สมควรแก้ไขเพิ่มเติมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น และในกรณีที่กรมเจ้าท่ามีความจำเป็นที่ต้องมีผู้นำร่องเพิ่มขึ้น แต่มีผู้สมัครเป็นผู้นำร่องไม่เพียงพอกับความต้องการ ให้กรมเจ้าท่ามีอำนาจรับสมัครผู้นำร่องจากบุคคลที่มีคุณสมบัติอย่างอื่นที่กรมเจ้าท่าเห็นสมควรได้ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากการเก็บค่าธรรมเนียมสำหรับใบอนุญาตที่ต้องออกเป็นหนังสือและอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับใบอนุญาตดังกล่าวตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๘ (พ.ศ. ๒๕๑๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช ๒๔๕๖ และกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓๙ (พ.ศ. ๒๕๒๓) ฯ ยังไม่เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน สมควรปรับปรุงให้เหมาะสมยิ่งขึ้น และสมควรนำอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับใบอนุญาตที่ต้องออกเป็นหนังสือตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒๒ (พ.ศ. ๒๕๑๕) ฯ มาบัญญัติรวมไว้ในกฎกระทรวงฉบับเดียวกันเพื่อความสะดวกในการใช้กฎหมาย จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

กฎกระทรวงเศรษฐการว่าด้วยการนำร่อง ออกตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำสยามแก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2477 (ฉบับที่ 2) (Update ณ วันที่ 01/04/2534) (ฉบับที่ 15)

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎกระทรวงเศรษฐการ ว่าด้วยการนำร่อง ออกตามความในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒) ในส่วนที่เกี่ยวกับการเลื่อนชั้นของผู้นำร่องและจำนวนของผู้นำร่องยังไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน กล่าวคือ ในปัจจุบันมีเรือเข้าออกในเขตท่าหรือน่านน้ำมากขึ้นกว่าเดิมทุกปี ทำให้ผู้นำร่องแต่ละนายได้รับประสบการณ์ในการนำร่องเรือเพิ่มขึ้นเร็วกว่าเดิม สมควรลดระยะเวลาการนำร่องเรือเพื่อการเลื่อนชั้นของผู้นำร่องลงจากเดิม และขณะนี้ได้มีการสร้างและขยายท่าเรือเพิ่มขึ้น ทำให้จำนวนผู้นำร่องที่กำหนดไว้แต่เดิมไม่เพียงพอต่อปริมาณงานที่เพิ่มขึ้น สมควรเพิ่มจำนวนผู้นำร่องให้เหมาะสมกับงานที่เพิ่มขึ้น และโดยที่ข้อกำหนดต่าง ๆ เกี่ยวกับมารยาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้นำร่องใช้มาเป็นเวลานานโดยยังไม่เคยมีการปรับปรุงแก้ไข ประกอบกับได้มีการปรับปรุงส่วนราชการในกรมเจ้าท่าใหม่แล้ว สมควรแก้ไขเพิ่มเติมส่วนต่าง ๆ เหล่านั้นให้รัดกุมและเหมาะสมยิ่งขึ้นเสียในคราวเดียวกัน จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

กฎกระทรวงเศรษฐการว่าด้วยการนำร่อง ออกตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำสยามแก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2477 (ฉบับที่ 2) (Update ณ วันที่ 10/09/2536) (ฉบับที่ 16)

เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎกระทรวงเศรษฐการ ว่าด้วยการนำร่อง ออกตามความในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๗ (พ.ศ. ๒๕๓๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒) ได้กำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครเป็นผู้นำร่องไว้ไม่เหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน สมควรปรับปรุงการกำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครดังกล่าวเสียใหม่ เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษาชั้นสูงสุดตามหลักสูตรฝ่ายเดินเรือจากสถาบันการเดินเรือ ของรัฐบาลไทยหรือรัฐบาลต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในด้านการเดินเรือมีสิทธิสมัครเป็นผู้นำร่องชั้น ๒ ค. ได้เท่าเทียมกับผู้สำเร็จการศึกษาชั้นสูงสุดจากโรงเรียนนายเรือ กองทัพเรือไทยหรือกองทัพเรือต่างประเทศ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

กฎกระทรวงเศรษฐการ ว่าด้วยการนำร่อง ออกตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำสยาม แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2477 (ฉบับที่ 2)

เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากพิกัดค่าจ้างนำร่องที่ใช้อยู่ปัจจุบันนี้ได้ใช้มาเป็นเวลานานแล้ว ทำให้ไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน และสมควรแก้ไขเพิ่มเติมวิธีการเก็บและแบ่งเงินผลประโยชน์ที่ได้มาเนื่องในการนำร่องให้เหมาะสมเพื่อประโยชน์ของรัฐและเป็นธรรมกับผู้นำร่อง นอกจากนี้ สมควรกำหนดให้นายเรือของเรือที่ชักธงไทยที่จะนำเรือเข้าไปในเขตท่าหรือน่านน้ำตามที่กำหนดซึ่งบังคับให้เป็นเขตที่ต้องเดินเรือโดยมีผู้นำร่องสามารถขอรับใบอนุญาตเป็นผู้นำร่องพิเศษเพื่อทำการนำร่องภายในเขตท่าหรือน่านน้ำนั้นๆ ได้ อันจะเป็นการสนับสนุนกิจการพาณิชย์นาวีของประเทศให้ขยายตัวมากขึ้น จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1490/2540

พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 มาตรา 28 วรรคหนึ่งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่ระงับเหตุรำคาญที่เกิดขึ้นในสถานที่นั้น มาตรา 45 ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้ดำเนินกิจการนั้นแก้ไขหรือปรับปรุงให้ถูกต้อง ถ้าการดำเนินกิจการนั้นจะก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนจะสั่งให้ผู้นั้นหยุดดำเนินกิจการไว้ทันทีเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะเป็นที่พอใจแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าปราศจากอันตรายแล้วก็ได้ และต้องทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้ดำเนินกิจการซึ่งจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งทราบ แต่ที่จำเลยยอมรับว่าจำเลยได้ดำเนินการแก้ไข เหตุเดือดร้อนรำคาญตามคำสั่งของสำนักงานเทศบาลเมืองตรังแล้วนั้นอาจเป็นการทราบคำสั่งดังกล่าวจากเจ้าพนักงานตำรวจผู้แจ้งข้อหาให้จำเลยทราบก็ได้ เมื่อจำเลยยังไม่ได้ทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยชอบ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยมีความผิดตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1733/2543

การที่โจทก์ทั้งสิบหกฟ้องขอให้ระงับโครงการพัฒนาท่าอากาศยานขอนแก่นและขอให้เพิกถอนมติคณะรัฐมนตรีที่อนุมัติการก่อสร้างโครงการดังกล่าว โดยที่ฟ้องโจทก์มิได้บรรยายว่า หากจำเลยที่ 1 และที่ 2 จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมแล้วจะมีผลถึงขนาดที่คณะรัฐมนตรีจะไม่อนุมัติการก่อสร้างโครงการดังกล่าว จึงยังไม่อาจถือได้ว่ามติคณะรัฐมนตรีไม่ชอบ ทั้งตามฟ้องโจทก์อ้างว่าโจทก์ทั้งสิบหกได้รับความเสียหายจากการก่อสร้างอันเนื่องมาจากความบกพร่องของผู้ก่อสร้างที่ไม่ป้องกันมลพิษ ซึ่งความเสียหายดังกล่าวก็มิใช่ผลโดยตรงจากมติคณะรัฐมนตรี โจทก์ทั้งสิบหกย่อมไม่อาจฟ้องขอให้เพิกถอนมติคณะรัฐมนตรีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 861/2540

สิทธิและหน้าที่ในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2534มาตรา58สิทธิในการมีอากาศสะอาดบริสุทธิ์หายใจเพื่อสุขภาพพลานามัยและคุณภาพชีวิตที่ดีสิทธิในการได้รับความรื่นรมย์ตามธรรมชาติสิทธิที่จะปลอดจากความเสียหายและเดือดร้อนอันเกิดจากปัญหาน้ำท่วมปัญหาการจราจรติดขัดปัญหามลพิษทางอากาศปัญหาความร้อนที่ระบายจากตึกอาคารสูงล้วนเป็นสิทธิตามปกติธรรมดาของคนทั่วไปซึ่งมีสิทธิได้รับตามกฎหมายที่กำหนดอยู่แล้วจึงไม่ใช่เป็นสิทธิที่โจทก์ทั้งเจ็ดได้รับความเสียหายเป็นพิเศษโจทก์ทั้งเจ็ดจึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องร้องจำเลยทั้งสาม การที่โจทก์ทั้งเจ็ดขอทราบข้อมูลและข่าวสารเกี่ยวกับรายงานการประชุมและมติในการพิจารณาสถานที่ทำงานของหน่วยราชการในเขตกรุงเทพมหานครและเมืองหลักรวมทั้งแบบแปลนการจัดพื้นที่การก่อสร้างอาคารและแผนการป้องกันแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจากจำเลยที่3แต่จำเลยที่3ไม่ให้ความร่วมมือและไม่แจ้งเหตุขัดข้องว่าเป็นข้อมูลหรือข่าวสารที่ถือว่าเป็นความลับเกี่ยวข้องกับการรักษาความมั่นคงแห่งชาติหรือเข้าข้อยกเว้นข้ออื่นที่ไม่ต้องเปิดเผยแต่อย่างใดจึงเป็นการกระทบสิทธิของโจทก์ทั้งเจ็ดตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ.2535มาตรา6และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯมาตรา48ทวิโจทก์ทั้งเจ็ดจึงมีอำนาจฟ้อง

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง