คลังสำหรับ 12/05/2016

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2139/2552

ในการสร้างบ้านพักอาศัยพร้อมสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ รวมทั้งถนนลูกรังและเขื่อนหินเรียงกันดินบริเวณหน้าบ้านพักอาศัยของโจทก์นั้น ได้รับความยินยอมและอยู่ในความรู้เห็นของเจ้าของที่ดิน จึงถือได้ว่าถนนลูกรังและเขื่อนหินเรียงกันดินบริเวณหน้าบ้านพักอาศัย เข้าข้อยกเว้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 146 ที่จะไม่เป็นส่วนควบของที่ดิน การที่จำเลยยกข้อกฎหมายขึ้นอ้างว่าถนนลูกรังและเขื่อนหินเรียงเป็นส่วนควบของที่ดิน เพื่อปฏิเสธไม่จ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ ทั้งๆ ที่โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง แต่กลับไม่อาจใช้ประโยชน์ได้ต่อไปเนื่องจากต้องรื้อถอนบ้านพักขนย้ายครอบครัวออกไป เพราะถูกแนวเดินสายส่งไฟฟ้าของจำเลยพาดผ่านจึงไม่ชอบด้วยเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยฯ มาตรา 30 ที่มุ่งหมายจะให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยต้องพิจารณาจ่ายค่าทดแทนให้แก่เจ้าของทรัพย์สินที่ถูกแนวเขตเดินสายส่งไฟฟ้าพาดผ่านอย่างเป็นธรรม

พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยฯ มาตรา 30 ทวิ วรรคสาม ที่บัญญัติว่า “…ให้เจ้าของหรือผู้มีสิทธิครอบครองทรัพย์สินหรือผู้ทรงสิทธิอื่นใดได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้นับแต่วันที่ต้องมีการจ่าย วางหรือฝากเงินค่าทดแทนนั้น” คำว่า “…ทั้งนี้นับแต่วันที่ต้องมีการจ่าย วางหรือฝากเงินค่าทดแทน หาใช่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ต้องจ่ายเพิ่มไม่ เมื่อโจทก์ไม่ยอมรับเงินค่าทดแทนจากจำเลย จำเลยได้นำเงินดังกล่าวไปฝากไว้ที่ธนาคารออมสิน โจทก์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในจำนวนเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้น นับตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม 2542 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยนำเงินค่าทดแทนไปฝากธนาคารเป็นต้นไป ไม่ใช่นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5728/2533

การวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติ กระทำเพื่อประโยชน์แก่การอันเป็นสาธารณูปโภคและเพื่อประโยชน์สาธารณะของรัฐ การสร้างท่าเรือน้ำลึกก็เป็นประโยชน์ต่อประชาชนทั่วไปและประเทศชาติ ถือได้ว่ากระทำไปเพื่อประโยชน์สาธารณะของรัฐ จำเลยที่ 2 ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีจึงมีอำนาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงเนื้อที่ในเขตประทานบัตรของโจทก์ทั้งสองได้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2594/2524

จำเลยทั้งสองถูกฟ้องว่ากระทำการปิดกั้นและทดน้ำในลำน้ำอันเป็นการทำให้เสื่อมประโยชน์แก่ทางน้ำสาธารณะ จำเลยทั้งสอง ให้การและนำสืบทำนองเดียวกันว่าได้กระทำด้วยความจำเป็นเพื่อให้จำเลยและคนงานมีน้ำกินน้ำใช้ เช่นนี้ การที่จำเลยที่ 1 ฎีกาข้อกฎหมายอ้างว่ากระทำไปด้วยความจำเป็น. โดยยกข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวว่าเพื่อนำน้ำเข้าใช้ในกิจการเหมืองแร่ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ปรากฏในสำนวนและมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแต่ในศาลชั้นต้น ฎีกาข้อกฎหมายของจำเลยที่ 1 จึงต้องห้ามตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2736/2527

ศ. มีชื่อเป็นผู้ถือประทานบัตรการที่โจทก์เข้า ทำเหมืองในเขตเหมืองแร่ตามประทานบัตรก็โดยอาศัยสิทธิของ ศ. โจทก์ไม่ได้เป็นผู้รับช่วงการทำเหมืองหรือได้รับโอน ประทานบัตรจาก ศ. ตามมาตรา 77,78 แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 สิทธิการทำเหมืองตามประทานบัตรยังเป็น ของ ศ. การที่จำเลยที่ 1 สั่งเพิกถอนประทานบัตร ดังกล่าว หาเป็นการโต้แย้งสิทธิการทำเหมืองของโจทก์ไม่โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง การที่โจทก์ทำเหมืองผิดจากที่ได้รับอนุญาตตามประทานบัตรปล่อยทำนบเก็บกักน้ำขุ่นข้นดินทรายที่ชิดทางน้ำพังอัน เป็นการกระทำฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแร่ซึ่งจะเป็นเหตุให้รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งเพิกถอนประทานบัตรตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 มาตรา 138 นั้น อำนาจของรัฐมนตรีตามกฎหมายดังกล่าวแตกต่างจากอำนาจของรัฐมนตรีในการสั่งเพิกถอนประทานบัตรที่กำหนดไว้ในมาตรา 85,86 ซึ่งบัญญัติ ไว้ในหมวดทำเหมือง แต่มาตรา 138 บัญญัติไว้ในหมวดกำหนดโทษซึ่งเป็นที่เห็นได้ว่ารัฐมนตรีจะมีอำนาจสั่งเพิกถอน ประทานบัตรตามมาตรา 138 เพราะเหตุที่ผู้ถือประทานบัตรกระทำผิดพระราชบัญญัติแร่ได้ต่อเมื่อ ผู้ถือประทานบัตรได้รับโทษทางอาญาตามที่กฎหมายกำหนดไว้เสียก่อน เมื่อไม่ปรากฏว่าข้อเท็จจริงที่โจทก์กระทำอันมีลักษณะเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 ได้มีการดำเนินคดีให้ มีการลงโทษโจทก์ตามพระราชบัญญัติแร่ มาตรา 138 รัฐมนตรี จึงไม่มีอำนาจสั่งเพิกถอนประทานบัตรของโจทก์ การที่ จำเลยที่ 1 สั่งเพิกถอนประทานบัตรที่ออกให้โจทก์จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่อาจทำเหมือง ได้ ต่อไปจนสิ้นกำหนดตามประทานบัตร โจทก์ ย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายจากการทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2736/2527

ศ. มีชื่อเป็นผู้ถือประทานบัตรการที่โจทก์เข้า ทำเหมืองในเขตเหมืองแร่ตามประทานบัตรก็โดยอาศัยสิทธิของ ศ. โจทก์ไม่ได้เป็นผู้รับช่วงการทำเหมืองหรือได้รับโอน ประทานบัตรจาก ศ. ตามมาตรา 77,78 แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 สิทธิการทำเหมืองตามประทานบัตรยังเป็น ของ ศ. การที่จำเลยที่ 1 สั่งเพิกถอนประทานบัตร ดังกล่าว หาเป็นการโต้แย้งสิทธิการทำเหมืองของโจทก์ไม่โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง การที่โจทก์ทำเหมืองผิดจากที่ได้รับอนุญาตตามประทานบัตรปล่อยทำนบเก็บกักน้ำขุ่นข้นดินทรายที่ชิดทางน้ำพังอัน เป็นการกระทำฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแร่ซึ่งจะเป็นเหตุให้รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งเพิกถอนประทานบัตรตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 มาตรา 138 นั้น อำนาจของรัฐมนตรีตามกฎหมายดังกล่าวแตกต่างจากอำนาจของรัฐมนตรีในการสั่งเพิกถอนประทานบัตรที่กำหนดไว้ในมาตรา 85,86 ซึ่งบัญญัติ ไว้ในหมวดทำเหมือง แต่มาตรา 138 บัญญัติไว้ในหมวดกำหนดโทษซึ่งเป็นที่เห็นได้ว่ารัฐมนตรีจะมีอำนาจสั่งเพิกถอน ประทานบัตรตามมาตรา 138 เพราะเหตุที่ผู้ถือประทานบัตรกระทำผิดพระราชบัญญัติแร่ได้ต่อเมื่อ ผู้ถือประทานบัตรได้รับโทษทางอาญาตามที่กฎหมายกำหนดไว้เสียก่อน เมื่อไม่ปรากฏว่าข้อเท็จจริงที่โจทก์กระทำอันมีลักษณะเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 ได้มีการดำเนินคดีให้ มีการลงโทษโจทก์ตามพระราชบัญญัติแร่ มาตรา 138 รัฐมนตรี จึงไม่มีอำนาจสั่งเพิกถอนประทานบัตรของโจทก์ การที่ จำเลยที่ 1 สั่งเพิกถอนประทานบัตรที่ออกให้โจทก์จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่อาจทำเหมือง ได้ ต่อไปจนสิ้นกำหนดตามประทานบัตร โจทก์ ย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายจากการทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7193/2547

พ.ร.บ.แร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 73 ให้สิทธิแก่ผู้ถือประทานบัตรใช้ที่ดินในเขตเหมืองแร่ที่มีแร่ไม่สมบูรณ์พอที่จะเปิดทำเหมืองเพื่อเกษตรกรรมในระหว่างอายุประทานบัตรได้ การที่โจทก์ปลูกต้นยางพาราลงในที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ในเขตเหมืองแร่ เป็นการใช้สิทธิในฐานะผู้ถือประทานบัตร ไม่ทำให้ต้นยางพาราที่ปลูกสร้างไว้เป็นส่วนควบของที่ดิน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 146 และยังคงเป็นทรัพย์สินของโจทก์ การที่จำเลยกรีดเอาน้ำยางพาราจากต้นยางพาราของโจทก์ไป จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์

ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและจำเลยเข้าไปกรีดเอาน้ำยางพาราภายหลังประทานบัตรของโจทก์หมดอายุแล้วเพื่อการยังชีพมิได้มีเถยจิตเป็นโจรผู้ร้ายแต่อย่างใด กับทั้งภายหลังเกิดเหตุจำเลยได้รับอนุญาตจากรัฐให้มีสิทธิทำกินในที่ดินพิพาท กรณีมีเหตุอันสมควรให้ความปรานีแก่จำเลยโดยรอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 56

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 302/2527

เขตเหมืองแร่ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 มาตรา 4หมายความถึงเขตพื้นที่ซึ่งกำหนดในประทานบัตรชั่วคราวหรือประทานบัตรเท่านั้น หาหมายรวมถึงบริเวณพื้นที่ซึ่งใช้เป็นที่เก็บขังน้ำขุ่นข้นหรือมูลดินทรายด้วยไม่ ฉะนั้น การที่จำเลยมีแร่จำนวนเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดเก็บไว้ในเขตซึ่งเป็นที่ทิ้งมูลดินทรายนอกเขตพื้นที่ในประทานบัตร จึงมีความผิดตามมาตรา 105

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3630/2541

โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาให้รับผิดต่อโจทก์ผู้เป็นบุคคลภายนอกอันเกิดจากการ นำยึด และขายทรัพย์สินโดยมิชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 284 วรรคสอง ซึ่งมิได้มีกฎหมายบัญญัติในเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนดสิบปีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 193/30 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อโจทก์ฟ้องคดี ยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ได้ใช้ราคาซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งของศาลชั้นต้นอันเป็นวันเริ่มนับอายุความนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ เมื่อปรากฏภายหลังว่าที่ดินที่จำเลยคดีนี้ในฐานะเจ้าหนี้คำพิพากษาให้นำยึดและโจทก์เป็นผู้ซื้อได้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งของศาลเป็นที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติตามกฎกระทรวงฉบับที่ 1,085(พ.ศ. 2527) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ลงวันที่ 1 พฤศจิกายน2527 และปัจจุบันกลายเป็นอ่างเก็บน้ำที่กรมชลประทานก่อสร้างขึ้น แต่เดิมที่ดินแปลงนี้เป็นที่ดิน น.ส.3 ก. ซึ่งทางราชการออกให้ไว้แก่ส. ซึ่งถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีที่มีการขายทอดตลาดดังกล่าวตั้งแต่ก่อนที่จะมีกฎกระทรวงกำหนดให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ กรณีย่อมมีผลทำให้ ส.ยังคงมีสิทธิครอบครองที่ดินนั้นอยู่ต่อไป ตามมาตรา 12 วรรคสุดท้ายแห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ. 2507 เมื่อโจทก์ซื้อที่ดินไปจากการขายทอดตลาด แต่ไม่ได้ สิทธิครอบครองในที่ดินที่ซื้อมา โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้ จำเลยผู้นำยึดคืนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดนั้นได้ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้บริเวณพื้นที่ตาม น.ส.3 ก.ที่ดินพิพาทตามฟ้องเป็นเขตป่าไม้ถาวร กรณียังต้องฟังข้อเท็จจริงให้แน่ชัดเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นกรณีสิทธิในที่ดินที่บุคคลมีอยู่ตามป.ที่ดิน กล่าวคือ น.ส.3 ก.รายนี้ออกโดยชอบด้วยกฎหมายดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 12 วรรคสุดท้าย แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ. 2507 อันเป็นประเด็นที่รวมอยู่ในประเด็นที่ว่า โจทก์มี อำนาจฟ้องให้จำเลยคืนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินตามฟ้อง หรือไม่ เพราะข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นสาระสำคัญอันทำให้ผลคดี เปลี่ยนแปลง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานทำให้มีข้อเท็จจริง ไม่เพียงพอที่จะวินิจฉัยคดี จึงจำต้องทำการสืบพยานโจทก์ และจำเลยต่อไปให้สิ้นกระแสความ กรณีเป็นเรื่องที่มิได้ ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการพิจารณาตามมาตรา 243(2) ประกอบด้วยมาตรา 247 ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลล่าง ทั้งสองตลอดจนคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาเฉพาะประเด็นดังกล่าวต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5472/2545

เจ้าพนักงานยึดชิ้นไม้กฤษณาและกฤษณาจำนวน 30 กิโลกรัมจากจำเลยเป็นของกลาง ซึ่งเป็นของป่าหวงห้ามจำนวนมาก การที่จำเลยเข้าไปเก็บหาและนำออกไปซึ่งชิ้นไม้ดังกล่าวจากเขตอุทยานแห่งชาติ เป็นการลักลอบเก็บของป่าหวงห้ามเพื่อนำไปขายทำให้ป่าไม้ถูกทำลายและเสื่อมสภาพ ก่อให้เกิดความแห้งแล้งผืนดินพังทลาย ลำน้ำตื้นเขินหรือเกิดอุทกภัยและเป็นการทำลายเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ นับเป็นพฤติการณ์ร้ายแรง จึงไม่มีเหตุรอการลงโทษให้จำเลย

โจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยใช้ขวานของกลางเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการกระทำความผิด จึงต้องริบขวานของกลางตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 74 ทวิ และพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติฯ มาตรา 29 ปัญหานี้แม้ศาลชั้นต้นไม่ริบทรัพย์ดังกล่าวและไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้ริบทรัพย์ดังกล่าวได้เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 303/2539

เมื่อส. ได้ครอบครองทำประโยชน์ทำสวนจากในที่ดินที่เกิดเหตุตั้งแต่ปี2486ก่อนป. ที่ดินพ.ศ.2497ใช้บังคับฉะนั้นส. เป็นผู้ได้ที่ดินที่เกิดเหตุมาตามป. ที่ดินที่ดินที่เกิดเหตุจึงไม่ใช่ป่าตามพระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ.2484มาตรา4(1)เมื่อส. ยกที่ดินที่เกิดเหตุให้จำเลยจำเลยจึงมีสิทธิครอบครองที่พิพาท

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง