คลังคำสำคัญ ‘พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504’

พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าฝั่งซ้ายลำโดมใหญ่ ในท้องที่ตำบลโซง อำเภอน้ำยืน ตำบลโคกสะอาด กิ่งอำเภอน้ำขุ่น อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี และป่าเขาพระวิหาร ตำบลเสาธงชัย ตำบลภูผาหมอก อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2541

_หมายเหตุ_:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจาก

บริเวณที่ดินป่าฝั่งซ้ายลำโดมใหญ่ ในท้องที่ตำบลโซง อำเภอน้ำยืน ตำบลโคกสะอาด

กิ่งอำเภอน้ำขุ่น อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี และป่าเขาพระวิหาร ในท้องที่

ตำบลเสาธงชัย ตำบลภูผาหมอก อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ เนื้อที่ประมาณ

130 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 81,250 ไร่ ประกอบด้วย ทรัพยากรธรรมชาติ

ที่สำคัญและมีค่า เช่น พันธุ์ไม้ ของป่า สัตว์ป่านานาชนิด ตลอดจนทิวทัศน์ ป่า และ

ภูเขาที่สวยงามยิ่ง สมควรกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยาน

แห่งชาติ พ.ศ.2504 เพื่อสงวนไว้ให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิม มิให้ถูกทำลาย

หรือเปลี่ยนแปลงไป เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาและความรื่นรมย์ของประชาชน

และเพื่ออำนวยประโยชน์อื่นแก่รัฐและประชาชน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าท่าสองยาง ในท้องที่ตำบลแม่สอง และตำบลแม่อุสุ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2542

หมายเหตุ : – เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากบริเวณที่ดิน

ป่าท่าสองยาง ในท้องที่ตำบลแม่สอง และตำบลอุสุ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก เนื้อที่ประมาณ

185.28 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 115,800 ไร่ ไปประกอบด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ

และมีค่า เช่น พันธุ์ไม้ ของป่า สัตว์ป่านานาชนิด ตลอดจนทิวทิศน์ ป่า และภูเขาที่สวยงามยิ่ง

สมควรกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 เพื่อสงวนไว้

ให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิม มิให้ถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลงไป เพื่อประโยชน์แก่การศึกษา

และรื่นรมย์ของประชาชน และเพื่ออำนวยประโยชน์อื่นแก่รัฐและประชาชน จึงจำเป็นต้องตรา

พระราชกฤษฎีกานี้

พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าแม่เลิม ป่าแม่ปะ ป่าแม่วะ และป่าแม่มอก ในท้องที่ตำบลแม่ปะ ตำบลล้อมแรด ตำบลแม่มอก ตำบลเถินบุรี ตำบลเวียงมอก ตำบลแม่วะ อำเภอเถิน ตำบลพระบาทวังตวง อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง และป่าแม่สลิด และป่าโป่งแดง ในท้องที่ตำบลวังจันทร์ อำเภอสามเงา ตำบลแม่สลิด อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2543

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากบริเวณที่ดินป่าแม่เลิม ป่าแม่ปะ ป่าแม่วะ และป่าแม่มอก ในท้องที่ตำบลแม่ปะ ตำบลล้อมแรด ตำบลแม่มอก ตำบลเถินบุรี ตำบลเวียงมอก ตำบลแม่วะ อำเภอเถิน ตำบลพระบาทวังตวง อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง และป่าแม่สลิด และป่าโป่งแดง ในท้องที่ตำบลวังจันทร์ อำเภอสามเงา ตำบลแม่สลิด อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก เนื้อที่ประมาณ ๕๘๒.๖๘ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๓๖๔,๑๗๓ ไร่ ประกอบด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญและมีค่า เช่น พันธุ์ไม้ ของป่า สัตว์ป่านานาชนิด ตลอดจนทิวทัศน์ทางธรรมชาติที่สวยงามยิ่ง สมควรกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ เพื่อสงวนไว้ให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิม มิให้ถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลงไป เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาและรื่นรมย์ของประชาชน และเพื่ออำนวยประโยชน์อื่นแก่รัฐและประชาชน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าคลองสก และป่าคลองพนม ในท้องที่ตำบลคลองศก ตำบลพนม และตำบลพลูเถื่อน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2543

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากบริเวณที่ดินป่าคลองสก และป่าคลองพนม ในท้องที่ตำบลคลองศก ตำบลพนม และตำบลพลูเถื่อน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี เนื้อที่ประมาณ ๔๑๐.๔ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๒๕๖,๕๐๐ ไร่ ประกอบด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญและมีค่า เช่น พันธุ์ไม้ ของป่า สัตว์ป่านานาชนิด ตลอดจนทิวทัศน์ ป่า ภูเขา และน้ำตก ที่สวยงามยิ่ง และเป็นค่ายเก่าของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (ค่ายเขาวงศ์) ซึ่งเป็นพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ สมควรกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ เพื่อสงวนไว้ให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิมมิให้ถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลงไป เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาและรื่นรมย์ของประชาชน และเพื่ออำนวยประโยชน์อื่นแก่รัฐและประชาชน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าวังด้วนและป่าห้วยยาง และเกาะใกล้เคียง ในท้องที่ตำบลห้วยทราย ตำบลคลองวาฬ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ และตำบลห้วยยาง อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2548

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากแนวเขตอุทยานแห่งชาติตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าวังด้วน ป่าห้วยยาง และเกาะใกล้เคียง ในท้องที่ตำบลห้วยทราย อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ และตำบลห้วยยาง อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้ครอบคลุมถึงพื้นที่ตำบลคลองวาฬ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ด้วย แต่พระราชกฤษฎีกามิได้ระบุชื่อตำบลดังกล่าวลงไว้ สมควรกำหนดชื่อตำบลดังกล่าวเพิ่มเติม ประกอบกับได้มีการปฏิรูประบบราชการโดยกำหนดให้มีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมขึ้นและให้ภารกิจของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ โอนไปเป็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สมควรแก้ไขให้ถูกต้องเสียในคราวเดียวกัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าน้ำว้าและป่าห้วยสาลี่ ป่าฝั่งขวาแม่น้ำน่านตอนใต้ และป่าห้วยงวงและป่าห้วยสาลี่ ในท้องที่ตำบลขึ่ง ตำบลส้าน ตำบลน้ำมวบ อำเภอเวียงสา ตำบลศรีษะเกษ ตำบลเชียงของ ตำบลสถาน อำเภอนาน้อย และตำบลบ่อแก้วตำบลนาทะนุง อำเภอนาหมื่น จังหวัดน่านให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2550

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากบริเวณที่ดินป่าน้ำว้าและป่าห้วยสาลี่ ป่าฝั่งขวาแม่น้ำน่านตอนใต้ และป่าห้วยงวงและป่าห้วยสาลี่ ในท้องที่ตำบลขึ่ง ตำบลส้าน ตำบลน้ำมวบ อำเภอเวียงสา ตำบลศรีษะเกษ ตำบลเชียงของ ตำบลสถาน อำเภอนาน้อย และตำบลบ่อแก้ว ตำบลนาทะนุง อำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน เนื้อที่ประมาณ ๑,๐๒๔.๓๘ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๖๔๐,๒๓๗.๕ ไร่ ประกอบด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญและมีค่า เช่น พันธุ์ไม้ ของป่า สัตว์ป่านานาชนิด ตลอดจนทิวทัศน์ที่สวยงามยิ่ง สมควรกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ เพื่อสงวนไว้ให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิมมิให้ถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลงไป เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาและรื่นรมย์ของประชาชน และเพื่ออำนวยประโยชน์อื่นแก่รัฐและประชาชน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่านายางกลัก ในท้องที่ตำบลโป่งนก ตำบลนายางกลัก ตำบลบ้านไร่ ตำบลวะตะแบก อำเภอเทพสถิต และตำบลซับใหญ่ กิ่งอำเภอซับใหญ่ อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2550

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากบริเวณที่ดินป่านายางกลัก ในท้องที่ตำบลโป่งนก ตำบลนายางกลัก ตำบลบ้านไร่ ตำบลวะตะแบก อำเภอเทพสถิต และตำบลซับใหญ่ กิ่งอำเภอซับใหญ่ อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ มีเนื้อที่ประมาณ ๙๙.๙ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๖๒,๔๓๗.๕ ไร่ประกอบด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญและมีค่า เช่น พันธุ์ไม้ ของป่า สัตว์ป่านานาชนิด ตลอดจนทิวทัศน์ที่สวยงามยิ่ง สมควรกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔เพื่อสงวนไว้ให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิม มิให้ถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลงไป เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาและรื่นรมย์ของประชาชน และเพื่ออำนวยประโยชน์อื่นแก่รัฐและประชาชน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

พระราชกฤษฎีกา กำหนดบริเวณที่ดินป่าน้ำว้าและป่าแม่จริม ป่าแม่น้ำน่านฝั่งตะวันออกตอนใต้ และป่าน้ำว้าและ ป่าห้วยสาลี่ ในท้องที่ตำบลน้ำพาง ตำบลน้ำปาย อำเภอแม่จริม และตำบลไหล่น่าน ตำบลส้านนาหนองใหม่ ตำบลน้ำมวบ อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2550

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากบริเวณที่ดินป่าน้ำว้าและป่าแม่จริม ป่าแม่น้ำน่านฝั่งตะวันออกตอนใต้ และป่าน้ำว้าและป่าห้วยสาลี่ ในท้องที่ตำบลน้ำพาง ตำบลน้ำปาย อำเภอแม่จริม และตำบลไหล่น่าน ตำบลส้านนาหนองใหม่ ตำบลน้ำมวบ อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน เนื้อที่ประมาณ ๔๓๒ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๒๗๐,๐๐๐ ไร่ ประกอบด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญและมีค่า เช่น พันธุ์ไม้ ของป่า สัตว์ป่านานาชนิด ตลอดจนทิวทัศน์ ป่า ภูเขา ลำธาร และหน้าผาที่สวยงามยิ่ง สมควรกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ เพื่อสงวนไว้ให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิมมิให้ถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลงไป เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาและรื่นรมย์ของประชาชนและเพื่ออำนวยประโยชน์อื่นแก่รัฐและประชาชน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

พระราชกฤษฎีกา กำหนดบริเวณที่ดินป่าห้วยเบี้ยและ ป่าห้วยบ่อทอง ป่าแม่ต้าฝั่งซ้าย และป่าแม่แย้และป่าแม่สาง ในท้องที่ตำบลท่าข้าม ตำบลวังธง ตำบลป่าแมต อำเภอเมืองแพร่ ตำบลต้าผามอก ตำบลบ้านปิน อำเภอลอง และตำบลเวียงทอง ตำบลสบสาย ตำบลบ้านปง อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2550

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากบริเวณที่ดินป่าห้วยเบี้ยและป่าห้วยบ่อทอง ป่าแม่ต้าฝั่งซ้าย และป่าแม่แย้และป่าแม่สาง ในท้องที่ตำบลท่าข้าม ตำบลวังธง ตำบลป่าแมต อำเภอเมืองแพร่ ตำบลต้าผามอก ตำบลบ้านปิน อำเภอลอง และตำบลเวียงทอง ตำบลสบสาย ตำบลบ้านปง อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ เนื้อที่ประมาณ ๑๘๘.๗๗๑๒ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๑๑๗,๙๘๒ ไร่ ประกอบด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญและมีค่า เช่น พันธุ์ไม้ ของป่า สัตว์ป่านานาชนิด ตลอดจนทิวทัศน์ที่สวยงามยิ่ง สมควรกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ เพื่อสงวนไว้ให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิม มิให้ถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลงไป เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาและรื่นรมย์ของประชาชน และเพื่ออำนวยประโยชน์อื่นแก่รัฐและประชาชน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

พระราชกฤษฎีกา ขยายเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ในท้องที่ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา พ.ศ. 2550

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากทางราชการประสงค์จะปรับปรุงอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ในท้องที่ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา โดยขยายเขตอุทยานแห่งชาติให้ครอบคลุมบริเวณกองหินริเชลิว ในท้องที่ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา เนื้อที่ประมาณ ๓,๙๐๗ ไร่ เพื่อให้การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติครอบคลุมไปถึงบริเวณกองหินริเชลิว ในท้องที่ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา เนื่องจากบริเวณกองหินริเชลิวมีปะการังซึ่งเป็นทรัพยากรใต้น้ำที่มีความสำคัญและมีคุณค่าและเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำขนาดใหญ่ เช่น ฉลามวาฬ กระเบนราหูเพื่อสงวนไว้ให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิมมิให้ถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลงไป เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาและรื่นรมย์ของประชาชน และเพื่ออำนวยประโยชน์อื่นแก่รัฐและประชาชน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง