คลังสำหรับ 11/05/2016

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3630/2541

โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาให้รับผิดต่อโจทก์ผู้เป็นบุคคลภายนอกอันเกิดจากการ นำยึด และขายทรัพย์สินโดยมิชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 284 วรรคสอง ซึ่งมิได้มีกฎหมายบัญญัติในเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนดสิบปีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 193/30 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อโจทก์ฟ้องคดี ยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ได้ใช้ราคาซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งของศาลชั้นต้นอันเป็นวันเริ่มนับอายุความนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ เมื่อปรากฏภายหลังว่าที่ดินที่จำเลยคดีนี้ในฐานะเจ้าหนี้คำพิพากษาให้นำยึดและโจทก์เป็นผู้ซื้อได้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งของศาลเป็นที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติตามกฎกระทรวงฉบับที่ 1,085(พ.ศ. 2527) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ลงวันที่ 1 พฤศจิกายน2527 และปัจจุบันกลายเป็นอ่างเก็บน้ำที่กรมชลประทานก่อสร้างขึ้น แต่เดิมที่ดินแปลงนี้เป็นที่ดิน น.ส.3 ก. ซึ่งทางราชการออกให้ไว้แก่ส. ซึ่งถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีที่มีการขายทอดตลาดดังกล่าวตั้งแต่ก่อนที่จะมีกฎกระทรวงกำหนดให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ กรณีย่อมมีผลทำให้ ส.ยังคงมีสิทธิครอบครองที่ดินนั้นอยู่ต่อไป ตามมาตรา 12 วรรคสุดท้ายแห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ. 2507 เมื่อโจทก์ซื้อที่ดินไปจากการขายทอดตลาด แต่ไม่ได้ สิทธิครอบครองในที่ดินที่ซื้อมา โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้ จำเลยผู้นำยึดคืนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดนั้นได้ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้บริเวณพื้นที่ตาม น.ส.3 ก.ที่ดินพิพาทตามฟ้องเป็นเขตป่าไม้ถาวร กรณียังต้องฟังข้อเท็จจริงให้แน่ชัดเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นกรณีสิทธิในที่ดินที่บุคคลมีอยู่ตามป.ที่ดิน กล่าวคือ น.ส.3 ก.รายนี้ออกโดยชอบด้วยกฎหมายดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 12 วรรคสุดท้าย แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ. 2507 อันเป็นประเด็นที่รวมอยู่ในประเด็นที่ว่า โจทก์มี อำนาจฟ้องให้จำเลยคืนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินตามฟ้อง หรือไม่ เพราะข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นสาระสำคัญอันทำให้ผลคดี เปลี่ยนแปลง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานทำให้มีข้อเท็จจริง ไม่เพียงพอที่จะวินิจฉัยคดี จึงจำต้องทำการสืบพยานโจทก์ และจำเลยต่อไปให้สิ้นกระแสความ กรณีเป็นเรื่องที่มิได้ ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการพิจารณาตามมาตรา 243(2) ประกอบด้วยมาตรา 247 ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลล่าง ทั้งสองตลอดจนคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาเฉพาะประเด็นดังกล่าวต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5472/2545

เจ้าพนักงานยึดชิ้นไม้กฤษณาและกฤษณาจำนวน 30 กิโลกรัมจากจำเลยเป็นของกลาง ซึ่งเป็นของป่าหวงห้ามจำนวนมาก การที่จำเลยเข้าไปเก็บหาและนำออกไปซึ่งชิ้นไม้ดังกล่าวจากเขตอุทยานแห่งชาติ เป็นการลักลอบเก็บของป่าหวงห้ามเพื่อนำไปขายทำให้ป่าไม้ถูกทำลายและเสื่อมสภาพ ก่อให้เกิดความแห้งแล้งผืนดินพังทลาย ลำน้ำตื้นเขินหรือเกิดอุทกภัยและเป็นการทำลายเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ นับเป็นพฤติการณ์ร้ายแรง จึงไม่มีเหตุรอการลงโทษให้จำเลย

โจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยใช้ขวานของกลางเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการกระทำความผิด จึงต้องริบขวานของกลางตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 74 ทวิ และพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติฯ มาตรา 29 ปัญหานี้แม้ศาลชั้นต้นไม่ริบทรัพย์ดังกล่าวและไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้ริบทรัพย์ดังกล่าวได้เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 303/2539

เมื่อส. ได้ครอบครองทำประโยชน์ทำสวนจากในที่ดินที่เกิดเหตุตั้งแต่ปี2486ก่อนป. ที่ดินพ.ศ.2497ใช้บังคับฉะนั้นส. เป็นผู้ได้ที่ดินที่เกิดเหตุมาตามป. ที่ดินที่ดินที่เกิดเหตุจึงไม่ใช่ป่าตามพระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ.2484มาตรา4(1)เมื่อส. ยกที่ดินที่เกิดเหตุให้จำเลยจำเลยจึงมีสิทธิครอบครองที่พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4834 – 4835/2539

หนังสือมอบอำนาจมีข้อความว่า"กระทรวงการคลังโดยก.อธิบดีกรมธนรักษ์ผู้รับมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังขอมอบอำนาจให้ผู้บัญชาการทหารเรือมีอำนาจดำเนินคดีอาญาและคดีแพ่งกับผู้บุกรุกพร้อมบริวารให้ออกไปจากที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ชบ.481ตามข้อความดังกล่าวเป็นการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีโดยเฉพาะเจาะจงแก่ผู้ที่บุกรุกที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ชบ.481หาใช่มอบอำนาจทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา801ไม่และในกรณีเช่นนี้ก็ไม่อาจระบุชื่อผู้ที่จะถูกฟ้องไว้ล่วงหน้าก็ได้เมื่อจำเลยที่1และที่2ถูกกล่าวหาว่าบุกรุกที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ชบ.481ผู้รับมอบอำนาจก็ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่1และที่2ตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวได้ ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินอำเภอบางละมุงจังหวัดชลบุรีพ.ศ.2479มีความมุ่งหมายกำหนดเขตหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าสำหรับไว้ใช้ในราชการทหารที่ดินที่หวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1304(3)แม้ต่อมาในปี2498จะมีผู้แจ้งการครอบครองที่ดิน(ส.ค.1)นั้นตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ.2497มาตรา5ก็ตามที่ดินนั้นก็ยังคงเป็นที่หวงห้ามต่อไปตามมาตรา10ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้แจ้งที่ดินดังกล่าวจึงเป็นที่ราชพัสดุตามความหมายของมาตรา4แห่งพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุพ.ศ.2518 จำเลยทั้งสี่ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทแต่ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากผู้บัญชาการฐานทัพเรือสัตหีบเมื่อผู้บัญชาการฐานทัพเรือสัตหีบแจ้งให้จำเลยทั้งสี่ออกจากที่ดินพิพาทจำเลยทั้งสี่ไม่ยอมออกการเข้าครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยทั้งสี่จึงเป็นการไม่ชอบการที่โจทก์ที่2ถึงที่8ได้กระทำการขัดขวางมิให้จำเลยทั้งสี่เข้าครอบครองที่ดินพิพาทจึงเป็นการปฏิบัติราชการไปตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่แต่ละคนมีอยู่มิได้มีเจตนาจะกลั่นแกล้งจำเลยทั้งสี่จึงไม่เป็นละเมิดต่อจำเลยทั้งสี่การทำละเมิดของบริษัทจำเลยที่1ได้แสดงออกโดยจำเลยที่2ซึ่งเป็นผู้แทนและเป็นการกระทำที่ไม่อยู่ในขอบวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่1จำเลยที่2จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่1ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา76วรรคสอง จำเลยที่1และที่2ไม่ได้นำดินลูกรังไปไถไปถมทะเลแต่นำที่ดินลูกรังไปถมทำถนนและถมที่ดินพิพาทแล้วปรับพื้นที่ให้ทราบจำเลยที่1และที่2ไม่ได้นำดินลูกรังออกไปจากพื้นที่ของโจทก์ที่1ดินลูกรังยังคงอยู่ในที่ดินของกระทรวงการคลังโจทก์ที่1มิได้สูญหายไปไหนโจทก์ที่1จึงมิได้เสียหายเกี่ยวกับดินลูกรัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769/2513

จำเลยซึ่งเป็นเทศบาลมีหน้าที่ดูแลสะพานให้มีความมั่นคงแข็งแรง การที่จำเลยปล่อยปละละเลยให้สะพานผุพัง ราวสะพานเป็นช่องโหว่อยู่ก่อนผู้เสียหายตกลงไปไม่รีบซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยปลอดภัย นับว่าเป็นการประมาทเลินเล่อของจำเลยอันเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้เสียหายเมื่อพิเคราะห์ถึงการที่โจทก์ตกสะพานไป โดยไม่เดินอย่างคนธรรมดามัวแต่จับตาอยู่ดูการชกต่อยระหว่างเด็ก 2 คน เสียและเอาหลังพิงราวสะพานเอามือรูดไปจนถึงช่องโหว่จนตกไป เช่นนี้ เหตุที่เกิดขึ้นเป็นเพราะความผิดของโจทก์อยู่ด้วย ถือได้ว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นเพราะความผิดของโจทก์มีส่วนประกอบด้วย ค่าสินไหมทดแทนอันโจทก์ควรจะได้รับมากน้อยเพียงใด จึงต้องอาศัยพฤติการณ์แห่งกรณีดังกล่าวข้างต้นเป็นประมาณตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 223

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3521/2536

ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 229,360 พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456 มาตรา 117,118,120 และประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9,108 ทวิ เป็นความผิดที่กระทำต่อรัฐเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการที่จะฟ้องร้องขอให้ลงโทษผู้กระทำความผิด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28(1)และพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 11(1) เอกชนจะฟ้องได้ก็ต่อเมื่อได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ แม้โจทก์จะเป็นเทศบาลและมีหน้าที่บำรุงทางบกทางน้ำ ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496มาตรา 50(2),53 มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษา คุ้มครองป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินที่อยู่ในเขตเทศบาลตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทย และดูแลรักษาลำน้ำในเขตเทศบาลตามที่อธิบดีกรมเจ้าท่ามอบหมาย ตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456 โจทก์ก็ไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3126/2536

ทางพิพาทเกิดจากประชาชนใช้เดินเพื่อไปตักน้ำจากบ่อสาธารณะและใช้เดินเข้าออกสู่ถนนสาธารณะมานานหลายสิบปีก่อนที่โจทก์จะสร้างถนนคอนกรีตบนที่ดินทางพิพาท โดยเจ้าของที่ดินขณะนั้นไม่มีการหวงห้ามสงวนสิทธิใด ๆ แม้จะไม่ได้ความว่าผู้ใดอุทิศที่ดินทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะโดยตรงคือโดยพิธีการก็ต้องถือว่าเจ้าของที่ดินเดิมที่ทางพิพาทนี้ผ่านได้อุทิศที่ดินนั้นให้เป็นทางสาธารณะโดยปริยาย ทางพิพาทจึงตกเป็นทางสาธารณะแล้วจำเลยรับโอนที่พิพาทภายหลังจากที่เจ้าของเดิมได้อุทิศทางพิพาทไปแล้วแม้ทางพิพาทจะอยู่ในเขตโฉนดที่ดินของจำเลย จำเลยก็ไม่มีสิทธิยึดถือเอาเป็นของตนได้ เมื่อทางพิพาทเป็นทางสาธารณประโยชน์และอยู่ในเขตปกครองของเทศบาลตำบลศรีราชาโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยผู้เข้าขัดขวางปิดกั้นทางพิพาทนั้นได้ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496มาตรา 50(2) ประกอบด้วยกฎกระทรวง ฉบับที่ 2(พ.ศ. 2496) ออกตามความในพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 ข้อ (2) และพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 40

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 231/2503

โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานเป็นเจ้าพนักงานทำการทุจริตต่อหน้าที่และจดหลักฐานเท็จแต่ทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยได้รับแต่งตั้งจากอธิบดีกรมชลประทานให้เป็นช่างบังคับหมู่เขื่อนระบายน้ำโพธิ์เตี้ยมีหน้าที่ควบคุมงานก่อสร้าง ซ่อมแซมบำรุงรักษา ควบคุมการเบิกจ่ายค่าแรงคนงาน ควบคุมคนงานโดยได้รับเงินค่าจ้างเป็นรายวันจากงบประมาณ ซึ่งมิใช่ประเภทเงินเดือน เมื่อจำเลยได้เบิกค่าแรงคนงานเกินความจริงและจดหลักฐานเท็จ ก็จะเอาผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานทุจริตต่อหน้าที่และทำหลักฐานเท็จตามฟ้องไม่ได้เพราะถือว่าจำเลยไม่ใช่เจ้าพนักงานและตามฟ้องของโจทก์ก็มิได้บรรยายถึงความผิดอย่างอื่นอันเป็นเรื่องที่เห็นได้ว่า โจทก์มีความประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยซึ่งไม่ใช่ในฐานเป็นเจ้าพนักงานด้วย เมื่อเป็นดังนี้ คดีก็ไม่มีทางจะลงโทษจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1969 – 1972/2548

พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 50 (2), 53 บัญญัติให้เทศบาลมีหน้าที่ต้องจัดให้มีและบำรุงทางบกทางน้ำ อีกทั้งกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งให้เทศบาลมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินตาม ป.ที่ดิน ที่อยู่ภายในเขตเทศบาล และอธิบดีกรมเจ้าท่าได้มอบหมายอำนาจเจ้าท่าตาม พ.ร.บ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456 ให้เทศบาลดูแลรักษาแม่น้ำลำคลองในเขตเทศบาล เทศบาลย่อมมีหน้าที่ดูแลรักษาตามกฎหมาย ตามคำสั่ง และตามที่ได้รับมอบหมาย จึงมีอำนาจฟ้องเกี่ยวกับที่ดินนั้นได้ ทั้งการฟ้องคดีก็ไม่จำต้องระบุว่าได้รับมอบอำนาจจากกรมเจ้าท่าอีก

ที่ดินมีโฉนดของ ป. บางส่วนถูกน้ำเซาะพังลงในแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ดินส่วนที่หายไปในน้ำแม้จะมิได้ให้เจ้าพนักงานที่ดินแบ่งหักออกจากโฉนดที่ดินตามความเป็นจริง ก็มิได้แสดงว่าที่ดินของ ป. ยังคงมีเนื้อที่อยู่เต็มตามโฉนดที่ดิน แต่คงมีอยู่ตามสภาพที่เหลืออยู่ตามความจริงเท่านั้นเพราะที่ดินบางส่วนพังจนกลายเป็นลำน้ำที่มีการใช้สัญจรไปมาของเรือแพเป็นเวลานานจนกระทั่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินไปแล้ว โจทก์ทั้งสามซื้อที่ดินตามโฉนดจาก ป. ย่อมไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่ถูกน้ำเซาะจนหายไปในแม่น้ำเจ้าพระยาแล้ว แม้ต่อมาแม่น้ำมีสภาพตื้นเขินเนื่องจาก มีการทำเขื่อนภูมิพลกั้นน้ำ ทำให้กระแสน้ำไหลเบาลงจนน้ำในแม่น้ำแห้ง เรือไม่สามารถผ่านไปมาได้ ทั้งมีการดูดทรายอีกด้านหนึ่งของเกาะมาปิดทางน้ำเพื่อสร้างท่าเรือน้ำลึก ที่ดินดังกล่าวก็ยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่ดี การที่โจทก์ทั้งสามถมดินในที่ดินพิพาท จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อเทศบาลจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11414/2556

จำเลยที่ 1 เป็นเทศบาลอันมีฐานะเป็นนิติบุคคล และตาม พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ.2496 มาตรา 48 เตรส กำหนดให้นายกเทศมนตรีรับผิดชอบในการบริหารราชการของเทศบาลให้เป็นไปตามกฎหมาย จำเลยที่ 2 ในฐานะนายกเทศมนตรีเป็นผู้แทนของเทศบาลจำเลยที่ 1 ความประสงค์ของเทศบาลจำเลยที่ 1 ย่อมแสดงออกโดยผ่านจำเลยที่ 2 ดังนั้น เมื่อเทศบาลจำเลยที่ 1 กระทำความผิดโดยเกิดจากการแสดงออกของจำเลยที่ 2 จึงต้องถือว่าการกระทำอันเป็นความผิดดังกล่าวเป็นการกระทำของจำเลยที่ 2 ด้วยและไม่อาจปัดความผิดไปให้ผู้อื่นได้ จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดร่วมกับจำเลยที่ 1

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง