คลังสำหรับ 28/05/2016

กฎกระทรวง ฉบับที่ 27 (พ.ศ. 2530) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 ว่าด้วยการค้าหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อการค้าซึ่งสิ่งประดิษฐ์เครื่องใช้ หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่ทำด้วยไม้หวงห้าม

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศกฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากหลักเกณฑ์วิธีการ

และเงื่อนไขในการขอรับใบอนุญาต และการอนุญาตให้ค้าหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อ

การค้าซึ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้ หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่ทำด้วยไม้หวงห้ามที่มีชนิดไม้ ขนาด

หรือปริมาณเกินกว่าที่รัฐมนตรีกำหนด ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒๒

(พ.ศ. ๒๕๑๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช ๒๔๘๔ ฯลฯ

ยังไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน เป็นเหตุให้มีการลักลอบค้าหรือมีไว้ใน

ครอบครองเพื่อการค้าซึ่งสิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้ หรือสิ่งอื่นใดบรรดาทำด้วยไม้หวงห้าม

อยู่เสมอ สมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการขอรับใบอนุญาตและ

การอนุญาตดังกล่าวเสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

กฎกระทรวง ฉบับที่ 28 (พ.ศ. 2532) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๖๘ จัตวา

วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช ๒๔๘๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย

พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช ๒๔๘๔ พ.ศ. ๒๕๓๒

ได้กำหนดให้การยื่นคำขอพิสูจน์ การพิสูจน์ การพิจารณาและการสั่งการของรัฐมนตรี

ในกรณีผู้รับสัมปทานที่ประสงค์จะพิสูจน์เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิหรือกรรมสิทธิ์ในไม้ซึ่งตน

ได้มาจากการทำไม้ตามสัมปทานที่รัฐมนตรีมีคำสั่งตามมาตรา ๖๘ ทวิ หรือที่สิทธิการ

ทำกิจการที่ได้รับสัมปทานสิ้นสุดลงตามมาตรา ๖๘ ตรี หรือตามมาตรา ๔

แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช ๒๔๘๔

พ.ศ. ๒๕๓๒ หรือในกรณีที่สัมปทานสิ้นสุดลง เนื่องจากทางราชการได้ใช้สิทธิเพิกถอน

สัมปทานเพราะเหตุที่ผู้รับสัมปทานไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดหรือเงื่อนไขที่กำหนดใน

สัมปทาน ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงจึงจำ

เป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

กฎกระทรวง ฉบับที่ 29 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒๔

(พ.ศ. ๒๕๑๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช ๒๔๘๔ ว่าด้วยการทำไม้

หวงห้ามกำหนดหลักเกณฑ์การทำไม้โดยวิธีตัดเท่านั้น แต่ปัจจุบันการทำไม้สามารถกระทำโดยวิธี

ขุดล้อมไปปลูกทั้งต้นได้ด้วย สมควรปรับปรุงวิธีการทำไม้ให้สามารถกระทำได้หลายวิธี จึงจำเป็น

ต้องออกกฎกระทรวงนี้

กฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตทำประโยชน์ในเขตป่า พ.ศ. 2558

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการขออนุญาตและการอนุญาตให้บุคคลทำประโยชน์ในเขตป่าตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๖ (พ.ศ. ๒๔๙๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช ๒๔๘๔ ว่าด้วยการแผ้วถางป่า ใช้บังคับมาเป็นเวลานานและขาดความชัดเจน รวมทั้งไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน สมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังกล่าวเสียใหม่ให้เหมาะสมและชัดเจนยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

พระราชกฤษฎีกากำหนดของป่าหวงห้าม พ.ศ. 2497

หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากของป่าบางชนิดมีคุณภาพ

ดี บางชนิดมีราคาสูง และบางชนิดก็หายาก ซึ่งมีบุคคลนิยมเก็บหานำออกมาเพื่อการค้าหรือประกอบ

การอุตสาหกรรมเป็นปริมาณมาก และการเก็บหาของป่าดั่งกล่าวนี้ได้กระทำไปโดยมุ่งหวังที่จะได้ของป่า

เป็นปริมาณมากแต่ถ่ายเดียว หาได้คำนึงถึงความเสียหายแก่พืชพันธุ์แห่งของป่าแต่อย่างใดไม่ เช่น ใช้วิธี

การเก็บหาของป่าซึ่งขัดต่อหลักวิชาการ ทั้งนี้ เพื่อความสดวกหรือมุ่งหวังที่จะได้ของป่านั้นเป็นปริมาณ

มากจนเกินกำลังแห่งการยังผล อันเป็นไปตามธรรมชาติแห่งป่าไม้ เป็นเหตุให้ต้นไม้อันเป็นแหล่งกำเนิด

ของป่านั้นเป็นอันตรายหรือเสื่อมสลายสูญสิ้นพันธุ์ไป จึงเป็นการจำเป็นและสมควรที่จะกำหนดของป่าหวง

ห้ามในท้องที่จังหวัดต่าง ๆ เสียใหม่ เพื่อประโยชน์ในการควบคุมบำรุงรักษาพืชพันธุ์แห่งของป่าสืบไป

พระราชกฤษฎีกาเพิกถอนของป่าหวงห้ามบางชนิด พ.ศ. 2501

หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากในท้องที่

จังหวัดกาญจนบุรี ได้กำหนดไม้ไผ่และไม้รวกทุกชนิดเป็นของป่าหวงห้ามไว้ตามพระราช

กฤษฎีกากำหนดของป่าหวงห้าม พ.ศ.2497 เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ราษฎร

ในท้องที่จังหวัดกาญจนบุรี จะได้ใช้ไม้ไผ่และไม่รวกมาทำการปลูกสร้างบ้านเรือนอยู่อาศัย

หรือทำรั้วเพื่อป้องกันภยันตรายหรือใช้ทำประโยชน์อย่างอื่นๆ โดยไม่ต้องรับอนุญาตและ

ไม่ต้องเสียค่าภาคหลวงอีกต่อไป สมควรที่จะเพิกถอนไม่ไผ่และไม่รวกทุกชนิดซึ่งกำหนด

เป็นของหวงห้ามในท้องที่จังหวัดกาญจนบุรี ตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวนั้นเสีย

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง