คลังคำสำคัญ ‘กฎกระทรวง’

กฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๔๙๐) ว่าด้วยการกำหนดอัตราเงินอากรออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องด้วยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๔๙๐) ว่าด้วยการกำหนดอัตราเงินอากรการประมงได้ประกาศใช้มาเป็นเวลา ๑๕ ปีแล้ว การเรียกเก็บเงินอากรแก่เครื่องมือการประมงบางชนิดยังไม่เหมาะสมกับเหตุการณ์ในปัจจุบัน เพราะในปัจจุบันนี้การประมงทะเลได้พัฒนาก้าวหน้าขึ้นเป็นอันมาก ชาวประมงได้นำเอาเครื่องมือประมงแบบใหม่ ๆ มาใช้ทำการประมงอีกหลายชนิด เช่น อวนลอยไนล่อน เป็นต้น อวนแบบใหม่ ๆ เหล่านี้ ซึ่งเป็นเครื่องมือขนาดเล็ก แต่ต้องเสียเงินอากรค่าอาชญาบัตรในอัตราสูงเกินรายได้ของชาวประมง ซึ่งนับว่าไม่เป็นธรรมแก่ชาวประมงผู้ใช้อวนลอยไนล่อน เมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องมือขนาดใหญ่อื่น ๆ ซึ่งเสียเงินอากรน้อยกว่าอวนลอยไนล่อนหลายเท่า แต่สามารถจับสัตว์น้ำได้มากกว่าอวนลอยไนล่อนหลายสิบเท่า เพื่อส่งเสริมอาชีพชาวประมงผู้ใช้อวนลอยไนล่อนให้สามารถประกอบอาชีพต่อไปได้ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงแก้ไขปรับปรุงอัตราเงินอากรการประมงเสียใหม่

กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการชดเชยความเสียหายแก่ผู้เสียหายจากการบำบัดภยันตรายจากสาธารณภัย พ.ศ. ๒๕๕๔

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๔๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. ๒๕๕๐ บัญญัติให้การปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของผู้บัญชาการ รองผู้บัญชาการ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ และเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัตินี้ หากเกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของผู้ใดซึ่งมิใช่เป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการบำบัดภยันตรายจากสาธารณภัยนั้น ให้ทางราชการชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นให้แก่ผู้นั้นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

กฎกระทรวงกำหนดชนิดของสัตว์ป่าคุ้มครองให้เป็นสัตว์ป่าชนิดที่เพาะพันธุ์ได้ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากตะพาบหรือปลาฝาและปลาหมูอารีย์ เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองที่สามารถเพาะพันธุ์ได้ สมควรส่งเสริมให้มีการเพาะพันธุ์เพิ่มเติม เพื่อป้องกันมิให้สูญพันธุ์และเพื่ออนุญาตให้บุคคลมีไว้ในครอบครอง ค้า และเพาะพันธุ์ได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ประกอบกับการจำแนกชนิดทางอนุกรมวิธานได้เปลี่ยนชื่อวิทยาศาสตร์ของปลาเสือตอ หรือปลาเสือ หรือปลาลาด ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและลุ่มแม่น้ำแถบอินโดจีน ซึ่งเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่เพาะพันธุ์ได้ สัตว์ป่าจำพวกปลา ลำดับที่ ๒ จาก Coiusmicrolepis เป็น Datnioides pulcher สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่เพาะพันธุ์ได้ให้สอดคล้องกัน จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

กฎกระทรวงกำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. 2546

หมายเหตุ : เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากสัตว์ป่าคุ้มครองตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันได้กำหนดให้สัตว์ป่าคุ้มครองบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองทั้งสกุล (Genus) หรือวงศ์ (Family) ส่งผลให้คุ้มครองไปถึงสัตว์ป่าของต่างประเทศด้วย อีกทั้งสัตว์ป่าคุ้มครองบางชนิดได้เปลี่ยนชื่อหรือชื่อสกุลหรือวงศ์ต่างไปจากเดิม ประกอบกับมีสัตว์ป่าหลายชนิดที่สมควรกำหนดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองเพิ่มเติมเพื่อป้องกันมิให้สัตว์ป่าดังกล่าวสูญพันธุ์ สมควรปรับปรุงการกำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

กฎกระทรวงกำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบันมีการลักลอบนำเข้างาช้างแอฟริกาจากต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นจำนวนมาก เพื่อนำมาค้าหรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อการค้าโดยผิดกฎหมาย ประกอบกับการจำแนกชนิดทางอนุกรมวิธานพบว่าเต่านาจำแนกออกได้เป็นสองชนิด คือ เต่านาอินโดจีน (Malayemys subtrijuga) และเต่านามลายู (Malayemys macrocephala) แต่เนื่องจากเต่านามลายูเป็นสัตว์ชนิดที่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์และยังมิได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย ประกอบกับประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora (CITES)) จึงมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตามอนุสัญญาที่กำหนดให้ประเทศสมาชิกต้องมีมาตรการในการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าอย่างเหมาะสม จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

กฎกระทรวงกำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง (ฉบับที่ 2)พ.ศ.2556

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากการจำแนกชนิดทางอนุกรมวิธานได้เปลี่ยนชื่อวิทยาศาสตร์ของปลาเสือตอ หรือปลาเสือ หรือปลาลาด ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและลุ่มแม่น้ำแถบอินโดจีน ซึ่งเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง สัตว์ป่าจำพวกปลา ลำดับที่ ๑๓ จาก Coius microlepis เป็น Datnioides pulcher สมควรแก้ไขชื่อวิทยาศาสตร์ของปลาดังกล่าวในบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครองให้สอดคล้องกัน จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

กฎกระทรวงการขอใบอนุญาตหรือใบรับรอง และการออกใบอนุญาตหรือใบรับรองให้นำเข้า ให้ส่งออก หรือให้นำผ่านซึ่งสัตว์ป่า ซากของสัตว์ป่า หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากของสัตว์ป่า พ.ศ. 2558

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ ประกอบกับมาตรา ๒๓ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๗ บัญญัติให้การนำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านซึ่งสัตว์ป่า ซากของสัตว์ป่า หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากของสัตว์ป่าต้องได้รับใบอนุญาตหรือใบรับรองจากอธิบดี และการออกใบแทนใบอนุญาตหรือใบรับรองดังกล่าวให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

กฎกระทรวง ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๔๔ แห่งพระราช

บัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ บัญญัติให้การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และ

เงื่อนไข ในการยื่นคำขอและการจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าพาหนะเดินทางให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่

ซึ่งปฏิบัติงานนอกเวลาราชการหรือนอกสถานที่ทำการโดยปกติ ต้องกำหนดโดยกฎกระทรวง

จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง