คลังคำสำคัญ ‘กฎกระทรวง’

กฎกระทรวง ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๘ วรรคสาม และ

มาตรา ๒๙ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้กำหนดให้

การขออนุญาต การอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การโอนใบอนุญาต และการออกใบแทน

ใบอนุญาตให้จัดตั้งและดำเนินกิจการสวนสัตว์สาธารณะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และ

เงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง และมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า

พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งและดำเนินกิจการสวนสัตว์สาธารณะต้องแจ้ง

รายการเกี่ยวกับชนิดและจำนวนสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง หรือซากของสัตว์ป่าดังกล่าวที่มีไว้

ในครอบครอบก่อนจะเปิดดำเนินการ รวมทั้งจำนวนที่เพิ่มขึ้น หรือลดลงในระหว่างดำเนินการด้วย

โดยให้ปฏิบัติตามวิธีการและระยะเวลาที่กำหนดในกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

กฎกระทรวง ฉบับที่ 154 (พ.ศ.2509) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากป่าแห่งนี้มีไม้แดง ไม้ตะแบก ไม้กว้าว ไม้มะม่วงป่า ไม้มะค่า ไม้ประดู และไม้ชนิดอื่น ซึ่งมีค่าจำนวนมาก และมีของป่ากับทรัพยากรธรรมชาติอื่นด้วย สมควรกำหนดให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ เพื่อรักษาสภาพป่า ไม้ ของป่า และทรัพยากรธรรมชาติอื่นไว้

กฎกระทรวง ฉบับที่ 23 (พ.ศ. 2507) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากป่าแห่งนี้มีไม้สัก ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้พลวง ไม้เหียง ไม้รกฟ้า ไม้ประดู่ และไม้มะค่า ซึ่งมีค่าจำนวนมาก และมีของป่ากับทรัพยากรธรรมชาติอื่นด้วย สมควรกำหนดให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติเพื่อรักษาสภาพป่า ไม้ ของป่าและทรัพยากรธรรมชาติไว้

กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๕ มาตรา ๘

มาตรา ๒๓ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕

บัญญัติให้การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่เกี่ยวกับการอนุญาต และใบอนุญาต

ให้นำเข้าหรือส่งออกซึ่งสัตว์ป่า หรือซากของสัตว์ป่าชนิดที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด นำผ่าน

ซึ่งสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง หรือซากของสัตว์ป่าดังกล่าว นำเข้าหรือส่งออกซึ่งสัตว์ป่า

คุ้มครองที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์หรือซากของสัตว์ป่าดังกล่าว และนำเข้า ส่งออกหรือนำผ่าน

ซึ่งสัตว์ป่าหรือซากของสัตว์ป่าชนิดที่ต้องมีใบอนุญาตหรือใบรับรองให้นำเข้า ส่งออกหรือนำผ่าน

ตามความตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยการค้าสัตว์ป่าและซากของสัตว์ป่า ต้องกำหนดโดยกฎกระทรวง

จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

กฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2528) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากป่าแห่งนี้มีไม้แดง ไม้ตะแบก ไม้กว้าว ไม้มะม่วงป่า ไม้มะค่า ไม้ประดู และไม้ชนิดอื่น ซึ่งมีค่าจำนวนมาก และมีของป่ากับทรัพยากรธรรมชาติอื่นด้วย สมควรกำหนดให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ เพื่อรักษาสภาพป่า ไม้ ของป่า และทรัพยากรธรรมชาติอื่นไว้

กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอและการออกใบอนุญาตในการเพาะพันธุ์สัตว์ ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง การครอบครองและการนำเคลื่อนที่เพื่อการค้าซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครอง และซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง และการค้าสัตว์ป่าคุ้มครอง ซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. 2551

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอและการออกใบอนุญาตในการเพาะพันธุ์สัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง การครอบครองและการนำเคลื่อนที่เพื่อการค้าซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครอง และซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง และการค้าสัตว์ป่าคุ้มครอง ซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง และเนื่องจากมาตรา ๘ มาตรา ๑๘ มาตรา ๑๙ มาตรา ๒๐ และมาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ บัญญัติให้การขอและการออกใบอนุญาตในการเพาะพันธุ์สัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง การครอบครองและการนำเคลื่อนที่เพื่อการค้าซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครอง และซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง และการค้าสัตว์ป่าคุ้มครอง ซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

กฎกระทรวง กำหนดชนิดของสัตว์ป่าคุ้มครองให้เป็นสัตว์ป่าชนิดที่เพาะพันธุ์ได้ พ.ศ. 2546

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ และกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ. ๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ ต่างได้กำหนดสัตว์ป่าคุ้มครองบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่เพาะพันธุ์ได้ไว้เป็นเอกเทศจากกัน ทำให้เกิดความไม่สะดวกในการบังคับใช้กฎหมาย ประกอบกับมีสัตว์ป่าคุ้มครองบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองที่สามารถเพาะพันธุ์ได้ที่ควรได้รับการส่งเสริมให้มีการเพาะพันธุ์เพิ่มเติม เพื่อป้องกันมิให้สูญพันธุ์ และเพื่ออนุญาตให้บุคคลมีไว้ในครอบครอง ค้า และเพาะพันธุ์ได้โดยชอบด้วยกฎหมาย จึงสมควรที่จะปรับปรุงกฎกระทรวงทั้งสองฉบับดังกล่าวเสียใหม่โดยรวมเป็นกฎกระทรวงฉบับเดียวกัน พร้อมกับกำหนดสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่เพาะพันธุ์ได้เพิ่มเติม เพื่อให้เกิดความสะดวกแก่ผู้ใช้กฎหมาย จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

กฎกระทรวง กำหนดแบบและวิธีการแจ้งการครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครอง และซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง การออกใบอนุญาตให้ครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองชั่วคราว และการออกใบรับรองการครอบครองซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. 2550

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่แบบและวิธีการแจ้งการครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครอง และซากของสัตว์ป่าคุ้มครองตามมาตรา ๖๑ แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะการทำเครื่องหมายประจำตัวสัตว์ป่าคุ้มครองมีความล่าช้าและไม่ปลอดภัยแก่สัตว์ป่าคุ้มครอง และโดยที่ระยะเวลาที่กำหนดให้ผู้มีสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครองซากของสัตว์ป่าสงวนหรือซากของสัตว์ป่าคุ้มครองอยู่ในความครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายมาแจ้งรายการเกี่ยวกับชนิดและจำนวนของสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง ซากของสัตว์ป่าสงวนหรือซากของสัตว์ป่าคุ้มครองที่อยู่ในความครอบครองของตนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๖๗ แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้สิ้นสุดลง ประกอบกับได้มีการปฏิรูประบบราชการโดยกำหนดให้มีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมขึ้น และให้ภารกิจของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ โอนไปเป็นของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น เพื่อเป็นการสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว สมควรแก้ไขให้ถูกต้องเสียในคราวเดียวกัน จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

กฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๔๙๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างในเขตเพลิงไหม้ พุทธศักราช ๒๔๗๖

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้แก้ไขเพิ่มเติมพระราช

บัญญัติควบคุมการก่อสร้างในเขตเพลิงไหม้ พุทธศักราช ๒๔๗๖ โดยพระราชบัญญัติควบคุมการ

ก่อสร้างในเขตเพลิงไหม้ (ฉบับที่ ๒) พุทธศักราช ๒๔๙๖ และกระทรวงมหาดไทยยังไม่ได้วาง

ระเบียบการขออนุญาตการก่อสร้างอาคารในเขตเพลิงไหม้ จึงจำเป็นจะต้องออกกฎกระทรวงเพื่อให้

เป็นแนวทางปฏิบัติและเป็นระเบียบต่อไป.

กฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2528) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522

หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา 5 (1) แห่งพระราชบัญญัติ

ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 กำหนดให้ค่าธรรมเนียมหรือการยกเว้นค่าธรรมเนียม ต้องเป็นไปตามที่

กำหนดในกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง