คลังคำสำคัญ ‘พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507’

พระราชกฤษฎีกา กำหนดบริเวณที่ดินป่าแม่ท่าแพ ป่าแม่พันลำ และป่าแม่มอก ในท้องที่ตำบลกลางดง อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย ตำบลเวียงมอก อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง และบริเวณที่ดินป่าแม่พันลำ และป่าแม่มอกในท้องที่ตำบลกลางดง อำเภอทุ่งเสลี่ยม ตำบลตลิ่งชัน อำเภอ บ้านด่านลานหอย ตำบลนาขุนไกร อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย ตำบลเวียงมอก อำเภอเถิน จังหวัดลำปางให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า พ.ศ. 2544

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากป่าแม่ท่าแพ ป่าแม่พันลำ และป่าแม่มอก ในท้องที่ตำบลกลางดง อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย ตำบลเวียงมอก อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง และบริเวณที่ดินป่าแม่พันลำ และป่าแม่มอก ในท้องที่ตำบลกลางดง อำเภอทุ่งเสลี่ยม ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบ้านด่านลานหอย ตำบลนาขุนไกร อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย ตำบลเวียงมอก อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง เนื้อที่ประมาณ ๒๑๓,๑๗๑ ไร่ มีลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงชันสลับซับซ้อน สภาพป่าเป็นป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง และทุ่งหญ้า ที่มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ มีแหล่งน้ำแหล่งอาหารของสัตว์ป่าอุดมสมบูรณ์ มีสัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครองอาศัยอยู่หลายชนิด เช่น หมี เสือ กวาง เก้ง เลียงผา สุนัขจิ้งจอก อีเห็น ลิง ชะนี ลิงลม ไก่ป่า นกขุนทอง นกแก้ว นกกระราง และงูชนิดต่าง ๆ เป็นต้น เป็นแหล่งกำเนิดของลำห้วยต่าง ๆ ที่ไหลลงสู่แม่น้ำยม และมีพันธุ์ไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจ เช่น สัก แดงประดู่ มะค่าโมง ยาง เต็ง รัง เหียง พลวง และตะแบก เป็นต้น ฉะนั้น เพื่อรักษาไว้ซึ่งพันธุ์สัตว์ป่าและพื้นที่ป่าให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าโดยปลอดภัยรวมทั้งเป็นการรักษาแหล่งต้นน้ำลำธารและป่าไม้ที่มีอยู่ในพื้นที่แห่งนี้ให้คงอยู่อย่างถาวรตลอดไป สมควรกำหนดบริเวณที่ดินดังกล่าวให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507

หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากป่าไม้เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญยิ่งของชาติ และรัฐบาลได้กำหนดจุดหมายไว้ในแผนพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติว่า จะสงวนป่าไม้ไว้เป็นเนื้อที่ประมาณร้อยละ ๕๐ แห่งเนื้อที่ประเทศไทย คือ เป็นเนื้อที่ป่าสงวนรวมประมาณ ๒๕๐,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร หรือ ๑๕๖ ล้านไร่

พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่บทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับการกำหนดโทษตามกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติไม่เหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน สมควรแก้ไขเพิ่มเติมอัตราโทษให้สูงขึ้น และโดยที่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมอัตราโทษตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ให้สูงขึ้นด้วย สมควรแก้ไขเพิ่มเติมอัตราโทษให้สอดคล้องกัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น

พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 (ฉบับ Update ณ วันที่ 28/04/2522)

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่บทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับการกำหนดโทษตามกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติไม่เหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน สมควรแก้ไขเพิ่มเติมอัตราโทษให้สูงขึ้นและโดยที่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมอัตราโทษตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ให้สูงขึ้นด้วยสมควรแก้ไขเพิ่มเติมอัตราโทษให้สอดคล้องกัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น

พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2528

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่รัฐบาลมีนโยบายที่จะช่วยเหลือราษฎรที่มีความจำเป็นในการครองชีพสามารถเข้าทำกินในเขตป่าสงวนแห่งชาติได้โดยไม่เดือดร้อนและโดยมีที่อยู่เป็นหลักแหล่งจึงได้แก้ไขกฎหมายให้ทางราชการมีอำนาจอนุญาตให้บุคคลเข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติได้เป็นคราว ๆ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยกำหนดว่าในระยะสั้นอันเป็นการช่วยเหลือชั่วคราวตามความจำเป็น อนุญาตได้คราวละไม่เกินห้าปี นอกจากนั้นได้แก้ไขบทบัญญัติอื่น ๆ ที่ยังไม่เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงและสะดวกแก่การปฏิบัติราชการ เช่น อนุญาตให้ทางราชการและองค์การของรัฐใช้ประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นการชั่วคราวได้โดยคล่องตัวยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 (ฉบับ Update ณ วันที่ 11/09/2528)

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่รัฐบาลมีนโยบายที่จะช่วยเหลือราษฎรที่มีความจำเป็นในการครองชีพสามารถเข้าทำกินในเขตป่าสงวนแห่งชาติได้โดยไม่เดือดร้อนและโดยมีที่อยู่เป็นหลักแหล่งจึงได้แก้ไขกฎหมายให้ทางราชการมีอำนาจอนุญาตให้บุคคลเข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติได้เป็นคราวๆ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยกำหนดว่าในระยะสั้นอันเป็นการช่วยเหลือชั่วคราวตามความจำเป็น อนุญาตได้คราวละไม่เกินห้าปี นอกจากนั้นได้แก้ไขบทบัญญัติอื่นๆ ที่ยังไม่เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงและสะดวกแก่การปฏิบัติราชการ เช่น อนุญาตให้ทางราชการและองค์การของรัฐใช้ประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นการชั่วคราวได้โดยคล่องตัวยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 (ฉบับ Update ณ วันที่ 30/09/2546)

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ และพระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้กำหนดให้กรมป่าไม้เป็นส่วนราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชเป็นส่วนราชการในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดปัญหาการบริหาร ทั้งในด้านนโยบาย วิชาการ บุคลากร และการบังคับใช้กฎหมาย รวมทั้งเป็นเหตุให้ระบบการบริหารงานและการบังคับใช้กฎหมายขาดประสิทธิภาพ ดังนั้น เพื่อให้การบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการบูรณาการตามกลุ่มภารกิจด้านทรัพยากรธรรมชาติและนโยบายของรัฐบาล สมควรโอนกรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมทั้งบรรดากิจการ อำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง ตำแหน่งและอัตรากำลัง ไปเป็นกรมป่าไม้ สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสมควรที่จะได้ปรับปรุงอำนาจหน้าที่และกิจการของกรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช รวมทั้งโอนอำนาจหน้าที่และกิจการของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง ไปเป็นของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เพื่อให้การบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีขอบเขตที่รับผิดชอบอย่างชัดเจน นอกจากนี้ สมควรแก้ไขการใช้อำนาจของรัฐมนตรีและการใช้อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ให้สอดคล้องกับการดำเนินการดังกล่าวด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2559

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๗ ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน ทำให้ไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ทางด้านเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งในปัจจุบันมีการทำลายหรือเป็นเหตุให้เกิดการทำลาย หรือทำให้สูญหายหรือเสียหายแก่ทรัพยากรธรรมชาติในเขตป่าสงวนแห่งชาติเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น สมควรกำหนดมาตรการในการคุ้มครอง ป้องกัน และบำรุงรักษาไว้ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ และกำหนดให้มีการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างเป็นระบบและเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการควบคุมและรักษาป่าสงวนแห่งชาติประจำจังหวัด เพื่อกำหนดมาตรการที่จำเป็นในการควบคุมดูแล การส่งเสริมการปลูกป่า และการฟื้นฟูสภาพป่าสงวนแห่งชาติ และกำหนดให้มีคณะกรรมการพิจารณาการใช้ประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เพื่อเสนอแนะมาตรการและแนวทางในการใช้ประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ในการนี้ เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ได้กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่ได้มาหรือได้ใช้ในการกระทำความผิดหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าได้ใช้ในการกระทำความผิด และปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับบทกำหนดโทษ อัตราค่าธรรมเนียม ค่าภาคหลวง และค่าบำรุงป่า ให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

กฎกระทรวง ฉบับที่ 154 (พ.ศ.2509) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากป่าแห่งนี้มีไม้แดง ไม้ตะแบก ไม้กว้าว ไม้มะม่วงป่า ไม้มะค่า ไม้ประดู และไม้ชนิดอื่น ซึ่งมีค่าจำนวนมาก และมีของป่ากับทรัพยากรธรรมชาติอื่นด้วย สมควรกำหนดให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ เพื่อรักษาสภาพป่า ไม้ ของป่า และทรัพยากรธรรมชาติอื่นไว้

กฎกระทรวง ฉบับที่ 23 (พ.ศ. 2507) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากป่าแห่งนี้มีไม้สัก ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้พลวง ไม้เหียง ไม้รกฟ้า ไม้ประดู่ และไม้มะค่า ซึ่งมีค่าจำนวนมาก และมีของป่ากับทรัพยากรธรรมชาติอื่นด้วย สมควรกำหนดให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติเพื่อรักษาสภาพป่า ไม้ ของป่าและทรัพยากรธรรมชาติไว้

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง